• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Chanapot

#6857


ท่ามกลางความมืดมิดจากวิกฤตโควิด-19 ผู้คนล้มตายประชาชนสิ้นหวังในเข้าถึงระบบสาธารณสุข โดยเฉพะพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ด้วยระบบราชการที่เต็มไปด้วยข้อจำกัด โครงสร้างพื้นฐานสาธารณสุขของกรุงเทพฯ ที่อ่อนยวบ แต่แล้วแสงแห่งความหวังได้ปะทุขึ้นเมื่อ "ชมรมแพทย์ชนบท"เปิดยุทธการ "แพทย์ชนบทบุกกรุง" จัดทัพกู้ภัยโควิด กทม.

โดยแม่ทัพใหญ่ "นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ"ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา หมอของขวัญในฐานะประธานชมรมแพทย์ชนบท นำทีมลงพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อปฏิบัติการตรวจเชิงรุก ปักหมุดหมาย "ชุมชนแออัด" ซึ่งเกิดการแพร่ระบาดรุนแรง ตั้งเป้าหาผู้ติดเชื้อให้มากที่สุด เจอให้เร็วรักษาให้เร็ว พร้อมจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ นำเข้าระบบ Home isolation ตั้งเป้าลดอัตราป่วยหนัก-เสียชีวิต อันเนื่องจากการเข้าไม่ถึงยาและโรงพยาบาล สร้างโมเดลต้นแบบต่อสู้โควิด-19 ทลายข้อจำกัดระบบราชการ มุ่งหวังให้ทุกพื้นที่สามารถนำไปปรับใช้ได้

สำหรับปฏิบัติการ "แพทย์ชนบทบุกกรุง" สำเร็จลุงล่วง ได้รับความร่วมมือจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเครือข่ายประชาชนทีมโควิดชุมชน (Com-Covid) ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญ ดำเนินการต่อเนื่องครั้งล่าสุดครั้งที่ 3 ระดมบุคลากรสาธารณสุขในต่างจังหวัดกว่า 400 คน แบ่งทีมย่อยลุยแผนดาวกระจายทั่วกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4-10 ส.ค. 2564 รวมพื้นที่ดำเนินแล้ว 196 จุดตรวจ รวม 369 ชุมชน ตรวจเชิงรุกประชาชน 141,516 ราย พบผลติดเชื้อสะสมจำนวน 15,588 ราย (ร้อยละ 11)

ถอดบทเรียนปฏิบัติ "แพทย์ชนบทบุกกรุง" พูดคุยกับแม่ทัพใหญ่ "นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ" ภายใต้แรงกดดันสถานการณ์โรคระบาด ผู้คนเผชิญกับความทุกข์ยาก ระบบสาธารณสุขที่ใกล้ล่มสลาย ระบบราชการที่เป็นอุปสรรคในการสู้รบกับโควิด แพทย์ชนบทได้จุดไฟแห่งความหวังให้ประชาชน เสมือนเข็มทิศนำทางให้รัฐปรับยุทธศาสตร์แก้วิกฤตโควิด-19

- ทำไมชมรมแพทย์ชนบทเลือกพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งที่จังหวัดอื่นๆ เกิดการแพร่ระบาดรุนแรงไม่ต่างกัน
จังหวัดอื่นแม้เกิดการระบาดหนัก แต่ว่าปรากฎการณ์ตายคาบ้านแทบไม่มี ไม่เหมือนในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ต่างจังหวัดผู้ป่วยมาเสียชีวิตที่โรงพยาบาล สถานการณ์ในโรงพยาบาลต่างจังหวัดหากป่วยอย่างไรก็สามารรับได้ คนต่างจังหวัดหากสงสัยว่าติดเชื้อโควิด โรงพยาบาลยังสามารถตรวจได้ เพราะประชากรน้อยโรงพยาบาลจึงสามารถจัดการได้ แต่ว่ากรุงเทพฯ จุดตรวจโควิดแทบจะหาไม่ได้ ความสูญเสียชีวิตที่บ้านเห็นชัดเจนมาก

การลงพื้นที่กรุงเทพฯ ของแพทย์ชนบท เป้าหมายคือค้นหาผู้ติดเชื้อให้มาก เจอให้เร็ว รักษาจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์เร็ว นำเข้าระบบ home isolation จะได้ลดอัตราป่วยหนักที่ต้องการเตียงโรงพยาบาล และลดอัตราการเสียชีวิตอันเนื่องจากการเข้าไม่ถึงยาหรือเข้าไม่ถึงโรงพยาบาล ถึงแม้ลดอัตราการติดเชื้อไม่ได้โดยง่าย แต่หวังว่าจะลดอัตราเตียงล้นโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ และลดอัตราตายลงได้บ้าง

การตรวจเชิงรุกในกรุงเทพฯ เราใช้ Rapid Antigen Test ที่มีคุณภาพสูง ยี่ห้อที่องค์การอนามัยโลกรับรอง เป็นยี่ห้อที่ใช้ในโรงพยาบาลมาตรวจ ซึ่งประเด็นนี้มีความน่าสนใจเพราะองค์การเภสัชฯ ทำการจัดซื้อ Rapid Antigen Test แต่ได้ยี่ห้อที่มีปัญหา ซึ่งน่าเป็นห่วงมาก เพราะการตรวจสามารถรู้ผลได้เลย ความแม่นยำจึงมีความจำเป็น มิเช่นนั้น ต้องไปเสียเวลาตรวจซ้ำ RT-PCR ซึ่งเสียเวลาเสียทรัพยากรด้วย

สรุปผลการลงพื้นที่กรุงเทพฯ ครั้งแรก ระหว่าง 14 - 16 ก.ค. 2564 ครั้งที่ 2 ระหว่าง 21 - 23 ก.ค. 2564 และครั้งที่ 3 ระหว่าง 4– 10 ส.ค. 2564 สรุปผลพื้นที่ดำเนินการสะสม 196 จุดตรวจ รวม 369 ชุมชน มีประชาชนรับบริการสะสมจำนวน 141,516 ราย ผลติดเชื้อสะสมจำนวน 15,588 ราย ผลการตรวจผู้ป่วยทั้งหมดแบ่งเป็นผู้ป่วยระดับสีเขียว 10,838 ราย ระดับสีเหลือง 4,427 ราย และระดับสีแดง 323 ราย แจกยาฟ้าทะลายโจร จำนวน 3,509 ราย และแจกยาฟาวิพิราเวียร์ จำนวน 8,939 ราย และให้บริการวัคซีนสะสม จำนวน 7,412 ราย



