• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - fairya

#2761
AllianzAyudhayaประกันสุขภาพแบบปลดล็อคอัลตร้า AllianzAyudhayaประกันสุขภาพแบบปลดล็อคข้อจำกัดขยายความคุ้มครองมากขึ้น

AllianzAyudhayaประกันสุขภาพแบบปลดล็อคอัลตร้า ประกันสุขภาพแบบปลดล็อคข้อจำกัดขยายความคุ้มครองมากขึ้น แผนประกันออมทรัพย์แบบมีเงินปันผลAllianz Ayudhya และ แผนประกันสุขภาพเด็กเหมาจ่ายรักษาตัวในรพ. สูงถึง 1.2 ล้านบาทต่อปี

แนะนำ AllianzAyudhayaประกันสุขภาพแบบปลดล็อคอัลตร้า แผนประกันสุขภาพ (ปลดล็อค อัลตร้า)  AllianzAyudhayaประกันสุขภาพแบบปลดล็อคอัลตร้า ขยายวงเงินความคุ้มครอง ให้เลือกสูงถึง 15 ล้านบาทต่อปี
ขยายอายุความคุ้มครองถึงอายุ90 ปี
ขยายการดูแลด้านการรักษาสุขภาพ ด้วยวงเงินค่าฉีดวัคซีนและค่าตรวจสุขภาพประจำปี
ปลดล็อคค่ารักษาพยาบาลในห้อง ICU จ่ายให้ตามจริง
ปลดล็อคค่าล้างไต ค่าเคมีบำบัด ค่ารังสีบำบัด จ่ายให้ตามจริง

ประกันสุขภาพแบบปลดล็อคข้อจำกัดขยายความคุ้มครองมากขึ้น
ประกันสุขภาพประกันออมทรัพย์ (แบบมีเงินปันผล)
ประกันออมทรัพย์แบบมีเงินปันผลAllianz Ayudhya ประกันออมทรัพย์ (แบบมีเงินปันผล) เพิ่มโอกาสรับเงินปันผลที่สูงขึ้น
มอบความคุ้มครองชีวิตสูงถึง 115% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
ครบกำหนดสัญญารับเงินคืน 140% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย

ลดหย่อนภาษีเงินได้สูงสุด 100,000 บาท
ประกันสุขภาพแบบปลดล็อคข้อจำกัดขยายความคุ้มครองมากขึ้น

ประกันสุขภาพเด็กเหมาจ่าย ประกันสุขภาพเด็กเหมาจ่าย สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 1 เดือน 1 วัน ถึง 10 ปี

ดูแลค่ารักษาเมื่อต้องพักรักษาตัวในรพ. สูงถึง 1.2 ล้านบาทต่อปี

คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินจากอุบัติเหตุภายใน 24 ชม.

สามารถใช้บริการดูแลคุณยามพักฟื้น (Nursing Care) โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

Contact Mobile : 081-692-5514
Line ID : @life2insurance
Email : bahmeejkq@gmail.com


รายละเอียดเพิ่มเติม
https://www.banforum.com/?p=14570

คำค้น
AllianzAyudhayaประกันสุขภาพแบบปลดล็อคอัลตร้า, ประกันสุขภาพ (ปลดล็อค อัลตร้า), ประกันออมทรัพย์ (แบบมีเงินปันผล), ประกันสุขภาพเด็กเหมาจ่าย
 
#2762


วิกฤตการระบาดของโควิด-19 กระทบวิถีการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน ผู้ประกอบการรายใหญ่ กลาง เล็ก ต้องตัดสินใจปิดกิจการ ลูกจ้างตกงาน คนทำมาค้าขายหาเช้ากินค่ำ ถูกกระทบด้านรายได้อย่างหนัก พื้นที่ท่องเที่ยวเงียบเหงา จากที่เคยมีรายได้จากนักท่องเที่ยว

ที่ ชุมชนบ้านธรรมชาติล่าง ชุมชนเล็กๆ ตั้งอยู่ในอำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพประมง ทำสวนและบางครัวเรือน มีรายได้จากการให้เช่าที่พัก เพราะที่นี่ เป็นจุดต่อเรือเฟอรี่เพื่อข้ามไปเกาะช้าง ชาวบ้านที่นี่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เช่นกัน แต่ด้วยความเข้มแข็งของชุมชน รวมตัวกันจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน ทำให้มีอาชีพและรายได้เสริมรองรับ ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวได้พอสมควร



ล่าสุด ชุมชนฯรวมตัวจัดตั้ง "กลุ่มวิสาหกิจชุมชนน้ำดื่มบ้านธรรมชาติล่าง" เดินหน้าแก้ปัญหาคุณภาพของน้ำดื่ม จนสามารถผลิตน้ำดื่มที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เพื่อบริโภคและจำหน่าย ด้วยความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบกับได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐซ่อมแซมและปรับปรุงอุปกรณ์การผลิตน้ำดื่ม ยังได้รับองค์ความรู้การบริหารจัดการและคำแนะนำที่ได้จากภาคเอกชน คือ โรงเพาะฟักลูกกุ้งภาคตะวันออก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ชุดปฏิบัติงาน รางลำเลียงถังน้ำ รวมถึงการตรวจคุณภาพทางเคมีและจุลินทรีย์เบื้องต้น รวมทั้งโครงการประชารัฐช่วยด้านการขยายโครงสร้างฯ สาธารณสุขอำเภอและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้คำแนะนำขั้นตอนการขอรับรองมาตรฐานคุณภาพจากอย. (ได้รับการรับรองมาตรฐานน้ำดื่ม อย.23-2 -01262-6-0001)



นางสาวรวงทอง วรฉัตร หรือต้อม ชาวบ้านในชุมชน ซึ่งมีอาชีพให้เช่าบ้านพักนักท่องเที่ยว และเป็นหนึ่งในสมาชิกวิสาหกิจชุมชนน้ำดื่มบ้านธรรมชาติล่าง เล่าว่า เมื่อปี 2551 ชุมชนฯ เคยรวมตัวกันเพื่อผลิตน้ำดื่มบริโภคและจำหน่าย แต่ตอนนั้นติดปัญหาตะกอนในน้ำ น้ำกร่อย ทำให้ไม่มีตลาดรองรับ จึงล้มเลิกโครงการไป จนเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ทางกลุ่มกองทุนหมู่บ้านธรรมชาติล่างได้จัดประชุมกับสมาชิกและคณะกรรมการฯ โดยเชิญซีพีเอฟเข้าร่วม เพื่อชี้เเจงการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนน้ำดื่มบ้านธรรมชาติล่าง โดยมีเป้าหมายผลิตน้ำดื่มที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เราอยากทำโครงการผลิตน้ำดื่มให้สำเร็จ มองว่าเป็นการช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้คนในชุมชน สำคัญกว่านั้น ชาวบ้านอีกหลายร้อยครัวเรือน ได้บริโภคน้ำดื่มสะอาดและได้มาตรฐาน



"ขอขอบคุณซีพีเอฟ ที่เข้ามาสนับสนุน ให้คำแนะนำ ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์ที่ใช้ในโรงผลิตน้ำดื่ม อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการขนส่ง อุปกรณ์ความปลอดภัย รวมถึงการสนับสนุนด้านต่าง ๆ ที่ทำให้สามารถผลิตน้ำดื่มที่ได้มาตรฐาน เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน" รวงทอง กล่าว



ปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนบ้านธรรมชาติล่างมีสมาชิก 98 ราย ปี 2563 ชุมชนมีปริมาณขายน้ำดื่ม 2,100 ถังต่อเดือน (ขนาด 18.9 ลิตร) รายได้รวม 268,000 บาทต่อปี โดยรายได้จากการจำหน่ายน้ำดื่ม 10 % นำเข้ากองทุนของชุมชน และในปี 2564 (ม.ค. - มิ.ย.) มีปริมาณยอดขายน้ำดื่มเพิ่มขึ้นเป็น 2,300 ถังต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้น 110 % มีรายได้สะสมแล้ว 154,700 บาท โดยมีโรงเพาะฟักลูกกุ้งภาคตะวันออกของซีพีเอฟ ที่เป็นลูกค้าประจำออเดอร์น้ำดื่มชุมชนเดือนละ 1,000-1,500 ถัง ที่เหลือเป็นออเดอร์จากชาวบ้าน ที่สามารถซื้อน้ำได้ในราคาถังละ 12 บาท ส่วนผู้สูงอายุและผู้มีรายได้น้อยในชุมชนสามารถซื้อน้ำดื่มได้ในราคาถังละ 10 บาท



"ตั้ว"หรือนายพงศ์พัทธ์ เสริฐศรี อายุ 18 ปี กำลังศึกษาชั้น ม.6 โรงเรียนแหลมงอบวิทยา จ.ตราด เป็นอีกคนหนึ่งที่มารับจ้างขนน้ำดื่มส่งให้ชาวบ้านในชุมชนทุกวันอาทิตย์ เล่าว่า วันจันทร์-ศุกร์ต้องไปเรียน จึงมารับจ้างขนน้ำได้แค่วันอาทิตย์วันเดียว มีหน้าที่ล้างถังและช่วยยกน้ำส่งในบ้าน เคยขนน้้ำส่งตามบ้านได้สูงสุด 300 ถัง/วัน รายได้เฉลี่ย 300-400 บาท ช่วยแบ่งเบาภาระของแม่ที่ต้องให้เงินตนไปโรงเรียนทุกวัน แต่แม่ก็จะบอกให้ตนเก็บเงินที่ได้จากการรับจ้างขนน้ำดื่มสำหรับเป็นเงินออม ตอนนี้ทำงานมาได้ 2-3 ปีแล้ว ภูมิใจที่แม้ยังเรียนอยู่ก็สามารถหารายได้ได้เอง ขอบคุณซีพีเอฟที่สนับสนุนคนในชุมชนให้มีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้จากอาชีพที่ชุมชนเราทำเอง ไม่ต้องออกไปทำงานไกลบ้าน ชาวบ้านก็ได้บริโภคน้ำดื่มสะอาด ราคาถูก ดีต่อสุขภาพ



ตั้ว บอกด้วยว่า ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่มีผลกระทบต่อปริมาณออเดอร์ที่ชาวบ้านสั่งน้ำดื่ม แต่การขนส่งน้ำต้องมีการระมัดระวังตัวเองมากขึ้น ทั้งใส่หน้ากากอนามัย สวมถุงมือ พกแอลกอฮอล์ติดรถไว้ตลอดเวลา เพื่อลดความเสี่ยงของตัวเองและลูกค้าที่สั่งน้ำดื่ม



นางอุทิศ พวงนาค อายุ 53 ปี อาชีพรับจ้างกรีดยาง กล่าวว่า ตนและพี่เขยมีอาชีพหลักคือรับจ้าง และมีอาชีพที่เป็นรายได้เสริมจากโครงการผลิตน้ำดื่มของชุมชน ช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของที่บ้านได้พอสมควร โดยในแต่ละสัปดาห์ทุกวันอังคารและวันศุกร์จะไปส่งน้ำให้โรงเพาะฟักลูกกุ้งของซีพีเอฟ และวันอาทิตย์เป็นวันที่ออกส่งน้ำให้ชาวบ้าน แต่ละครั้งที่ออกไปส่งน้้ำจะช่วยกันประมาณ 4 คน ตั้งแต่ยกถัง ล้างถัง นำถังใส่เครื่องปั่นเพื่อทำความสะอาดด้านใน กรอกน้ำ ยกถังที่กรอกน้ำแล้วขึ้นรถ จนถึงขนถังน้ำลงจากรถเพื่อส่งตามบ้าน ขอบคุณซีพีเอฟที่เข้ามาสนับสนุนกิจกรรมผลิตน้ำดื่มของชุมชน ช่วยให้ชาวบ้านมีอาชีพและมีรายได้เสริม



"โครงการน้ำดื่มชุมชน" ยังเป็นโครงการที่ได้รับรางวัลระดับ Gold Pitch จากการจัดประกวดรางวัลสามประโยชน์สู่ความยั่งยืน (CPF CSR Awards 2021) ในรอบ CSR Pitching Contest 2021 ที่ซีพีเอฟสนับสนุนให้พนักงานคิดสร้างสรรค์โครงการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ตามกลยุทธ์ 3 เสาหลักสู่ความยั่งยืนขององค์กร คือ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกและผู้บริหารของซีพีเอฟ ร่วมพิจารณาคัดเลือกให้ "โครงการน้ำดื่มชุมชน" ได้รับรางวัลดังกล่าว เป็นโครงการที่ส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง



กลุ่มวิสาหกิจชุมชนน้ำดื่มบ้านธรรมชาติล่าง วางแผนต่อยอดโครงการผลิตน้้ำดื่ม ด้วยการพัฒนาแบรนด์และบรรจุภัณฑ์ เป็นน้ำดื่มบรรจุขวด สร้างโอกาสในการขยายช่องทางขายใหม่ อาทิ ภัตตาคาร ร้านอาหาร มินิมาร์ท โรงแรมและรีสอร์ท รวมไปถึงการขยายช่องทางการขายผ่านออนไลน์ เป็นโมเดลสร้างงาน สร้างอาชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
#2763


นายจิตศักดิ์ สุนทรพันธุ์ ผู้จัดการฝ่าย การเงินองค์กรและนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท พีทีที โกล. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC เปิดเผยว่า บริษัทคงเป้ารายได้ปี 2564 จะเติบโต 8-10% จากปีก่อนที่มีรายได้รวม 3.31 แสนล้านบาท โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นและกำลังการผลิตใหม่ที่เข้ามาเสริม รวมถึงแนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งหลังที่เหลือของปี 2564 ที่คาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง

แม้สถานการณ์โควิด-19 จะส่งผลให้ตลาดน้ำมันดิบมีความผันผวนอย่างมาก จากฝั่งตะวันตกเริ่มมีมาตรการเปิดเมืองเพื่อให้ประชาชนออกไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ ส่งผลให้ความต้องการใช้สูงขึ้นเมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ฝั่งตะวันออกยังมีนโยบายควบคุมโรคผ่านการล็อกดาวน์

ขณะที่ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าอย่างมาก ยอมรับว่าส่งผลกระทบให้เกิดการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจากหนี้ที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี บริษัทยังมีปัจจัยหนุนจากราคาขายผลิตภัณฑ์ที่รับรู้เป็นเงินบาท ซึ่งมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในช่วงที่ค่าเงินบาทอ่อนค่า

ในการนี้ บริษัทยังเดินหน้าลงทุนอย่างต่อเนื่องภายใต้งบลงทุนปี 2564 ที่ 5,344 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.8 แสนล้านบาท) โดยหลักเป็นงบลงทุนที่ใช้ซื้อหุ้น Allnex Holding GmbH จำนวน 4,802 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าจะดำเนินแล้วเสร็จภายในปี 2564 ส่วนการลงทุนใน บมจ.วีนิไทย (VNT) 238 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าจะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (Tender Offer) ได้ภายในไตรมาส 4 ปี 2564

ส่วนที่เหลือเป็นงบลงทุนโครงการอื่นๆ 204 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โครงการปรับปรุงโรงโอเลฟินส์ (OMP) 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โครงการผลิตพลาสติกวิศวกรรมชั้นสูง (Super Engineering Plastics) 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และโรงงานรีไซเคิลพลาสติก 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ บริษัทมีแหล่งเงินทุนจากกระแสเงินสด รวมถึงการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.ปตท. (PTT) ในรูปแบบเครดิตเทอม และการกู้ยืมเงินจากผู้ถือหุ้นโดยไม่คิดดอกเบี้ย (Shareholder Loan) นอกจากนี้ บริษัทยังมีการพิจารณาหาแหล่งเงินทุนจากภายนอกผ่านการกู้ยืมสถาบันการเงิน ซึ่งปัจจุบันมีหลายแห่งแสดงความสนใจ

สำหรับการขายหุ้น บมจ.โกล. เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) จะมีกำไรที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น 1.17 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นส่วนต่างราคาขายหลังหักต้นทุนจำนวน 9,000 ล้านบาท และการรับรู้กำไรทางบัญชีหลังการปรับมูลค่า 8,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดี คาดว่าการรับรู้กำไรดังกล่าวจะไม่กระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัท เนื่องจากรับรู้เป็นรายการกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (OCI) ขณะที่ในอนาคตบริษัทจะเริ่มรับรู้รายได้เป็นเงินปันผลรับจาก GPSC ต่อไป
#2764


นายณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ยังคงเห็นโอกาสจากการลงทุนในสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเศรษฐกิจกำลังเติบโต จึงได้เปิดเสนอขายกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้น ยูเอส เอ็นดีคิว (SCB US Equity NDQ Fund : SCBNDQ) มูลค่าโครงการ 3,000 ล้านบาท เหมาะสำหรับนักลงทุนระยะกลางถึงระยะยาวที่ต้องการกระจายการลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี NASDAQ เริ่มเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 20 – 26 สิงหาคม นี้ ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 1,000 บาท

โดยเปิดให้นักลงทุนได้เลือกลงทุน 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) ชนิดสะสมมูลค่า - SCBNDQ(A) สามารถซื้อได้ในทุกช่องทางรวมถึงผู้สนับสนุนการขายทุกราย ฟรีค่าธรรมเนียมการซื้อเฉพาะช่วงเสนอขายครั้งแรก และ 2) ชนิดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ - SCBNDQ(E) ในรูปแบบ e-class ฟรีค่าธรรมเนียมการซื้อและการจัดการ โดยต้องลงทุนผ่าน SCBAM Fund Click เท่านั้น

สหรัฐฯ นับว่าเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกและมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 1 โดยจากภาพรวมเศรษฐกิจของที่มีการฟื้นตัวหลังจากที่ยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายวันในประเทศลดลงและมีความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนสูงขึ้น ประกอบกับนาย โจ ไบเดน ได้ลงนามและบังคับใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นที่เรียบร้อย ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ได้รับเงินช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง รวมถึงการที่รัฐบาลมีการเตรียมเพิ่มเงินอัดฉีดเป็นจำนวน 3.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันสำคัญในอนาคต


บริษัท ได้เล็งเห็นถึงโอกาสจากปัจจัยเหล่านี้ที่จะเป็นตัวช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง จึงได้เปิดเสนอขายกองทุนดัชนี NASDAQ ซึ่งก่อนหน้าได้นำเสนอกองทุนดัชนี S&P 500 และดัชนี Dow Jones ไปแล้ว โดยเราเป็นเพียง บลจ.เดียวในประเทศไทยที่มีครอบคลุมทุกดัชนีหลักในสหรัฐฯ เพื่อให้นักลงทุนได้เลือกลงทุนอย่างหลากหลาย สำหรับดัชนี NASDAQ เป็นดัชนีที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งและเติบโตสูงมีโอกาสเติบโตได้ในระยะยาว เน้นการลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีชั้นนำที่มีชื่อเสียงและมีผู้ใช้งานทั่วโลก โดยปัจจุบัน NASDAQ มีมูลค่าตลาดขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกด้วยมูลค่า 20 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ และให้ผลตอบแทนย้อนหลังสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก (ที่มา:  Morningstar ณ วันที่ 13 ก.ค. 2564) ดังนั้น กองทุน SCBNDQ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้แก่นักลงทุนที่มองหาโอกาสการลงทุนจากหุ้นเทคโนโลยีได้

สำหรับกองทุน SCBNDQ เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว ได้แก่ Invesco NASDAQ 100 ETF (QQQM) (กองทุนหลัก) ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เป็นกองทุนประเภท Exchange Traded Fund (ETF) จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ประเทศสหรัฐฯ บริหารโดย Invesco Capital Management LLC ทั้งนี้ กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนในต่างประเทศ

ส่วนกองทุนหลัก Invesco NASDAQ 100 ETF (QQQM) จะลงทุนในหุ้นของบริษัททั้งในและนอกประเทศสหรัฐฯ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุด จำนวน 100 บริษัท และเป็นส่วนประกอบของดัชนี NASDAQ-100 โดยเน้นลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีชั้นนำ เช่น Apple, Microsoft, Amazon, Alpha., Facebook และ Tesla สูงกว่าเมื่อเทียบกับดัชนีหุ้นอื่นของสหรัฐฯ โดยมีเป้าหมายสร้างผลตอบแทนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี NASDAQ-100 นอกจากนี้ กองทุนหลักยังมี Expense ratio ต่ำ และมีผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนี Nasdaq 100 อีกด้วย ทั้งนี้ กองทุนหลักมีผลการดำเนินงานย้อนหลังอยู่ที่ 24.35% เทียบกับดัชนีอ้างอิง NASDAQ-100 อยู่ที่ 24.50% ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (ที่มา: Invesco ณ 31 กรกฎาคม 2564)
#2765


สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส2ปี 2564ของบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ส่วนใหญ่ประกาศออกมาแล้ว ซึ่งรอตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)ประกาศอย่างเป็นทางการ

ด้านบริษัทหลักทรัพย์(บล.)ทิสโก้ เผย กำไรไตรมาส2/64ของ บจ. (จำนวน 626 บริษัทจากทั้งหมด 650 บริษัทใน SET) อยู่ที่ 2.75 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 118% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น3% เมื่อเทียบกับไตรมาส1ปี2564 

ทั้งนี้หลายกลุ่มอุตสาหกรรมมีกำไรเติบโตสูง เพราะ ฐานกำไรไตรมาส 2 ของปีที่แล้วที่ต่ำมาก เพราะเจอการล็อกดาวน์เต็มรูปแบบ แต่กลุ่มที่ยังมีผลการดำเนินงานขาดทุนอยู่คือ กลุ่ม TOURISM เนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ และยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์   

สำหรับบจ.ที่มีกำไรสูงสุด 10 อันดับแรก "กรุงเทพธุรกิจ"ได้รวบรวมข้อมูลดังนี้

1.บมจ.พีทีที โกล. เคมิคอล(PTTGC) มีกำไรสุทธิ 25,034.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,398% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,670.74 ล้านบาท เนื่องจากรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น 61% อยูที่ 111,793 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มี69,271 ล้านบาท เป็นผลมาจากราคาขายของทุกผลิตภัณฑ์ที่ปรับขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง รวมทั้กลุ่มผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์และฟีนอล จากอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ตามสภาพเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้นและราคาน้ำมันดิบดูไบที่ปรับเพิ่มขึ้น รับรู้กำไรสต็อกน้ำมัน และรายการพิเศษขายหุ้น บมจ. โกล. เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC)

2.บมจ.ปตท.(PTT) มีกำไรสุทธิ 24,578.66 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 103.91%จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 12,053.29 ล้านบาท เนื่องจากปตท. และบริษัทย่อยมี EBITDA เพิ่มขึ้น 58,958 ล้านบาทหรือมากกว่าร้อยละ 100 โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น โดยเฉพาะธุรกิจปิโตรเคมีที่มีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตามส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีกับวัตถุดิบทั้งสายโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ที่ปรับตัวสูงขึ้นและธุรกิจการกลั่น ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ธุรกิจน้ำมัน มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น

3.บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย(SCC) มีกำไรสุทธิ 17,136.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 82.61% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 9,383.86 ล้านบาท สาเหตุหลักจากส่วนต่าง ราคาสินค้าเคมีภัณฑ์และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น ขณะที่ EBITDA เพิ่มขึ้น 39% สาเหตุหลักจากส่วนต่างราคาสินค้าเคมีภัณฑ์และเงินปันผลรับจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น ขณะที่มีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น 39% สาเหตุหลักจากราคาขายของสินค้าเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้น


4.บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์ส(IVL) มีกำไรสุทธิ 8,339.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,332.62% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 153.51 ล้านบาท ซึ่ง ในไตรมาส 2/64 บริษัทมี Core EBITDA เท่ากับ 477 ล้านดอลลาร์ (ผลการดำเนินงานของ IVOL 18 ล้านดอลลาร์ถูกปรับปรุงไปยังรายการพิเศษ) โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการกระจายตัวทั่วโลกขนาดและการเป็นผู้นำของบริษัท ในทั้งสามกลุ่มธุรกิจ รายได้จากการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของทุกภูมิภาค โดย Core EBITDA ของทวีปอเมริกาและยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) เพิ่มขึ้น 59% ในครึ่งแรกของปี 64 เมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี2563 ในขณะที่ทวีปเอเชียเพิ่มขึ้น 15%.ในปี2563 ธุรกิจของบริษัทได้ผ่านบททดสอบความยืดหย่นต่อสถานการณ์ต่างๆ และในครึ่งปีแรกได้แสดงให้เห็นการสร้างมูลค่าจากแพลตฟอร์มของบริษัท


5.บมจ.ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) (STGT) มีกำไรสุทธิ 7,280.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 590.5% จากช่วงเดียวกันที่มีกำไรสุทธิ 1,054.35 ล้านบาท เนื่องจากรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น 164.7% มาอยู่ที่ 12,967.7 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 4,899.7 ล้านบาท 

6.บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) มีกำไรสุทธิ 7,139.60 ล้านบาท  เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ  4,322.86 ล้านบาท  เนื่องจากรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น 164.7% มาอยู่ที่ 12,967.7 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 4,899.7 ล้านบาท เพราะริมาณการขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 36%ประกอบกับราคาขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 21%


7.บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส(ADVANC) มีกำไรสุทธิ 7,040.82 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 0.6%จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่กำไรสุทธิ 7,001.11 ล้านบาท   จากรายได้รวมเพิ่มขึ้น 1.2% ขณะที่ต้นทุนการดำนเนินงานเพิ่มขึ้น 4.4%

8.บมจ.การบินไทย (THAI) มีกำไรสุทธิ 5,562.50 ล้านบาท

9. บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี (STA) มีกำไรสุทธิ 5,043.71 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 361%  จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ  1,093.70 ล้านบาท  จากทั้งราคาขายและปริมาณการขายที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นตามการฟื้นตัว
ของเศรษฐกิจโลกและความต้องการในการบริโภคจากผู้ผลิตยางล้อ 

10. บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร(CPF) มีกำไรสุทธิ 4,737.30 ล้านบาท  ลดลง21% จากช่วงเดียวปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 6,028.51 ล้านบาท เนื่องจากรายได้จากการขายลดลง10% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลมาจากการเปลี่ยนสถานะจากบริษัทย่อยเป็นบริษัทร่วมของบริษัท chia Tai Investment Co.,Ltd.(CTI) เมื่อเดือนธ.ค.2563 ทั้งนี้ หากไม่นับผลกระทบจากรายการดังกล่าว รายได้จากการขายในไตรมาส2ปี 2564 เพิ่มขึ้น 14% จากการขยยงานและราคาผลิตภัณฑ์ในหลายประเทศที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวมถึง ประเทศฟิลิปปินส์ กัมพูชา และรัสเซีย เป็นต้น
#2766


