• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - Fern751

#2741


วันที่ 11 สิงหาคม 2564 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานมอบถุงปันสุข กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เนื่องในวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2564 ให้แก่พนักงานจ้างเหมาบริการ ประกอบด้วย พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานทำความสะอาด คนขับรถ และคนสวนที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน รวม 47 คน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่พนักงานในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับถุงปันสุขได้บรรจุเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย ข้าวสาร ปลากระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไข่ไก่ รวมไปถึงอุปกรณ์จำเป็นเพื่อการป้องกันตนเองจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประกอบด้วย หน้ากากอนามัย และสเปรย์แอลกอฮอล์ เพื่อเป็นประโยชน์ในช่วงที่สถานการณ์ยังต้องเฝ้าระวัง



ศาสตราจารย์ นฤมล กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน จะเห็นว่าทุกคนต่างได้รับผลกระทบในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ซึ่ง กพร. ได้รวบรวมเงินจากกลุ่มของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นำไปซื้อของอุปโภคบริโภค ปันน้ำใจแก่พนักงานจ้างเหมาบริการที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำ กพร. เพื่อร่วมบรรเทาค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต พร้อมจัดหาวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ในเบื้องต้น ซึ่งต้องขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามที่เกิดความเดือดร้อน ทำให้เห็นว่าคนไทยมีน้ำใจไม่ทอดทิ้งกัน พร้อมให้คามช่วยเหลือกันอยู่เสมอ

"แม้ว่าในขณะนี้ยังไม่มีใครรู้ได้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะจบลงเมื่อไหร่ แต่สิ่งที่สัมผัสได้คือน้ำใจจากผู้ให้ที่ได้ส่งต่อเพื่อคลายทุกข์แก่ผู้รับ และขอเป็นกำลังใจให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ รวมถึงบุคลากรทุกคนในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ แล้วเราจะผ่านวิกฤติในครั้งนี้ไปด้วยกัน" รมช.แรงงาน กล่าวทิ้งท้าย
#2742


เออร์โรล สเปนซ์ จูเนียร์ กำปั้นชาวอเมริกัน ถอนตัวจากไฟต์พบ แมนนี ปาเกียว จาก ฟิลิปปินส์ หลังได้รับบาดเจ็บที่ตา และต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

สเปนซ์ มีโปรแกรมป้องกันเข็มขัด รุ่นเวลเตอร์เวต ของ สภามวยโลก (WBC) และ สหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) ปะทะ "เดอะ แพ็คแมน" วันที่ 21 สิงหาคมนี้

ทว่า เจ้าของสถิติชนะรวด 27 ไฟต์ (21 น็อกเอาท์) แจ้งข่าวร้ายเกี่ยวกับอาการบาดเจ็บ ซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่า จำเป็นต้องถอนตัว

ทำให้ ยอร์เดนิส อูกัส นักชกคิวบาวัย 35 ปี ถูกเรียกมาขึ้นสังเวียนแทน สเปนซ์ เพื่อ.เข็มขัด สมาคมมวยโลก (WBA) เส้นเดียวกับที่ริบคืนจาก ปาเกียว ช่วงต้นปี 2021 เนื่องจากไม่ป้องกันตำแหน่งภายในระยะเวลาที่กำหนด

สเปนซ์ วัย 31 ปี กล่าว "ผมผิดหวังมากที่ผมไม่สามารถชกกับ แมนนี ปาเกียว วันที่ 21 สิงหาคม ผมตื่นเต้นที่จะขึ้นสังเวียนไฟต์นี้"

"โขคร้ายเหลือเกิน แพทย์พบรอยฉีกตรงตาซ้าย แล้วบอกว่าผมจำเป็นต้องผ่าตัดด่วนที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ไม่มีทางที่ผมจะขึ้นสังเวียนด้วยการบาดเจ็บตา ผมขอโทษทุกๆ คน ผมจะกลับมาโดยเร็วที่สุด เราจะกลับมาจากจุดที่แย่สุด"

ปาเกียว วัย 42 ปี ไม่มีคิวชกตั้งแต่เอาชนะ คีธ เธอร์แมน วัย 32 ปี คว้าแชมป์ของ WBA เดือนกรกฎาคม 2019 เนื่องจากสถานการณ์ โควิด-19 ระบาด จึงเก็บตัวอยู่บ้าน ที่กรุงมะนิลา
#2743


นักกีฬาจากประเทศไทยได้สร้างผลงานที่น่าประทับใจในโอลิมปิกปีนี้ โดยมีการใช้แฮชแท็ก #โอลิมปิกเกมส์ และก่อให้เกิดการพูดคุยกว่า 3.8 ล้านครั้งบน Instagram และ Facebook

สำหรับประเทศไทยมีนักกีฬาหญิงคว้าเหรียญทอง และเหรียญทองแดงกลับมาได้ และสิ่งที่น่าสนใจคือการที่นักกีฬาหญิงได้รับความสนใจในโลกโซเชียลเป็นอย่างมาก

โดยตั้งแต่เริ่มการแข่งขันปีนี้นักกีฬาที่มีผู้ติดตาม (Followers) มากที่สุด 3 อันดับแรกเป็นนักกีฬาหญิง นำโดย รัชนก อินทนนท์ (ผู้ติดตามเพิ่มขึ้นประมาณ 1.8 แสนราย) ตามด้วย 'เทนนิส' พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ (ผู้ติดตามเพิ่มขึ้นประมาณ 1.78 แสนราย) และ ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย (ผู้ติดตามเพิ่มขึ้นประมาณ 74,000 ราย)

รัชนก อินทนนท์ ได้รับ Engagements หรือการมีส่วนร่วมบน Instagram มากกว่า 5 แสนครั้ง ซึ่งมากที่สุดในหมู่ตัวแทนนักกีฬาไทย

ขณะที่ โพสต์บน Facebook โดย เทนนิส พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ จัดเป็นโพสต์จากนักกีฬาไทยที่ได้รับ Engagements มากที่สุด (กว่า 223,000 ครั้ง)


สำหรับตัวเลขทั่วโลก พบว่าเหล่านักกีฬามี Followers เพิ่มขึ้นกว่า 75 ล้านราย ส่งผลให้มี Interactions หรือปฏิสัมพันธ์กับแฟนๆ ทั่วโลกกว่า 410 ล้านรายการบน Instagram ตลอดการแข่งขัน นอกจากนี้ยังมีการสร้าง Stories มากกว่า 300,000 Stories ซึ่งคงไม่มีใครโดดเด่นเกินกว่า ราอิสซ่า เลอัล (Rayssa Leal) นักกีฬาสัญชาติบราซิล

เมื่อเทียบกับนักกีฬาทุกคนในโอลิมปิกปีนี้ ราอิสซ่า เลอัล มี Followers เพิ่มขึ้นมากที่สุด (5.8 ล้าน) และสร้าง Interactions สูงสุด (18.44 ล้าน) บน Instagram นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของโพสต์ที่เกี่ยวกับโอลิมปิกบน Instagram ที่มียอด Likes สูงสุด (มากกว่า 4 ล้าน Likes) และ Instagram video ที่มียอดวิวสูงสุดระหว่างการแข่งขันอีกด้วย (มากกว่า 11 ล้านวิว)

โพสต์จาก ไท่ ซือ หยิง (Tai Tzu Ying) นักแบดบินตันหญิงจากไต้หวันที่ขอบคุณแรงสนับสนุนจากเหล่าแฟนๆ ของเธอหลังจากจบการแข่งขัน จัดเป็นโพสต์จากนักกีฬาบน Facebook ที่สร้าง Interactions สูงสุดตลอดการแข่งขัน (กว่า 1.3 ล้าน Interactions)

เปิดสถิติที่น่าสนใจจากมหกรรมกีฬาครั้งนี้ 

กีฬาที่ถูกพูดถึงบน Facebook มากที่สุด (ทั่วโลก)

1. กีฬาลู่และลาน

2. ยิมนาสติก

3. เรือพาย

4. มวยสากล

5. ว่ายน้ำ

นักกีฬาที่ได้รับการกล่าวถึง (Mentioned) มากที่สุดบน Facebook (ทั่วโลก)

1. ซิโมน ไบลส์ (Simone Biles)

2. นีราจ โชปรา (Neeraj Chopa)

3. ไฮดีลีน ดิแอซ (Hidilyn Diaz)

4. ซูนิ ลี (Suni Lee)

5. ทอม เดลีย์ (Tom Daley)

ประเทศที่ 'ส่งเสียงเชียร์ได้ดังที่สุด' บน Facebook

(จัดอันดับจากจำนวนผู้ใช้งานที่พูดถึงโอลิมปิกบน Facebook)

1. อินเดีย

2. สหรัฐอเมริกา

3. บราซิล

4. ฟิลิปปินส์

5. เม็กซิโก

อิโมจิที่ถูกใช้มากที่สุดบน Facebook (ทั่วโลก)

1. หัวใจ ❤️

2. ปรบมือ

นักกีฬาที่ได้รับการกล่าวถึง (Mentioned) มากที่สุดบน Instagram (ทั่วโลก)

1. นีราจ โชปรา (Neeraj Chopa)

2. ซิโมน ไบลส์ (Simone Biles)

3. ราอิสซ่า เลอัล (Rayssa Leal)

4. เกรย์เซีย โปลี (Greysia Polii)

5. อาปรียานี ราฮายู (Apriyani Rahayu)

Reels ที่เกี่ยวกับโอลิมปิกที่มียอดวิวสูงสุดในช่วงการแข่งขัน 3 อันดับแรก (ทั่วโลก)

1. เลอทีเซีย บูโฟนี่ (Leticia Bufoni) จากบราซิลแข่งสเก็ตบอร์ด

2. เจสสิก้า ฟ๊อกซ์ (Jessica Fox) จากออสเตรเลียยินดีกับเหรียญทอง

3. เจสสิก้า ฟ๊อกซ์ (Jessica Fox) จากออสเตรเลียกล่าวขอบคุณผู้จัดงานและเหล่าอาสาสมัคร
#2744


ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่น ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน มีผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิต 84 รายระหว่างรักษาตัวที่บ้าน ในจำนวนนี้ 36 รายมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว เสียชีวิตใน 1-9 วันหลังรายงานผลติดเชื้อ, 11 รายเสียชีวิตในช่วง 10-19 วัน, 9 รายเสียชีวิตไปแล้วจึงรายงานว่าติดเชื้อโควิด ระยะเวลาผู้ติดเชื้อที่เสียชีวิตยาวนานที่สุดคือ 30 วันหลังรายงานผลติดเชื้อ และมี 24 รายที่ไม่รู้ว่าระยะเวลาเสียชีวิตชัดเจน

ผู้ป่วยที่เสียชีวิตกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้สูงอายุ โดยมี 36 รายที่อายุ 80 ปีขึ้นไป, ช่วงวัย 70 ปีเสียชีวิต 24 ราย, ช่วงวัย 60 ปีเสียชีวิต 11 ราย, ช่วงวัย 50 ปีเสียชีวิต 7 ราย, ช่วงวัย 40 ปีเสียชีวิต 1 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตที่อยู่ในช่วงวัย 30 ปีมี 3 ราย และช่วงวัย 20 ปีเสียชีวิต 1 ราย



การระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลตาสร้างความกังวลว่า ผู้ติดเชื้อจะมีอาการทรุดหนักลงอย่างรวดเร็วจนอาจเสียชีวิตได้ระหว่างรักษาตัวที่บ้าน

นายกฯ โยชิฮิเดะ ซูงะ ได้ประกาศนโยบายเมื่อต้นเดือนนี้ ให้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่รักษาตัวที่บ้านเป็นหลัก เพื่อสงวนเตียงในโรงพยาบาลให้สำหรับผู้ที่อาการหนักเท่านั้น ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่รักษาตัวที่บ้านในขณะนี้มีมากกว่า 45,000 คน เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจากสัปดาห์ก่อนหน้า

อัตราผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นเพราะไวรัสสายพันธุ์เดลตาที่ติดเชื้อได้ง่าย และผู้ติดเชื้อรายใหม่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนหนุ่มสาว ที่ยังไม่ถึงคิวได้รับวัคซีน



นายกฯ ญี่ปุ่นระบุว่า จะติดตามอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้ออย่างใกล้ชิด เพื่อตัดสินใจว่าจะให้การแข่งขัน "พาราลิมปิก" มีผู้ชมหรือไม่ โดยงานพาราลิมปิกจะเริ่มต้นในวันที่ 24 ส.ค.นี้

ขณะนี้ญี่ปุ่นอยู่ในช่วงวันหยุดฤดูร้อน ผู้นำญี่ปุ่นระบุว่านี่เป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะในการควบคุมการระบาด เขาเรียกร้องให้คนหนุ่มสาวหลีกเลี่ยงการเดินทางท่องเที่ยวและกลับภูมิลำเนา โดยมีข้อมูลว่าร้อยละ 70 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ในกรุงโตเกียว เป็นกลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี.
#2745


เปิดจองวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) รอบพิเศษ ของโรงพยาบาลเครือพริ้นซิเพิล เริ่มตั้งแต่วันที่ 8-12 สิงหาคม 2564 นี้ จนกว่ายอดจองจะเต็ม เพราะมีจำนวนจำกัด เช็คเงื่อนไขอื่นๆ ดังนี้


โรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์

สถานะ : เปิดให้จองวัคซีนตั้งแต่ วันที่ 8-12 ส.ค. 64  (ตั้งแต่ตอนนี้ จนกว่าจำนวนจำกัดจะเต็ม)

เปิดรับลงทะเบียน: 8 ส.ค. 64 เวลา 8.00น.