-ปัญหาที่พบหลังจากทีมแพทย์ชนบทลงพื้นที่ตรวจเชิงรุกบริเวณชุมชนแออัดในกรุงเทพฯ
แพทย์ชนบทเข้าไปในชุมชนแออัดชัดเจนว่าเป็นกลุ่มคนจน พวกเขาเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพ แม้กรุงเทพฯ เต็มไปด้วยโรงพยาบาล คลีนิคเอกชน เต็มไปศูนย์บริการสาธารณสุขต่างๆ แต่พวกเขาเข้าไม่ถึงบริการเหล่านี้ ซึ่งการล็อกดาวน์เศรษฐกิจฟุบยาวนาน ทำให้เขาแทบจะไม่มีรายได้ ชีวิตยากลำบาก อยากจะตรวจโควิดก็ไม่มีที่ให้ตรวจ ป่วยแล้วก็ไม่รู้จะไปไหน โทร. 1669, 1330 แจ้งไปก็ไม่มีใครมารับ พอติดโควิดอยู่บ้านหลังเล็กแคบอยู่กันแออัด ติดในครอบครัว ติดเพื่อนบ้าน ลามติดกันทั้งชุมชน ยกตัวอย่าง ชุมชนริมคลองสามเสน ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด 200 คน คือตัวเลขที่มีการตรวจก่อนแพทย์ชนบทจะเข้าไป ดังนั้น เราคาดการณ์ได้เลยว่าชุมชนนี้แพร่กระจายเชื้อติดกันไปมากกว่า 1,000 แล้ว จากประสบการณ์ทำให้รู้ว่า หากมี 1 คนติดเชื้อ จะมีอีก 5 คนที่ติดเชื้อ อาจจะไม่แสดงอาการ มีอาการเล็กน้อย เพราะการที่ไม่ได้รับตรวจหาเชื้อ ไม่รู้ว่าตัวเองติดเชื้อแล้ว ทำให้มีการระบาดกว้างขวางมากโดยเฉพาะในชุมชนแอดอัด

-หลังจากแพทย์ชนบทสร้างโมเดลต้นแบบปฎิบัติการเชิงรุกต่อสู้โควิด-19 กู้วิกฤตโรคระบาด เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการบริการสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพฯ บ้างหรือไม่
เราเห็นสัญญาณที่ดีอยู่บ้าง พื้นที่กรุเทพฯ มีการเปิดตรวจจุดเคลื่อนที่เร็ววันละ 5 - 6 จุดเพิ่มขึ้นมาจากเดิม 500-1,000 คน หรืออย่างหน่วยทหารได้เปิดจุดตรวจในค่ายทหารก็เป็นมีสัญญาณที่ดี มีความพยายามในการเพิ่มจุดตรวจมากขึ้น แต่สิ่งที่เราเสนอมากกว่าเปิดจุดตรวจจากประสบการณ์ตั้งแต่เรามาครั้งที่ 1 คาดหวังให้เปิดจุดตรวจโควิด Rapid Antigen Test มากขึ้น แต่เราพบปัญหาว่าหลังรู้ผลติดเชื้อ ผู้ป่วยหาโรงพยาบาลไม่ได้ไม่มียา สุดท้ายก็เสียชีวิตที่บ้านให้เห็นเป็นจำนวนมาก

ครั้งที่ 3 แพทย์ชนบทมาด้วยชุดโมเดลที่สมบูรณ์ขึ้น ตรวจเสร็จแล้วจ่ายยาเลย เราได้รับการสนับสนุนฟาวิพิราเวียร์จากกระทรวงสาธารณสุข เราตรวจแล้วก็จ่ายยาเลยสำหรับคนที่อยู่ในเกณฑ์ เช่น ผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว มีอาการ ซึ่งจริงๆ เราอยากให้จุดตรวจจุดอื่นจ่ายฟาวิพิราเวียร์ เพราะว่าถ้าผู้ติดเชื้อกลับไปอาจจะไม่ได้กลับมาอีกเลยถ้าเขาไม่ได้กินยา

ความยากคือจุดตรวจเหล่านั้นจะเอาฟาวิพิราเวียร์จากไหน เพราะว่าระบบการกระจายยายังเป็นปัญหา การนำเข้าน้อย องค์การเภสัชฯ ผลิตได้ไม่เพียง หรือถึงจะเพียงพอ แต่โจทย์คือจะกระจายยาอย่างไรให้ไปถึงประชาชนที่เป็นโควิด การพึ่งเพียงแต่โรงพยาบาลพึ่งการไปหาหมอที่โรงพยาบาลเป็นไปไม่ได้ ประชาชนเข้าไม่ถึง เรื่องการกระจายยาเป็นโจทย์ยากที่รอการจัดการ ซึ่งจริงๆ ไม่ยากหรอกครับ แค่ทำให้นโยบายเปิด เพราะปัจจุบันยังไม่เปิดเท่าที่ควร ฟาวิพิราเวียร์ยังเป็นยาเทวดาอยู่ คนยากคนจนเข้าไม่ถึง

ณ วันนี้ คนรวยติดโควิดเข้าถึงการรักษาไม่ยากครับ โรงพยาบาลเอกชนยินดีรับ โรงพยาบาลเอกชนยังมีเตียงว่างอยู่พอสมควรไม่ใช่ว่าไม่มีเตียง แต่ว่าเขาเก็บเตียงไว้สำหรับคนที่มีความสามารถในการจ่าย หรือมีประกันชีวิต การเข้ารักษาที่โรงพยาบาลเอกชนต้องมีเงินไม่ต่ำกว่า 2 – 3 แสน นอน 14 วัน เป็นอย่างต่ำ

ส่วนคนจนรอเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลของรัฐซึ่งเตียงมันเต็มหมดแล้ว ต้องลุ้นเอาว่าเป็นหนักมั้ย ถ้าเป็นหนักก็อาจจะไม่รอด แม้ว่าเข้าถึงการรักษาเข้าโรงพยาบาลสนามยังอาจไม่รอดเลย ดังนั้น เราต้องกลับมาตั้งหลักใหม่ดูแลประชาชนดีๆ ตรวจเชื้อให้มากที่สุด ให้เขาเข้าถึงยาเร็วที่สุด อัตราเสียชีวิตจะลดลงต้องได้ยาฟาวิพิราเวียร์ตั้งแรกไม่ใช่ว่าอาการหนักแล้วถึงจะได้ยา ถ้าอาการหนักแล้วได้รับยาก็ไม่ทัน การที่เขาได้ยาฟาวิพิราเวียร์เร็วมีความหมายมากต่อการรอดชีวิต ประเด็นสำคัญฟาวิพิราเวียร์จะได้เร็วก็ต่อเมื่อได้ตรวจเร็ว รู้ผลเร็วตั้งแต่ยังมีอาการน้อย เพราะหลายคนไปตรวจตอนที่อาการหนักแล้ว หอบแล้ว เหนื่อยแล้ว เดินไม่ไหวแล้ว ไปตรวจตอนนั้นกว่าจะตรวจกว่าจะรู้ผลกว่าจะได้ยาก็ช้าไปแล้วดังนั้น การตรวจเชิงรุกในชุมชนมีประโยชน์มาก ทำให้รู้ตัวเร็วว่าติดเชื้อแล้วได้รับยาเร็วมีโอกาสรอดสูง