นายบรรณ เกษมทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอสซีจี ดิสทริบิวชั่น จำกัด ดูแลธุรกิจ SCG HOME Retail & Distribution Business ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี เปิดเผยว่า SCG HOME เล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้ประกอบการขนาดเล็กมีส่วนในการเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง และเป็นรากฐานที่ผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต จึงมุ่งมั่นสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีอยู่เกือบหนึ่งแสนรายทั่วประเทศ ยังต้องการการเข้าถึงโอกาสและช่องทางในการพัฒนาศักยภาพ พร้อมทั้งต้องการเครื่องมือการตลาดแนวใหม่ เพื่อยกระดับการเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ

โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ SCG HOME ได้จับมือร่วมกับกองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร จัดอบรมสัมมนาออนไลน์ภายใต้หัวข้อ 'ติดอาวุธพัฒนาสินค้า บริการ ตอบโจทย์ลูกค้ายุคดิจิทัล' จุดประกายความคิดให้แก่ผู้ประกอบการรายเล็ก และนำองค์ความรู้ไปพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการพัฒนาสินค้าและบริการ รวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการเพิ่มช่องทางตลาดออนไลน์ และแนวทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ไปยังผู้บริโภค ตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคและวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) เพื่อที่ผู้ประกอบการรายย่อยจะสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพิ่มทางเลือกสินค้าให้มีความหลากหลายกับผู้บริโภค

รวมทั้งเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ขยายฐานของกลุ่มลูกค้าออกไปในวงกว้างมากขึ้น และผลักดันการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเสริมศักยภาพรูปแบบการจัดจำหน่ายผ่านทางออนไลน์ที่จะเป็นช่องทางหลักในการจำหน่ายสินค้าในอนาคต ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการยังสามารถพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารธุรกิจ และองค์ความรู้ในการพัฒนาสินค้าและปรับเปลี่ยนการทำงานให้เป็นระบบมากขึ้น และนอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการรายย่อยด้วยกันเอง แบ่งปันองค์ความรู้ นำไปต่อยอดเป็นธุรกิจ และพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ มากยิ่งขึ้น

สำหรับผู้ประกอบการรายเล็กไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มธุรกิจประเภทใด ก็สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการพัฒนาศักยภาพของตนให้เข้มแข็งได้ ดังเช่น วิสาหกิจชุมชน ดังนี้

วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมไทบุราณศิลป์ ผู้ผลิตและจำหน่ายชุดบูชา พานตั้งโต๊ะ และพวงมาลัยคริสตัล นำโดย นางขนิษฐา อุทิศวรรณกุล กล่าวว่า ถึงแม้ว่าทางกลุ่มฯ เพิ่งเข้าร่วมอบรมสัมมนาออนไลน์กับทาง SCG HOME เป็นครั้งแรก แต่ได้รับประโยชน์มาก สามารถนำองค์ความรู้กลับมาพัฒนาศักยภาพได้จริง เช่น การพัฒนาต่อยอดสินค้าใหม่ ๆ โดยนำเศษผ้าไหมที่เหลือทิ้งมาสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงการเพิ่มช่องทางจำหน่ายผ่านออนไลน์ให้มากขึ้น เนื่องจากช่วงโควิด – 19 แพร่ระบาด ทำให้ไม่สามารถออกบูธจำหน่ายสินค้า และขายผ่านหน้าร้านตามปกติได้ เนื่องจากจำเป็นต้องปิดร้านที่สนามหลวง 2 ไปชั่วคราว และหาช่องทางการจำหน่ายช่องทางออนไลน์แทน อาทิ อี-มาร์เก็ตเพลส ช่องทางโซเชียล เน็ตเวิร์คต่าง ๆ

วิสาหกิจชุมชนภูมิปัญญาไทยบ้านโพธิ์ ผู้ผลิตและจำหน่ายไข่เค็มชาร์โคล น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างเครื่องประดับ และสบู่นมแพะ จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำโดย นางปรียาพร เทียนหล่อ เปิดเผยว่า ทางกลุ่มฯ มีความเชี่ยวชาญในการนำสมุนไพรไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน หลังจากได้เข้าร่วมอบรมกับทาง SCG HOME ช่วยให้มีกระบวนการคิดและบริหารธุรกิจอย่างเป็นระบบมากขึ้น เช่น ในสถานการณ์โควิด-19 การจะลงทุนทำอะไรเพิ่มต้องคิดและวิเคราะห์มากขึ้น ทั้งสามารถต่อยอดและพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ เช่น การนำกากของผลมะกรูดที่เหลือจากการผลิตสบู่ มาต้มต่อและผลิตเป็นน้ำยาล้างจาน แทนที่จะทิ้งให้สูญเปล่า รวมทั้ง ยังได้รับเทคนิคในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อใหม่ ๆ อาทิ การสร้างเพจ การโพสต์รูปสินค้า และยังได้กลุ่มเพื่อนใหม่จากการเข้าร่วมอบรม มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันและบอกต่อผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มค้าใหม่ๆ

วิสาหกิจชุมชนกลิ่นเอมนาโน กลุ่มผู้ผลิตเวชสำอางค์ ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงจากสารสกัดออร์แกนิคธรรมชาติ 100% ซึ่งล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบในประเทศไทยทั้งสิ้น ที่มีสมาชิกกลุ่มตั้งแต่เกษตรกรต้นน้ำ ไปจนถึงนักวิชาการ และโรงงานผลิต โดยนางสุวิภา เสริมบุญสร้าง มองว่า การจัดสัมมนาออนไลน์ของทาง SCG HOME เป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์อย่างมาก ซึ่งที่ผ่านมาทางกลุ่มได้รับผลกระทบจากปัญหาโควิด-19 แพร่ระบาด ไม่สามารถไปออกบูธขายสินค้าได้เหมือนแต่ก่อน จนมามองเห็นโอกาสในการขยายตลาดผ่านช่องทางดิจิทัล ได้ความรู้และทักษะในการขายของบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้จากเดิมที่ลูกค้าห่างหายไป หลังจากเพิ่มช่องทางจำหน่ายทางออนไลน์ ลูกค้าที่เคยซื้อกลับมาซื้อซ้ำและยังได้กลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่ม

วิสาหกิจชุมชนกาแฟรัษฎาและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร จากจังหวัดตรัง ผู้ผลิตและจำหน่ายเมล็ดกาแฟคั่วแบบดั้งเดิม สบู่กาแฟ และชาดอกกาแฟ ซึ่ง นางกนกวรรณ คำเนตร ให้ความเห็นว่า โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็ก ของ SCG HOME เป็นโครงการที่เห็นความสำคัญของชุมชน และช่วยเหลือชุมชนโดยตรง ทั้งยังให้โอกาสกับกิจการขนาดเล็กของชุมชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ ซึ่งถือว่าให้ประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ประกอบการ เช่น ด้านการขยายช่องทางออนไลน์ ทำให้ตอนนี้ทางกลุ่มฯ สามารถขยายช่องทางออนไลน์ไปในหลายแพลตฟอร์ม ตอบรับกับในขณะนี้ไม่สามารถเปิดหน้าร้านจำหน่ายสินค้าไม่ได้ก็ต้องอาศัยช่องทางออนไลน์ และในอนาคตก็หวังว่าอยากให้มีสัดส่วนขายออนไลน์เพิ่มมากขึ้น

นายบรรณ เกษมทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี ดิสทริบิวชั่น จำกัด กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า SCG HOME รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการรายเล็ก ให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมอบรมสัมมนาไปใช้ได้จริง และจะเดินหน้าโครงการที่เป็นประโยชน์แก่สังคมและชุมชนนี้ไปอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เพียงมีส่วนช่วยประคับประคองธุรกิจขนาดเล็กในช่วงที่ภาวะตลาดยังมีความผันผวนเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่จะเป็นภูมิคุ้มกันและเสริมรากฐานช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจรายย่อยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคตอีกด้วย.
#2768


กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รวบรวมความคืบหน้า ทั้งการสมัคร จ่ายเงินสมทบ รวมถึงไทม์ไลน์การจ่ายเงิน "เยียวยาประกันสังคม" 5,000 บาทสำหรับผู้ประกันตน 40 และ มาตรา 39 รวมถึงความคืบหน้าของกลุ่มผู้ประกันตนมาตรา 33 รวมถึงรายละเอียดเพื่อไขข้อข้อใจว่าการเป็น "ผู้ประกันตนมาตรา 40" จะได้ประโยชน์อะไร แล้วจะเสียโอกาสใน "บัตรทอง" และ "บัตรคนจน" หรือไม่

ซึ่งในเรื่องนี้ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ชี้แจงถึงกรณีที่ผู้ถือบัตรทอง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน หรือสวัสดิการแห่งรัฐต่าง ๆ เมื่อสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 แล้ว ยืนยัน ไม่มีผลกระทบ และใช้สิทธิการรักษาพยาบาลร่วมกับบัตรทอง และสวัสดิการแห่งรัฐต่างๆ ที่เคยได้รับได้เหมือนเดิม แต่สิ่งที่ได้เพิ่ม เช่น มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย หรือสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท จากสำนักงานประกันสังคมเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย


ทั้งนี้ ใน 10 จังหวัดแรก ปิดให้ลงทะเบียนเพื่อรับเงินเยียวยาแล้ว

แต่สำหรับ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา หากยังไม่ได้สมัคร หรือสมัครแล้วยังไม่ได้จ่ายเงินสมทบ ยังสามารถทำได้จนถึงวันที่ 24 ส.ค.64 (และจะไปได้เงินพร้อมกับ 16 จังหวัดที่ประกาศรอบล่าสุด) 

โดยผู้ประกันตนทั้งตามมาตรา 39 และ มาตรา 40 ใน 19 จังหวัด ที่ยังไม่ได้สมัครเป็นผู้ประกันตน หรือสมัครแล้วยังไม่ได้จ่ายเงินสมทบ ซึ่งประกันสังคมขยายเวลาให้จ่ายเงินได้ถึงวันที่ 24 ส.ค.64 นั้น ในกลุ่มนี้ จะต้องรออัพเดทการโอนเงินอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับผู้ที่สนใจสมัครเป็น "ผู้ประกันตนตามมาตรา 40" 

- ใช้บัตรประชาชนใบเดียว

- สมัครง่าย ๆ ด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th 

- สมัครผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส (7-11)

- เคาน์เตอร์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

- เคาน์เตอร์บิ๊กซี (Big C)

เมื่อสมัครแล้วสามารถจ่ายเงินสมทบได้ทันที หรือสมัครผ่านผู้แทนเครือข่ายประกันสังคม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการไม่เว้นวันหยุดราชการตลอด 24 ชั่วโมง 

ไทม์ไลน์จ่ายเงินเยียวยาผู้ประกันตนกลุ่มต่างๆ ดังนี้  


ผู้ประกันตน ม.33 

16 จังหวัดหลัง ใน 9 กลุ่มอาชีพ โอนเงิน 20 ส.ค. 64 จำนวน 2,500

ผู้ประกันตน ม.39

10 จังหวัดแรก+3 จังหวัด โอนเงิน 23 ส.ค. 64 จำนวน 5,000

ผู้ประกันตน ม.40 

10 จังหวัดแรก+3 จังหวัด โอนเงิน 24 ส.ค. 64 จำนวน 5,000

ผู้ประกันตน ม.39-40 

16 จังหวัดหลัง โอนเงิน 24 ส.ค. 64 จำนวน 5,000
#2769


นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมบัญชีกลางเปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ยังมีแนวโน้มไม่ลดลงและยังมีการระบาดในวงกว้าง ซึ่งคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้มีมติให้ปรับเพิ่มมาตรการและการจัดการขององค์กร โดยกำหนดมาตรการองค์กรสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้เน้นการทำงานนอกสถานที่ (Work from home) อย่างต่อเนื่อง หากจำเป็นต้องมาปฏิบัติงานให้มีการคัดกรองด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ทุกสัปดาห์ ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดที่จำเป็นต้องมาปฏิบัติงาน ต้องมีการตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจ ATK ก่อนเข้ามาปฏิบัติงานที่ส่วนราชการ ตามมาตรการที่คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กำหนด

กรมบัญชีกลางจึงขอซ้อมความเข้าใจว่า การเบิกจ่ายค่าชุดตรวจ ATK สำหรับเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดดังกล่าว เป็นการเบิกจ่ายค่าวัสดุตามนัยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2553 ข้อ 17 ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการสามารถพิจารณาอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าชุดตรวจและน้ำยาที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการติดเชื้อ SARS-CoV-2 (เชื้อก่อโรค COVID-19) แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen test self-test kits) ได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด และเพื่อประโยชน์ของทางราชการ

ทั้งนี้ ขอให้ส่วนราชการดำเนินการควบคุมให้มีการเบิกจ่ายค่าชุดตรวจ ATK ให้สอดคล้องกับจำนวนเจ้าหน้าที่ที่เข้าปฏิบัติงานตามจริงด้วย

สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างชุดตรวจ ATK สำหรับการป้องกัน ควบคุม หรือรักษาโรคโควิด-19 คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 115 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2563 เรื่อง การดำเนินการกรณีจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาหรืออุปกรณ์การแพทย์ หรือการจัดจ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุสำหรับการป้องกัน ควบคุม หรือรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID – 19)) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุสำหรับการป้องกัน ควบคุม หรือรักษาโรคโควิด-19 ในแต่ละครั้งทุกวงเงิน ถือเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วน จึงยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ​โดยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงินการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือ และวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างในการแต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ที่เกี่ยวข้อง โดยให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ตามข้อ 79 วรรคสอง แห่งระเบียบฯ และให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นดำเนินการไปก่อนแล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ และเมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบแล้วให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม และการดำเนินการดังกล่าว หากมีความจำเป็นจะต้องจ่ายเงินค่าพัสดุล่วงหน้าให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ให้ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบฯ ข้อ 89 (4) โดยให้จ่ายได้ตามเงื่อนไขที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างกำหนด และยกเว้นการวางหลักประกันการรับเงินล่วงหน้าตามระเบียบฯ ข้อ 91 วรรคสอง ดังนั้น หน่วยงานของรัฐสามารถดำเนินการตามหนังสือเวียนฉบับดังกล่าวได้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง หมายเลข 02 270 6400 ในวัน เวลาราชการ
#2770


ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล กรรมการบริหารทุน วว. และ กรรมการ ปณท. เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือ ระหว่าง ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) มุ่งศึกษา วิจัย พัฒนา นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าทุกรูปแบบ ผ่านช่องทางของไปรษณีย์ไทย ให้มีความแข็งแรง ทนทาน ได้มาตรฐาน ป้องกันความเสียหายของสินค้า ช่วยลดต้นทุนและสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้รับสินค้า พร้อมรองรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งเป็นการเสริมแกร่ง เพิ่มช่องทางจัดจำหน่าย / ขนส่งสินค้า ให้แก่ผู้ประกอบการ OTOP วิสาหกิจชุมชน SMEs ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 อย่างเข้มแข็ง ด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 2 ปี โอกาสนี้ ดร.พัชรา มณีสินธุ์ รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม วว. และ ดร.อาภากร สุปัญญา รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรม วว. ร่วมเป็นเกียรติด้วย ในวันที่ 18 สิงหาคม 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์

ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนา บริการวิเคราะห์ทดสอบ ด้านวิทยาศาสตร์และถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อยกระดับมาตรฐานสู่สากล รวมทั้งสร้างนวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จากสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีบทบาทสำคัญยิ่ง ในการเข้าไปตอบโจทย์แก้ปัญหา รวมทั้งสร้างโอกาสผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง สอดคล้องกับบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นที่มาของความร่วมมือกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ดำเนินงานร่วมกับ วว. มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ความร่วมมือทั้งสองหน่วยงานมุ่งพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อใช้ขนส่งผ่านช่องทางไปรษณีย์ ดังนี้ 1.บรรจุภัณฑ์ที่มีความแข็งแรง ได้มาตรฐาน ช่วยป้องกันความเสียหายของสินค้า และมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในการตลาดยุคอีคอมเมิร์ซ 2.บรรจุผลิตภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพได้ง่าย หรือต้องการดูแลเป็นพิเศษ เช่น ไม้ดอกไม้ประดับ ยา เวชภัณฑ์ และปลาสวยงาม เป็นต้น ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการจัดส่งในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม และ 3.การพัฒนามาตรฐานการใช้งานบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์ ผ่านช่องทางไปรษณีย์ในประเทศ

นอกจากนี้จะมีการใช้ศักยภาพของหน่วยงานในการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายหรือขนส่งสินค้านวัตกรรม การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์ ให้กับผู้ประกอบการ OTOP วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ SMEs ในเครือข่ายของทั้งสองหน่วยงาน ตลอดจนการส่งเสริมและสนับสนุนสินค้าที่ ปณท วว. หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานอื่นที่เป็นพันธมิตรของทั้งสองหน่วยงาน เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า และอำนวยความสะดวกในการให้บริการ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบกิจการและการขยายกิจการของธุรกิจไทยด้วย

"วว. และ ปณท. จะดำเนินงานภายใต้กรอบความร่วมมือนี้ 2 ปี โดยมุ่งผลิตผลงานให้สำเร็จเป็นรูปธรรม ช่วยเสริมแกร่งให้ผู้ประกอบไทย ทั้งนี้ วว. โดย ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย เป็นหน่วยงานกลางของชาติด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์มาตรฐาน ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลระดับนานาชาติ เพื่อช่วยรักษาคุณภาพสินค้า ลดความสูญเสียของสินค้าจากการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งออก ตลอดจนส่งเสริมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ให้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป เพื่อยกระดับมาตรฐานการบรรจุหีบห่อของประเทศ วว. พัฒนาบรรจุภัณฑ์ซึ่งมีบทบาทในตลาดอีคอมเมิร์ซ และจะช่วยเสริมให้การดำเนินงานร่วมกันของ 2 หน่วยงานเข้มแข็งยิ่งขึ้น อาทิ กล่องขนส่งมะม่วงสำหรับจำหน่ายออนไลน์ขนาดบรรจุกล่องละ 5 กิโลกรัม กล่องเก็บกลิ่นทุเรียนล็อคกลิ่นได้ 100% กล่องบรรจุต้นไม้ ขนาด 20 x 20 x 50 ซม. เป็นต้น ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร สร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการไทย พร้อมตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคนิวนอร์มอล" ผู้ว่าการ วว. กล่าว

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) กล่าวถึงภารกิจหลักของไปรษณีย์ไทย ในการให้บริการด้านการขนส่งที่มีความเชี่ยวชาญในการนำส่งพัสดุ สิ่งของ สินค้าต่างๆ ให้ถึงมือผู้รับครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วไทยมาอย่างยาวนาน นอกจากศักยภาพด้านการขนส่ง ไปรษณีย์ไทยยังให้ความสำคัญเรื่องของบรรจุภัณฑ์มาโดยตลอด ได้มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับสินค้าแต่ละประเภท เช่น บรรจุภัณฑ์สำหรับขนส่งต้นไม้ ผลไม้ตามฤดูกาล หรือปลาสวยงาม เป็นต้น เพื่อรองรับการขนส่งให้มีความปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการเกิดความเสื่อมสภาพของสิ่งของที่บรรจุอยู่ภายใน ด้วยราคาคุ้มค่า คุ้มต้นทุน ช่วยให้ธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ร้านค้าออนไลน์ ได้เติบโตขึ้น


ครั้งนี้ ไปรษณีย์ไทยได้จับมือกับหน่วยงานที่แข็งแกร่งในด้านงานวิจัยและการพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และถ่ายทอดเทคโนโลยี อย่าง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เช่น ไม้ดอก ไม้ประดับ หรือ ยา เวชภัณฑ์ต่างๆ ที่มีความจำเป็นและมีปริมาณการส่งจำนวนมากขึ้นในช่วงสถานการณ์ของการแพร่ระบาดโควิด-19 ในขณะนี้ โดยเราคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้บริการเป็นหลัก จึงได้มุ่งเน้นที่จะออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ตอบโจทย์กับการใช้งานให้มากที่สุด เพื่อช่วยคงสภาพสิ่งของในระหว่างการนำส่งให้มีความปลอดภัย รวมทั้งลดต้นทุนของผู้ส่งซึ่งส่วนใหญ่
#2771


นายศรุต สุทธิอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช เปิดเผยว่า จากแนวทางนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้วยการนำนวัตกรรม/เทคโนโลยีในภาคเกษตรกรรมของประเทศและของโลก มาถ่ายทอดให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจเพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งการผลิตและการต่อยอดงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร จึงได้ร่วมกับสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย และ ครอปไลฟ์ เอเชีย จัดการฝึกอบรมหลักสูตร "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี อากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน ทางการเกษตร (UAV) และ การประมวลผลภาพ (Image processing)" ขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจในกฎระเบียบของเทคโนโลยี UAV ทางการเกษตรในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องและปลอดภัยในระดับสากล โดยหลักสูตรการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมใน 4 หัวข้อหลัก ได้แก่

- การศึกษาข้อบังคับและกฎหมายของการใช้โดรน ผู้ใช้โดรนจะได้ทราบขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนโดรนเกษตร การขออนุญาตใช้คลื่นความถี่สำหรับอากาศยานไร้คนขับ และพ.ร.บ.วัตถุอันตรายทางการเกษตร

- การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Image Processing กับงานด้านอารักขาพืช เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชด้วยการใช้โดรนทางการเกษตร กรณีการศึกษาการเข้าทำลายของไรแดงแอฟริกันในทุเรียน ที่ถูกยกเป็นกรณีศึกษาให้ผู้เข้าอบรม

- การใช้งานและการประยุกต์ใช้ UAV ทางการเกษตร โดยการวางกฎระเบียบการใช้ โดรนด้านการเกษตร แลกเปลี่ยนมุมมองภาคอุตสาหกรรมต่อการพัฒนาโดรน และการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยจากประสบการณ์จริง

- การศึกษาเทคนิคการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยโดรนการเกษตร เพื่อเป็นอาวุธลับให้เกษตรกรและผู้ใช้โดรน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย



อากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV เข้ามามีบทบาททางการเกษตรในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น เป็นเครื่องมือที่เกษตรกร หรือนักวิจัย ใช้ในกระบวนการการผลิตและวิจัย เพื่อรองรับการขับเคลื่อนภาคการเกษตรของประเทศไทย ในยุคที่เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้ามาสร้างตลาดและมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร กรมวิชาการเกษตรพยายามขับเคลื่อนนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาภาคการเกษตร อาทิการใช้เซนเซอร์ชนิดต่างๆ เช่น กล้อง RGB กล้อง MULTISPECTRAL เซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อม ตรวจวัดดิน/น้ำ พร้อมทั้งปรับรูปแบบของการบันทึกและการจัดเก็บข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบของ Digital Data บน Platform เดียวกัน เพื่อการเชื่อมโยงงานด้านการเกษตรเข้ากับงานด้านไอที และเครื่องจักรกลการเกษตร นำไปสู่การประมวลผลและสั่งการการทำงานของอุปกรณ์/เครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งการอบรมครั้งนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Digital Transformation จากภาคการเกษตร สำหรับการเตรียมความพร้อมของนักวิจัย เกษตรกร ผู้ประกอบการ ในการเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยให้มีศักยภาพแข่งขันในตลาดโลก นายศรุต กล่าวสรุป



ด้าน นาย เจอริโก เบอนาบี แกสกอน นายกสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ทำกินของคนในประเทศ และเป็นหัวใจหรือหลอดเลือดของเกษตรกร จากอดีตจนถึงปัจจุบันเกษตรกรมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากมาย มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เป็นตัวช่วยให้การทำงานรวดเร็ว และสะดวกสบายมากยิ่ง จวบจนปัจจุบัน "โดรน" หรือ อากาศยานไร้คนขับ เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมในภาคอุตสาหกรรมเกษตร มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาผสมกับโลกการผลิตให้เป็นจริงในระดับประเทศ ในยุคของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดรนกลายเป็นกุญแจสำคัญที่สามารถนำประโยชน์มาสู่เกษตรกรอย่างมากมาย เช่น การประหยัดแรงงาน ลดการสัมผัสของผู้ปฏิบัติงาน ลดต้นทุนของเกษตรกร มีความคุ้มทุน คล่องตัว รวดเร็ว ประหยัดเวลา รวมทั้งมีความแม่นยำและลดความสูญเสียได้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนทำให้ผลผลิตของเกษตรกรมีคุณภาพ สามารถสร้างรายได้ให้ผู้ใช้โดรนอีกด้วย และในอนาคต "โดรน" อาจเป็นหนึ่งในตัวช่วยสำคัญของเกษตรกรไทย ที่ทำให้ทุกคนให้มั่นใจว่าเทคโนโลยีนี้จะใช้งานได้อย่างมีความรับผิดชอบและมีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ เป้าหมายในการฝึกอบรมดังกล่าว คือ ทำให้ทุกคนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขึ้นทะเบียน ความปลอดภัย ตลอดจนการนำเทคโนโลยี และภาควิชาการของโดรนทางการเกษตรไปใช้ในทุกแง่มุม จำเป็นต้องเกิดจากความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ครอปไลฟ์ เอเชีย กำลังผนึกกำลังกับรัฐบาลทั่วเอเชีย ในการเพิ่มความรู้และความเข้าใจในเทคโนโลยีทางการเกษตร ขณะเดียวกันยังมุ่งมั่นในการสานต่อความร่วมมือกับรัฐบาลไทยและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งมอบเทคโนโลยีโดรนให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เกษตรกร รวมทั้งนักศึกษาหรือผู้ว่างงานได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถเสริมสร้างอาชีพ เกิดรายได้ พร้อมก้าวเข้าสู่การเป็น "เกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture)" อย่างมีประสิทธิภาพได้ในวงกว้าง นาย เจอริโก กล่าวทิ้งท้าย



สำหรับผู้สนใจหลักสูตร "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี อากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรนทางการเกษตร (UAV)" รวมถึงการขอข้อมูลเกี่ยวกับโดรนทางการเกษตรในงานด้านอารักขาพืช สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานวิจัยการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร 02-579-4115, 02-579-1061 ต่อ 162 หรือ ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ https:// web.facebook.com/PATRS.DOA/ และสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ https:// www.facebook.com/taitacroplifethailand
#2772


ททท.สนับสนุนผู้ประกอบการโรงแรมไทยฝ่าวิกฤตโควิด-19 เปิดโครงการ "Unseen New Series" อัดโปรโมชั่น "น้ำใจไทยช่วยไทย" ซื้อก่อนเที่ยวทีหลัง ช่วยเสริมสภาพคล่องธุรกิจ มอบส่วนลดโรงแรม-รีสอร์ตกว่า 50 แห่งทั่วไทยในราคาสุดอันซีน

พร้อมเตรียมเปิดตัว 25 แหล่งท่องเที่ยวใหม่ "Unseen New series" หลังรัฐบาลประกาศยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ หวังปลุกกระแสเที่ยวไทยฟื้นอีกครั้ง