ปิดรับลงทะเบียน: 12 ส.ค. 64 เวลา 12.00น.

บุคคลทั่วไปที่สนใจลงทะเบียนฉีดวัคซีนทางเลือก "โมเดอร์นา" สามารถลงทะเบียนกับทางโรงพยาบาลได้ โดยจะต้องเสียค่าบริการเอง 

ราคาต่อเข็ม: จำนวน 1,650 บาท / เข็ม และราคาจำนวนสองเข็ม 3,300 บาท (ราคานี้เป็นไปตามข้อกำหนดของสมาคมโรงพยาบาลเอกชน)

สมัครผ่อนของ 0% 40 เดือนกับ Citi คลิกเลย

รายละเอียดการลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนทางเลือก Moderna "ล็อตเพิ่มเติม": 


1.เข้าสู่เว็บไซต์: โดยเตรียมข้อมูลดังต่อไปนี้ "เลือกลงรายบุคคลหรือในนามองค์กร, ข้อมูลส่วนตัวผู้ลงทะเบียน พร้อมเลขบัตรประจำตัวประชาชน และเบอร์โทรศัพท์มือถือ และอีเมล์ที่ใช้งานอยู่"


2.กดปุ่ม "ลงทะเบียนจองวัคซีน ล็อต 2" เพื่อทำการกรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนจองวัคซีนโมเดอร์นา เจเนอเรชั่น 1 ล็อต 2/ โดยหากมีผู้ใช้งานจำนวนมาก ห้ามปิดหน้าจอ เพราะลำดับการจัดสรรจะถูกนำไปอยู่ท้ายสุดใหม่ ให้ทำการรอเพราะมีผู้เข้าใช้งานจำนวนมาก


3.เลือกโรงพยาบาลที่อยู่ในเครือเพื่อทำการเข้ารับวัคซีน และหากต้องการลงทะเบียนให้คนอื่นให้ทำการลงใหม่อีกครั้ง

4.กรอกข้อมูลของผู้ลงทะเบียนให้ครบถ้วน เช่น บัตรประชาชน เบอร์มือถือ อีเมล์ หากไม่มีอีเมล์ หลังจากลงทะเบียนแล้วให้กรอก noreply-customer@princhealth.com แล้วติดต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อรับข้อมูลการยืนยันการจอง


5.เลือกประเภทและจำนวนโดสที่ต้องการจอง โดยมีทั้ง "ฉีดวัคซีนใหม่" (Full Dose) สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนเลย และ "ฉีดกระตุ้น" (Booster Dose) สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว แต่ต้องการฉีดกระตุ้น


6.ทบทวนและยืนยันข้อมูลการลงทะเบียน โดยกดยืนยันข้อมูล เมื่อทำรายการสำเร็จแล้วระบบจะสส่งรายละเอียดไปยังอีเมล์ของท่านภายใน 48 ชั่วโมง หากไม่ได้รับอีเมล์ ให้ตรวจสอบในถังสแปม/ และเมื่อถึงกำหนดชำระเงิน จะมี SMS แจ้งเตือน ให้ท่านเข้าชำระเงินอีกครั้ง

คำแนะนำเบื้องต้นในการเลือกฉีดวัคซีนโมเดอร์นา: หากท่านรับวัคซีนเข็มที่ 2 มาแล้วและมีความประสงค์ในการรับวัคซีนชนิด mRNA ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 3 เดือน (อาจมีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง ตามผลการวิจัยที่ได้รับการรับรองทางการแพทย์หรือประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข) และหากมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งระยะห่าง ระยะเวลาให้บริการ และเงื่อนไขอื่นๆ รพ.จะแจ้งให้ทราบภายหลัง

หมายเหตุ:

-กรุณาศึกษาขั้นตอนการลงทะเบียนในโพสต์นี้ก่อนทำการลงทะเบียน

-การเปิดจองและชำระเงินครั้งนี้ เป็นไปตามมติสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ให้ทำการสำรวจปริมาณความสนใจเข้ารับวัคซีนโมเดอร์นา เพื่อนำส่งข้อมูลให้ทางองค์การเภสัชกรรม

-แบบฟอร์มลงทะเบียนนี้ สามารถใช้เพื่อลงทะเบียนแสดงความสนใจเบื้องต้นในการเข้ารับวัคซีนโมเดอร์นา ล็อตเพิ่มเติม คาดพร้อมให้บริการไตรมาสที่ 1 ในปี 2565 โดยการลงทะเบียนของท่านจะถูกจัดเข้าลำดับคิว ในการจัดสรรวัคซีน เมื่อมีความคืบหน้า ทางโรงพยาบาลจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

-ทางโรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จะทำการจัดสรรวัคซีน ให้กับผู้ที่ลงทะเบียนตามลำดับการลงทะเบียนแสดงความสนใจ

รายละเอียดการจอง :  โรงพยาบาลเครือพริ้นซิเพิล1  หรือ โรงพยาบาลเครือพริ้นซิเพิล2

ติดต่อ :  028048959
#2746


รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดเผยว่าที่ประชุม ครม.วันนี้ (10 ส.ค.) เห็นชอบเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 ในพื้นที่ควบคุมการระบาดสูงสุด (สีแดงเข้ม) ที่ให้มีการล็อกดาวน์ 29 จังหวัดตามประกาศของ ศบค.ตามที่ คณะกรรมการกลั่นกรองเงินกู้ฯที่มีเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นประธานเสนอ โดยให้มีการช่วยเหลือแรงงานประกันสังคมในกลุ่มนี้รวมประมาณ 6.6 ล้านราย ได้รับการช่วยเหลือคนละ 5,000 บาท 

แบ่งเป็นวงเงินสำหรับมาตรา 39 ใน 29 จังหวัด วงเงิน 7.18 พันล้านบาท และวงเงินสำหรับมาตรา 40 ใน 29 จังหวัดวงเงินรวม 2.62 หมื่นล้านบาท 


สำหรับคุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมาย


- เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่มีสัญชาติไทย

- มีสถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะ A (Active) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด) หรือ ณ วันที่3 สิงหาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 16 จังหวัด)

- เป็นผู้สมัครเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะรอชำระเงิน W (Wait) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564

- กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต้องไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39

- กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ต้องไม่เป็นข้าราชการหรือผู้รับบำนาญของกรมบัญชีกลาง

-  กรณีเป็นผู้ประกันตนในฐานทะเบียนประกันสังคม (สถานะ Active) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ต้องอยู่ใน 13 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา.สงขลา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา

- กรณีเป็นผู้ประกันตนในฐานทะเบียนประกันสังคม (สถานะ Active) ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2564 ต้องอยู่ใน 16 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ได้แก่ นครราชสีมา  ระยอง ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี ตาก อ่างทอง นครนายก สมุทรสงคราม และสิงห์บุรี

- กรณีเป็นผู้สมัครเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด ที่มีสถานะ W (Wait) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ที่อยู่ระหว่างรอชำระเงินสมทบ ต้องอยู่ในพื้นที่ 29 จังหวัด โดยให้ชำระเงินสมทบภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เพื่อเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 สมบูรณ์ตามกฎหมาย

ก่อหน้านี้นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยกับ กรุงเทพธุรกิจ ว่ากระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมได้ให้รายละเอียดแรงงาน และนายจ้างที่อยู่ในกลุ่มประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ใน 29 จังหวัดทั้งที่เป็นผู้ประกันตนเดิม และที่ลงทะเบียนใหม่ตามมติ ครม.ให้กับ สศช.เรียบร้อยแล้วเพื่อให้ได้กรอบและจำนวนที่แน่นอนเสนอให้ ครม.อนุมัติหลังจากก่อนหน้านี้อนุมัติในหลักการแล้ว 

ทั้งนี้แรงงานในกลุ่มนี้ทั้ง 29 จังหวัดที่เข้าเงื่อนไข รวมทั้งอาชีพอิสระจะได้เงินเยียวยาเป็นจำนวน 5,000 บาท โดยในส่วนของ 13 จังหวัดแรกที่มีการประกาศล็อกดาวน์มีผู้ประกันตนในมาตรา 39 ประมาณ 1 ล้านราย ส่วนในมาตรา 40 เดิมมีผู้ประกันตนประมาณ 1 ล้านราย และมีการลงทะเบียนเพิ่มเติมมา 3.1 ล้านราย รวมเป็น 4.1 ล้านราย 

สำหรับ 29 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มได้แก่ 1. กรุงเทพมหานคร 2. กาญจนบุรี 3. ชลบุรี 4. ฉะเชิงเทรา 5. ตาก 6. นครปฐม 7. นครนายก 8. นครราชสีมา 9. นราธิวาส 10.นนทบุรี 11.ปทุมธานี 12.ประจวบคีรีขันธ์ 13.ปราจีนบุรี 14.อยุธยา 15.เพชรบุรี 16.ปัตตานี 17.เพชรบูรณ์ 18.ยะลา 19.ระยอง 20.ราชบุรี 21.ลพบุรี 22.สงขลา 23.สิงห์บุรี 24.สมุทรปราการ 25.สมุทรสงคราม 26.สมุทรสาคร 27.สระบุรี 28.สุพรรณบุรี และ 29.อ่างทอง
#2747
วิธีจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เจ้าของธุรกิจควรรู้
https://www.chatstickmarket.com/single-post/howtoregisterelectroniccommerce-businessownersshouldknow
#2748


ระบบ 'Home isolation' ถูกนำมาใช้ได้ในระยะหนึ่ง มีการปรับหลักเกณฑ์ และระบบ เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษา รับยาให้ได้เร็วขึ้นเพื่อลดการเสียชีวิต เพิ่มคลินิกเอกชนร่วมดูแล และเพิ่มร้านขายยากระจาย 'Antigen Test Kit' ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

ผู้ป่วยโควิดที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวที่บ้าน การเตรียมระบบเพื่อรองรับผู้ป่วยในกลุ่มนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อไม่ให้มีผู้ป่วยที่หลุดจากระบบการรักษา และเสียชีวิตในบ้านอย่างที่เป็นมา การให้ยาได้เร็วที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งกรมการแพทย์ ได้ออกประกาศให้ยาฟิวิพิราเวียร์ให้เร็วที่สุดโดยไม่แบ่งว่าเป็นกลุ่มใด

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (3 ส.ค.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเพื่อร่วมดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่บ้าน และการตรวจโควิดด้วยชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) สำหรับคลินิกเอกชนทั่วประเทศเพื่อให้บริการในระบบ Home Isolation และ Community Isolation (HI/CI)

