• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Ailie662

#6466


จากกรณีที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์เฟซบุ๊กว่า ยายได้สั่งของผ่านแอพพลิเคชั่นสั่งอาหารชื่อดัง และโอนเงินผิด เมื่อติดต่อขอคืนไรเดอร์ระบุว่าใช้เงินไปหมดแล้ว และติดต่อไม่ได้

ล่าสุด แกร็บได้ออกแถลงการณ์ ระบุว่า จากกรณีที่มีการรายงานข่าวเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่สั่งอาหารผ่าน GrabFood ซึ่งได้โอนเงินค่าบริการเกินจำนวนไปให้พาร์ตเนอร์คนขับนั้น แกร็บ ประเทศไทย ขอเรียนชี้แจงในข้อเท็จจริงประเด็นต่างๆ ดังนี้
• บริษัทฯ ได้รับทราบถึงกรณีดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 และไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการลูกค้าได้ทำการติดต่อผู้ใช้บริการในทันทีเพื่อสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อประสานการให้ความช่วยเหลือ
• ทั้งนี้ ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้พยายามติดต่อพาร์ตเนอร์คนขับซึ่งถูกอ้างถึงเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและติดตามความคืบหน้าของกรณีดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยในระหว่างที่มีการตรวจสอบและติดตามผล บริษัทฯ ได้ทำการระงับสัญญาณการให้บริการของพาร์ตเนอร์คนขับรายดังกล่าวเป็นการชั่วคราว
• จากการติดตามและประสานงานอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด (วันที่ 24 กรกฎาคม 2564 เวลา 11.18 น.) พาร์ตเนอร์คนขับรายดังกล่าวได้ทำการโอนเงินส่วนเกินเพื่อคืนให้กับผู้ใช้บริการแล้ว โดยได้ส่งสลิปการโอนเงินผ่านทางธนาคารให้กับบริษัทฯ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยืน ซึ่งผู้ใช้บริการได้รับเงินจำนวนดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
• ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถพิสูจน์ และระบุว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หรือเข้าข่ายการก่ออาชญากรรม บริษัทฯ จะดำเนินการระงับสัญญาณการให้บริการกับพาร์ตเนอร์คนขับเป็นการถาวร ซึ่งถือเป็นมาตรการขั้นสูงสุด

ทั้งนี้ บริษัทฯ ขอยืนยันว่า แกร็บให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจโดยเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยได้ส่งเสริมให้พาร์ตเนอร์คนขับปฏิบัติตาม "จรรยาบรรณของพาร์ตเนอร์คนขับแกร็บ" ซึ่งครอบคลุมถึงประเด็นด้านการปฏิบัติตามกฏหมาย เพื่อรักษามาตรฐานที่ดีและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการทุกคน

ขอแสดงความนับถือ
แกร็บ ประเทศไทย
#6467
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 716
#6468



ธอส.เผยผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 ปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ 106,231 ล้านบาท 69,705 บัญชี เพิ่มขึ้น 5.20% จากช่วงเดียวกันของปี 2563 สินเชื่อคงค้างรวม1,375,663 ล้านบาท สินทรัพย์รวม 1,441,928 ล้านบาท มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) 4.31% ของยอดสินเชื่อรวม ตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพื่อความมั่นคงและเตรียมพร้อมรับผลกระทบจาก COVID-19 จำนวน 104,390 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อ NPL สูงถึง 176.13% พร้อมเร่งให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จาก COVID-19 ล่าสุดมีลูกค้าได้รับความช่วยเหลือผ่านทั้ง 18 มาตรการของ ธอส. ตั้งแต่ปี 63 ถึงปัจจุบันเป็นจำนวนรวมสูงสุดมากกว่า 925,000 บัญชี เงินต้นคงเหลือ 796,500 ล้านบาท

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงาน ณ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ว่า แม้ประเทศไทยจะยังคงอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และรายได้ของประชาชน แต่ ธอส. ยังคงสามารถทำหน้าที่ตามพันธกิจ "ทำให้คนไทยมีบ้าน" เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง



โดยณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 ธนาคารปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ 106,231 ล้านบาท 69,705 บัญชี เพิ่มขึ้น 5.20% จากช่วงเดียวกันของปี 2563 คิดเป็นเกือบ 50% ของเป้าหมายปล่อยสินเชื่อใหม่ปี 2564 ที่ 215,641 ล้านบาท สินเชื่อ 6 เดือนแรกที่ปล่อยไปเป็นสินเชื่อที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 2 ล้านบาท

สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและปานกลางจำนวน 50,183 บัญชี ธนาคารมียอดสินเชื่อคงค้างรวมทั้งสิ้น 1,375,663 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.17% สินทรัพย์รวม 1,441,928 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.46% เงินฝากรวม 1,205,886 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.81% หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จำนวน 59,268 ล้านบาท คิดเป็น 4.31% ของยอดสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสิ้นปี 2563 ที่มี NPL อยู่ที่ 3.75% ของสินเชื่อรวม โดยมีการตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ 104,390 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อ NPL สูงถึง 176.13% เพื่อความมั่นคงและเตรียมพร้อมรองรับผลกระทบจาก COVID-19 ในอนาคต โดยธนาคารยังคงมีกำไรสุทธิตามเป้าหมายตัวชี้วัดของธนาคารที่ 5,993 ล้านบาท และมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ในระดับแข็งแกร่งที่ 15.63% สูงกว่าอัตราเงินกองทุนขั้นต่ำที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนด



ทั้งนี้ปัจจัยหลักที่ธนาคารยังคงปล่อยสินเชื่อใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง คือ มาตรการต่างๆ ของรัฐบาล ผลิตภัณฑ์สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำของธนาคาร และการจัดโปรโมชั่นของผู้ประกอบการ ช่วยให้ประชาชนกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มีบ้านเป็นของตนเองและครอบครัวได้ง่ายขึ้น โดยผลิตภัณฑ์สินเชื่อของ ธอส. ที่มีลูกค้าเลือกใช้บริการสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ โครงการบ้าน ธอส. เพื่อคุณ อัตราดอกเบี้ยปีแรกเพียง 2.75% ต่อปี มียอดอนุมัติสะสมสูงถึง 23,620 ล้านบาท รองลงมาคือสินเชื่อบ้านลูกค้าสวัสดิการ ธอส. ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยปีแรก 2.60% ต่อปี มียอดอนุมัติสะสม 11,998 ล้านบาท และโครงการบ้าน ธอส. เพื่อสานรัก อัตราดอกเบี้ยปีแรก 2.50% ต่อปี มียอดอนุมัติสะสม 11,215 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน ธอส. ยังคงให้ความช่วยเหลือลูกค้าประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ผ่านโครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ ผ่าน 2 มาตรการเร่งด่วนล่าสุดที่บรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ ลูกค้าทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการทั้งในและนอกพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ มาตรการที่ 15 สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ และมาตรการ 16 สำหรับลูกค้าที่มีสถานะ NPL หรืออยู่ระหว่างปรับโครงสร้างหนี้ จะได้รับความช่วยเหลือโดยการพักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม-31 ตุลาคม 2564 เปิดให้ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้ามาตรการเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ล่าสุด ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 เวลา 16.00 น. มีลูกค้าลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้ามาตรการที่ 15 จำนวนเงินต้นคงเหลือ 48,880 ล้านบาท และมาตรการที่ 16 จำนวน 2,485 ล้านบาท ทำให้นับตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ธอส. สามารถช่วยเหลือลูกค้าผ่าน 18 มาตรการ รวมเป็นจำนวนสูงสุดมากกว่า 925,000 บัญชี เงินต้นคงเหลือ 796,500 ล้านบาท

โดยมาตรการที่ 15 และ 16 ลูกค้าสามารถลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้ามาตรการผ่าน Mobile Application : GHB ALL ได้ในวันจันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 8.30-15.00 น. (เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 29 สิงหาคม 2564 ส่วนลูกค้าที่ต้องการลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เพื่อขอขยายระยะเวลาความช่วยเหลือตามมาตรการที่ 9,10,11 และ 11 New Entry : แบ่งจ่ายเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดต้น ตัดดอก) มาตรการที่ 13 : พักชำระเงินต้น และจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน และมาตรการที่ 14 : พักชำระเงินต้น และจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน พร้อมลดดอกเบี้ย ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ลูกค้าสามารถลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้ามาตรการผ่าน Mobile Application : GHB ALL ได้ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-15.00 น. (เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์) เช่นกัน ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม จนถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2564