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีการชะลอตัว โดยเฉพาะภาคธุรกิจโรงแรมของไทยอัตราการเข้าพักมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยครึ่งปีแรก มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพียง 12.20% เท่านั้น ส่งผลธุรกิจโรงแรมส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาการขาดสภาพคล่องอย่างหนัก ด้วยเหตุนี้ ททท.จึงได้มีนโยบายสนับสนุนผู้ประกอบการโรงแรมไทยฝ่าวิกฤตโควิด-19 ผ่านแคมเปญ "Unseen New series" โดยแบ่งรูปแบบการส่งเสริมการท่องเที่ยวออกเป็น 2 ระยะ

โดยในระยะแรก ททท. ได้รวบรวมโรงแรม รีสอร์ตกว่า 50 แห่งทั่วประเทศในการจัดทำโปรโมชั่นพิเศษในโครงการ "Unseen New Series : น้ำใจไทยช่วยไทย" ในรูปแบบ "ซื้อก่อน เที่ยวทีหลัง" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยผู้ประกอบการในการเสริมสภาพคล่องธุรกิจ โดยททท. จะทำหน้าที่เสมือน Market Place ในการเป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในการประชาสัมพันธ์ ช่วยกระตุ้นการส่งเสริมการขายผ่าน Facebook Fan page : Amazing ไทยแลนด์ โดยผู้ที่สนใจสามารถจองได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ตุลาคม 2564  และสามารถเข้าพักได้ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2565 ทั้งนี้ รายละเอียดการจองและการเข้าพักเป็นไปตามเงื่อนไขที่แต่ละโรงแรมกำหนด

ยกตัวอย่างเช่น อนันตรา หัวหิน รีสอร์ท ราคาเริ่มต้นที่ 2,564 บาท/คืน อนันตรา บ่อผุด เกาะ สมุย รีสอร์ท ราคาเริ่มต้นที่ 3,000 บาท/คืน อวานี พลัส ไม้ขาว ภูเก็ต สวีทส์ แอนด์ วิลล่าส์ ห้องสวีทส์ 1 ห้องนอน ราคาเริ่มต้นที่ 1,999 บาท/คืน แคนทารี ฮิลส์ เชียงใหม่ ราคาเริ่มต้นที่ 2,400 บาท เดอะ เฮเว่น เขาหลัก ราคาเริ่มต้นที่ 1,990 บาท/คืน พิเศษพัก 2 คืน รับเครดิตมูลค่า 500 บาทสำหรับอาหารเครื่องดื่มที่ห้องอาหารของโรงแรม โรงแรมทอแสง เฮอริเทจ โขงเจียม ราคา 2,250 บาท จากปกติ 4,500 บาท รอยัล ริเวอร์แคว รีสอร์ท แอนด์ สปา ราคาเริ่มต้นที่ 1,550 บาท เป็นต้น

นอกจากนี้ ททท.ยังจับมือกับ 3 พันธมิตร ประกอบด้วย สายการบินไทยสมายล์ รถเช่า Avis และ Agoda ในการจัดโปรโมชั่นพิเศษ ได้แก่ สายการบินไทยสมายล์มอบส่วนลดบัตรโดยสาร 200 บาท ทุกเส้นทาง ซื้อก่อนวันนี้ใช้ได้ถึงสิ้นปี 2564 *จำกัด 1,000 สิทธิ์เท่านั้น (ระยะเวลาในการจอง 16 สิงหาคม - 31 ตุลาคม 2564 เดินทางได้ตั้งแต่ 1 กันยายน – 31 ธันวาคม 2564) รถเช่า AVIS มอบส่วนลดสุดพิเศษราคาเริ่มต้นเพียง 590 บาททั่วไทย *ซื้อก่อนวันนี้ใช้ได้ถึงสิ้นปี 2564 *จำกัด 1,000 สิทธิ์เท่านั้น (ระยะเวลาในการจอง 16 สิงหาคม - 31 ตุลาคม 2564 เดินทางได้ตั้งแต่ 16 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2564) และ Agoda มอบส่วนลดโรงแรมที่พักทั่วไทยกว่า 50% (ระยะเวลาในการจอง 1 กันยายน - 31 ตุลาคม 2564 เข้าพักได้ตั้งแต่ 1 กันยายน – 31 มีนาคม 2565)

สำหรับในส่วนของระยะที่ 2 เมื่อสถานการณ์เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หลังรัฐบาลประกาศยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์  ททท. ได้ดำเนินการสำรวจแหล่งท่องเที่ยวใหม่ทั่วประเทศไทย เพื่อเตรียมเปิดตัว 25 แหล่งท่องเที่ยวใหม่ "Unseen New Series" เพื่อปลุกกระแสการเดินทางภายในประเทศให้นักท่องเที่ยวได้ออกเดินทางครั้งใหม่ ในมุมมองที่ Amazing ยิ่งกว่าเดิม โดยใช้แหล่งท่องเที่ยวนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวใหม่/มุมมองใหม่ หรือแหล่งท่องเที่ยว Unseen เป็น Hotspot ให้เกิดการกระจายตัวการเดินทางท่องเที่ยว และเชื่อมไปยังแหล่งท่องเที่ยวหรือกิจกรรมท่องเที่ยวอื่นๆ อาทิ ชุมชน อาหารถิ่น ฯลฯ พร้อมทั้งสอดแทรกแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อสังคม (Responsible Tourism) เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์จากการเดินทางท่องเที่ยวอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมทั้งมาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

"ปัจจุบันนักท่องเที่ยวชาวไทยมีแนวโน้มพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป แต่ยังคงมีความต้องการเดินทาง ท่องเที่ยวเพื่อผ่อนคลายภาวะความตึงเครียดจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รูปแบบการท่องเที่ยววิถีใหม่ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย Amazing Thailand Safety and Health Administration (SHA) เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้สถานประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวร่วมกันยกระดับสินค้าและบริการตามมาตรฐาน SHA การรักษาระยะห่างทาง สังคม (Social Distancing) การเดินทางท่องเที่ยวในระยะใกล้ขึ้น การเดินทางโดยพาหนะส่วนตัว การใช้จ่าย ผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น หรือแม้กระทั่งการมองหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่ยังไม่มีความหนาแน่น ของนักท่องเที่ยว (Unseen Destination) รวมทั้งการให้ความสำคัญในเรื่องการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ต่อสังคมมากยิ่งขึ้น"
#2773


ท็อตแนม ฮอทสเปอร์ ประเดิมสนามรายการใหม่ ยูฟ่า คอนเฟอเรนซ์ ลีก นัดแรกด้วยการบุกไปแพ้ ปากอส เดอ เฟร์เรย์ร่า จากโปรตุเกส 0-1 เมื่อคืนวันที่ 19 สิงหาคม ที่ผ่านมา

ฟุต.รายการใหม่ ยูฟ่า ยูโรป้า คอนเฟอเรนซ์ ลีก รอบเพลย์ออฟ ท็อตแนม ฮอทสเปอร์ ตัวแทนจาก พรีเมียร์ ลีก อังกฤษ ลงสนามไปเยือน ปากอส เดอ เฟร์เรย์ร่า เจ้าบ้านแห่งลีกโปรตุเกส

เกมนี้ สเปอร์ส ของ นูโน่ เอสปิริโต ซานโต เน้นส่งนักเตะสำรองเป็นหลักมี โจวานนี โล เซลโซ, ไรอัน เซสเซญอง กับ แแมตต์ โดเฮอร์ตี เป็นตัวหลักของทีมชุดนี้

อย่างไรก็ตาม ชัยชนะกลับเป็นของเจ้าบ้าน จากประตูโทนนาที 44 จังหวะที่ นูโน่ ซานโตส แทงทะลุให้ ลูคัส ซิลวา สปีดขึ้นไปหลุดเดี่ยวแล้วยิงตุงตาข่าย 1-0

แม้ครึ่งหลัง สเปอร์ส จะพยายามทวงคืนแต่ก็ทำไม่สำเร็จ จบเกม ปากอส คว้าชัยไปก่อนเกมแรก ส่วน "ไก่เดือยทอง" รอกลับไปแก้ตัวในเกมสองที่บ้านตัวเอง วันที่ 26 สิงหาคมนี้
#2774


กระแสการพัฒนาเมืองในวิถีใหม่ กำลังเป็นอีกโจทย์ท้าทายที่ถูกพูดถึงในเวลานี้ แต่ในขณะที่ทุกคนต่างมุ่งเป้าไปที่ "สมาร์ทซิตี้" หรือเมืองอัจฉริยะ ว่าจะเป็นคำตอบของการพัฒนาเมืองที่ตอบโจทย์โลกในศตวรรษใหม่

อีกฟากมุมมองจากนักพัฒนา กลับเริ่มที่จะหันมาให้ความสำคัญถึงกระแสการพัฒนา "เมืองแห่งการเรียนรู้" หรือ "Learning City"มากขึ้นเช่นกัน นั่นเพราะทุกคนต่างหมายมั่นว่า Learning City อาจเป็นภาพฝันของเมืองคุณภาพในอนาคตที่แท้จริง

จาก Lifelong Learning สู่ Learning City

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เล่าถึงเหตุผลว่า ทำไมเราจึงต้องขับเคลื่อน "เมืองแห่งการเรียนรู้" ผ่านการนำเสนอสาธารณะ ภายใต้ประเด็น "ฟื้นเมืองบนฐานความรู้" (Knowledge-based City Development) ซึ่งจัดโดย UddC ภายใต้ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บริษัทป่าสาละ The Urbanis และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS) โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การนำเสนอผลการศึกษาโครงการเมืองกับบทบาทและศักยภาพของประเทศไทย ตลอดจนการร่วมมองหาทิศทาง "เมืองแห่งการเรียนรู้" ในไทย ว่าจะมีความเป็นไปได้เพียงใด

ผศ.ดร.นิรมลเอ่ยว่า เพราะปัจจุบันเรากำลังอยู่ในมรสุมของความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่ ที่กำลังสร้างความท้าทายใหม่ๆ และเริ่มทำให้ทุกคนตระหนักมากขึ้นว่า การเรียนรู้เฉพาะการศึกษาในระบบอาจไม่เพียงพออีกต่อไป


ดังนั้น แต่ละชุมชนจำเป็นต้องมี "พื้นที่" สำหรับการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนที่สามารถทำให้ "ทุกคน" ในสังคมได้มีโอกาสเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ และสมรรถนะของความเป็นพลเมืองเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

"คำว่าสมาร์ทซิตี้อาจไม่ได้จำกัดแค่เรื่องเทคโนโลยีที่มาทำให้เราสะดวกสบายเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองแบบไหนที่จะสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ของคนในเมืองด้วย"

ดังนั้น เพื่อสร้างบรรยากาศให้คนเรียนรู้ได้เอง เราต้องสร้างนิเวศน์ จัดการให้เมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

 

สำหรับกระแส Learning City เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น หลังจากองค์การยูเนสโกเล็งเห็นว่า หากโลกจะเดินไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goal:SDGs) จำเป็นต้องสร้างสังคม "การเรียนรู้ตลอดชีวิต" ให้เกิดขึ้น

"เมือง" หรือชุมชน จึงเป็นผู้รับบทบาทโดยตรงในการทำหน้าที่นิเวศน์ของการเรียนรู้ ในทุกที่ทุกเวลา 

ซึ่ง ผศ.ดร.นิรมล ยังยกตัวอย่างของเมืองแห่งการเรียนรู้หลายแห่งทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในยุโรปและเอเชียโดยเฉพาะ "ญี่ปุ่น" สามารถยกระดับสังคมเรียนรู้ กลายเป็นฐานขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบยั่งยืนให้แก่ชุมชนจริงมาแล้ว

"เมืองเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ และยังมีการส่งต่อข้อมูลหรือความรู้ในท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น เช่น ในญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการอ่านที่เข้มแข็งมาตั้งแต่สมัยเอโดะ คนญี่ปุ่นอ่านตลอดเวลาเพราะหนังสือมีราคาถูก ทุกคนเข้าถึงได้ และยังมีวัฒนธรรมการจดบันทึกที่ยาวนาน นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังใช้สถานศึกษาเป็นพื้นที่แกนกลางในการจัดทำเมืองการเรียนรู้ แบ่งปันความรู้ กลั่นความรู้มาสร้างอาชีพสร้างเศรษฐกิจ สร้างภูมิปัญญาในชุมชน"

ตัวอย่างความสำเร็จหนึ่งที่เกิดจากการพัฒนาดังกล่าว คือการต่อยอดแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสินค้าเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น ที่เรียกว่าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล ซึ่งประเทศไทยเราได้นำเอาแบบอย่างมาใช้นั่นเอง

สำหรับลักษณะของเมืองแห่งการเรียนรู้ ผศ.ดร.นิรมล ได้สรุปว่าควรมีคุณสมบัติ 5 ประการ ได้แก่

1. การมีวัฒนธรรมการเรียนรู้และการอ่านที่เข้มแข็ง

2. การเป็นเมืองมีอำนาจในการตัดสินใจและจัดการตนเอง

3. การมีโครงสร้างการปกครองที่มีการกระจายอำนาจให้เมือง

4. การมีชุมชนและภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง

5.การมีลักษณะความเป็นเมืองสอดคล้องกับความเป็นมนุษย์หรือ Human scale/walkable

Learning City แค่ผังเมืองไม่พอ?

เมืองแห่งการเรียนรู้แบบไหนที่เราควรสนับสนุนให้เกิดในประเทศไทยบ้าง?