ประสานผู้ป่วยตกค้าง จัดส่งยา เข้าระบบ


โดยข้อมูลเมื่อวันที่ 6 ส.ค. พบว่าผู้ป่วยในระบบ Home Isolation มีประมาณ 6.3 หมื่นราย นำเข้าระบบแล้วราว 4 หมื่นราย ส่วนอีกประมาณ 2 หมื่นราย อยู่ระหว่างรอการตอบรับจากคลินิก ซึ่งมีคลินิกที่เข้ามาช่วยดูแล ผู้ป่วยโควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร (กทม.) จำนวน 206 แห่ง

"นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี" เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่าผู้ป่วยราว 2 หมื่นรายที่ยังไม่มีคลินิกกดรับเข้าระบบ Home isolation ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 64 เหลืออยู่ราว 1.3 หมื่นราย จะทำการเคลียร์ให้เสร็จภายใน 1-2 วัน เบื้องต้น สปสช. ได้โทรสอบถามผู้ป่วยราว 2,000 ราย มีประมาณครึ่งหนึ่งที่เข้าระบบการรักษาไปแล้ว


เช่น ฮอสพิเทล หรือกลับไปรักษาที่ภูมิลำเนา หากผู้ป่วยเริ่มมีอาการจะส่งยาไป กำลังประสานขอยาไปให้โดยไม่ต้องมีคลินิกกดรับก็ได้ จากเดิมต้องให้คลินิกรับ และให้คลินิกเป็นผู้ส่งยา แต่ตอนนี้ขอว่าหากไม่มีใครรับ เราเป็นคนโทรเองและส่งยาก่อน จนกว่าคลินิกจะกดรับ

ขณะที่กรมการแพทย์ ได้ออกหนังสือมาให้ว่าต่อจากนี้ระหว่างรอสามารถให้ยาก่อนได้ สปสช. มีคอลเซ็นเตอร์ขณะนี้เพิ่มคู่สายเป็น 3,000 คู่สาย และเพิ่มคนรับโทรศัพท์ 800 กว่าคน มีอาสาสมัครมาช่วยเพิ่มเติมในการตามผู้ป่วยที่ค้างอยู่ ธนาคารออมสิน จะส่งมอเตอร์ไซค์เดลิเวอร์รี่ มาช่วยอีกแรง

คลินิกเอกชน ร้านยา เข้าร่วมดูแลผู้ป่วย กระจายชุดตรวจ
นพ.จเด็จ กล่าวว่า สปสช.ให้องค์การเภสัชกรรมจัดหา ATK จำนวน 8.5 ล้านชุดไว้สำหรับใช้ทั่วประเทศใน 1-2 เดือนตอนนี้จึงเตรียมกระบวนการกระจาย ต้องย้ำว่า ATK ให้ประชาชนตรวจเองไม่คิดมูลค่า คนละส่วนกับที่กระจายให้หน่วยบริการตรวจ"

ขณะนี้ มีคลินิกเอกชนที่สนใจเข้าร่วมเพิ่มเติม 23 แห่ง และมีแอพพลิเคชั่นที่ปรึกษาผู้ป่วย 1 แห่ง มีร้านยาที่สนใจเข้ามาเป็นหน่วยกระจาย ATK จำนวน 170 แห่ง เพิ่มเติมจากที่มี 200 แห่ง และมีศูนย์ที่จะช่วยตรวจ ATK ประมาณ 50 แห่ง ในพื้นที่ กทม.ในอนาคตอาจจะมีการพิสูจน์ตัวตนผ่านแอพฯ เป๋าตังค์ รวมถึงส่ง ATK ทางไปรษณีย์ เพราะคนป่วย หรือญาติอาจจะไม่สะดวกเดินทางมารับที่คลินิก กำลังพิจารณาว่าคนหนึ่งอาจจะต้องตรวจ 3-4 ชิ้น ใน 14 วัน

ตรียมระบบส่งต่อ ผู้ป่วย ATK ผลบวก
สำหรับร้านยาที่กระจาย ATK ต้องมีข้อแนะนำ หากผู้ป่วยเจอผลบวกต้องทำอย่างไร เช่น โทรมาที่ร้าน ส่งต่อไปคลินิก หรือ แนะนำการเข้าระบบผ่าน สปสช. หากผลบวกไม่มีอาการสามารถรักษาที่บ้านได้ หรือขอยาที่ร้านขายยาได้ จะง่ายขึ้น เพราะฉะนั้น โมเดลนี้กำลังพยายามดูว่าใช้ได้หรือไม่ หากอาหารหนักต้องมีระบบไปดูแล ขณะนี้ยอดผู้ป่วยกลับภูมิลำเนาตัวเลขรวมทุกภาคส่วนกว่าแสนคน ประสานผ่านสปสช. เฉลี่ยวันละประมาณ 600- 700 ราย

เล็งจัดระบบส่งอาหารผู้ป่วย HI
นพ.จเด็จ กล่าวว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น สปสช.พยายามพัฒนาระบบการทำ Home isolation แต่มีข้อจำกัดเรื่องอาหาร หากได้ร้านอาหารที่ตอนนี้เปิดหน้าร้านไม่ได้ มาช่วยส่งอาหารเดลิเวอร์รี่จะถือว่าดีมาก เป็นการสร้างงานให้กับร้านอาหารอีกทางหนึ่ง เพราะการจัดระบบหากมีกลไกกลางมาเข้าร่วมน่าจะเป็นเรื่องที่ดี เช่น สมาคมภัตตาคารไทย มาจัดระบบได้อย่างนั้นจะดีมาก

"ตอนนี้หากมีผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร มาช่วยเรื่องอาหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์มาช่วยเรื่องอุปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ก็ทำด้านการแพทย์ จะดีใจมาก ซึ่งหากมีภาคส่วนใดสนใจ ไม่ต้องเปิดหน้าร้านก็ได้ เพียงแค่มีเดลิเวอร์รี่วิ่งไปส่งผู้ป่วย เชื่อว่าสามารถทำได้ เพราะ สปสช. มีงบประมาณอยู่แล้ว จะทำให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพขึ้น" เลขาธิการ สปสช. กล่าว

จัดหา ฟาวิพิราเวียร์ สำรอง
สำหรับแผนการจัดหายา ฟาวิพิราเวียร์ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ครั้งที 9/2564 เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2564 มีมติเห็นชอบให้เพิ่มรายการยาฟาวิพิราเวียร์ในแผนการจัดหา เพื่อให้เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์จัดหาเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วนในปี 2564 จำนวนไม่เกิน 27 ล้านเม็ด วงเงินไม่เกิน 891 ล้านบาท จากงบค่าบริการโควิด-19 และต่อเนื่องไปปี 2565 รองรับกรณีหน่วยบริการไม่สามารถหายาฟาวิพิราเวียร์ได้เพียงพอ ซึ่ง ครม.อนุมัติงบดำเนินการมา 13,026 ล้านบาท

"เดิมป่วยเราต้องไปเข้า รพ. ฮอสพิเทล รพ.สนาม วันนี้ต้องใช้วิธี Home isolation ขณะนี้เริ่มมีหลายคนที่สมัครใจอยู่บ้าน ขอเอายา โดยเฉพาะคนที่อายุไม่มากเป็นนิมิตรหมายที่ดีว่ากลุ่มที่ไม่เสี่ยงก็สามารถรักษาที่บ้านได้ แทนที่จะไปอยู่ฮอสพิเทล เพราะมีแพทย์ มียา อาหาร แต่ต้องสร้างความมั่นใจว่า หากมีอาการเปลี่ยนแปลง เราพร้อมจะรับเข้าสู่ระบบ"

อย่างไรก็ตามการรับมือกับสถานการณ์ต้องประเมินทุกๆ มาตรการ หาก 2 เดือนแล้วยังไม่สงบ ก็ต้องวางมาตรการเพิ่ม เมื่อผู้ป่วยเยอะขึ้น ต้องยอมรับว่าบริการสาธารณสุข รองรับไม่ไหว รัฐบาลต้องเข้าไปสนับสนุนประชาชนที่ต้องดูแลตัวเองที่บ้าน


สำรองฟาวิพิราเวียร์ 400 ล้านเม็ด
องค์การเภสัชกรรม (จีพีโอ) ปรับแผนเพิ่มการสำรองยาฟาวิพิราเวียร์ รองรับการรักษาที่จ่ายยาเร็วขึ้น เดือนสิงหาคม-กันยายน 2 เดือน 120 ล้านเม็ด ตุลาคม-ธันวาคม 300 ล้านเม็ด และทยอยกระจายสู่หน่วยบริการแม่ข่ายตามการจัดสรรของศูนย์ PHEOC อย่างต่อเนื่อง

"นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์" ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า องค์การฯได้ทำการปรับแผนการสำรองยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อรองรับการปรับเกณฑ์แนวทางการรักษาใหม่เพื่อจ่ายยาให้ผู้ป่วยเร็วขึ้น ได้อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง โดยจะมีการเพิ่มการสำรองทั้งจากยาที่องค์การฯผลิตเองและจัดหาจากต่างประเทศ โดยเดือนสิงหาคม-กันยายน รวม 2 เดือน จำนวน 120 ล้านเม็ด และเดือนตุลาคม-ธันวาคม เพิ่มอีกเดือนละ100 ล้านเม็ด รวมจำนวน 300 ล้านเม็ด

โดยทั้งนี้จะมีติดตามและประเมินสถานการณ์ความต้องการใช้ใกล้ชิด เพื่อทำการปรับแผนการสำรองให้ทั้งการผลิตเองและจัดหาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของการระบาดของโรค โควิด-19 ซึ่งจำนวนยาทั้งหมดในข้างต้นจะมีการทยอยผลิตเองและจัดหาเข้ามาสำรองอย่างต่อเนื่อง


เตรียมยาแรมเดซิเวีย 2 แสนขวด
นอกจากนี้ ในเดือนสิงหาคมได้จัดหา ยาแรมเดซิเวีย (Remdesivir) เป็น 2 แสนขวด และจะพิจารณาจัดหาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เพียงพอตามเกณฑ์การรักษาใหม่ โดยยาเรมเดซิเวียร์นั้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาฉีดให้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด ที่เป็นหญิงตั้งครรภ์ ผู้มีปัญหาในการดูดซึมยา ผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวมอย่างรุนแรง ผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ได้

ทั้งนี้ ยาฟาวิพิราเวียร์ ทั้งหมดจะมีจัดสรรให้กับหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลแม่ข่ายต่างๆ ตามการบริหารจัดการของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) โดยกลุ่มภารกิจสำรองเวชภัณฑ์และส่งกำลังบำรุง ผ่านระบบการบริหารคลังสินค้า หรือ VMI (Vender Management Inventory) ขององค์การเภสัชกรรม และองค์การฯเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งกระจายตามการจัดสรรให้กับหน่วยบริการแม่ข่ายในแต่ละพื้นที่ ซึ่งหลังจากนั้น หน่วยงานแม่ข่ายจะทำการบริหารจัดการและกระจายให้แก่หน่วยบริการลูกข่ายในแต่ละพื้นที่ต่อไป
#2749


"ยูเอซี โกล." อวดครึ่งปีแรก EBITDA รวม 219.88 ล้านบาท นับเป็น 62.82% ของแผนปี 64 และกำไรส่วนที่เป็นของบริษัท 133.85 ล้านบาท ชี้ธุรกิจเทรดดิ้งฟื้นตัว และบุ๊กกำไรเงินปันผลบริษัทร่วมทุน BBF อีก 119.92 ล้านบาท ผู้บริหารเดินหน้าลงทุนธุรกิจพลังงานทั้งโรงไฟฟ้าชุมชน และโรงไฟฟ้าขยะใน สปป.ลาว ควบคู่กับการให้บริการ Consulting Service และเร่งพิจารณาการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ 