ทั้งนี้นอกจากความช่วยเหลือในมาตรการด้านการเงิน ธอส. ยังคงให้ความช่วยเหลือสังคมไทยสู้ภัยโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ด้วยงบประมาณสนับสนุนรวมกว่า 5,000,000 บาท ให้กับหลายหน่วยงานที่ทั้งสถานพยาบาล สถานศึกษา และสถานที่ให้บริการฉีดวัคซีน เป็นต้น เพื่อนำไปดำเนินการในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็น อาทิ การจัดสร้างหอผู้ป่วยไอซียูความดันลบแบบห้องแยกที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยวิกฤตที่มีอาการรุนแรง การจัดซื้อเครื่องฮีโมเปอร์ฟิวชั่นใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 การจัดสร้างไอซียูสนาม การจัดหาเก้าอี้นั่งจุดพักคอย น้ำดื่มธนาคารกว่า 100,000 ขวด รวมถึงหน้ากากอนามัยพร้อมสายคล้อง ถุงยังชีพ และอาหารกล่อง สอดคล้องกับนโยบายการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ CSR ของธนาคาร ด้วยความห่วงใยและตระหนักถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน อีกทั้งเป็นการสร้างจิตสำนึกในการเป็นจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคมให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

 
#6469
www.programlike.com
ปั้มไลค์ แฟนเพจ, ไลค์โพส, แชร์โพสต์, ยอดวิววิดีโอ
#6471


'วัคซีนโควิด 19' กลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ไทยกำลังประสบอยู่ และเกิดคำถาม ข้อเรียกร้องจากประชาชนมากมาย ให้รัฐบาล จัดหาจัดสรรวัคซีนที่มีคุณภาพฉีดให้ครอบคลุมประชาชนทุกคน

 จากการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (โควิด - 19) (ศบค.) ครั้งที่ 10/2564 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบถึงแนวทางการจัดสรรวัคซีน แผนการกระจายวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 ระหว่างวันที่ 19 ก.ค.- 31ส.ค. 2564

13 ล้านโดสเร่งกระจายวัคซีนใน 3 กลุ่มจังหวัด 
โดยการพิจารณาจัดสรรวัคซีนให้กับผู้ที่ได้จองฉีดวัคซีนล่วงหน้า คือ กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มจังหวัด ประกอบด้วย

1.กลุ่มจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และจังหวัดควบคุมสูงสุดบางจังหวัด จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และชลบุรี

2.จังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือมีความเร่งด่วนในการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ภายหลังการระบาด และแผนเปิดการท่องเทียวระยะถัดไป จำนวน 18 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ตาก หนองคาย สระแก้ว บุรีรัมย์ พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาเต่า) ตรัง พังงา และกระบี่

3.จังหวัดอื่น ๆ จำนวน 48 จังหวัด

เกณฑ์การจัดสรรวัคซีน 15 ก.ค.-31 ส.ค.2564
มีการพิจารณา ดังนี้

1.จำนวนประชากรที่นำมาคำนวณมาจากฐานข้อมูลประชากรจากทะเบียนบ้านและประชากรแฝง

2.เป้าหมายฉีดให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 70 ของจำนวนประชากรจากทะเบียนบ้านและประชากรแฝงทุกกลุ่มอายุในแต่ละจังหวัด ทั้งผู้มีสัญชาติไทยและ ไม่มีสัญชาติไทย

3.เป้าหมายให้บริการวัคซีน 13,000,000 โดส (จำนวนวัคซีนที่จัดสรรจริงอาจปรับเปลี่ยนตามปริมาณวัคซีนที่ประเทศไทยจัดหาได้)

4.ประเภทการจัดสรรเป็นไปตามมติศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19  เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2564 แบ่งเป็น 3 กลุ่มจังหวัดตามที่เสนอ โดยเกณฑ์การจัดสรรจะพิจารณาจากปัจจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ได้ลงทะเบียนจองวัคซีนล่วงหน้าในเดือนก.ค. – ส.ค.2564 การให้วัคซีนเพื่อป้องกันเชิงรุกในพื้นที่ระบาดใหม่  โควตาประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตน (กทม. + 12 จังหวัด) และจำนวนประชากรแต่ละจังหวัด