จากการศึกษาการจัดการผังเมืองของ UddC พบว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมุ่งเน้นการจัดการเมืองในเชิงพื้นที่ เป็นหลัก เช่นการจัดวางผังโรงเรียนให้สามารถเดินเข้าถึงได้ การพัฒนาสถานศึกษาให้เกิดความสมดุล เป็นต้น โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือต้องการให้ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบการศึกษา ซึ่งฟังดูก็น่าจะเป็นการจัดการที่เหมาะสม ทว่าปัจจุบันเพียงแค่มี "การศึกษา" ทั่วถึงอาจไม่เพียงพอ

"โลกกำลังต้องการคนที่มีทักษะความสามารถมากกว่าที่ระบบการศึกษาผลิตออกมา นั่นคือคนที่สามารถวิเคราะห์ แก้ปัญหา และมีความยืดหยุ่นเป็นต้น เหล่านี้คือทักษะอันพึงประสงค์ที่โลกศตวรรษใหม่ต้องการ ความรู้ที่ใช้ในปัจจุบันแตกต่างกับความรู้ในอดีตที่ผ่านมา พลเมืองยุคใหม่ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต เราจึงต้องสร้างสังคมที่ส่งเสริมเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาและสามารถก้าวทันความเปลี่ยนแปลงโลกแบบDigitalization" ผศ.ดร.นิรมล กล่าว

"หากถามว่าเมืองแบบไหนที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ ถ้าเรานำกรอบ Learning City ของยูเนสโกมาเป็นแนวทางการพัฒนาเมือง จะพบว่าทิศทางการพัฒนาเมืองวิถีใหม่นี้จะขยับห่างออกจากการพัฒนาเชิงกายภาพทันที"

เพราะการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ไม่ใช่การพัฒนาเฉพาะทางกายภาพ  ดังนั้นนอกจากศาสตร์การวางผังเมือง จำเป็นต้องใช้ศาสตร์หลากหลายในการจัดการชุมชน รวมถึงการพัฒนาศักยภาพ "คน" ที่อยู่ในเมืองนั้น ให้เป็นพลเมืองตื่นการเรียนรู้ไปด้วย

"การลงทุนเมืองแห่งการเรียนรู้ ไม่ใช่การลงทุนการศึกษาในระบบหรือสถานศึกษาเท่านั้น เราสามารถจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ หรือปรับปรุง Learning Facility ให้เชื่อมโยงกับในระบบการศึกษาเดิมได้ ไม่จำเป็นต้องสร้างใหม่เสมอไป" ผศ.ดร.นิรมลให้ข้อมูล

ฟื้นกรุงเทพฯ-ปากน้ำโพ บนฐานการเรียนรู้

แต่ก่อนที่ประเทศไทยจะตั้งเป้าหมายเดินหน้าขับเคลื่อนไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ การบ้านข้อแรกที่เราอาจต้องทำความเข้าใจคือ การเสาะหาโอกาสและข้อจำกัดของตนเอง ว่ามีอะไรบ้างที่ทำให้เกิดช่องว่าง และการพัฒนาสู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ ตลอดจนโอกาส อุปสรรค

ที่สำคัญการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้จะช่วยพัฒนาปิดช่องโหว่ได้จริงหรือไม่

ซึ่งทาง UddC เองได้มีการลงพื้นที่ศึกษาเมืองต้นแบบ 2 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ตัวแทนเมืองศูนย์กลางที่พร้อมที่สุดในประเทศ แต่แม้จะดูมีความพร้อมในฐานะเมืองหลวง กลับพบว่า กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ที่มีระดับความหลากหลายของของ "ย่าน" หรือชุมชนที่ซับซ้อนและยังมีโครงสร้างทางกายภาพที่ไม่เอื้อต่อการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ ทั้งยังขาดความเชื่อมโยงในหลายมิติ

คณะทำงานได้ทำการเลือกพื้นที่ย่านปทุมวัน บางรัก และธนบุรี เนื่องจากมองว่าเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมที่สุดด้วยมีแหล่งชุมชนและสถานศึกษา เพราะมีทั้งระดับมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัย

ส่วนเมืองต้นแบบแห่งที่สอง คือเมืองปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ถือเป็นเมืองรองที่ผลิตคน มีฐานการศึกษาระดับมัธยมที่เข้มแข็ง สามารถป้อนคนเข้าสู่ตลาดงานระดับประเทศ แต่ขณะเดียวกัน ในการพัฒนาท้องถิ่น กลับเป็นเมืองที่มีการเติบโตแบบถดถอย

บทสรุปที่ได้จากการวิจัยนี้ คือย้ำให้เห็นว่า "การเรียนรู้" กับ "การศึกษา" นั้นมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี แม้จะมีความแตกต่างกัน แต่ก็มีการส่งเสริม เชื่อมโยงกันและกันไปในตัว

"เราพบว่าอุปสรรคสำคัญคือ ประเทศไทยมีลักษณะของเมืองที่เป็นแบบแยกส่วน แต่รวมศูนย์ ที่สำคัญข้อมูลก็ถูกรวมศูนย์ไปอยู่กับส่วนกลาง อาจทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่นำไปสู่องค์ความรู้เกิดขึ้นได้ยากจึงควรมีการถ่ายเทอำนาจการจัดการจากภาคนโยบายมาสู่ท้องถิ่น รวมถึงคืนข้อมูลสู่ชุมชน"

นอกจากนี้ การบริหารภายใต้ระบบราชการไทย ยังมีลักษณะการทำงานเป็นแบบ Project Based คือ การทำงานแยกส่วน หรือแยกกันทำตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน แต่ขาดการเชื่อมโยงกัน ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถตอบสนองแนวทางเมืองบนฐานแห่งความรู้ได้

ปัญหาดังกล่าวยังเกิดขึ้นแม้กระทั่งโครงการพัฒนา ผศ.ดร.นิรมล ยอมรับว่า แม้แต่โครงการอาร์ตอินซอยที่ทาง UddC ดำเนินการเอง ถึงจะประสบความสำเร็จในแง่เป้าหมายโครงการ แต่ไม่ได้ประสบความสำเร็จในด้านการช่วยส่งเสริมพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ได้

ดังนั้น ในข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองบนฐานความรู้ ผศ.ดร.นิรมล เอ่ยว่า ควรประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์

"หนึ่งคือการสร้างเครือข่ายของเครือข่ายและกรอบการพัฒนาสู่เมืองฐานความรู้ สอง ควรมีแพลตฟอร์มที่รวบรวมความรู้ย่านในทุกมิติ และสาม คือการผลักดันให้เกิดการสร้างพลเมือง/อาสาสมัครย่านด้านความรู้และข้อมูลในเมือง"

ผศ. คมกริช ธนะเพทย์ ประธานหลักสูตรสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าถึงกรณีศึกษาของเมืองปากน้ำโพ นครสวรรค์ว่า จากการลงพื้นที่พบปัญหาเชิงโครงสร้าง 5 ประเด็น ได้แก่การยึดติดอยู่กับเมืองการศึกษา การต้องการการนำเข้าความรู้เพื่อการพัฒนาอีกมาก การมีต้นทุนความรู้ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ การเชื่อมโยงความรู้ที่จนมีกับการพัฒนาที่ควรจะเป็น ยังไม่ลงตัว และการกระจายความรู้ที่เป็นประโยชน์สีด้านยังไม่ถึงคนทุกกลุ่ม

ซึ่งปัญหาเชิงโครงสร้างที่ปากน้ำโพเผชิญ อาจคือภาพสะท้อนความเป็นเมืองทั่วประเทศไทย ที่ถูกพัฒนาภายใต้ความเคยชิน ในการเดินตามสิ่งที่รัฐ หรือภาคนโยบายเป็นผู้เลือกหรือนำเสนอให้มาโดยตลอดไมนด์เซ็ตใหม่จึงควรพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม

"อาจเพราะที่ผ่านมาการศึกษาในระบบมุ่งเน้นให้คนเป็นลูกจ้างในตลาดแรงงานใหญ่ทั้งระบบ แต่เมืองท้องถิ่นแบบปากน้ำโพเองกลับขาดการจ้างงานที่ใช้ทักษะสูง ทำให้ไม่มีแรงขับเคลื่อนในการที่จะพัฒนาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านอื่น ๆ และเริ่มละทิ้งงานที่ใช้ทักษะเฉพาะทางหรือทักษะเฉพาะพื้นที่ ปากน้ำโพจึงขาดบรรยากาศสาธารณะที่การเรียนรู้ที่กระจายตัวอย่างทั่วถึง"ผศ. คมกริช เอ่ย

อีกสิ่งที่ ผศ.คมกริชมองว่า อันตรายที่สุดของการพัฒนาเมืองปากน้ำโพ คือภาวะ "ความเป็นพลเมืองหดลง"

"การที่คนอยู่ไม่รู้สึกถึงความเป็นพลเมืองและมีชีวิตอยู่เพียงแค่รักษาตึกแถวแล้วหน้าบ้านเอาไว้เพื่อตนเองก็พอ เป็นสิ่งที่น่ากังวล ดังนั้น หากนครสวรรค์จะเปลี่ยนเมืองฐานการศึกษาให้เป็นเมืองฐานความรู้ควรเริ่มด้วยกันรับฟังและต่อยอดความรู้ภายในและภายนอกอย่างเป็นระบบและเข้าถึงได้" ซึ่งผศ.คมกริชเสนอแนะว่า ควรใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง 3 ยุทธศาสตร์ ตามที่ผศ.ดร.นิรมล เอ่ยบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมืองด้วย

เป็นเมืองเรียนรู้ ต้องมีข้อมูลให้รู้

"เรามักมีมายาคติว่าเมืองเราไม่มีข้อมูล แต่ผมเชื่อว่าทุกเมืองมีข้อมูล แต่อาจจะเป็นในรูปแบบของเศษกระดาษ เอกสาร องค์ความรู้ ภูมิปัญญาต่างๆ หรือแม้แต่ความทรงจำ แต่ปัญหาที่ผ่านมาคือ มันไม่เกิดกระบวนการถ่ายโอน หรือถ่ายทอดข้อมูลในสังคมเมือง" อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Intelligence เอ่ย

โดยกล่าวว่าปัญหาส่วนหนึ่ง เกิดจากสิ่งที่เรียกว่า "ระบบผูกขาดข้อมูล" กับ "การโจรกรรมข้อมูลเมือง" คือการที่ข้อมูลถูกไม่นำมาคืนกลับสู่ท้องถิ่นหรือชุมชน

อดิศักดิ์ กล่าวว่าข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลพื้นที่โครงสร้างเมือง ข้อมูลคน/พลเมือง และข้อมูลพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลอะไรก็ได้ แม้แต่ข้อมูลสุขภาพ

 "อาจเริ่มมีการพูดถึงดาต้าเซ็นเตอร์ในภาครัฐมากขึ้น แต่หากไม่มีนำมาใช้ประโยชน์ให้เกิดการแลกเปลี่ยน จึงอาจไม่ใช่คำตอบในการสร้างฐานข้อมูลเมือง ข้อมูลท้องถิ่น เมืองควรเป็นผู้จัดเก็บและนำมาใช้งานได้เองในท้องถิ่น เพื่อที่จะสามารถเอาข้อมูลนั้นมาสร้างให้เกิดประโยชน์หรือเกิดนวัตกรรม ต่อยอดการพัฒนาต่าง ๆ เพราะหากเราปราศจากข้อมูลก็ยากที่จะมีความรู้ และหากปราศจากความรู้และข้อมูลก็ยากที่จะขับเคลื่อนเมืองการเรียนรู้ได้ จึงจำเป็นต้องมีการจัดสรรและจัดวางกลไกต่างๆ ภายในชุมชนเมือง ไม่ใช่แค่ระบบท็อปดาวอย่างเดียว"

รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กลุ่ม .ter Bangkok ให้อีกมุมมองว่าในการสร้างสังคมของการเรียนรู้ หรือเมืองบนฐานความรู้ต้องมีแรงจูงใจ (incentive) ของการเรียนรู้

"ผมว่าหัวใจแห่งการเรียนรู้ คือการสร้าง Incentive ให้เขาเห็นว่า หากเขาได้เรียนรู้แล้วจะได้อะไร มันส่งผลดีกับชีวิต หรือทำให้ชีวิตเขาดีขึ้นอย่างไร"

ซึ่งปัจจัยที่จะสร้างแรงจูงใจของการเรียนรู้ รศ. ดร.ชัชชาติ มองว่าต้องเริ่มด้วย Passion, Self interest และ Public interest

"ที่ผ่านมาการเรียนรู้ไม่เกิดเนื่องจากระบบอุปถัมภ์ การผูกขาดผลประโยชน์ให้กับรายใหญ่ ทำให้คนตัวเล็กเข้าไม่ถึงทรัพยากร จนมองว่าไม่มีประโยชน์ในการจะเรียนรู้สิ่งใหม่ ซึ่งเห็นด้วยว่าภาพประชาสังคมและภาคเอกชนจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อให้ประชาชน" รศ.ดร.ชัชชาติ กล่าว


อีกโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาเมืองด้วยฐานความรู้ นั่นคือ การที่พลเมืองสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลและความรู้ เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการส่งเสริมการตระหนักรู้ ตลอดจนมีความตื่นตัวในการดูแลสุขภาวะของตนเองได้ ในเรื่องนี้ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวถึงเหตุผลที่ สสส. สนับสนุนกระบวนการศึกษาและกระบวนการมีส่วนร่วมที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองสุขภาวะ ด้วยการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อรองรับความเป็นเมือง (Urbanization) ว่า เป็นการสร้างต้นแบบพื้นที่สุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย ซึ่งผลจากการสนับสนุนดังกล่าว ยังนำไปสู่การเกิดนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ สำหรับการผลักดันนโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) และแนวคิดการพัฒนาบนฐานความรู้ (knowledge based development) ผ่านการออกแบบกิจกรรมสร้างเมืองผ่านการร่วมเรียนรู้ ฟื้นกรุงเทพฯ บนฐานความรู้" และ ฟื้นนครสวรรค์บนฐานความรู้" มองว่าจะช่วยตอบโจทย์ในการเพิ่มปัจจัยแวดล้อม/พื้นที่สุขภาวะ (Built Environment/Healthy Space) ทั้งยังเป็นการใช้ประโยชน์พื้นที่ทั้งในพื้นที่สาธารณะ พื้นที่เอกชน รวมไปถึงสถานที่ทางธรรมชาติ ภายใต้การออกแบบ หรือการจัดการเพื่อพัฒนาให้เป็นปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อกิจกรรมทางกายและสุขภาวะอย่างเท่าเทียม
#2775


วันนี้ (19 ส.ค.2564) สมาชิกเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน (Labour Network for People Rights) และตัวแทนครอบครัวแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งเป็นเครือข่ายที่รวมตัวกันของแรงงานจากหลายจังหวัดหลายภาคธุรกิจทั้งจากพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ และพื้นที่จังหวัดปทุมธานี

นำโดยนางสาวศรีไพร นนทรี ผู้แทนกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง นางสาวธนพร วิจันทร์ ผู้ประสานงานเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน นายจเด็ด เชาวิไล มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และผู้แทนเครือข่ายฯจากพื้นที่สมุทรปราการ สระบุรี รังสิต และปทุมธานี จำนวน 10 คน ขอเข้าพบ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะกำกับดูแลงานด้านนโยบายคุณภาพชีวิตแรงงาน เพื่อยื่นหนังสือข้อเรียกร้อง


เปิดหนังสือข้อเรียกร้อง 'หญิงตั้งครรภ์' ทำงานที่บ้าน
รายละเอียดหนังสือข้อเรียกร้อง มีดังนี้

1) สนับสนุนให้บริษัทมีการตรวจคัดกรองเชิงรุกให้กับคนงาน เพื่อคัดกรองคนงานที่ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง

ADVERTISEMENT


2) มีมาตรการให้บริษัทจัดหาสถานที่สำหรับคนงานที่ต้องแยกกักตัว รักษา (Community Isolation) ทั้งในส่วนพื้นที่ของบริษัทหรือการประสานชุมชนในการจัดหาสถานที่

3) มีมาตรการในการดูแลกลุ่มเปราะบาง เช่น กลุ่มคนงานหญิงตั้งครรภ์ โดยจัดสถานที่ทำงานใหม่ให้เหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์ให้มีความปลอดภัย

4) ต้องเร่งจัดหาวัคซีนเพื่อคนงานอย่างเร่งด่วน

5) มีมาตรการชัดเจนในการเยียวยาตามสิทธิของลูกจ้างที่มีอยู่ และสิทธิในการเยียวยาเพิ่มเติมตามมาตรการของภาครัฐ ทั้งกลุ่มเปราะบาง กลุ่มคนงานหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มครอบครัวคนงานที่เสียชีวิตจากโควิด-19

นายสุชาติ กล่าวว่า สำหรับข้อเรียกร้องดังกล่าวนั้น ปัจจุบันกระทรวงแรงงานได้ดำเนินการอยู่แล้ว ทั้งการตรวจคัดกรองโควิดเชิงรุก ในสถานประกอบการ การส่งเสริมให้สถานประกอบการดำเนินการตามโครงการ Factory Sandbox การฉีดวัคซีนโควิดแก่ ผู้ประกันตน และการเยียวยาแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ส่วนมาตรการดูแลกลุ่มเปราะบาง เช่น กลุ่มคนงานหญิงตั้งครรภ์

โดยจัดสถานที่ทำงานใหม่ให้เหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์ให้มีความปลอดภัยนั้น พร้อมให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เร่งออกร่างประกาศกระทรวงโดยเร็วที่สุด และเร่งประชาสัมพันธ์ออกไป เพื่อขอความร่วมมือไปยังสถานประกอบการให้สตรีที่มีผลตรวจว่าตั้งครรภ์ ควรกำหนดให้มีการทำงานที่บ้าน (Work from Home) โดยให้จ่ายค่าแรงเต็มจำนวน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19

น.ส.ศรีไพร นนทรี ผู้แทนกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กล่าวว่า ขอบคุณท่าน รมว.แรงงาน ที่ท่านได้รับเรื่อง รับลูก และแจ้งให้เราทราบในทันทีว่าจะออกประกาศกระทรวง เพื่อแยกคนท้องออกจากพื้นที่เสี่ยงโควิด ให้สามารถทำงานที่บ้านได้ และได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน ซึ่งทางเราที่มาในวันนี้รู้สึกหายห่วงที่อย่างน้อยสิ่งที่ได้มาเข้าพบท่าน ได้รับการดูแลและดำเนินการโดยทันที เพื่อให้เครือข่ายแรงงานได้มีความปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่จากมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลดูแล
#2776


นายนนท์ กลินทะ ประธานเจ้าหน้าที่สายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการการเดินทาง รวมทั้งปรับตารางบินให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 บริษัทฯ ให้บริการเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสารในประเทศ และระหว่างประเทศ ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม 2564 โดยมีรายละเอียดดังนี้

เส้นทางในประเทศ

1.เส้นทาง กรุงเทพฯ-ภูเก็ต ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน ได้แก่

-เที่ยวบินที่ ทีจี 922 ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพฤหัสบดี
-เที่ยวบินที่ ทีจี 916 ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันศุกร์

หมายเหตุ : เริ่มทำการบินตั้งแต่เดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)

เส้นทางสนับสนุนโครงการภูเก็ตแซนด์บ๊อกซ์

1.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต-แฟรงก์เฟิร์ต ทำการบินสัปดาห์ละ 1 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพฤหัสบดี
2.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต-ลอนดอน ทำการบินสัปดาห์ละ 1 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันศุกร์
3.เส้นทาง กรุงเทพฯ-ปารีส-ภูเก็ต-กรุงเทพฯ ทำการบินสัปดาห์ละ 1 เที่ยวบิน โดยออก จากกรุงเทพฯ ทุกวันพฤหัสบดี
4.เส้นทาง กรุงเทพฯ-ซูริก-ภูเก็ต-กรุงเทพฯ ทำการบินสัปดาห์ละ 1 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันศุกร์


เส้นทางยุโรปและออสเตรเลีย

1.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-ลอนดอน ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพุธ และอาทิตย์
2.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-แฟรงก์เฟิร์ต ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันเสาร์ และอาทิตย์
3.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-โคเปนเฮเกน ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันอังคาร และเสาร์ (หมายเหตุ : เดือนกันยายนทำการบินเฉพาะวันเสาร์)
4.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-ซิดนีย์ ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพุธ และอาทิตย์

เส้นทางเอเชีย

1.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-สิงคโปร์ ทำการบินสัปดาห์ละ 1 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพุธ (หมายเหตุ : ให้บริการในเดือนตุลาคม 2564)
2.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-โอซากา ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกพฤหัสบดี และเสาร์
3.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-โตเกียว (นาริตะ) ทำการบินสัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์
4.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-โตเกียว (ฮาเนดะ) ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันอังคาร และเสาร์
5.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-นาโกยา ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพฤหัสบดี และอาทิตย์
6.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-โซล ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพฤหัสบดี และอาทิตย์
7.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-ไทเป ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพุธ และศุกร์
8.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-จาการ์ตา ทำการบินสัปดาห์ละ 1 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพุธ

ตลาดแร่โลหะ ณ ตลาดลอนดอน (19 ส.ค. 64)
'วันสารทจีน 2564' วันประตูนรกเปิด แนะวิธีทำบุญและบอกสิ่งห้ามทำ โดย อาจารย์ 'คฑา ชินบัญชร'
'หญิงตั้งครรภ์'ติดโควิด19โอกาสเข้าไอซียูสูงกว่า 2-3เท่า
ผู้โดยสารสามารถตรวจสอบข้อมูลการเดินทางเพิ่มเติม รายละเอียดตารางบิน พร้อมสำรองที่นั่ง และออกบัตรโดยสารได้ที่เว็บไซต์ thaiairways.com และสำนักงานขายการบินไทย หรือ THAI Contact Center โทร. 0-2356-1111 ทุกวัน (ตลอด 24 ชั่วโมง) สำหรับผู้โดยสารที่จะเดินทางเข้าประเทศไทย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากสำนักงานสาขาที่ออกบัตรโดยสารในแต่ละท้องถิ่น
#2777


ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 5/2564 ซึ่งเป็นการประชุมเมื่อวันที่ 4 ส.ค.2564 โดยมีกรรมการที่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ (ประธาน) นายเมธี สุภาพงษ์ (รองประธาน) นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน นายรพี สุจริตกุล นายสมชัย จิตสุชน และ นายสุภัค ศิวะรักษ์ ส่วนนายคณิศ แสงสุพรรณ ลาประชุม

ภาวะเศรษฐกิจโลกและภาวะตลาดการเงิน

เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่การฟื้นตัวของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักและกลุ่มประเทศเอเชียแตกต่างกันมากขึ้น กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องตามการกระจายวัคชีนที่คืบหน้าไปมาก ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชียถูกกระทบจากการระบาดและการกลายพันธุ์ของโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้นในหลายประเทศ

ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไปยังมีความไม่แน่นอนสูงจากการระบาดที่อาจรุนแรงขึ้นจากการกลายพันธุ์ของไวรัส โดยเฉพาะประเทศที่กระจายวัคซีนล่าช้าและมีข้อจำกัดในการเข้าถึงวัคชีนที่มีประสิทธิภาพ

ตลาดการเงินโลกมีความกังวลเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่กลับมารุนแรงในหลายประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets: EMs) ที่มีอัตราการฉีดวัคซีนในระดับต่ำ ส่งผลให้นักลงทุนปรับลดความเสี่ยงจากการลงทุน (Risk-off sentiment) โดยลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง เช่น ตราสารทุน และเพิ่มการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น พันธบัตรรัฐบาล

ADVERTISEMENT


ทั้งนี้ ตลาดการเงินไทยเคลื่อนไหวสอดคล้องกับภูมิภาค โดยดัชนีหลักทรัพย์ไทยและอัตราผลตอบพันธ์บัตรรัฐบาลปรับลดลง สำหรับเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. และดัชนีค่าเงินบาท (Nominal Effective Exchange Rate: NEER) อ่อนค่าลงจากการประชุมครั้งก่อน โดยเงินบาทอ่อนค่ามากกว่าสกุลเงินภูมิภาคจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศที่รุนแรง และแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ล่าช้า

มองไปข้างหน้า ตลาดการเงินโลกมีแนวโน้มผันผวนสูง และอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังตลาดการเงินไทยได้ โดยมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่มีความไม่แน่นอนสูงและอาจรุนแรงขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงแนวโน้มการดำเนินนโยบายการคลังและการเงินของสหรัฐฯ โดยเฉพาะหากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวดีและอัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นต่อเนื่องจนทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินเร็วกว่าที่นักลงทุนคาดไว้

ภาวะเศรษฐกิจและเสถียรภาพระบบการเงินไทย

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอลงมากจากมาตรการควบคุมการระบาดโควิด-19 ที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศษฐกิจและอุปสงค์ในประเทศ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 0.7 และ 3.7 ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ ปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากประมาณการในเดือน มิ.ย.2564 ตามการบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบมากในปีนี้และแนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับลดลงมากในปีหน้า

ขณะที่ตลาดแรงงานมีแนวโน้มเปราะบางขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้างในภาคบริการและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีรายได้ลดลง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจาก (1) แนวโน้มการใช้จ่ายภาครัฐที่สูงขึ้นจาก พ.ร.ก. กู้เงินฉบับใหม่วงเงิน 5 แสนล้านบาท ซึ่งจะช่วยพยุงกำลังซื้อของครัวเรือนและลดทอนผลกระทบของการระบาดระลอกล่สุดได้ส่วนหนึ่ง และ (2) การส่งออกสินค้าที่ขยายตัวดีตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ประเทศคู่ค้า

แม้ภาคการผลิตและภาคส่งออกบางส่วนจะเผชิญกับข้อจำกัดด้านอุปทาน เช่น ภาคการผลิตถูกกระทบจากจำนวนชั่วโมงทำงานที่ปรับลดลงหลังภาครัฐออกมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และการขาดแคลนวัตถุดิบทั่วโลก โดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มใกล้เคียงเดิม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับต่ำตามอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอ ขณะที่การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางยังคงยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย

เศษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าเผชิญกับความเสี่ยงด้านต่ำอย่างมีนัยสำคัญ จาก (1) สถานการณ์การระบาดทั้งในและต่างประเทศที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการกลายพันธุ์ของไวรัสที่ลดทอนประสิทธิภาพของวัคซีน รวมถึงความล่าช้าในการกระจายวัคซีน ซึ่งอาจทำให้ปัญหาสาธารณสุขยืดเยื้อและรุนแรงขึ้น (2) ฐานะทางการเงินของธุรกิจ โดยเฉพาะภาคบริการที่เปราะบางมากขึ้นอีก ซึ่งอาจนำไปสู่การปิดกิจการและเลิกจ้างแรงงานจำนวนมาก