นายชัชพล ประสพโชค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูเอซี โกล. จำกัด (มหาชน) หรือ UAC เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี 2564 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ว่า บริษัทฯ มีกำไรส่วนที่เป็นของบริษัท 133.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.93% เมื่อเทียบจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรส่วนที่เป็นของบริษัท 131.32 ล้านบาท โดย Gross Margin อยู่ที่ระดับ 18.61% ขณะที่ EBITDA งวด 6 เดือนแรกปี 2564 อยู่ที่ 219.88 ล้านบาท คิดเป็น 62.82% จากเป้าหมายปี 2564 ที่ 350 ล้านบาท

สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2564 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายและการให้บริการ จำนวน 374.92 ล้านบาท โดยกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 68.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.56% มากกว่างวดเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรักษาความคงที่ของ Gross Margin ไว้ได้ใกล้เคียงกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วที่ 18.23% ทั้งนี้ เป็นผลจากการฟื้นตัวของธุรกิจเทรดดิ้ง ตามภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงต้นปีที่ยังคงเป็นปัจจัยเชิงบวก ส่งผลให้มีการรับรู้รายได้เพิ่มขึ้นจาก Backlog ของธุรกิจเทรดดิ้งที่มีเข้ามาในช่วงครึ่งปีแรกกว่า 250 ล้านบาท และคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีกราว 230 ล้านบาท ในช่วงครึ่งปีหลังนี้

ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังรับรู้ส่วนแบ่งกำไรสุทธิ และการเงินปันผลปันผลงวดครึ่งปีหลัง 2563 จากบริษัทร่วมทุน บจ.บางจากไบโอฟูเอล (BBF) จำนวน 119.92 ล้านบาท ซึ่งได้ประโยชน์จากการส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจำหน่ายและราคาขายเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นจากความต้องการใช้นำมันดีเซลในภาคการขนส่งภาคการเกษตร ประกอบกับความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนวัตถุดิบในช่วงที่ราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับสูงขึ้น

นอกจากนี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ UAC ยังได้กล่าวถึงภาพรวมธุรกิจครึ่งปีหลัง 2564 ว่า บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าสร้างโอกาสทางธุรกิจ โดยการนำ Business model ใหม่ เช่น การทำ Consulting Service พร้อมทั้งพยายามรักษาการให้บริการและฐานะลูกค้าให้ดีอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งพิจารณาการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ภายใต้นโยบายการลงทุนด้าน Energy Efficiency และ Bio Circular Economy ทั้งในประเทศ และกลุ่มประเทศ CLMV

ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนของบริษัทฯ ขณะนี้ได้ผ่านคุณสมบัติและข้อเสนอขอขายไฟฟ้าด้านเทคนิคของการไฟฟ้าภูมิภาคแล้ว จำนวน 2 โครงการ ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมราว 6 เมกะวัตต์ และยังรอการพิจารณาอีก 4 โครงการ ประมาณ 12 เมกะวัตต์ หลังจากที่บริษัทฯ ได้ยื่นอุทธรณ์ไปก่อนนี้ ซึ่งคาดว่าจะทราบผลชัดเจนภายในเดือนกันยายนนี้

สำหรับแผนความคืบหน้าโครงการจัดการขยะ เพื่อผลิตพลังงานทดแทนและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ที่นครเวียงจันทน์ สปป.ลาว นั้น การลงทุนในเฟสแรกในโครงการบริหารจัดการขยะได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วกว่า 98% ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จได้ตามแผนที่วางไว้ในปี 2564 นี้ และหลังจากนั้นบริษัทฯ จะเร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าขยะ ขนาด 6 เมกะวัตต์ในเฟสที่ 2 เป็นลำดับต่อไป ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้บริษัทฯ เชื่อมั่นใจว่าจะรักษาระดับอัตราการเติบโตรายได้ในปีนี้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% ขณะที่ EBITDA คาดว่าไม่ต่ำกว่า 20% ของรายได้อย่างแน่นอน
#2750


การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ติดลบต่ำที่สุดนับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง โดยจีดีพีในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ติดลบถึง 12.2% ถึงแม้ว่าหลังจากนั้นเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นตามสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยที่ดีขึ้นเกือบอยู่ในระดับปกติ แต่การระบาดระลอกที่ 2 ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ต่อด้วยการระบาดระลอกที่ 3 นับตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา มีความรุนแรงมากขึ้นจนการระบาดระลอกนี้มีผู้ติดเชื้อสะสมถึงวันที่ 8 ส.ค.2564 มีจำนวนถึง 727,642 คน

สถานการณ์ที่เลวร้ายลงอย่างต่อเนื่องทำให้รัฐบาลประกาศขยายพื้นที่กึ่งล็อกดาวน์จาก 13 จังหวัด เป็น 29 จังหวัด พร้อมกับการเตรียมงบประมาณสำหรับการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก 30,000 ล้านบาท เป็น 60,000 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่มีโอกาสถดถอย และทำให้บางองค์กรเริ่มปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2564 เป็นติดลบแล้ว นั่นหมายความว่าเศรษฐกิจไทยมีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอยสูงมาก ซึ่งเป็นอีกประเด็นที่รัฐบาลต้องเตรียมรับมือให้ได้

หากดูประสิทธิภาพการบริหารจัดการในสถานการณ์วิกฤติของรัฐบาลอาจทำให้มีความเชื่อมั่นลดลงต่อการรับมือภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งที่ผ่านมามีการตัดสินใจที่ผิดพลาดในหลายประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะความผิดพลาดในการจัดหาวัคซีนที่หลายประเทศวางแผนอย่างเข้มข้นในช่วงครึ่งหลังปี 2563 ที่จะจัดหาวัคซีนมาให้เพียงพอ ในขณะที่ประเทศไทยจัดหาวัคซีนได้ล่าช้าและปฏิเสธการพิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอของหลายฝ่ายที่เสนอแนวทางการเร่งนำเข้าวัคซีน

ประเทศไทยในขณะนี้จึงตกอยู่ในสถานการณ์ขาดแคลนทั้งงบประมาณดำเนินการทำให้ต้องกู้เงินมาบริหารภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งขาดแคลนวัคซีนและอุปกรณ์ตรวจหาเชื้อ โดยถ้ามองย้อนไปปลายปี 2563 คงไม่มีใครคิดว่าประเทศไทยจะตกอยู่ในสถานการณ์นี้ ดังนั้นสิ่งสำคัญประการหนึ่งในการบริหารบนสถานการณ์ฉุกเฉิน คือ สมมติฐานในกรณีเลวร้ายที่สุดอย่าเพิ่งรีบตัดออกไป เพราะมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอหากสถานการณ์ยังไม่จบ

ลำพังการนำพาประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤติการระบาดระลอกใหม่นี้ดูเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญสำหรับรัฐบาลปัจจุบัน และเมื่อมาเจอภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูงแล้วรัฐบาลจะนำพาประเทศให้พ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปได้หรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาการจัดหาวัคซีนที่เป็นเงื่อนไขสำคัญของการควบคุมการระบาดยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ว่าสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้เมื่อใด รัฐบาลควรตระหนักถึงโอกาสที่ได้รับจากประชาชนแล้วใช้โอกาสที่ได้รับเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤติให้ดีกว่านี้
#2751


GPSC สุดแกร่งผลประกอบการไตรมาส 2/2564 คว้ากำไร 2,302 ล้านบาท โต 21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โชว์ศักยภาพแผนการดำเนินงานครึ่งปีหลัง เดินหน้านวัตกรรมพลังงานเต็มสูบ รับรู้ผลการดำเนินงานจากพอร์ตพลังงานสะอาดในต่างประเทศทั้งอินเดีย และไต้หวัน พร้อมยกระดับมาตราการคุมเข้มป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ดูแลความมั่นคงระบบการผลิต ป้อนไฟฟ้าได้ต่อเนื่อง

นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทโกล. เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า ผลประกอบการไตรมาส 2/2564 มีรายได้ทั้งสิ้น 18,234 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2563 โดยมีกำไรสุทธิ 2,302 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2563 (YoY) โดยสาเหตุหลักมาจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรที่เพิ่มขึ้นของโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี การรับรู้รายได้จากเงินชดเชย ค่าประกันภัยของโรงไฟฟ้าโกลว์พลังงานระยะที่ 5 ปัจจัยบวกจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงของก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้การดำเนินงานของโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) มีกำไรขั้นต้นที่เพิ่มขึ้น แม้ว่ากำไรขั้นต้นของโรงไฟฟ้าผู้ผลิตอิสระ (IPP) จะลดลงในส่วนของโรงไฟฟ้าเก็คโค่วัน ที่มีแผนหยุดซ่อมบำรุงในช่วงที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของไตรมาส 2/2564 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2564 (QoQ) มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 329 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 17% เป็นผลการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีที่เพิ่มขึ้น รวมถึงเงินชดเชยจากค่าประกันโรงไฟฟ้าโกลว์ พลังงานระยะที่ 5 และมีกำไรขั้นต้นที่เพิ่มขึ้นของโรงไฟฟ้า IPP ถึงแม้ว่า กำไรขั้นต้นของโรงไฟฟ้า SPP ลดลง เนื่องจากต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติและถ่านหินที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับค่าซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขณะเดียวบริษัทฯ ยังรับรู้มูลค่า Synergy ร่วมกับ GLOW จากการควบรวมกิจการสุทธิหลังภาษี จำนวน 436 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ รวมถึงการใช้โครงข่ายไฟฟ้าและไอน้ำร่วมกัน ทั้งยังสามารถลดต้นทุนจัดซื้อจัดจ้าง และงานซ่อมบำรุงได้ตามเป้าหมาย

สำหรับภาพรวมของผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 4,276 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 23% โดยมีรายได้ทั้งสิ้น 34,858 ล้านบาท หรือลดลง 4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม แผนการดำเนินธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทฯ ยังคงแสวงหาโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่องในการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านพลังงาน จากกลยุทธ์หลักในการร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ที่ประสบความสำเร็จในช่วงเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ได้แก่ วันที่ 13 ก.ค. 2564 บริษัท โกล. รีนิวเอเบิล ซินเนอร์ยี่ จำกัด (GRSC) ซึ่ง GPSC ถือหุ้น 100% ได้บรรลุข้อตกลงในการเข้าลงทุนในบริษัท Avaada Energy Private Limited (Avaada) สัดส่วนประมาณ 41.6% คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนประมาณ 14,825 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ประเทศอินเดีย กำลังผลิตรวม 3,744 เมกะวัตต์ เป็นโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) เรียบร้อยแล้วประมาณ 1,392 เมกะวัตต์ และอยู่ระหว่างการก่อสร้างจำนวนประมาณ 2,352 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทยอย COD ในปี 2564-2565 ทำให้สามารถรับรู้รายได้ทันที นอกจากนี้ วันที่ 14 ก.ค. 2564 GRSC ยังได้เข้าทำสัญญาซื้อขายหุ้นกับกองทุน CI-II และ CI-III ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัท Copenhagen Infrastructure Partners (CIP) เพื่อเข้าลงทุนในสัดส่วน 25% ในโครงการ Changfang และ โครงการ Xidao (CFXD) ซึ่งเป็นโครงการการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่ง (Offshore wind) ในไต้หวัน กำลังการผลิตไฟฟ้ารวมจำนวน 595 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทยอย COD ในช่วงปี 2565-2567 CFXD มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวกับ บริษัท Taiwan Power Company โดยคาดว่าการดำเนินการตามเงื่อนไขบังคับก่อนดังกล่าวจะแล้วเสร็จและสามารถดำเนินการโอนหุ้นได้ภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565

พร้อมกับความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมพลังงาน โดย GPSC ได้เปิดโรงงานผลิตหน่วยกักเก็บพลังงานด้วยเทคโนโลยี SemiSolid กำลังการผลิตเริ่มต้น 30 MWh ต่อปี ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เป็นการผลิตแบตเตอรี่ G-Cell ที่ใช้เทคโนโลยี 24M เป็นแบตเตอรี่ชนิดกึ่งแข็ง ที่มีความปลอดภัยสูง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นหน่วยงานกักเก็บพลังงานจากพลังงานหมุนเวียนในการเพิ่มประสิทธิภาพจ่ายไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง และยังสามารถรองรับอุตสาหกรรมไฟฟ้ายานยนต์แห่งอนาคต (EV)