5.กรณีจัดหาวัคซีนได้ไม่ถึง 13,000,000 โดส จะลดลงตามสัดส่วนวัคซีนที่ได้

ทั้งนี้  ที่ประชุมมีความเห็นว่าควรลดระยะเวลาการฉีดวัคซีน AstraZeneca จำนวน 2 โดส เป็น 8 สัปดาห์ ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 สูง และให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 เพิ่มเติม

แนวทางการฉีดวัคซีนในประเทศไทย
แนวทางการฉีดวัคซีนแบบผสมสูตร ตามแนวทางมาตรฐาน ได้แก่

1.กรณีรับวัคซีน Sinovac เข็มที่ 1 และวัคซีน AstraZeneca เข็มที่ 2 ให้ฉีดห่างกัน 3 - 4 สัปดาห์

2.กรณีรับวัคซีน AstraZeneca จำนวน 2 เข็ม ให้ฉีดห่างกัน 10 - 12 สัปดาห์ โดยทั่วไปผู้รับวัคซีนจะมีภูมิคุ้มกันสูงเพียงพอหลังจากฉีด ครบ 2 เข็ม แล้ว 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ กรณีการฉีดวัคซีนในผู้สูงอายุให้พิจารณารับวัคซีน AstraZeneca จำนวน 2 เข็ม และการฉีดวัคซีน Sinovac จำนวน 2 เข็ม จะฉีดเฉพาะกรณี


แนวทางการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster Dose) ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ในบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับวัคซีน Sinovac ครบ 2 เข็ม โดยสามารถได้รับการฉีดวัคซีน AstraZeneca หรือ Pfizer เป็นเข็มกระตุ้น 1 เข็ม หลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ (สูตร Sv-Sv-Az หรือ Sv-Sv-Pf) ทั้งนี้ เมื่อมีวัคซีนเพียงพอและกลุ่มเสี่ยงได้รับวัคซีนแล้ว จะมีการพิจารณาการฉีดเข็มกระตุ้นให้กับประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในระยะถัดไป

แนวทางการจัดหาวัคซีน ในปี 2565  การจัดหาวัคซีนในกรอบ 120,000,000 โดส ต้องเร่งรัดการจัดหาวัคซีน โดยพิจารณาดำเนินการกับผู้ผลิตวัคซีนที่มีการพัฒนาวัคซีนรุ่นที่สองที่สามารถจะครอบคลุมไวรัสที่มีการกลายพันธุ์

โดยให้มีเป้าหมายการส่งมอบได้ภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 รวมทั้งการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การสนับสนุนการวิจัยพัฒนาวัคซีนต้นแบบเพื่อรองรับการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส การกำหนดแนวทางการขึ้นทะเบียนวัคซีนที่และพัฒนาในประเทศ และสนับสนุนการศึกษาภูมิคุ้มกันระยะยาวของผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ตลอดจนการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ไวรัสกลายพันธุ์ในปี 2565 และความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด  19 เพิ่มเติม
 

ไทมไลน์แผนจัดสรรวัคซีนถึงสิ้นเดือนส.ค. 2564
นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ ส.ว. ฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สาธารณสุข วุฒิสภา ได้โพสผ่าน Blockdit 'ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย' โดยข้อมูลจากศูนย์ปฎิบัติการนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ขณะนี้ได้มีการประกาศไทม์ไลน์การฉีดวัคซีนโควิด ในช่วงตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค.ถึงวันที่ 31 ส.ค.แล้ว โดยจะระดมฉีดวัคซีนจำนวน 13 ล้านโดส ภายใน 44 วัน คิดเป็นเฉลี่ยวันละ 2.95 แสนโดส แบ่งเป็นวัคซีน AstraZeneca 8 ล้านโดส  Sinovac 5 ล้านโดส ตามพื้นที่ต่างๆ ดังนี้