-ในส่วนของผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากการตรวจเชิงรุกของทีมแพทย์ชนบท มีแนวทางดูแลรักษาอย่างไรต่อ
ทุกคนที่ตรวจโพสิทีฟพบว่าติดเชื้อ เราจะให้เขาสแกนคิวอาร์โค้ดเข้าสู่ระบบ หนึ่ง-เข้าสู่ Home Isolation ของ สปสช. สำหรับอาการไม่รุนแรง เราจะลงข้อมูลให้ประชาชนเข้าสู่ฐานข้อมูลกลาง จากนั้นโรงพยาบาลต่างๆ ก็จะมาช้อนมารับตัวของเขาไปดูแลในระบบ Home Isolation ซึ่งรัฐให้ค่าใช้จ่ายต่อโรงพยบาลที่ดูแลผู้ป่วย 1000 บาทต่อวันต่อคน ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่สูง แต่ปรากฎว่าหลายหมื่นนคนก็ยังค้างอยู่ในระบบ ไม่มีโรงพยาบาลไหนรับการดูแลยังล่องลอยอยู่ในฐานข้อมูล เป็นสถานการณ์ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

สอง-เข้าสู่ Community Isolation หรือศูนย์พักคอย กทม. ซึ่งพื้นที่ที่ศูนย์พักคอยประชาชนก็มีโอกาสเข้าถึงระบบสาธารณสุขมากขึ้น แต่ว่าศูนย์พักคอยที่ กทม. มีน้อยมาก และสามหากอาการหนักส่งตัวเข้าโรงพยาบาล ซึ่งยิ่งยากเพราะอย่างที่ทราบกันว่าโรงพยาบาลแต็ม แต่ก็มีความพยายามช่วยกันเยอะ จำนวนหนึ่งได้เข้ารักษาที่โรงพยาบาล แต่ไม่ได้เข้าทุกคน จำนวนมากต้องยอมกักตัวที่บ้านไปก่อน

-วิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ สะท้อนความล้มเหลวของโครงสร้างพื้นฐานด้านบริการสุขภาพที่ต้องรอการปฏิรูป
มองภาพเปรียบเทียบกับต่างจังหวัด ในต่างจังหวัดระดับตำบลมีสถานีอนามัยดูแลประชาชนประมาณ 2,000 -5,000 คน มีเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ 5-10 คน ทุกอำเภอมี 1 โรงพยาบาลอำเภอ ดูแลประชาชน 30,000 คน 50,000 คน 100,000 คน แตกต่างกันไป อย่างโรงพยาบาลจะนะดูแล 100,000 คน มีบุคลากร 300 คน ในขณะที่ กทม. แขวงเทียบเท่ากับตำบลดูแลคน 5,000 คน แต่ตัวเลขจริงมากกว่านั้นเป็นหมื่นเพราะมีประชากรแฝงด้วย แขวงไม่มีสถานีอนามัย ไม่มีศูนย์บริการสาธารณสุขของ กทม. ทุกคนพึ่งพาคลินิกส่วนตัว ร้านขายยา

โครงสร้างสาธารณสุข กทม. มีแค่ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. ซึ่งรับผิดชอบระดับเขต มี 50 เขต 65 ศูนย์ บางเขตมี 2 ศูนย์ ซึ่งบุคลากรน้อยมาก แต่ละเขตมีโรงพยาบาลไม่กี่แห่ง มีโรงพยาบาลไม่ครบทุกเขต เขตนึงดูแลคนเป็นแสนๆ แต่ไม่มีโรงพยาบาล หลายเขตพึ่งพาโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย หรืออย่างโรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลภูมิพล ซึ่งไม่ใช่โรงพยาบาลของ กทม. การเจ็บป่วยไม่ได้มีเรื่องของการป้องกัน เรื่องโครงสร้างการดูแลปฐมภูมิ เรื่องของการควบคุมโรค การดูแลรักษาผู้ป่วยเชิงลึก โครงสร้างพื้นฐานของ กทม. ระบบบริการสุขภาพที่ผ่านมามีการลงทุนน้อยมาก มีการพัฒนาระบบน้อยมาก

โควิดทำให้เห็นภาพชัดเจนว่า บ้านนอกอย่างน้อยเจ็บป่วยก็มีอนามัยดูแล สงสัยป่วยโควิดก็ได้ตรวจ swab ตรวจแล้วผลเป็นลบอีก 7 วันนัดมาตรวจใหม่ ต่างจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน กทม. โดยสิ้นเชิง ประเด็นโครงสร้างระบบบริการสุขภาพของ กทม. ต้องการการลงทุนอย่างมาก ในอนาคตอันใกล้ต้องปรับระบบขนาดใหญ่ เราคาดหวังกับผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ ซึ่งไม่รู้จะเลือกตั้งเมื่อไหร่ อยากให้เรื่องนี้เป็นนโยบายหลักของผู้ว่าฯ เพราะถ้าไม่แก้ปัญหามันก็จะเรื้อรังระยะยาว ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. ทำงานหนักมากนะครับ ไม่ใช่ว่าไม่ทำงาน แต่เขาทำงานหนักภายใต้ข้อจำกัดโครงสร้างการทำงานที่เล็กมาก เจ้าหน้าที่น้อยมากทำงานไม่ไหว ดูแลไม่ไหว

-การกู้วิกฤตโควิด-19 สิ่งที่รัฐต้องดำเนินการจัดการโดยเร่งด่วนคืออะไร
เปิดจุดตรวจให้มากที่สุด เพิ่มจุดพักคอย จากการลงพื้นที่ของเราจุดที่เราลงตรวจให้ชาวบ้าน เราใช้วัด มัสยิดใช้ลานชุมชน ลานกลางแจ้ง กางเต้นท์ใต้ทางด่วน เป็นพื้นที่ที่มีชุมชนอำนวยความสะดวกได้ เราแทบไม่ได้ใช้โรงเรียน อาคารสถานที่ราชการ เรารู้สึกได้ว่าหน่วยราชที่ กทม. ยังไม่สามัคคี ไม่ทุ่มเท ทั้งๆ ที่หน่วยราชการมีเยอะมาก อาคารหน่วยราชการเยอะมาก ซึ่งโรงเรียนเป็นอาคารที่น่าสนใจมากที่สุด ถ้าเป็นในต่างจังหวัดโรงเรียนจะถูกใช้เป็นโรงพยาบาลสนาม เป็นศูนย์พักคอย แต่ใน กทม. ทรัพยากรที่มีไม่ถูกระดมมาใช้กู้ภัยโควิด กับประชาชนต้องเผชิญหน้าอยู่กับเหตุการณ์ด้วยตัวเอง โดยมีกระทรวงสาธารณสุข หรือ กทม. ทำงานกันเต็มที่แต่ก็ไม่ไหว เพราะว่าเป็นการทำงานภายใต้ทรัพยากรที่มีไม่เพียงพอต่อสถานการณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงระบบราชการที่มันแตกตัวมาก