"แม้ว่าขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น ทำให้หลายองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการต่างๆ เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาด โดย GPSC ในฐานะผู้ผลิตสาธารณูปโภคในการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจและสังคม ได้ยกระดับมาตรการป้องกันเข้มข้นสูงสุด ผ่านการดำเนินงานโดยศูนย์เฝ้าระวังและติดตามการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส (GPSC G-COVID Center) ของบริษัทฯ โดยกำหนดให้พื้นที่กระบวนการผลิตเป็นพื้นที่ควบคุมพิเศษ ตั้งทีมปฏิบัติการเฉพาะกิจของแต่ละโรงไฟฟ้า ห้ามบุคคลภายนอกเข้าพื้นที่สำนักงานและพื้นที่ปฏิบัติการอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง เพื่อให้การผลิตไฟฟ้า ไอน้ำและสาธารณูปโภคเป็นไปมีเสถียรภาพและความมั่นคง ตอบสนองความต้องการใช้ของกลุ่มลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง" นายวรวัฒน์กล่าว
#2752


หุ้นปิดเช้าบวก 17.33 จุด รับแรงซื้อกลับหุ้นบิ๊กแคป-Sentiment ภูมิภาคช่วยหนุน อีกทั้งยังคลายกังวลปัจจัยการเมืองช่วงสุดสัปดาห์ไม่ได้บานปลาย สำหรับแนวโน้มการลงทุนในภาคบ่าย ตลาดได้ปรับตัวขึ้นในช่วงเช้าไปมาก ทำให้น่าจะมี upside น้อยลง เนื่องจากไม่มีปัจจัยใหม่ในช่วงนี้ด้วย

น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้ปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าที่คาดไว้ รับแรงซื้อกลับจากหุ้นขนาดใหญ่ที่ปรับตัวลงไปมากในช่วงก่อนหน้านี้ และยังได้รับ Sentiment จากตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่อิงบวกมาช่วยหนุนได้บ้าง อีกทั้งยังคลายกังวลปัจจัยการเมืองช่วงสุดสัปดาห์ไม่ได้บานปลาย

อย่างไรก็ดี ให้ติดตาม MSCI Quarterly review ประกาศในวันที่ 11 ส.ค.นี้ และอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ รวมถึงรายงานประจำเดือนของกลุ่มโอเปก และการทยอยประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนต่อไป

ด้านภาวะตลาดหุ้นไทยปิดการซื้อขายครึ่งวันเช้าที่ระดับ 1,539.05 จุด เพิ่มขึ้น 17.33 จุด หรือเปลี่ยนแปลง +1.14% มูลค่าการซื้อขายราว 37,837 ล้านบาท

สำหรับแนวโน้มการลงทุนในช่วงบ่ายนี้ น.ส.ธีรดา กล่าวว่า ตลาดได้ปรับตัวขึ้นในช่วงเช้าไปมาก ทำให้น่าจะมี upside น้อยลง เนื่องจากไม่มีปัจจัยใหม่ในช่วงนี้ด้วย พร้อมให้แนวรับ 1,530-1,525 จุด ส่วนแนวต้าน 1,540-1,550 จุด
#2753


นายดีราช บาจาช Head of Asia Credit  Lombard Odier  เปิดเผยว่า เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินตามปกติและนำหน้าประเทศหลักอื่นๆ ส่งผลให้อัตราการผิดนัดชำระหนี้ (Default rate) ในภาคเอกชนโดยรวมลดลง อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตามแผนพัฒนาประเทศระยะยาวทำให้รัฐบาลจีนทยอยยกเลิกการอุ้มกิจการที่ไม่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งออกนโยบายที่เข้มงวดมากขึ้นในบางภาคธุรกิจ เช่น อสังหาริมทรัพย์ เพื่อควบคุมความร้อนแรงที่สะสมในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา ทำให้อัตราการผิดนัดชำระหนี้ในภาครัฐวิสาหกิจและภาคธุรกิจที่ตกเป็นเป้าหมายเพิ่มขึ้น

Lombard Odier มองว่าตราสารหนี้เอกชนให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าพันธบัตรรัฐบาล และ Spread (อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มจากพันธบัตรรัฐบาล) ของตราสารหนี้เอกชนระดับ Investment Grade ในเอเชีย (Asia IG Credit) นับว่าสูงกว่า Spread ของตราสารหนี้เอกชนในระดับเดียวกันทั่วโลก (Global IG Credit) นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ในเอเชีย ทำให้ Spread ของตราสารหนี้ผลตอบแทนสูงในเอเชีย (Asia High Yield)  เพิ่มขึ้น (ราคาลดลง) สวนทางกับ Spread ของตราสารหนี้ผลตอบแทนสูงในสหรัฐฯ (US High Yield) ที่ลดลง (ราคาเพิ่มขึ้น) จึงยิ่งเพิ่มโอกาสการลงทุนให้ตราสารหนี้เอกชนของเอเชีย

ในประเด็นความเสี่ยง ปริมาณตราสารหนี้ใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดไม่น่าสร้างผลกระทบมากนัก เนื่องจากบริษัทเอกชนหลายแห่งได้ออกตราสารหนี้เพื่อล็อคดอกเบี้ยกู้ยืมระยะยาวไปล่วงหน้าแล้ว ขณะที่ ความกังวลเรื่องบอนด์ยีลด์ระยะยาวที่อาจจะปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงจากการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อได้ผ่อนคลายลง ดังจะเห็นได้จากบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ขยับลงจาก 1.78% ในช่วงเดือนเมษายน 2564 เหลือเพียง 1.22% ณ สิ้นเดือนกรกฏาคม 2564 ที่ผ่านมา


นางสาวศิริพร สุวรรณการ Private Banking Financial Advisory Head Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย ให้คำแนะนำว่า นักลงทุนควรทยอยสะสมเงินลงทุนในสินทรัพย์ให้หลากหลายประเภท ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้พอร์ตการลงทุนเป็นแหล่งสร้างรายได้สม่ำเสมอและเงินลงทุนมีการเติบโตในระยะยาว


สำหรับส่วนของตราสารหนี้ นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางสามารถเลือกลงทุนในกองทุน K-APB เป็นสัดส่วน 3-5% ของพอร์ต เนื่องจากผลตอบแทนของตราสารหนี้ในฝั่งจีนและเอเชียดีกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว โดยกองทุนนี้ให้ความสำคัญกับการคัดสรรตราสารหนี้คุณภาพดีจากบริษัทเอกชนที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งและกำไรสุทธิขยายตัว รวมทั้งมีการกระจายเงินลงทุนในตราสารหนี้มากกว่า 300 รายการ จึงช่วยสนับสนุนพอร์ตโดยรวมทั้งในด้านการสร้างรายได้และพยุงมูลค่าเงินลงทุนในยามตลาดหุ้นผันผวน

ขณะเดียวกัน นักลงทุนควรลดน้ำหนักการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เพราะอัตราผลตอบแทนปัจจุบันต่ำมาก ทำให้รายได้น้อย และที่สำคัญรายได้นั้นไม่เพียงพอจะชดเชยกับแนวโน้มราคาที่อาจจะลดลงจากผลกระทบของบอนด์ยีลด์ขาขึ้นในอนาคตอันใกล้ได้

สำหรับ "กองทุน K-APB" เป็นกองทุนเปิดที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุน LO Funds – Asia Value Bond Fund, (USD) โดยจะลงทุนในตราสารหนี้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (รวมญี่ปุ่น) ที่อยู่ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าที่สามารถลงทุนได้ (Non – Investment Grade) และตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Securities) ได้
#2754


บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนเอไอเอ (ประเทศไทย) จำกัด นำโดย นายสุขวัฒน์ ประเสริฐยิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นตัวแทนรับมอบรางวัล Best New Asset Management Company Thailand ประจำปี 2564 ในหมวด Fund & Asset Management Newcomer Awards จาก Global Banking & Finance Review สื่อการเงินการลงทุนชั้นนำแห่งประเทศอังกฤษ โดยรางวัลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและความเชี่ยวชาญพร้อมด้วยประสบการณ์ในด้านการลงทุนของบลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) แม้จะเป็นบลจ. ใหม่ในอุตสาหกรรม โดย บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) เป็นผุ้บริหารเงินลงทุนให้แก่กลุ่มบริษัท เอไอเอ ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทประกันชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก[1] ผ่านความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนใน 18 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เสริมด้วยเครือข่ายทางธุรกิจระดับโลก พร้อมทั้งพันธมิตรผู้จัดการกองทุนที่มีชื่อเสียงในระดับสากล

ทั้งนี้ บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) เริ่มประกอบธุรกิจในปี พ.ศ. 2563 ถือหุ้นโดยกลุ่มบริษัทเอไอเอ ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก ด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า "เราลงทุนเคียงข้างลูกค้า บริหารจัดการสินทรัพย์ผ่านความชำนาญและประสบการณ์ระดับโลก เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวให้กับผู้ลงทุน" ปัจจุบัน บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารประมาณ 800,000 ล้านบาท อันรวมถึงกองทุนรวม และกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งถือเป็นบลจ. ที่มีขนาดใหญ่ใน 5 อันดับแรกของอุตสาหกรรมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน[2] (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2564)
#2755
89,400,000 บาทค่ะ
T.065.965.7691 (เบญ)
ID:bp2036 
เจ้าของขายเอง

ขายที่ดินย่านธุรกิจ ใกล้กองสลาก ด้านหน้าติดถนนสนามบินน้ำ อ.เมือง จ.นนทบุรี


ที่ตั้งที่ดินนะคะ ถนน นนทบุรี ท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี 40160

T.0659657691 (เบญ)
ID:bp2036 
เจ้าของขายเอง

เนื้อที่ 1-3-45 ไร่ 
หน้ากว้างมาก  ก.46 ม. x ย. 61 ม. 
เหมาะทำอาคารพาณิชย์, หอพัก, บ้านพักอาศัย, เปิดร้านอาหาร, Cafe, 
super maket และอื่นๆ
ด้านหน้าติดถนนสนามบินน้ำ
ห่างจากกองสลากไม่ถึง 800 ม. 
ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู (สถานีสนามบินน้ำ)
จะเดินทางไป ศูนย์ราชการนนท์หรือกระทรวงพาณิชย์ ก็ใกล้ไม่ถึง 15.น
ออกได้หลายเส้น ไม่ว่าจะเป็น ถ.ติวานนท์, ถ.งามวงศ์วาน,ถ.แจ้งวัฒนะ,
ถ.รัตนาธิเบศร์, ถ.ราชพฤกษ์,ถ.ชัยพฤกษ์ก็สะดวก

ตร.วาละ 120,000 บ.
(สามารถแบ่งขายแยกแปลงได้)

T.065-965-7691
ID:bp2036
เจ้าของขายเอง 
งดรับนานหน้านะจ๊ะ


#ขายที่ดิน #ขายที่ดินนนทบุรี #ขายที่ติดถนนหลวง
#ขายที่ #ขายที่ดินแปลงใหญ่ #ขายที่ทำเลดี #ที่ดินใกล้รถไฟฟ้า 
#ที่ดินติดรถไฟฟ้า

https://www.prakard.com/viewtopic.php?f=85&t=7834069












#2756


คลัสเตอร์อะไรที่ควรพัฒนาในภูมิภาค ในการไขปัญหาข้อแรกที่ว่า "ถ้าจะมีการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจแห่งที่สองในเขตพื้นที่ภาคอื่น ๆ ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมใด?"