1.พื้นที่ควบคุมสูงสุดเข้มงวด (สีแดงเข้ม) จำนวน 33%

2.พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) + ท่องเที่ยว จำนวน 10%

3.พื้นที่ 48 จังหวัดที่เหลือ จำนวน 15%

4.ระบบประกันสังคม จำนวน 15%

5.หน่วยงานของรัฐและสำรองตอบโต้กรณีฉุกเฉิน จำนวน 12%

6.ฉีดเข็มสอง ให้ผู้ที่ได้เข็มหนึ่งของ AstraZeneca แล้วจำนวน 12%

7.ฉีดกระตุ้นให้บุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 3%

โดยจะให้เน้นไปที่ผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรคเรื้อรังเป็นหลัก

แผนจัดหาวัคซีน ไม่พอกับเป้าหมาย 100 ล้านโดส
นพ.เฉลิมชัย ระบุต่อว่าเมื่อดูจากตัวเลขดังกล่าว จะพบว่า ได้มีการฉีดวัคซีนมาแล้วจนถึงวันที่ 18 ก.ค.2564 จำนวน 14.22 ล้านโดส เมื่อรวมกับที่จะฉีดภายในสิ้นเดือนส.ค.นี้ อีก 13 ล้านโดส จึงรวมเป็น 27.22 ล้านโดส  

เป้าหมายที่จะเกิดภูมิคุ้มกันหมูในการฉีดถึงสิ้นปีนี้ ธ.ค.2564 คือ 100 ล้านโดส จึงจะต้องฉีดเพิ่มอีก 72.78 ล้านโดส ในช่วงเวลาที่เหลือ ตั้งแต่  1 ก.ย.-31 ธ.ค.2564 รวมเป็นเวลา 122 วัน คงต้องฉีดให้ได้เฉลี่ย 5.96 แสนโดสต่อวัน  ซึ่งโดยศักยภาพของโรงพยาบาลรัฐ สามารถฉีดได้วันละ 5-7 แสนโดส จึงไม่ใช่ปัญหาเรื่องความสามารถในการฉีด แต่น่าจะเป็นประเด็นเรื่องปริมาณของวัคซีนที่จะจัดหามาให้ได้ครบ 100 ล้านโดสภายในสิ้นปีนี้

โดยพบว่า วัคซีนที่จะต้องจัดหามาเพิ่มอีก 72.78 ล้านโดสนั้น ประกอบไปด้วย

1.AstraZeneca 20 ล้านโดส คือเดือนละ 5 ล้านโดส จำนวน 4 เดือน

2.Sinovac  12 ล้านโดส คือ เดือนละ 3 ล้านโดส

3.Pfizer 20 ล้านโดส บวกที่ได้รับบริจาคจากสหรัฐฯอีก 1.5 ล้านโดส รวมเป็น 21.5 ล้านโดส

4.Moderna 5 ล้านโดส

5.Sinopharm 2 ล้านโดส

รวมเป็น 61.5 ล้านโดส ยังคงขาดวัคซีนที่ต้องเร่งจัดหามาภายในสิ้นปีอีก 11.28 ล้านโดส เฉลี่ยเดือนละ2.82 ล้านโดส  ซึ่งสามารถดำเนินการได้หลายวิธี อาทิเช่น เจรจากับ AstraZeneca ให้จัดสรรวัคซีนเพิ่มให้กับไทย หรือนำเข้าวัคซีน Sinopharm เพิ่มขึ้น หรือนำเข้าวัคซีน johnson & Johnson  หรือวัคซีน Sputnik V จากรัสเซีย  ตลอดจนวัคซีน Novavax เข้ามาเสริม คงจะต้องรอดูแผนและวิธีการดำเนินการต่อไป
#6473


"ไทยพาณิชย์" ร่วมกับ "โรบินฮู้ด" ฟู้ดเดลิเวอรี ประกาศต่อมาตรการ "เราช่วยคุณ คุณช่วยร้าน" ขยายระยะเวลาส่งฟรีทุกออเดอร์อีก 8 วัน เป็นกำลังใจให้ทุกฝ่ายฝ่าวิกฤตช่วงล็อกดาวน์