-ชมรมแพทย์ชนบทเรียกร้องให้รัฐระงับการส่งออกวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าหวังเพิ่มการฉีดวัคซีนให้คนไทยลดอัตราการเสียชีวิต
อัตราการติดเชื้อมันไกลเกินกว่าควบคุมการแพร่ระบาดด้วยวิธีมาตรฐาน ระบาดไปไกลมากแล้ว วิธีการควบคุมระบาดมีวิธีเดียวก็คือฉีดวัคซีนให้ถ้วนหน้า แต่ว่าวัคซีนที่เราได้มาน้อยมากในปัจจุบัน รัฐพูดเองว่าแอสตร้าฯ ได้เดือนละ 10 ล้านโส แต่เอาเข้าจริงได้เดือนละ 5 ล้านโดส ซึ่งมันไม่พอ ซิโนแวคก็เป็นวัคซีนที่ไม่มีใครอยากฉีด การระบาดแย่ลงมากไม่เฉพาะใน กทม. ตอนนี้เราระดมฉีดวัคซีนอย่างหนักใน กทม. แต่ต่างจังหวัดมีการฉีดน้อย ขาดแคลนวัคซีนด้วย

เราคิดว่าจะทำอย่างไรให้ประเทศเรามีวัคซีนมากขึ้น ดูรัฐบาลก็ไม่มีความสามารถในการจัดหาวัคซีนได้ ได้รับบริจาคล็อตเล็กๆ เดือนละ 4 - 5 แสนโดส 1 ล้านโดส ก็ไม่พอ ฉะนั้น ช่องทางกฎหมายที่เราทำได้ตาม พ.ร.บ วัคซีนแห่งชาติ คือการจำกัดการส่งออก จัดการได้ตามกฎหมาย เป็นหนึ่งในข้อเสนอต่อรัฐครับ จริงๆ เรามีเป้าหมายในการเพิ่มปริมาณวัคซีนในประเทศ ถ้ารัฐบาลสามารถใช้มาตรการอื่นจัดการวัคซีนด้วยวิธีการอื่นมาได้ เราก็ยินดีไม่ต้องมาใช้มาตรการทางกฎหมายเช่นนี้ แต่ถ้าหาไม่ได้เลยจริงๆ เราคิดว่านี่คือสิ่งที่จำเป็น มิเช่นนั้น สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศจะแย่มาก เปิดประเทศ 120 วันจะไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง อัตราการตายจะสูงขึ้น อัตราการแพร่ระบาดจะสูงขึ้น อัตราการแพร่ระบาดจะเพิ่ม 4 - 5 หมื่นคนต่อวัน วัคซีนคือคำตอบในการทำให้การแพร่ระบาดลดลง อัตราป่วย อัตราตายลดลง

-การบริหารวัคซีนเราพลาดตรงไหน ประเทศไทยถึงเดินมาถึงจุดนี้
อดีตสถานการณ์เราดีจริงนะ ผู้ติดเชื้อน้อย เราควบคุมการระบาดได้ดี ก็คงทำให้เราประมาทไปในเรื่องการจัดกาวัคซีน พอเราจองวัคซีนช้า ระบบราชการที่เทอะทะเต็มไปด้วยขั้นตอนทางกฎหมายมากมาย ยิ่งทำให้การจองวัคซีนช้า จ่ายเงินช้า ทุกอย่างช้าไปหมด วัคซีนธุรกิจไม่ใช่วัคซีนการกุศล แล้วเราเชื่อมั่นในสยามไบโอไซเอนซ์ว่าจะผลิตวัคซันได้มาก พอผลิตได้น้อยว่าที่ประมาณการณ์ไว้ก็ส่งผลให้มีวัคซีนไม่เพียงพอ ก็มีแต่ซิโนแวคที่เราซื้อได้ตลอด แต่ว่าผู้คนตั้งคำถามต่อซิโนแวคอย่างมาก ที่พลาดไปแล้วไม่เป็นไรนะ แก้ไขให้ได้ แก้ไม่ได้มันก็ไม่ไหว

-ประเด็น ร่าง พ.ร.ก. คุ้มครองบุคลากรสาธารสุข กับข้อครหานิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง คุณหมอมีความเห็นอย่างไร
มี 2 ประเด็นนะครับ โดยส่วนตัวเชื่อว่าความตั้งใจของผู้เสนอ พ.ร.ก. ฉบับนี้ ตั้งใจดูแลบุคลากรที่ฉีดวัคซีนถ้ามีปัญหาจะได้ไม่ต้องรับผิด แต่ว่าด้วยความไม่เชื่อมั่นของผู้คนต่อรัฐบาลรวมถึงความไม่ชัดเจนของเป้าหมายในการออก พ.ร.ก ฉบับนี้ ว่าจริงๆ แล้วควรจะเอาแค่ผู้ปฏิบัติก็เลยทำให้มีความสับสน ผมว่าเริ่มต้นง่ายที่สุดคือการรับฟังเสียงให้กว้างขวางแล้วทำให้เรื่องนี้มันโปร่งใส ไม่ควรเป็นเหมาเข่ง ให้เวลากระทรวงฯ พิจารณา ไม่จำเป็นต้องรีบเร่ง



-จะมีปฏิบัติแพทย์ชนบทบุกกรุง ครั้งที่ 4 หรือไม่
ไม่แน่ครับ เราอยากเห็น กทม. รวมมือจัดการตัวเองให้ได้ เราไม่ได้ต้องบุกกรุงเทพฯ เราจะอยู่ต่างจังหวัด โมเดลตรวจเชิงรุกของแพทย์ชนบทใช้ได้ทั่วประเทศไม่จำเป็นต้องใช้เฉพาะ กทม. อย่าง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งเริ่มมีการนำโมเดลไปใช้แล้ว

-ทราบว่าทีมแพทย์ชนบทกว่า 400 คนที่ร่วมปฏิบัติการในกรุงเทพฯ มากันโดยความสมัครใจ ทุกคนฉีดวัคซีนกันครบแล้วใช่ไหม
อัตราการติดเชื้อในกรุงเทพฯ ลงพื้นที่ชุมชนแออัดสูงมาก ทีมที่ลงพื้นที่จะฉีดเข็ม 3 มาเลย ส่วนใหญ่ ซิโนแวค 2 เข็ม แอสตร้าฯ เข็ม 3 ถ้วนหน้า เพราะไฟเซอร์มาช้ามาไม่ทันเราบุกกรุง เรามากันด้วยความสมัครใจ