คลัสเตอร์อะไรที่ควรพัฒนาในภูมิภาค
ในการไขปัญหาข้อแรกที่ว่า "ถ้าจะมีการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจแห่งที่สองในเขตพื้นที่ภาคอื่น ๆ ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมใด?" จึงต้องคำนึงถึงการก่อตัวของการรวมกลุ่มของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีนัยสำคัญ ซึ่งแสดงถึงการมีอยู่ของคลัสเตอร์ในพื้นที่นั้น ๆ เพื่อเป็นการระบุคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพในพื้นที่ภาคดังกล่าว และเป็นการบ่งชี้ถึงศักยภาพของพื้นที่ประกอบการและความพร้อมของเครือข่ายอุตสาหกรรมโดยอ้อม

ทั้งนี้ การศึกษาในเชิงวิชาการเพื่อระบุถึงการมีอยู่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ได้มีการดำเนินการอยู่ 2 แนวทาง คือ (1) การศึกษาวิจัยโดยใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพในเชิงลึกประกอบกับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในระดับพื้นที่ และ (2) ใช้เทคนิคทางด้านปริมาณจากตัวเลขที่เรียกว่า Cluster Mapping1 ซึ่งจะช่วยระบุการมีอยู่ของคลัสเตอร์ภายในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กำหนด

สำหรับการศึกษาเพื่อตอบคำถามครั้งนี้ ผู้เขียนได้เลือกใช้วิธีการศึกษาด้วยเทคนิคเชิงปริมาณตามแนวทางของ European Cluster Observatory ที่เรียกว่า 3 STAR Model เนื่องจาก มีความเรียบง่าย และสามารถวัดเปรียบเทียบได้ โดยจะทำการวัดผลกระทบทางอ้อมจากการอยู่ในพื้นที่ร่วมกันของธุรกิจ (Co-location of Businesses) จากการกระจุกตัวของการจ้างงาน และการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพิจารณา 3 ปัจจัยเป็นลำดับ ประกอบด้วย ขนาด (Size) ระดับความชำนาญพิเศษของพื้นที่ (Specialization) และขอบเขตของอุตสาหกรรมที่พื้นที่จะขับเคลื่อน หรือมุ่งเน้นในการผลิต (Focus) แบ่งเป็นระดับ 0 1 2 และ 3 Stars ตามจำนวนขั้นที่ผ่านเงื่อนไขตามลำดับ โดยใช้ข้อมูลการจ้างงาน และมูลค่าเพิ่มจากสถิติมูลฐานอุตสาหกรรมการผลิตในปี 2554 จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม พ.ศ. 2559 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จากการนำระดับการจัดประเภทอุตสาหกรรม TSIC 4 ตำแหน่ง ในระดับประเทศ และภูมิภาคต่าง ๆ มาคำนวณ แล้วคัดเลือกสาขาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เป็นตัวนำในแต่ละเขตพื้นที่จากกลุ่มสาขาอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในระดับของความชำนาญพิเศษ 3 Stars และจำนวนการจ้างงานอย่างน้อย 2 Stars ร่วมกับสาขาที่มีจำนวนการจ้างงานในระดับของความชำนาญพิเศษ 3 Stars และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างน้อย 2 Stars ซึ่งถือว่าเป็นสาขาที่มีความสำคัญต่อประเทศ และมีระดับสัดส่วนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าค่าเฉลี่ยอย่างเพียงพอ แล้วนำมาจัดกลุ่มสาขาอุตสาหกรรมดังกล่าว ให้เป็นคลัสเตอร์


ในเบื้องต้น พบว่า ในแต่ละเขตพื้นที่มีกลุ่มคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพสูง

(1) เขตพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก มีคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพ ประกอบด้วย คลัสเตอร์ยานยนต์ และชิ้นส่วน คลัสเตอร์ปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์ และคลัสเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงคลัสเตอร์กลุ่มสาขาอื่น ๆ เช่น สาขาการผลิตเครื่องประดับเพชรพลอยแท้ และสิ่งของสาขาการผลิตรองเท้า และสาขาการพิมพ์

(2) เขตพื้นที่ภาคเหนือ มีคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพ ประกอบด้วย คลัสเตอร์กลุ่มอุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์และอุปกรณ์ถ่ายภาพ คลัสเตอร์เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้สอยในสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ทำจากไม้ และการผลิตสิ่งของ รวมถึงคลัสเตอร์เกษตรแปรรูป อาทิ สาขาผลิตภัณฑ์ยาสูบ ในขณะที่สาขาการแปรรูป และการถนอมผลไม้และผัก และสาขาการผลิตน้ำตาล ยังคงมีระดับสัดส่วนของการสร้างมูลค่าเพิ่ม และสัดส่วนการจ้างงานน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศตามลำดับ

(3) เขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพ ประกอบด้วย คลัสเตอร์อาหาร และเกษตรแปรรูปในสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการโม่-สีธัญพืช สาขาการผลิตน้าตาล รวมถึงสาขาการผลิตสตาร์ชและผลิตภัณฑ์จากสตาร์ช

(4) เขตพื้นที่ภาคใต้ มีคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพ ประกอบด้วย คลัสเตอร์เกษตรแปรรูปในกลุ่มยางพาราและปาล์มน้ามัน ในขณะที่สาขาการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้าแปรรูปอื่น ๆ ยังคงมีระดับสัดส่วนของการสร้างมูลค่าเพิ่มน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ

นอกจากนี้ จากการพิจารณาผลการศึกษาคลัสเตอร์ ที่มีศักยภาพในมิติการจ้างงาน หรือมูลค่าเพิ่มในระดับ 1 ถึง 3 Stars ของเขตพื้นที่แต่ละภาคควบคู่กับนโยบาย 10 อุตสาหกรรมศักยภาพเป้าหมายของรัฐบาล เพื่อเชื่อมโยงเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ กับศักยภาพในระดับพื้นที่ พบว่า สาขาอุตสาหกรรมในกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนที่มีศักยภาพต่อยอดไปสู่กลุ่มยานยนต์สมัยใหม่ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีศักยภาพต่อยอดไปสู่กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ กลุ่มปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์ ที่มีศักยภาพต่อยอดไปสู่เคมีชีวภาพ รวมถึง กลุ่มคลัสเตอร์ดิจิทัล คลัสเตอร์การแพทย์ครบวงจร (ในกลุ่มเภสัชภัณฑ์ และเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์) และคลัสเตอร์อากาศยานนั้น มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กระจุกตัวอยู่อย่างหนาแน่นในเขตพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ส่วนกลุ่มคลัสเตอร์อาหาร และเกษตรแปรรูป ที่มีศักยภาพพัฒนาไปสู่อาหารแห่งอนาคต เชื้อเพลิงชีวภาพ และเทคโนโลยีชีวภาพ ในเขตพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก จะมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลายกว่า และมีการกระจุกตัวสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเขตพื้นที่ภาคอื่น ๆ ในขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางสาขาในอุตสาหกรรมอาหาร และเกษตรแปรรูป มีการกระจุกตัวอยู่ในเขตพื้นที่ภาคที่เหลือ ตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ เช่น กลุ่มการแปรรูป และการถนอมผลไม้ และผัก กลุ่มผลิตภัณฑ์ยาสูบ และกลุ่มการผลิตน้าตาลในเขตพื้นที่ภาคเหนือ กลุ่มการผลิตน้าตาล และสตาร์ช ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือกลุ่มยางพารา และปาล์มน้ามัน ในเขตพื้นที่ภาคใต้ เป็นต้น

มีแนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์ อย่างไร?
สำหรับการไขปัญหาข้อที่สองที่ว่า "ควรมีแนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์อย่างไรจึงจะเหมาะสม?" นั้น ต้องย้อนกลับไปที่ความสำคัญของพื้นที่ที่ตั้งของบริษัทต่อขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น โดยพื้นที่ที่มี "องค์ประกอบของปัจจัยแวดล้อม" ที่เอื้อต่อการกระจุกตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในธุรกิจสาขาเฉพาะในพื้นที่ใกล้เคียงกัน (หรือคลัสเตอร์) อย่างเหมาะสมจะเป็น ตัวจักรสาคัญที่ขับเคลื่อนให้พื้นที่หรือประเทศนั้นมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง คาถามที่ตามมาคือ "แล้วอะไร คือ ปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสมที่ไทยควรผลักดันให้มีขึ้นล่ะ?" จากการค้นคว้าพบว่ามีหลายบทความวิชาการได้พยายามตอบคาถามดังกล่าว รวมถึงแนวคิด Diamond Model ของ Michael E. Porter ที่ได้รับความนิยม นอกจากนั้น ยังมีข้อสังเกตอีกว่าแนวทางในการพัฒนาให้เกิดการรวมกลุ่มในรูปแบบคลัสเตอร์ไม่ใช่จุดสุดท้ายของเรื่อง เพราะคลัสเตอร์ก็มีวงจรของการก่อตัว เจริญเติบโต อิ่มตัว และหมดความสาคัญไปจากระบบเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมหรือผลิตภัณฑ์ รวมทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมีคลัสเตอร์ ที่มีระดับการพัฒนาที่มากกว่าประเทศที่กาลังพัฒนา กล่าวคือ คลัสเตอร์จะยิ่งมีความลึกและมีซัพพลายเออร์ที่มีความพิเศษ มีความกว้างของระดับชั้นของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง มีสถาบันสนับสนุนที่มีความครอบคลุม รวมถึงบริษัทที่ตั้งอยู่จะมีความซับซ้อนทางเทคโนโลยี และนวัตกรรมในระดับที่สูงกว่า ดังนั้น การพัฒนาคลัสเตอร์จึงไม่สามารถหยุดนิ่งได้ และควรส่งเสริมให้เกิดปัจจัยแวดล้อมที่ช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อพัฒนาโครงสร้าง และยกระดับความซับซ้อนของกิจกรรมของคลัสเตอร์ ไปสู่ฐานคุณค่าใหม่อยู่ตลอดเวลา (ซึ่งเป็นวิธีที่มีความยั่งยืน และก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มากกว่าการส่งเสริมให้เกิดคลัสเตอร์ขึ้นโดยตรง) 


ประกอบกับเมื่อพิจารณาร่วมกับบริบทการพัฒนาของไทยแล้ว โดยในบริบทของไทยมี 5 ประการ ที่ควรริเริ่มให้มีขึ้นประกอบด้วย

(1) การพัฒนาปัจจัยทุน (Capitals) โดยดำเนินการยกระดับศักยภาพของปัจจัยทุนด้านต่าง ๆ ในระดับประเทศเพื่อเชื่อมโยงสู่การพัฒนาระดับภาค ทั้งที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่ การพัฒนาทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ และวัตถุดิบ รวมถึงแรงงานขั้นพื้นฐาน และปัจจัยก้าวหน้า ได้แก่ การพัฒนาทุนมนุษย์ และแรงงานฝีมือ การพัฒนาทุนทางการเงิน รวมถึงทุนทางปัญญา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ไทยควรคำนึงถึงในการวางรากฐาน ให้พร้อมต่อการก้าวไปสู่อุตสาหกรรมอนาคต

(2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ (Infrastructures) ที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง อาทิ ถนน ทางรถไฟ สนามบิน รวมถึงระบบการสื่อสาร และโทรคมนาคม ภายในภูมิภาค โดยเฉพาะการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ภาคต่าง ๆ เข้าสู่เขตพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลักของประเทศ และท่าเรือสำคัญ ไปจนถึงการจัดการผังเมือง/บริการสาธารณะ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้อยู่อาศัย เพื่อช่วยดึงดูด และรักษาบุคลากรแรงงานฝีมือ และผู้ประกอบการให้เข้ามาอาศัยในพื้นที่

(3) การส่งเสริมหน่วยเศรษฐกิจที่เป็นกุญแจสำคัญ (Key Economic Actors) เนื่องจากคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพสูง ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของตัวบริษัท และอุตสาหกรรมที่เข้ามาเป็นสมาชิก จึงควรดำเนินการส่งเสริม เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัท/อุตสาหกรรมในประเทศ ไปพร้อมกับการดึงดูดการลงทุนจากบริษัทข้ามชาติในส่วนที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง สร้างเป็นสมาชิกในเครือข่ายการผลิตเพื่อขับเคลื่อนจากอุตสาหกรรมฐานเดิมไปสู่อุตสาหกรรมอนาคต เพื่อเป็นการวางตำแหน่งการแข่งขันของไทยในเครือข่าย การผลิตโลกอย่างยั่งยืน