"ธนาคารไทยพาณิชย์" และ "โรบินฮู้ด" แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีสัญชาติไทย ในเครือธนาคารฯ ตระหนักถึงความเดือดร้อนของสังคมไทยที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงล็อกดาวน์ที่เศรษฐกิจหยุดชะงัก จึงได้ขยายระยะเวลามาตรการ "เราช่วยคุณ คุณช่วยร้าน" ส่งฟรีทุกออเดอร์ต่ออีก 8 วัน ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2564 มุ่งหวังช่วยร้านเล็กให้รอด ไรเดอร์มีงานมีรายได้ ลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับลูกค้า รวมถึงชวนคนในสังคมร่วมแบ่งปันและส่งต่อกำลังใจให้กันและกันในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้


จากมาตรการพิเศษ "เราช่วยคุณ คุณช่วยร้าน" ส่งฟรีทุกออเดอร์ในช่วงที่ผ่านมา มีลูกค้าให้ความสนใจ ช่วยกันสั่งอาหารจากร้านค้าโดยเฉพาะร้านเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้อาจจะมีความไม่สะดวกเกิดขึ้น ซึ่งทางโรบินฮู้ดต้องขออภัยลูกค้า ร้านค้า รวมถึงไรเดอร์ที่ได้รับผลกระทบทุกท่าน โดยได้เร่งปรับปรุงและพัฒนาระบบ รวมถึงเปิดรับไรเดอร์ใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้

"โรบินฮู้ด" ขอเชิญชวนมาร่วมกันช่วยร้านอาหารเล็ก ๆ ที่กำลังเดือดร้อน ผ่านมาตรการ "เราช่วยคุณ คุณช่วยร้าน" และหวังว่าผู้สั่งอาหารจะช่วยสั่งจากร้านเล็ก ๆ เพื่อเป็นกำลังใจและสนับสนุนร้านเล็กให้รอดไปด้วยกัน... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/news/90951/
#6474
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 716
#6475
www.programlike.com
ปั้มไลค์ แฟนเพจ, ไลค์โพส, แชร์โพสต์, ยอดวิววิดีโอ
#6477


เปิดโปรแกรมแข่งขันโอลิมปิก "โตเกียว2020" ประจำวันที่ 25 กรกฎาคม 2564
โปรแกรม "นักกีฬาไทย" ในโอลิมปิก "โตเกียว2020" ประจำวันอาทิตย์ที่ 25 ก.ค. 2564

เทเบิลเทนนิส 07.00 น.

สุธิสินี เสวตบุตร
แบดมินตัน รอบแบ่งกลุ่ม เริ่มเวลา 07.00 น. 

หญิงคู่ : จงกลพรรณ กิติธรากุล และ รวินดา ประจงใจ พบ คิม โซยอง และ คอง ฮียอง (เกาหลีใต้) ลงแข่งขันเวลา 08.40 น. โดยประมาณ

 
คู่ผสม : เดชาพล พัววรานุเคราะห์ และ ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย พบ ทอม กีเซล และ เมลฟิน เดอรูร์ (ฝรั่งเศส) ลงแข่งขันเวลา 10.40 น. โดยประมาณ

 
หญิงเดี่ยว : รัชนก อินทนนท์ พบ ลอร่า ซาโรซี่ (ฮังการี) ลงแข่งขันเวลา 17.20 น. โดยประมาณ

 
ชายเดี่ยว : กันตภณ หวังเจริญ พบ ไค แชเฟอร์ (เยอรมนี) ลงแข่งขันเวลา 18.00 น. โดยประมาณ
 

มวยสากล รอบแรก เริ่มเวลา 09.00 น.

รุ่นฟลายเวต 51 กก. หญิง จุฑามาศ จิตรพงศ์ พบ รูเมซ่า บูอาลัม  (แอลจีเรีย)
 

จักรยาน ชิง 1 เหรียญทอง เริ่มเวลา 09.00 น.

ประเภทถนน บุคคลหญิง จุฑาทิพย์ มณีพันธ์
 

ยูโด ชิง 2 เหรียญทอง เริ่มเวลา 09.00 น. 

รุ่น 52 กก. หญิง กชกร วรสีหะ พบ ซูมิย่า (โมร็อกโก)
 

ยิงปืน ชิง 2 เหรียญทอง เริ่มเวลา 07.00 น.

ยิงเป้าบิน สกีตหญิง รอบคัดเลือก สุธิยา จิวเฉลิมมิตร, อิศราภา อิ่มประเสริฐสุข