- ปฏิบัติงานด่านหน้ามีความเสี่ยงสูง ทีมแพทย์ฯ มีความรู้สึกหวาดกลัวบ้างไหม
ทั้งตัวผมเองและทุกคนที่มากลัวติดโควิดหมดเลยนะ แต่เราก็เป็นเหมือนทหาร ถ้าเราไม่ทำแล้วใครจะทำ เราก็ได้วัคซีนเข็มที่ 2 เข็มที่ 3 มากกว่าประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้รับวัคซีนสักเข็ม ทีมที่มาฉีดแอสตร้าฯ เข็ม 3 ให้กับตัวเองก่อนเดินทางมา กทม. เรามีชุด PPE หน้ากาก N95 มีองค์ความรู้มากกว่าใคร เราแต่งตัวได้รัดกุมมากในการปฎิบัติงานเมื่อเทียบกับภาคประชาชนที่มาช่วยงานเรา พวกเขาน่าเป็นห่วงกว่าเราเยอะ เขามาช่วยเราเรียกคิวมาช่วยลงทะเบียน การแต่งกายรัดกุมน้อยมากอุปกรณ์ก็ขาดแคลน เรามีความเสี่ยงติดโควิดจริง แต่จริงๆ เราเสี่ยงน้อย

ปฎิบัติการบุกกรุงครั้งที่ 2 มีพยาบาลจังหวัดน่าน ติดโควิด จาก 120 คน ปฎิบัติการบุกกรุง ครั้งที่ 3 ก่อนกลับเราตรวจมีคนติดแล้ว 1 คน ยังต้องติดตามกันว่าพวกเราจะติดโควิดกันกี่คน แต่ถึงติดโควิดก็ไม่เป็นไร เพราะเราเป็นบุคลากรการแพทย์ เรามียาฟาวิพิราเวียร์ โรงพยาบาลเราก็มีเตียง เราเป็นชนชั้นสูงในสายสุขภาพ เราเข้าถึงบริการอยู่แล้ว ติดโควิดก็กักตัวรักษาไม่ใช่ปัญหา เราไม่ใช่ชาวบ้านคนด้อยโอกาสเข้าไม่ถึงบริการ เราไม่ได้ลำบาก แต่เราก็ตรวจตัวเองเพื่อให้เรารู้ให้ไม่ติดคนอื่นในครอบครัว เรามีวินัยในการปฏิบัติงาน เราป้องกันตัวเองดีมีโอกาสติดโควิดน้อยมาก

ผมชื่นชมทีมงานที่มามากเลยนะ มากันตั้ง 40 ทีม 400 คน มันสะท้อนถึงจิตวิญญาณอุดมคติที่มันยังมีอยู่ในตัวบุคลากรสุขภาพ ใครไหวก็มา โรงพยาบาลไหนไหวก็มา ครูบาอาจารย์สอนให้เราทำงานเพื่อชาวบ้าน เพื่อผู้คน จิตวิญญาณยังมีอยู่ซ่อนอยู่ถึงเวลาวิกฤตมีคนอาสามา
#6858
ท่อเฟล็กซ์สแตนเลส
#6859


กระแสความสนใจของประชาชน วันนี้ กรณีการแจกเงินเยียวยา ให้แก่ประชาชนแรงงานผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด ที่ประกาศ ล็อกดาวน์ โดยประกันสังคม เปิดลงทะเบียนผ่าน www.sso.go.th สำหรับผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 (ม.33) , มาตรา 39 (ม.39) และมาตรา 40 (ม.40) ดังนี้


สำนักงานประกันสังคม แจ้งวันนี้ ให้นายจ้างและลูกจ้างผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 29 จังหวัด 9 ประเภทกิจการ ท่านสามารถตรวจสอบสิทธิเยียวยาได้แล้ววันนี้ ทางเวปไซต์สำนักงานประกันสังคม ที่เดียวเท่านั้น คลิก


ผู้ประกันตนมาตรา 33 ใน 9 ประเภทกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ คลิกตรวจสอบสิทธิ์

แรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงมีมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการ "ล็อกดาวน์" ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา เพิ่มเติม จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา ครอบคลุม 9 ประเภทกิจการ นั้น ได้แก่ กิจการก่อสร้าง กิจการที่พักแรมบริการด้านอาหาร กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ สาขากิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน สาขากิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ และสาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร นั้น

สำหรับความคืบหน้าการเยียวยากลุ่มนายจ้างมาตรา 33 จำนวน 3,000 บาท ต่อลูกจ้างไม่เกิน 200 คน นั้น ขณะนี้มีนายจ้างได้ทยอยยื่นขอรับเงินชดเชยเข้ามาในระบบ e -service โดยในพื้นที่ 13 จังหวัดนั้นมีนายจ้างทั้งหมดประมาณ 180,000 ราย

ทั้งนี้ รมว.แรงงาน ยังได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคม เร่งประชาสัมพันธ์กระตุ้นเตือนไปยังนายจ้างที่ยังไม่ได้ยื่นขอรับค่าชดเชยเยียวยาสามารถยื่นความประสงค์ขอรับเงินได้ที่ ระบบ e – service ของประกันสังคม จากนั้นปริ้นข้อมูลแบบรับการเยียวยาแล้วกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม ส่งกลับมาให้ประกันสังคมโดยถ้าเป็นนายจ้างที่เป็นนิติบุคคลต้องแนบเลขบัญชีธนาคารกลับมาด้วย แต่ถ้าเป็นนายจ้างบุคคลธรรมดาให้นายจ้างผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนเพื่อประกันสังคมจะได้โอนเงินให้โดยเร็ว


ผู้ประกันตนมาตรา 39 และผู้ประกันตนมาตรา 40 คลิกตรวจสอบสิทธิ์

เช้าวันนี้ ดร.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล ย้ำว่าผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 ตรวจสิทธิรับเงินเยียวยาได้แล้ว ประกันสังคม เปิดให้ ผู้ประกันตน มาตรา 39 และ มาตรา 40 (29 จังหวัดแดงเข้ม 9 กลุ่มกิจการ) ตรวจสอบสิทธิ รับเงินเยียวยา รายละ 5,000 บาท ได้แล้ว คลิกตรวจสอบสิทธิ์


ทั้งนี้ การสมัครมาตรา 40 ไม่เกี่ยวข้องกับสิทธิรักษาพยาบาลร่วมกับบัตรทอง (สปสช.) รวมทั้งสิทธิประโยชน์สวัสดิการแห่งรัฐต่างๆ แต่อย่างใด และสิทธิที่เคยได้รับยังเหมือนเดิม และมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย หรือสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิตจากสำนักงานประกันสังคมเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย ส่วนสิทธิประโยชน์ของมาตรา 40 แต่ละทางเลือกขึ้นอยู่กับทางเลือกที่ผู้ประกันตนสมัคร


 ผู้สื่อข่าวตรวจสอบและรายงานด้วยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 64 เห็นชอบกรอบวงเงิน 33,471 ล้านบาท เยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ในพื้นที่ 29 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐตามข้อกำหนดฯ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยช่วยเหลือค่าครองชีพคนละ 5,000 บาท รวมทั้งสิ้น 6,694,201 คน

โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

1. พื้นที่ดำเนินการ 29 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ระยอง ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี ตาก อ่างทอง นครนายก สมุทรสงคราม และสิงห์บุรี

2. กลุ่มเป้าหมายรวมประมาณ 6,694,201 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จำนวน 1,436,171 คน และมาตรา 40 จำนวน 5,258,030 คน

3. คุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่มีสัญชาติไทย สถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะ A (Active) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด) หรือ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 16 จังหวัด) กรณีเป็นผู้สมัครเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะรอชำระเงิน W (Wait) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ทั้งนี้ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต้องไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39 และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ต้องไม่เป็นข้าราชการหรือผู้รับบำนาญของกรมบัญชีกลาง

4. วิธีการจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 จะโอนเงินให้กับผู้ประกันตนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) เฉพาะที่ผูกบัญชีกับเลขประจำตัวประชาชน


ที่มา - รัฐบาลไทย


ครม. ยังให้กระทรวงแรงงาน เร่งตรวจสอบยืนยันตัวตนของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือตามเป้าหมายเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน รวมทั้งขอให้โอนเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนตาม ม.39 และ ม.40 ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดใน 10 จังหวัด ก่อนระยะเวลาที่กำหนด ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2564
เนื่องจากเป็นกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ที่มีสถานการณ์การระบาดของโควิด -19 ที่รุนแรงและได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามข้อกำหนดฯ ก่อนพื้นที่อื่น ๆ



ตรวจสอบสิทธิ ม.39, ม.40 รับเงินเยียวยา 5,000 บาท

สำนักงานประกันสังคม เปิดให้ตรวจสอบสิทธิ โครงการเยียวยานายจ้าง - ผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 ใน 9 ประเภทกิจการ เพื่อรับเงินเยียวยาจำนวน 5,000 บาท ในพื้นที่สีแดงเข้ม 10 จังหวัดแรก โดยคาดว่าจะโอนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ได้ภายในวันที่ 24 ส.ค. 64

ส่วนผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระและสมัคร ม.40 ใน 3 จังหวัด (พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ฉะเชิงเทรา) และ 16 จังหวัดสีแดงเข้ม ( เช่น กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี และจังหวัดอื่น ๆ ) จะประกาศวันจ่ายเงินเข้าบัญชีอีกครั้ง
.
วิธีตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยานายจ้าง – ผู้ประกันตนฯ

1. เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th คลิกเลือก "ตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาฯ (ผู้ประกันตนม.39)", "ตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาฯ (ผู้ประกันตนม.40)"
2. จากนั้นกรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และรหัสตามรูปที่กำหนด
3. กดค้นหา
4. ระบบจะแสดงผลการค้นหา ว่าได้/ ไม่ได้รับสิทธิตามเงื่อนไขโครงการ

สำหรับวิธีการจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันตนทุกมาตรา จะโอนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์เฉพาะที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน เพื่อให้ระบบสามารถโอนเงินได้ตามกำหนด

ผู้มีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันสังคม โทร. 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง



วันนี้ กระทรวงแรงงาน แจ้ง ยื่นก่อน ได้ก่อน รับเงินเยียวยานายจ้าง ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ
นายจ้างที่อยู่ในพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้ม และอยู่ใน 9 ประเภทกิจการที่ถูกควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
จะได้รับเงินเยียวยา 3,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน (สูงสุดไม่เกิน 200 คน)
สำนักงานประกันสังคมจะเริ่มโอนเงินเข้าบัญชี ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2564 นี้ เป็นต้นไป
นายจ้างที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐใน 10 จังหวัด 9 ประเภทกิจการ ที่ยังไม่ยื่นขอรับเงินชดเชยเยียวยา ขอให้ท่านดำเนินการยื่นแบบความประสงค์ขอรับเงินโดยด่วน ขั้นตอนคือเข้าระบบ e-service บนเว็บไซต์ www.sso.go.th ของสำนักงานประกันสังคม

กรอกข้อมูลแล้วส่งกลับมาให้สำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานประกอบการนั้นตั้งอยู่

กรณีนายจ้างที่เป็นนิติบุคคลให้แนบสำเนาบัญชีธนาคารกลับมาด้วย
นายจ้างบุคคลธรรมดาให้ผูกบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน เพื่อสำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินได้อย่างรวดเร็ว
ที่มา - สำนักงานประกันสังคม 
#6860


ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 14.88 จุด หรือ 0.04% ปิดที่ 35,499.85 จุด ดัชนีเอสแอนด์พี 500 เพิ่มขึ้น 13.13 จุด หรือ 0.30% ปิดที่ 4,460.83 จุด และดัชนีแนสแด็ก เพิ่มขึ้น 51.13 จุด หรือ 0.35% ปิดที่ 14,816.26 จุด

แอ๊ปเปิ้ล อิงค์ ไมโครซอฟต์ อเมซอนดอทคอม อัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล และเฟซบุ๊ค ซึ่งมีมูลค่าตลาดคิดเป็นราวๆ 1 ใน 4 ของเอสแอนด์พี 500 เป็นแกนนำเอสแอนด์พี 500 และแนสแด็ก เคลื่อนไหวในแดนบวก ส่วนดัชนีดาวโจนส์ แกว่งตัวขึ้นมาทุบสถิติสูงสุดในช่วงท้ายของการซื้อขาย


นอกจากนี้ตลาดยังได้แรงหนุนจากความเคลื่อนไหวในแดนบวกของหุ้นบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง เทสลา อิงค์ เอ็นวิเดีย คอร์ป และโมเดอร์นาอิงค์ แม้หุ้นส่วนใหญ่ในตลาดจะปรับตัวลดลงมากกว่าปรับตัวขึ้นก็ตาม

การซื้อขายยังได้รับอิทธิพลจากการที่กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 12,000 ราย สู่ระดับ 375,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานยังคงฟื้นตัวแม้มีความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา

ขณะเดียวกัน ดัชนีราคาผู้ผลิต (พีพีไอ) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต พุ่งขึ้น 1% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 0.6%

มื่อเทียบรายปี ดัชนีพีพีไอพุ่งขึ้น 7.8% ในเดือนก.ค. หลังจากที่ขยายตัว 7.3% ในเดือนมิ.ย. แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในปี 2553

ส่วนดัชนีพีพีไอพื้นฐาน ที่ไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ดีดตัวขึ้น 1% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน และพุ่งขึ้น 6.2% เมื่อเทียบรายปี
#6861