(4) การสร้างสภาพแวดล้อมในการแข่งขัน และร่วมมือที่เหมาะสม (Co-operative Condition) สร้างการแข่งขันที่เป็นธรรม และการรวมกลุ่ม/พันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ร่วมกับการดำเนินการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และเครือข่ายสถาบันการศึกษา/สถาบันวิจัย โดยใช้กลไกต่าง ๆ อาทิ ก่อตั้งหน่วยงานส่งเสริมการพัฒนาคลัสเตอร์ (Cluster Development Agent: CDA) เพื่อผลักดันและดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคลัสเตอร์ หรือการริเริ่มจัดตั้งประชาคมการวิจัย (Research Consortia) ทุนเพื่อการวิจัยร่วม (Joint Research Fund) และการวิจัยร่วม (Joint Projects) เป็นต้น

(5) การพัฒนาตลาด (Demand) เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดจากการพัฒนาตลาดภายในประเทศ และ/หรือเชื่อมโยงสู่ตลาดต่างประเทศ โดยกำหนดให้ไทยอยู่ในตำแหน่งในการแข่งขันทางการตลาด และเครือข่ายการผลิตระดับอาเซียน/โลกอย่างเหมาะสม

ประเด็นสำคัญ คือ...การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจที่สอง สาม สี่.... จำเป็นต้องเชื่อมโยงกับเขตพื้นที่ภาคกลาง และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ที่เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของเครือข่ายการผลิต และโลจิสติกส์ของประเทศอย่างใกล้ชิด โดยการขับเคลื่อนการพัฒนาคลัสเตอร์ในพื้นที่นั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย และภาครัฐควรมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้สนับสนุนมากกว่าผู้เล่น ดังนั้น การชักจูงภาคเอกชนที่มีความพร้อมในการนำ และมองเห็นโอกาสให้เป็นแนวร่วมสำคัญในการผลักดันการพัฒนาคลัสเตอร์ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สาคัญในการขับเคลื่อนแนวคิดเชิงนโยบายไปสู่การพัฒนาที่เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

เอกสารอ้างอิง:
Bresnahan, T., Gambardella, A., and Saxenian A. (2001). Old economy' inputs for 'new economy' outcomes: cluster formation in the new Silicon Valleys. Industrial and Corporate Change, Oxford University Press, No.4 Vol.10, 2001.

Dzisah, J. and Etzkowitz, H. (2008). Triple helix circulation: the heart of innovation and development. International Journal of Technology Management & Sustainable Development, Vol 7, No 2, Sep 2008, pp. 101-115(15).

Europe INNOVA. (2008). The concept of clusters and cluster policies and their role for competitiveness and innovation: main statistical results and lessons learned. Commission staff working document SEC (2008) 2637.

International Trade Department. (2009). Clusters for competitiveness. A practical guide and policy implications for developing cluster initiatives. 2009.
#2757


"เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์" ตอกย้ำความเชื่อมั่นการคุ้มครองโควิด-19 ยืนยันให้ความคุ้มครองลูกค้าทุกรายที่ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ปัจจุบันจ่ายสินไหมแก่ลูกค้าที่ป่วยจากไวรัส โควิด-19 แล้วกว่า 560 ราย ล่าสุดขานรับนโยบาย คปภ เตรียมความพร้อมในการพิจารณาจ่ายสินไหม กรณี Home Isolation และCommunity Isolation พร้อมยืนหยัดอยู่ดูแลลูกค้าทุกช่วงเวลาของชีวิต

นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์กล่าวว่า "จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในขณะนี้ที่ยังมีการติดเชื้อในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกรณีความไม่แน่นอนในการรับประกันภัยบางแห่งที่ส่งผลให้กลุ่มลูกค้าที่ได้ทำประกันสุขภาพและประกันชีวิตไว้เกิดความกังวลใจและสอบถามเข้ามาเป็นอย่างมากในภาวะวิกฤตนี้ กลุ่มบริษัท เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ ยังคงยึดมั่นให้ความคุ้มครองลูกค้าทุกรายที่ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตและประกันสุขภาพของบริษัทฯ โดยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและไม่มีนโยบายในการยกเลิกสัญญาในกรมธรรม์แต่อย่างใด ซึ่งเจนเนอราลี่พร้อมคุ้มครองลูกค้าทุกราย ตามสิทธิในกรมธรรม์ ทั้งการเจ็บป่วยจากโรคภัยต่าง ๆ และการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการจ่ายสินไหมแล้วกว่า 560 เคส เป็นสินไหมมรณกรรมให้แก่ลูกค้าประกันชีวิตที่เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้ว 10 ราย และสินไหมค่ารักษาพยาบาลในส่วนของประกันสุขภาพ ให้กับลูกค้าที่ป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้วกว่า 550ราย โดยผู้เอาประกันสามารถเข้ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยใน โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่ายได้ที่โรงพยาบาลในเครือข่ายของบริษัท"



สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตและประกันสุขภาพของเจนเนอราลี่นั้นครอบคลุมการเจ็บป่วยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ รวมถึงการคุ้มครองการติดเชื้อโควิด-19 ทั้ง

การคุ้มครองการตรวจ การคุ้มครองการเข้ารับการรักษา ตามผลประโยชน์ความคุ้มครองทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยรายได้ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม (Field Hospital) และหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) โดยล่าสุดได้ขยายความคุ้มครองการเข้ารับการรักษาพยาบาลแบบการดูแลตนเองที่บ้าน (Home Isolation) และการดูแลตนเองในระบบชุมชน(Community Isolation) ตามกฎเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)ประกาศกำหนด ซึ่งเงื่อนไขและหลักปฏิบัติจะอ้างอิงตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง โดยลูกค้าผู้ถือกรมธรรม์สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่​https://generali.co.th/services/covid-19-faq/ หรือติดต่อทางศูนย์ลูกค้า
สัมพันธ์ โทร 1394

"เจนเนอราลี่จะขอให้ความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าทุกคน ตามความมุ่งมั่นที่จะเป็น "Lifetime Partner" เพื่อส่งมอบความคุ้มครองดูแลให้แก่ลูกค้าในทุกช่องทาง
และพร้อมยืนหยัดดูแลลูกค้าทุกช่วงเวลาของชีวิต และขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านพ้น
จากสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 นี้ไปด้วยกัน" นายบัณฑิต กล่าวทิ้งท้าย

หมายเหตุ เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ และตามประกาศ
ของกระทรวงสาธารณสุข
#2758


ทำเนียบขาวในวันพฤหัสบดี(5ส.ค.) ยืนยันอาจกำหนดให้ชาวต่างชาติเกือบทุกคนที่จะเดินทางเข้าสหรัฐฯ ต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบเสียก่อน ส่วนหนึ่งในแผนกลับมาเปิดการเดินทางระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามยังไม่มีการตัดสินใจในเรื่องดังกล่าวและยังไม่มีการยกเลิกข้อจำกัดต่างๆในทันที

เจฟ ไซนส์ ผู้ประสานงานคณะทำงานเฉพาะกิจโควิด-19 ของทำเนียบขาว ยืนยันว่ากลุ่มทำงานระหว่างหน่วยงาน กำลังคิดแผนที่อาจออกข้อบังคับบางรูปแบบสำหรับกำหนดให้ชาวต่างชาติเกือบทุกคนที่จะเดินทางเข้าสหรัฐฯ ต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบเสียก่อน

"เราจะพร้อมเมื่อถึงเวลาที่ต้องพิจารณาเปิดพรมแดน" ไซนส์ กล่าวระหว่างแถลงสรุปสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำเนียบขาว

รายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า เวลานี้รัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อทบทวนและนำระบบใหม่นี้มาใช้ทันทีที่พร้อมจะเปิดรับชาวต่างชาติอีกครั้ง ภายใต้เงื่อนไขว่าชาวต่างชาติจากทุกประเทศที่จะเดินทางเข้าสหรัฐฯ จะต้องได้รับวัคซีนครบแล้ว

ในถ้อยแถลงแยกกัน เจน ซากี โฆษกทำเนียบขาวยอมรับว่ามีความไม่สอดคล้องกันในข้อจำกัดต่างๆในปัจจุบันที่ห้ามนักเดินทางจากบางประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อโควิด-19 ในระดับต่ำเดินทางเข้าสหรัฐฯ แต่กลับไม่ห้ามนักเดินทางจากประเทศอื่นๆที่มีอัตราการติดเชื้อในระดับสูง

อย่างไรก็ตามเธอเน้นว่ายังไม่เป็นที่แน่นอนว่าสหรัฐฯจะบังคับนักเดินทางจากต่างชาติฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบเสียก่อนหรือไม่

ทำเนียบขาวระบุในวันพฤหัสบดี(5ส.ค.) ว่ายังไม่พร้อมยกเลิกข้อจำกัดต่างๆในทันที เพราะว่าเคสผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นและการแพร่ระบาดของตัวกลายพันธุ์เดลตาที่แพร่เชื้อได้ง่ายมาก

รัฐบาลอเมริกันเริ่มจำกัดการเดินทางของชาวต่างชาติที่จะเข้ามายังสหรัฐฯ โดยเริ่มจากประเทศจีนในเดือนมกราคม 2020 เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก่อนที่จะเพิ่มรายชื่อประเทศต่างๆ ที่มีการระบาดในระดับสูงในประเทศนั้นๆ โดยล่าสุดได้แก่อินเดีย

ทำเนียบขาวได้หารือกับสายการบินต่างๆและอื่นๆว่าจะสามารถบังคับใช้กฎเกณฑ์ใหม่นี้ได้อย่างไร ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องพิจารณาว่าจะยอมรับหลักฐานหรือเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนแบบไหน และจะยอมรับวัคซีนโควิดที่บางประเทศใช้หรือไม่ ขณะที่มันยังไม่ผ่านการรับรองของคณะผู้ควบคุมกฎระเบียบของสหรัฐฯ

ปัจจุบันสหรัฐฯห้ามนักเดินทางที่ไม่ใช่พลเมืองสหรัฐฯเกือบทุกคนที่อยู่ในสหราชอาณาจักร กลุ่มประเทศเชงเก้น 26 ชาติในยุุโรป ไอร์แลนด์ จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ อิหร่านและบราซิล ในช่วง 14 วันหลังสุดเดินทางเข้าประเทศ

ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าแผนดังกล่าวจะบังคับใช้กับชาวต่างชาติที่เดินทางทางบกผ่านพรมแดนที่ติดกับแคนาดาและเม็กซิโกด้วยเงื่อนไขเดียวกันหรือไม่

เจ้าหน้าที่ด้านอุตสาหกรรมการบินระบุว่าอาจต้องใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์หรือบางทีอาจหลายเดือน ก่อนข้อจำกัดด้านการเดินทางจะถูกยกเลิก ขณะที่ฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์บางส่วนระบุว่ามันไม่สมเหตุสมผล เพราะว่าบางประเทศที่มีอัตราการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระดับสูง ไม่ได้อยู่ในรายชื่อประเทศที่จำกัดด้านการเดินทาง ขณะที่บางประเทศที่สามารถควบคุมโรคระบาดใหญ่ได้แล้วกลับมีรายชื่ออยู่ในบัญชีดังกล่าว

(ที่มา:รอยเตอร์)
#2759


ดัชนีดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 271.58 จุด หรือ 0.78% ปิดที่ 35,064.25 จุด ดัชนีเอสแอนด์พี 500 เพิ่มขึ้น 26.44 จุด หรือ 0.60% ปิดที่ 4,429.10 จุด และดัชนีแนสแด็ก เพิ่มขึ้น 114.58 จุด หรือ 0.78% ปิดที่ 14,895.12 จุด

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 14,000 ราย สู่ระดับ 385,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

ขณะที่ราคาหุ้นของบริษัทโมเดอร์นา อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทยาของสหรัฐ พุ่งขึ้นกว่า 4% ในการซื้อขายวันนี้ หลังบริษัทเปิดเผยกำไรและรายได้สูงกว่าคาดในไตรมาส 2 โดยได้ปัจจัยหนุนจากยอดขายวัคซีนต้านโควิด-19