และ (3) ปัญหาข้อจำกัดด้านอุปทาน โดยเฉพาะผลกระทบจากการระบาดในโรงงานและการขาดแคลนวัตถุดิบชั่วคราวที่คาดว่าจะคลี่คลายภายในครึ่งแรกของปี 2565 อาจรุนแรงยืดเยื้อและส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกของไทยมากกว่าที่คาด

เสถียรภาพระบบการเงินมีแนวโน้มเปราะบางขึ้น โดยการระบาดระลอกล่าสุดช้ำเติมให้รายได้และฐานะทางการเงินของลูกหนี้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่เปราะบางอยู่เดิมให้แย่ลง ส่งผลให้จำนวนลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงในการชำระหนี้ (Debt at Risk) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์ยังมีฐานะการเงินที่มั่นคงสามารถรองรับคุณภาพสินเชื่อที่อาจด้อยลงในอนาคต จึงทำให้ความเสี่ยงดังกล่าวต่อเสถียรภาพระบบการเงินในภาพรวมยังมีจำกัด

สำหรับประเด็นสำคัญที่คณะกรรมฯ เช่น การลดอัตราดอกเบี้ย คณะกรรมการฯ อภิปรายอย่างกว้างขวางถึงประสิทธิภาพการส่งผ่านนโยบายการเงินในสถานการณ์ปัจจุบัน ผลประโยชน์สุทธิต่อเศรษฐกิจจากการลดดอกเบี้ยนโยบาย รวมถึงทางเลือกต่างๆ ของการดำเนินนโยบายในครั้งนี้ โดยเห็นพ้องกันว่าการใช้มาตรการทางการเงินจะสามารถช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ได้ตรงจุดมากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่า (1) โจทย์สำคัญของการดำเนินนโยบายในปัจจุบันคือการกระจายสภาพคล่องในระบบธนาคารที่อยู่ในระดับสูงไปสู่ธุรกิจและครัวเรือนที่ มีความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) (2) กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงเป็นผลจากมาตรการควบคุมการระบาด ทั้งนี้ ภาวะการเงินโดยรวมยังคงผ่อนคลาย เอื้อให้สถาบันการเงินสามารถช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านมาตรการทางการเงินต่างๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการต่อเนื่อง และ (3) มาตรการทางการเงิน โดยเฉพาะมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูที่ช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนสภาพคล่องของผู้ได้รับผลกระทบ

รวมทั้งการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อช่วยแก้ปัญหาหนี้ที่อยู่ในระดับสูง เป็นการดำเนินการที่มีประสิทธิผลและตรงจุดมากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ไม่มีเป้าเฉพาะเจาะจง ที่แม้จะส่งผลในวงกว้างแต่ช่วยลดภาระหนี้ของกลุ่มเปราะบางได้น้อย อย่างไรก็ตาม กรรมการฯ ส่วนหนึ่งเห็นว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้จะเป็นการดำเนินนโยบายเพื่อรองรับการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในระยะข้างหน้า (Pre-emptive)

โดยประเมินว่ามาตรการทางการเงินและการคลังที่ได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาอาจยังมีข้อจำกัดและไม่เพียงพอ ขณะที่นโยบายการเงินต้องใช้เวลาส่งผ่านไปยังเศรษฐกิจ จึงควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้เพื่อช่วยรองรับความเสี่ยงของเศรษฐกิจที่อาจสูงขึ้นในระยะข้างหน้า แม้อัตราดอกเบี้ยจะเป็นเครื่องมือที่ตรงจุดและมีประสิทธิผลน้อยกว่ามาตรการการเงินและการคลังอื่นๆ
#2778


นายเกียรติศักดิ์ สิริรัตนกิจ รักษาการ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและประธานเจ้าหน้าที่การเงิน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ขอชี้แจงผลการดำเนินงาน สำหรับงวด 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.2564 โดยบริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 432.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 329.88 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 321.17 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งมีกำไรสุทธิ 102.71 ล้านบาท


และเนื่องจากผลการดำเนินงานตามงบกำไรขาดทุนดังกล่าวแสดงผลกำไรสุทธิซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเกินกว่าร้อยละ 20 บริษัทฯ จึงใคร่ขอชี้แจงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่มีสาระสำคัญดังนี้

1. รายได้ค่านายหน้าเพิ่มขึ้น 260.43 ล้านบาท จาก 627.66 ล้านบาท เป็น 888.09 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.49 เนื่องจาก

- รายได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น 272.69 ล้านบาท จาก 511.69 ล้านบาท เป็น 784.38 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.29 ซึ่งเป็นไปตามมูลค่าการซื้อขายของลูกค้าของบริษัทฯ ในงวด 6 เดือน ปี 2564 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.39 จากงวดเดียวกันของปี 2563

- รายได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าลดลง 12.27 ล้านบาท จาก 115.98 ล้านบาท เป็น 103.71 ล้านบาท หรือลดลงร้อยล: 10.58 ซึ่งเป็นไปตามปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าของบริษัทฯ ในงวด 6 เดือน ปี 2564 ที่ลดลงร้อยละ 25. 76 จากงวดเดียวกันของปี 2563

2. รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้น 59.82 ล้านบาท จาก 88.64 ล้านบาท เป็น 148.46 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.49 เนื่องมาจากการรายได้จากการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินเพิ่มขึ้น 14.63 ล้านบาท รายได้จากการเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น 20.67 ล้านบาท และรายได้อื่นเพิ่มขึ้น 27.52 อย่างไรก็ตามรายได้จากการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ลดลง 2.99 ล้านบาท

3. รายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 64.15 ล้านบาท จาก 198.97 ล้านบาท เป็น 263.13 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.24

4. กำไรและผลตอบแทนจากเครื่องมือทางการเงินเพิ่มขึ้น 319.65 ล้านบาท จาก 147.58 ล้านบาท เป็น 467.23 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 216.59 เนื่องมาจากกำไรจากเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 872.13 ล้านบาท ในขณะที่กำไรจากอนุพันธ์ลดลง 544.28 ล้านบาท และรายได้เงินปันผลลดลง 8.19 ล้านบาท

5. ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 278.88 ล้านบาท จาก 951.95 ล้านบาท เป็น 1,230.84 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.30 ซึ่งค่าใช้จ่ายหลักที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานเพิ่มขึ้น 195.97 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมและบริการจ่ายเพิ่มขึ้น 62.36 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มขึ้น 30.76 ล้านบาท ในขณะที่ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดลง 9.86 ล้านบาท

6. ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้น 96.60 ล้านบาท จาก 13.69 ล้านบาท เป็น 110.29 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 705.75 เนื่องมาจากกำไรก่อนภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น 426.48 ล้านบาท จาก 116.40 ล้านบาท เป็น 542.88 ล้านบาท

ดังนั้น จึงมีผลทำให้ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เพิ่มขึ้นจากผลการดำเนินงานของงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า ร้อยละ 321.17
#2779


นายคงศักดิ์ หาญแสวงสิน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันที่โรคโควิด -19 กำลังแพร่ระบาด บริษัทฯ เข้าใจในปัญหาสภาพคล่องของประชาชน จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถยนต์เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกตามความพร้อมด้านการเงินของตนเอง โดยได้ออกแคมเปญ "ประกันภัยรถยนต์ ธนชาต 2+จัดเต็ม สุดในรุ่น" ที่ให้ความคุ้มครอง รถชน รถหาย รถไฟไหม้ และให้เพิ่มความคุ้มครองถึงภายหลังอุบัติเหตุรถชนด้วย

จึงจัดเต็มในเรื่องชดเชย ฉุกเฉิน เดินทาง โดยจะมีเงินชดเชยรายได้ให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารทุกคนระหว่างการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 1,000 บาท/วัน ไม่เกิน 30 วัน สูงสุด 7 คน และให้บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งยังมีเงินชดเชยค่าเดินทางให้ลูกค้าในกรณีที่ส่งรถเข้าซ่อม 1,000 บาท/ครั้ง ได้ถึง 3 ครั้ง/ปี ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก เป็นการอัพเกรดความคุ้มครอง ซึ่งคุ้มค่าที่สุดในอุตสาหกรรมประกันภัยรถยนต์ของประเทศไทย

แคมเปญนี้จึงเหมาะกับคนที่ใช้รถน้อยเพราะต้องทำงานอยู่ที่บ้าน (Work from Home) และคนที่ต้องการรักษาสภาพคล่องทางการเงิน โดยค่าเบี้ยประกันภัยเริ่มต้น 7,999 บาท สามารถผ่อนชำระค่าเบี้ยได้ 0% นาน10 เดือน ผ่านบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ เฉลี่ยเดือนละ 799 บาทเท่านั้น พร้อมรับโปรโมชั่น 2 ต่อ เมื่อซื้อผ่านธนาคารทหารไทยธนชาตทุกสาขา ต่อที่ 1 รับฟรี e-coupon ร้าน Dunkin Donuts มูลค่า 79 บาท ต่อที่ 2 เมื่อซื้อคู่กับประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล, ประกันภัยโรคมะเร็ง หรือประกันภัยโรคร้ายแรง (CI) และมีค่าเบี้ยประกันภัยรวมกัน 15,000 บาทขึ้นไป จะได้รับฟรี e-coupon เติมน้ำมัน PT มูลค่า 300 บาทด้วย

ทั้งนี้ จากการที่บริษัทพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาสนองตอบผู้บริโภคได้อย่างตรงจุดและให้ความคุ้มครองที่คุ้มค่า จึงทำให้ "ประกันภัยรถยนต์ ธนชาต 2+จัดเต็ม" ของธนชาตประกันภัย ได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมแห่งปี (Product of the year 2020 ) จากมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับนิตยสาร Business+

นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลด้านการจัดการเคลมยอดเยี่ยม "Best Claims Management" จัดโดย นิตยสาร International Finance Magazine (IFM) จากประเทศอังกฤษ ถึง 2 ปี ซ้อน คือ ปี 2019 - 2020 ซึ่งมาจากนโยบายของบริษัทที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาการให้บริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า ด้วยการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาเชื่อมต่อกับทุกมิติของระบบงานให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล ภายใต้แนวคิด "ธนชาตประกันภัย ดูแลไว ตรงใจคุณ"
#2780


นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มทรงตัวจากอุปสงค์ที่ยังไม่ฟื้นตัวเนื่องจากตลาดยังคงกังวลกับแรงกดดันจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ที่ขยายวงกว้างทั่วโลก ส่งผลทำให้ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันในบางประเทศปรับตัวลดลง โดยญี่ปุ่นได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในหลายจังหวัดครอบคลุมกว่า 70% ของประชากร ขณะที่จีนประกาศมาตรการจำกัดการเดินทางและยกเลิกเที่ยวบินแม้ว่าจะมีแรงหนุนจากความต้องการใช้น้ำมันในสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นหลังวุฒิสภาสหรัฐฯ ลงมติผ่านร่างกฎหมายการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน 1 ล้านล้านเหรียญ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงความต้องการน้ำมันจากอินเดียที่เพิ่มขึ้นหลังโควิด-19คลี่คลาย

ทั้งนี้ราคาน้ำมันตลาดโลก (วันที่ 9 – 15 สิงหาคม 2564) ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์เท็กซัส เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 69.79 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และ 68.31 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 1.39 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และ 1.16 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ ซึ่งนักลงทุนวิตกว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา จะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน โดยโกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2564 ความต้องการใช้น้ำมันยังถูกกดดันจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ซึ่งส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบในตลาดลดลงจากระดับ 2.3 ล้านบาร์เรล/วัน ไปอยู่ที่ระดับ 1 ล้านบาร์เรล/วัน และยังคาดการณ์ว่าความต้องการใช้น้ำมันจะฟื้นตัวขึ้นตามอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น อีกทั้ง สหรัฐฯ เรียกร้องให้กลุ่มโอเปกพลัสผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นในระยะยาว เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเพื่อควบคุมราคาน้ำมันเบนซินในสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ กลุ่มผู้ผลิตจะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 1 กันยายน 2564

ราคากลางน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดภูมิภาคเอเชีย ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และ 91 (Non-Oxy) เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 82.49 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล 80.17 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และ 81.16 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 1.32 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล 1.52 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และ 1.51 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (10 PPM) เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 76.64 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 1.78 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากอุปทานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้ในภูมิภาคชะลอตัวลงตามฤดูกาล

นอกจากนี้ สนพ.ได้ติดตามสถานการณ์ราคาก๊าซธรรมชาติเหลว ในตลาดจร หรือ Spot LNG ช่วงระหว่างวันที่ 2 – 6 สิงหาคม 2564 พบว่าในสัปดาห์นี้เฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 1.127 เหรียญสหรัฐฯ/ล้านบีทียู อยู่ที่ระดับ 16.316 เหรียญสหรัฐฯ/ล้านบีทียู จากผู้ซื้อรายใหญ่จากภูมิภาคเอเชียเหนือ มีความต้องการจัดหาเที่ยวเรือ Spot LNG เร่งด่วน (Prompt Spot cargo) จากความต้องการใช้ก๊าซในประเทศที่สูงขึ้น เช่น ประเทศจีนได้ออกประมูลจัดหาเที่ยวเรือ Spot LNG เร่งด่วนสำหรับส่งมอบเดือนสิงหาคม และผู้ซื้อจากประเทศเกาหลีใต้ได้ออกจัดหาเที่ยวเรือ Spot เช่นกันแต่เป็นสำหรับการส่งมอบในเดือนกันยายน เป็นต้น