ทันทีที่ผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ตัวเลขพุ่งกระฉูด รัฐประกาศ "ล็อกดาวน์" เต็มรูปแบบในพื้นที่สีแดงเข้ม ส่งผลให้ประชาชนแห่ซื้อสินค้าจำเป็น บะหมี่ฯ น้ำดื่ม น้ำอัดลม สินค้าดูแลสุขอนามัย ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ฯ ถูกตุนไว้มากขึ้น ผู้บริโภคหวังลดความถี่ออกนอกบ้าน ช่วยหยุดเชื้อเพื่อชาติ "มาม่า" ย้ำ 3 ส่วน ทำสินค้า "ขาดตลาด" เซเว่นอีเลฟเว่น ข้าวของจำเป็นเกลี้ยงเชลฟ์ "ไลอ้อนฯ" ยันกำลังผลิตเพียงพอ "อ้วยอันโอสถ" ป้อนฟ้าทะลายโจรไม่ทัน "ล็อกซเล่ย์" ชี้น้ำมันพืชแบบขวดขายดีมาก  "น้ำดื่มสิงห์" เร่งกระจายสินค้าให้ทันความต้องการ 

นายพันธ์ พะเนียงเวทย์ ผู้จัดการสำนักกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด(มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า ฯ เปิดเผยว่า สถานการณ์สินคาอุปโภคบริโภคที่จำเป็นกำลังขาดตลาดเป็นบางช่วงบางเวลาเกิดจาก 3 ปัจจัย 1.ด้านปริมาณการผลิตหรือซัพพลายจากโรงงาน ซึ่งขณะนี้การแพร่ระบาดของโรโควิด-19 ส่งผลให้ในส่วนของผู้ผลิตต้องระมัดระวังการดูแลด้านสุขอนามัยของพนักงานมากขึ้น หากมีพนักงานออกจะไม่รับใหม่เพราะกังวลจะมีผู้ติดเชื้อเข้ามา 

นอกจากนี้ หากรับคนเข้าทำงานจะต้องตรวจหาเชื้อโควิดและใช้เวลา 7 วัน เพื่อรอผลที่ชัดเจน หรือหากโรงงานใดพบญาติมีการติดเชื้อไวรัสจะแจ้งให้พนักงานหยุดงานทันที ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการผลิตสินค้า ทำให้ไม่สามารถใช้กำลังการผลิตได้ 100% 

2.ด้านความต้องการของผู้บริโภคหรือดีมานด์ ต้องยอมรับว่าหลังจากรัฐประกาศมาตรการล็อกดาวน์เต็มรูปแบบ ทำให้การซื้อสินค้ามีปริมาณมากขึ้น แต่ไม่ใช่การตื่นตระหนกซื้อเหมือนการล็อกดาวน์ในครั้งแรกเมื่อปี 2563 ขณะเดียวกันตัวเลขผู้ติดเชื้อที่สูง ทำให้ประชาชนซื้อสินค้าไว้ตุนไว้ เพื่อลดความเสี่ยง ความถี่ในการออกจากบ้าน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด 

อย่างไรก็ตาม เมื่อสินค้าบางรายการ บางแบรนด์หายไปจากชั้นวางหรือเชลฟ์ เป็นปกติที่พฤติกรรมผู้บริโภคจะหันไปซื้ออีกแบรนด์ 


นอกจากนี้ ความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้น ยังเกิดจากทุกภาคส่วนมีการซื้อสินค้าจำเป็นพื่อบริจาคให้กับผู้ป่วย หรือศูนย์ผู้ป่วย พักคอย หน่วยงานต่างๆมากขึ้น ซึ่งแต่ละครั้งเป็นการซื้อสินค้าในปริมาณค่อนข้างมาก เป็นต้น  

"ภาวะสินค้าขาดตลาดครั้งนี้ โรงงานผู้ผลิตมีการระมัดระวังด้านสุขอนามัยของพนักงานมากขึ้น จึงอาจส่งผลต่อการผลิต มีการผลิตน้อยลงบ้าง เช่น บริษัทที่ผ่านมาโรงงานบะหมี่ฯเส้นขาว ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี หยุดการผลิตไปราว 2 สัปดาห์ กระทบกำลังการผลิตบะหมี่หึ่งสำเร็จรูปโดยรวมหายไป 2.5% เท่านั้น เพราะเส้นขาวคิดเป็นสัดส่วน 10% ของกำลังการผลิตทั้งหมด แต่บะหมี่ฯเส้นเหลืองมาม่าไม่หยุดผลิต"  

ส่วนที่ 3 ด้านการขนส่งและกระจายสินค้า มีการสะดุดไปบ้าง เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส แต่ไม่ถึงกับเกิดภาวะ "ช็อต" ทั้งนี้ หากสินค้าผลิตและส่งจากโรงงานจะมีการเติมไปยังร้านค้าต่างๆตลอดเวลา หากวันรุ่งขึ้นไม่มีการเติมสินค้า นั่นเกิดจากโรงงานผลิตได้รับกระทบ อย่างไรก็ตาม บริษัทไทยเพรซิเดนท์ฯ มีการส่งบะหมี่ฯ ไปยังศูนย์กระจายสินค้าของพันธมิตรห้างค้าปลีกต่างๆ จากนั้นทางห้างจะเป็นผู้กระจายไปยังสาขาต่างๆเอง 


อย่างไรก็ตาม การเติมสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค และเข้าสู่ภาวะปกติ อาจใช้เวลาอีกระยะ หรือราวเดือนกันยายนนี้ ดังนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องระวังคือกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง จะส่งผลปรมาณการสต๊อก และกำลังผลิตสินค้าอีกระลอก

"ยืนยันว่าการขาดแคลนสินค้าบนเชลฟ์ไม่ได้เกิดจากความตระหนกซื้อ และไม่เหมือนกับเหตุการณ์น้ำท่วม และคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติเดือนหน้า" 

นายธิติพร ธรรมาภิมุขกุล หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มการตลาดแบรนด์ บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า ในส่วนการผลิตน้ำดื่มสิงห์ ขณะนี้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด บริษัทยังคงใช้กำลังการผลิตได้ตามปกติ สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค แต่ในด้านการกระจายสินค้า อาจจะไม่สามารถดำเนินการได้ทันเวล่า เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส  

  

นายบุญฤทธิ์ มหามนตรี ประธานกรรมการ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทยังมีกำลังการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เช่น กำลังการผลิตเหลือ 20% หรือ30% บ้าง ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า  แต่ยอมรับว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ทำให้ร้านค้าต่างๆ โดยฉพาะในต่างจังหวัด งดให้ตัวแทนจำหน่ายหรือเซลล์เข้าพบ เพื่อป้องกันและดูแลด้านสุขอนามัย 

ทั้งนี้ หากร้านค้าประสบภาวะขาดแคลนสินค้า สามารถติดต่อมายังบริษัทไลอ้อน หรือลบริษัท สหพัฒนพิบูลโดยตรง เพื่อประสานการแก้ปัญหาได้ตรงความต้องการมากขึ้น เช่น บริษัทจะติดต่อซัพพลายเออร์ หรือร้านค้าใกล้เคียงเพื่อป้อนสินค้าให้ ส่วนผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้