โมเดอร์นาเปิดเผยว่า บริษัทมียอดขายวัคซีนต้านโควิด-19 สูงถึง 4,200 ล้านดอลลาร์ในเวลาเพียง 3 เดือนระหว่างเดือนเม.ย.-มิ.ย. หรือราว 140,000 ล้านบาท

โมเดอร์นา ระบุว่า บริษัทจะผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 จำนวน 800-1,000 ล้านโดสในปีนี้ และขณะนี้บริษัทได้ลงนามในสัญญาส่งมอบวัคซีนวงเงิน 20,000 ล้านดอลลาร์ในปีนี้ และ 12,000 ล้านดอลลาร์ในปีหน้า

ทั้งนี้ โมเดอร์นามีกำไร 6.46 ดอลลาร์/หุ้นในไตรมาส 2 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.96 ดอลลาร์/หุ้น และมีรายได้ 4,350 ล้านดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 4,200 ล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ดี ยอดขายวัคซีนต้านโควิด-19 ในไตรมาส 2 ของโมเดอร์นายังคงต่ำกว่ายอดขายของไฟเซอร์ อิงค์ ซึ่งเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า บริษัทมียอดขายวัคซีนต้านโควิด-19 สูงถึง 7,800 ล้านดอลลาร์ในไตรมาส 2 หรือราว 260,000 ล้านบาท และบริษัทได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์ยอดขายวัคซีนในปีนี้สู่ระดับ 33,500 ล้านดอลลาร์ จากเดิมที่ระดับ 26,000 ล้านดอลลาร์

นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรในวันพรุ่งนี้ ซึ่งจะเป็นตัวเลขจ้างงานตัวสุดท้าย ก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะจัดการประชุมประจำปีที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวันที่ 26-28 ส.ค.

นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ในวันพรุ่งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 926,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. สูงกว่าที่เพิ่มขึ้น 850,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย.

หากตัวเลขการจ้างงานออกมาแข็งแกร่ง ก็จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เฟดเริ่มปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี)

นักลงทุนคาดว่าเฟดจะส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งแนวโน้มการปรับลดวงเงินคิวอีในการประชุมที่เมืองแจ็กสัน โฮล

นายริชาร์ด แคลริดา รองประธานเฟด ส่งสัญญาณในการกล่าวถ้อยแถลงวานนี้ว่า เฟดจะปรับลดวงเงินคิวอีภายในปีนี้ ก่อนที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2566

ทั้งนี้ นายแคลริดากล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายด้านการจ้างงานและเงินเฟ้อของเฟดภายในปลายปีหน้า ซึ่งจะทำให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2566

"ผมเชื่อว่าเศรษฐกิจจะบรรลุเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดภายในปลายปีหน้า และการกลับมาใช้นโยบายการเงินแบบปกติในปี 2566 จะสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ยแบบยืดหยุ่นของเฟด" นายแคลริดา กล่าว

"หากการคาดการณ์ของผมเป็นจริง ก็คาดว่าเฟดจะเริ่มประกาศปรับลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรภายในปีนี้" เขากล่าว

คำกล่าวของนายแคลริดาสอดคล้องกับถ้อยแถลงก่อนหน้านี้ของนายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ว่าการของเฟด โดยนายวอลเลอร์ระบุว่า เฟดควรจะเริ่มปรับลดวงเงินคิวอีภายในเดือนต.ค.

ด้านกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในวันนี้ว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐพุ่งขึ้น 6.7% สู่ระดับ 7.57 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงเป็นประวัติการณ์ และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 7.41 หมื่นล้านดอลลาร์

ทั้งนี้ การนำเข้าเพิ่มขึ้น 1.8% สู่ระดับ 2.391 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงเป็นประวัติการณ์ ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้น 0.2% สู่ระดับ 1.459 แสนล้านดอลลาร์ โดยเป็นระดับสูงเป็นประวัติการณ์เช่นกัน
#2760


สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า การสำรวจโรงงานหลายระลอกในสัปดาห์นี้ชี้ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ดิ่งลงอย่างรวดเร็วในเดือน ก.ค. ตรงข้ามกับในเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมแถบเอเชียตะวันเฉียงเหนือและตะวันตก ที่แม้ภาคธุรกิจเติบโตชะลอลงแต่ก็ยังขยายตัว

เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีประชากร 600 ล้านคน สะดุดลงเพราะโควิดระบาด ถูกซ้ำเติมด้วยการฉีดวัคซีนช้า รัฐบาลนานาประเทศดิ้นรนหาวัคซีนและออกมาตรการล็อกดาวน์ส่งผลให้โรงงานหลายแห่งร้างไร้คนงาน กระทบไปถึงเศรษฐกิจของภูมิภาค ที่ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่ฟื้นตัวเร็วแห่งหนึ่งของโลก หลังจากที่ต้านทานวิกฤติเศรษฐกิจโลกอันหลายหลายในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาได้ เนื่องจากมีการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งเป็นวงกว้าง และอยู่ติดกับจีน

นักเศรษฐศาสตร์จากเอชเอสบีซีเตือนว่า อัตราการฉีดวัคซีนต่ำในอินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และไทย รวมถึงประสิทธิภาพที่ไม่แน่นอนของวัคซีนที่ฉีดทำให้ประเทศเหล่านี้ตกอยู่ในความเสี่ยง

"นี่หมายความว่า ประชากรในประเทศเหล่านี้อาจยังคงเสี่ยง ไม่เพียงแค่กับการระบาดปัจจุบัน แต่ยังเสี่ยงกับการกลายพันธุ์ของไวรัสที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ข้อจำกัดการเดินทางมีแนวโน้มคงอยู่ต่อไป ส่งผลต่อแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะสั้น" เอชเอสบีซีระบุ

สำหรับผู้ผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ความสามารถในการแข่งขันส่วนใหญ่มาจากต้นทุนค่าแรงถูก และเข้าถึงวัตถุดิบได้ ผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ที่มีต่ออุปทานแรงงานส่งผลให้เกิดคอขวดในการผลิตครั้งใหญ่

ในไทยผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่อันดับ 4 ของเอเชีย และเป็นฐานการผลิตให้กับแบรนด์ใหญ่ระดับโลก เมื่อเดือน ก.ค.โตโยต้ามอเตอร์คอร์ป ระงับการผลิตที่โรงงานสามแห่งเนื่องจากอะไหล่ขาดแคลนเพราะโควิดระบาด


บริษัทสยามอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร ผู้ส่งออกผลไม้แปรรูปของไทย ซึ่งต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติสูงมาก โดยเพิ่งหาคนงานได้ 400 ตำแหน่งจาก 550 ตำแหน่งเท่านั้น เนื่องจากคนงานกลับประเทศไปแล้วยังมาไทยไม่ได้เพราะยังไม่เปิดพรมแดน

"แต่ละวันมีผลไม้ถึง 350 ตันแต่เราแปรรูปได้แค่ 250 ตัน เพราะแรงงานไม่พอ ความต้องการในตลาดส่งออกอย่างสหรัฐ ซึ่งเป็นลูกค้าหลักมีสูงมาก แต่ปัญหาตอนนี้อยู่ที่การผลิต" กัญญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานกรรมการบริษัทกล่าว

ในเวียดนาม ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานบริษัทระดับโลกหลายแห่ง อาทิ ซัมซุง ฟ็อกซ์คอนน์ และไนกี้ บริษัทที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจำเป็นต้องกักตัวคนงาน ด้วยการให้นอนค้างที่โรงงานยามค่ำคืนไม่ต้องออกไปที่อื่น

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติรัฐบาลเวียดนามเมื่อสัปดาห์ก่อน พบว่า การควบคุมการเดินทางอย่างเข้มงวดในหลายเมืองและหลายจังหวัดทางตอนใต้เมื่อเดือน ก.ค. ทำให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงอย่างรวดเร็ว

ในมาเลเซีย ที่ผลิตถุงมือยางป้อนตลาดโลกราว 67% การล็อกดาวน์ทำให้ต้องระงับการผลิตในเดือน มิ.ย.และ ก.ค.

สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางมาเลเซียต้องร้องขอต่อรัฐบาลให้กลับมาผลิตได้อีกโดยให้เหตุผลว่า เป็นห่วงผู้ซื้อทั่วโลก รัฐบาลจึงยอมผ่อนคลายอนุญาตให้คนงานกลับมาทำงานได้ 60% ตอนนี้สมาชิกเรียกร้องขอกลับมาปฏิบัติการเต็มรูปแบบ

ความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นแล้วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายในที่อื่นๆ ด้วย เช่น อินฟินอนเทคโนโลยีส์ บริษัทผลิตชิพจากเยอรมนี คาดว่าต้องเสียหายหลายสิบล้านดอลลาร์จากการปิดโรงงานในมาเลเซีย ส่งผลต่อเนื่องไปถึงลูกค้าผลิตรถยนต์ของบริษัท

แดเนียล เบิร์นเบค ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) หอการค้าและอุตสาหกรรมมาเลเซีย-เยอรมนี กล่าวว่า ระเบียบกักตัวอันเข้มงวดของมาเลเซียยังทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคที่จำเป็นมากในบริษัทเทคโนโลยีระดับไฮเอนด์เข้ามาเลเซียได้ยาก นักวิเคราะห์เตือนว่า ความเสี่ยงนี้จะสร้างความเสียหายมากยิ่งกว่าแค่การผลิต

ด้านมูดีส์อินเวสเตอร์เซอร์วิส กล่าวว่า เขตเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกที่มีโครงสร้างเศรษฐกิจกระจุกตัวและสถาบันต่างๆ อ่านแอจะได้รับความเสียหายหนักสุด ได้แก่ เขตเศรษฐกิจที่มีรายได้น้อย-ปานกลาง ความเสียหายร้าวลึกมีแนวโน้มเพิ่มความเสี่ยงทางสังคม

"ในเขตเศรษฐกิจเหล่านี้บางแห่ง การมีภาระหนี้สูงทำให้รัฐบาลมีพื้นที่ทางการคลังรับมือการแพร่ระบาดได้อย่างจำกัด" มูดีส์ย้ำ

ด้านวอลล์สตรีทเจอร์นัลรายงานเมื่อวันจันทร์ (2 ส.ค.) อ้างข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ว่า ขณะที่ประชากรในเขตเศรษฐกิจพัฒนาแล้วฉีดวัคซีนครบโดสแล้วเกือบ 40%เขตเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ยังฉีดได้ไม่ถึงครึ่งของตัวเลขดังกล่าว

บางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังต่ำกว่านั้นด้วยซ้ำ เช่น อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ประชาชนที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วราว 8% ในไทยราว 6%

"กลยุทธ์สกัดโควิดปี 2563 เป็นกลยุทธ์ไม่ยั่งยืนเมื่อเวลาผ่านไป เพราะทำได้แค่ซื้อเวลาเท่านั้น" จินห์ เหวียน นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากธนาคารเพื่อการลงทุน Natixis ในฮ่องกงกล่าว

เมื่อต้นเดือน มิ.ย. มาเลเซียสั่งปิดโรงงานในภาคส่วนไม่จำเป็น เช่น โรงงานเสื้อผ้า หลังเกิดโควิดระบาดในสถานประกอบการหลายระลอก

ตัน เทียนโปห์ ประธานบริษัทผลิตเสื้อผ้าเอเชียแบรนด์ส จำกัด กล่าวว่า ระเบียบดังกล่าวหมายถึงเขาไม่สามารถผลิตเสื้อผ้าได้ถึงสองเดือน การส่งมอบให้ผู้ซื้อต่างชาติต้องล่าช้าถ้าเป็นเช่นนั้นลูกค้าก็อาจเปลี่ยนไปหาซัพพลายเออร์จากประเทศอื่นแทน

"ความไม่แน่นอนนี้ส่งผลกระทบกับพวกเราอย่างรุนแรงมากๆ" นักธุรกิจมาเลเซียกล่าวทิ้งท้าย