"เรายืนยันสินค้าดูแลสุขอนามัย และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆไม่ขาดตลาด ผู้บริโภคไม่ต้องตกใจ และบริษัทยังมีกำลังการผลิตเพียงพอต่อความต้องการ"  

นายสุรช ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคอยู่บ้านมากขึ้น  มีการทำกับข้าวเพื่อรับประทานเอง ส่งผลให้ยอดขายน้ำมันพืชแบบขวดขายดีมาก อย่างบริษัทเป็นผู้จัดจำหน่ายและกระจายน้ำมันพืชกุ๊ก พบว่ายอดขาย 6 เดือน มีอัตราการเติบโตเกือบ 100% รวมถึงสินค้ากะปิ น้ำปลา ผงปรุงรส ยอดขายเติบโตเช่นกัน  

นายชนรรค์ สมบูรณ์เวชชการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อ้วยอันโอสถ จำกัด กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยเฉพาะที่ผลิตจากกระชาย ฟ้าทะลายโจรฯ มีการขาดตลาดอย่างมาก เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีสูง ซึ่งบริษัทส่งสินค้าป้อนร้านขายยา 7,000-8,000 แห่งทั่วประเทศ ได้รับคำสั่งซื้อหรือออเดอร์เข้ามาจำนวนมาก แต่การส่งผลิตภัณฑ์ยังค้างอยู่หลักแสนรายการ 


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ห้างค้าปลีกประเภทร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น จะพบสินค้าขาดตลาดค่อนข้างมาก ส่วนห้างค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น เทสโก้ โลตัส ยังพบการขาดตลาดน้อย มีเพียงบางหมวดเท่านั้นที่หายจากเชลฟ์ ส่วนร้านขายยา นอกจากฟ้าทะลายโจรขาดตลาด น้ำยาอุทัยทิพย์ แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ ขาดตลาดเช่นกัน
#6864
สำนักงานบัญชี เอทีเอส บริการบัญชีและภาษี
1158/14  ซอยจันทน์ 37/1  ถนนจันทน์  แขวงทุ่งวัดดอน  เขตสาทร  กรุงเทพฯ 
สนใจติดต่อคุณสมบูรณ์ 089-793-5707 , 02-212-3064
Email : ats_audit@hotmail.com

สำนักงานบัญชี , รับทำบัญชีถนนจันทน์ , รับทำบัญชีบางคอแหลม , รับทำบัญชียานนาวา , รับทำบัญชีพระราม 3 , รับทำบัญชีสาทร , รับทำบัญชีบางรัก ,รับทำบัญชีทุ่งมหาเมฆ , รับทำบัญชีสีลม , รับทำบัญชีศาลาแดง , รับทำบัญชีพระราม1 , รับทำบัญชีสยาม , รับทำบัญชีเพลินจิต , รับทำบัญชีชิดลม , รับทำบัญชีปทุมวัน , รับทำบัญชีเซ็นหลุยส์ , รับทำบัญชีสาธุประดิษฐ์ , รับทำบัญชี , รับทำบัญชีรายเดือน , รับทำบัญชีรายปี , ตรวจสอบบัญชี , ตรวจสอบบัญชีบริษัทจำกัด , ตรวจสอบบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด
#6867
ท่อเฟล็กซ์สแตนเลส
#6868


แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการเราชนะในส่วนของกรอบวงเงินในโครงการจากเดิมที่ได้รับจัดสรรวงเงินประมาณ 2.8 แสนล้านบาท ปรับลดลงเหลือ 2.73 แสนล้านบาท โดยปรับลดลงประมาณ 6.76 พันล้านบาท

ทั้งนี้วงเงินที่ปรับลดลงเหลือ 2.73 แสนล้านบาทดังกล่าวได้รวมวงเงินที่อยู่ระหว่างดำเนินการระงับสิทธิ์ชั่วคราวของผู้ประกอบการที่กระทำการเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการเราชนะวงเงินประมาณ1.42 หมื่นล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงของผู้ประกอบการและประชาชนที่กระทำการเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯซึ่งหกาตรวจสอบแล้วไม่พบการทุจริตจะดำเนินการยกเลิกการระงับสิทธิ์แอปพลิเคชั่น "ถุงเงิน"และจ่ายเงินให้กับร้านค้าต่อไป


สำหรับผลการดำเนินงานของโครงการเราชนะกระทรวงการคลังได้รายงานให้ที่ประชุม ครม.รับทราบว่า ณ วันที่ 30 มิ.ย.2564 มีผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการฯจำนวนทั้งสิ้นกว่า 33.22 ล้านคน แบ่งเป็นกลุ่มผู้มีบัตรสัสดิการแห่งรัฐจำนวน 13.6 ล้านคน กลุ่มผู้มีแอพพลิเคชั่นเป๋าตังค์จำนวน 8.3 ล้านคน

กลุ่มผู้ลงทะเบียนฯจำนวน 8.71 ล้านคน และกลุ่มต้องการความช่วยเหลือ จำนวน 2.4 ล้านคน โดยมีผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการฯที่ใช้จ่ายจนครบวงเงินสิทธิ์จำนวนกว่า 2.72 แสนล้านบาท โดยในจำนวนนี้รวมวงเงินที่ต้องมีการดำเนินการโอนเงินซ้ำให้แก่ผู้ประกอบการที่โอนเงินไม่สำเร็จจำนวน 645,533.77 บาท

กระทรวงการคลังโดย สศค. ได้มีการกำหนดแนวทางเพื่อควบคุมและป้องกันการกระทำผิดวัตถุประสงค์ของโครงการฯ อย่างเข้มงวด โดยได้มีการจัดตั้งคณะทำงานพิจารณาตรวจสอบข้อมูลและเรื่องร้องเรียนสำหรับโครงการเราชนะ โดยคณะทำงานฯ ในการติดตามตรวจสอบผู้ประกอบการและประชาชนที่กระทำการเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ อย่างต่อเนื่องในกรณีที่ตรวจพบธุรกรรมที่มีความผิดปกติและเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯ เช่น การรับ แลกวงเงินสิทธิ์เป็นเงินสด เป็นต้น จะดำเนินการระงับสิทธิ์ชั่วคราวการเข้าร่วมโครงการฯ และร่วมมือกับ หน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและขยายผลการสืบสวนสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป 

โดยปัจจุบันกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบผู้ประกอบการที่มีธุรกรรมผิดปกติและเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯจำนวน 3,000 ราย โดยมีวงเงินการระงับสิทธิ์ชั่วคราวของผู้ประกอบการที่กระทำการเข้าข่ายผิดหบักเกณฑ์และเงื่อนไขอยู่ประมาณ 1.42 หมื่นล้านบาท