• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Ailie662

#6466
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 716
#6467
www.programlike.com
ปั้มไลค์ แฟนเพจ, ไลค์โพส, แชร์โพสต์, ยอดวิววิดีโอ
#6468
รับถมดิน ราคาถูก ติดต่อ 080-022-3804 www.mmee2000.com
#6469


ตลาดหุ้นไทยช่วงนี้ยังร่วงลงต่อเนื่อง จากแรงกดดันสถานการณ์โควิด -19 ที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อ เสียชีวิตขยับขึ้นสูง การฉีดวัคซีนยังล่าช้า การบังคับใช้มาตราการเข้มข้นยังคงมีต่อเนื่อง ทำให้หุ้นหลายกลุ่มทรุดหนัก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มพลังงานที่หลายตัวทำราคา NEW LOW ในรอบปี 64 และอีกหลายตัวทำราคาลงมาใกล้เคียงกับ NEW LOW ในปี 63 อีกด้วย

1.PTT (บมจ.ปตท.) มาร์เกตแคป 992,564 ล้านบาท ล่าสุด 30 ก.ค. 64 ราคาปิด 34.75 บาท ทำ NEW LOW ในรอบปี 64 ซึ่งในปีนี้เคยทำราคาสูงสุดระหว่างวันถึง 45.00 บาท ก่อนจะไปปิดที่ 44.50 บาทในวันที่ 13 ม.ค.64 และเมื่อย้อนดูเมื่อปี 63 ทำราคาต่ำสุดระหว่างวัน 23.20 บาท แล้วไปปิดที่ 28.00 บาท (13 มี.ค.63) ส่วนสูงสุดทำได้ 47.75 บาท ก่อนปิดที่ 46.75 บาท (8 ม.ค.63)

ราคาล่าสุด 30 ก.ค. 64 ปิด 34.75 บาท เหลืออัพไซด์ 41.73% จากราคาเป้าหมาย 49.25 บาท ขณะอัตราผลตอบแทนจากราคาย้อนหลังลบทุกช่วงเวลา โดย 5 วัน -3.47%, 20 วัน -11.46%, 60 วัน -13.12%, 120 วัน -7.95%, และ YTD -18.24%

2.OR (บมจ.ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก) มาร์เกตแคป 333,000ล้านบาท ล่าสุด 30 ก.ค. 64 ราคาปิด 27.75 บาท ทำ NEW LOW ในรอบปี 64 ซึ่งในปีนี้ เคยทำราคาสูงสุดระหว่างวันถึง 36.50 บาท ก่อนจะไปปิดที่ 34.00 บาทในวันที่ 15 ก.พ.64

ราคาล่าสุด 30 ก.ค. 64 ปิด 27.75 บาท เหลืออัพไซด์ 3.42% จากราคาเป้าหมาย 28.70 บาท ขณะอัตราผลตอบแทนจากราคาย้อนหลังลบทุกช่วงเวลาโดย 5 วัน -2.63%, 20 วัน -9.02%, 60 วัน -9.02% ส่วนถ้าเทียบจากราคา IPO ที่ 18.00 บาท ล่าสุด 27.75 บาท บวก 9.75 บาท หรือ +54.17%

3.TOP (บมจ.ไทยออยล์) มาร์เกตแคป 89,761 ล้านบาท ล่าสุด (30 ก.ค. 64) ราคาระหว่างวันต่ำสุด 42.50 บาท ทำ NEW LOW ในรอบปี 64 ก่อนจะดีดขึ้นเล็กๆ ปิดที่ 44.00 บาท ซึ่งในปีนี้ทำราคาสูงสุดระหว่างวันถึง 66.00 บาท ก่อนจะไปปิดที่ 64.25 บาท ในวันที่ 8 มี.ค.64 และเมื่อย้อนดูเมื่อปี 63 ทำราคาต่ำสุดระหว่างวัน 25.25 บาท แล้วไปปิดที่ 27.50 บาท (19 มี.ค.63) ส่วนสูงสุดทำได้ 73.50 บาท ก่อนปิดที่ 70.00 บาท (6 ม.ค.63)

ราคาล่าสุด 30 ก.ค. 64 ปิด 44.00 บาท เหลืออัพไซด์ 44.32% จากราคาเป้าหมาย 63.50 บาท ขณะอัตราผลตอบแทนจากราคาย้อนหลังลบทุกช่วงเวลาโดย 5 วัน -6.88%, 20 วัน -19.27%, 60 วัน -25.74%,120 วัน -19.27%, YTD -15.38%

4.BGRIM (บมจ.บี.กริม เพาเวอร์) มาร์เกตแคป 102,972 ล้านบาท ล่าสุด 30 ก.ค. 64 ราคาระหว่างวันต่ำสุด 39.00 บาท ทำ NEW LOW ในรอบปี 64ก่อนจะดีดขึ้นเล็กๆ ปิดที่ 39.50 บาท ซึ่งในปีนี้ทำราคาสูงสุดระหว่างวัน 56.00 บาท ก่อนจะไปปิดที่ 55.25 บาทในวันที่ 13 ม.ค.64 และเมื่อย้อนดูเมื่อปี 63 ทำราคาต่ำสุดระหว่างวัน 27.25 บาท แล้วไปปิดที่ 36.25 บาท (13 มี.ค.63) ส่วนสูงสุดทำได้ 69.25 บาท ก่อนปิดที่ 65.00 บาท (21 ม.ค.63)

ราคาล่าสุด 30 ก.ค.64 ปิด 39.50 บาท เหลืออัพไซด์ 35.44% จากราคาเป้าหมาย 53.50 บาท อัตราผลตอบแทนจากราคาย้อนหลังลบทุกช่วงเวลาโดย 5 วัน -4.24%, 20 วัน -5.95%, 60 วัน -7.60%, 120 วัน -22.55%, YTD -18.56%

5.RATCH (บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง) มาร์เกตแคป 61,625 ล้านบาท ล่าสุด 30 ก.ค. 64 ราคาระหว่างวันต่ำสุด 42.25บาท ทำ NEW LOW ในรอบปี 64 ก่อนจะดีดขึ้นเล็กๆ ปิดที่ 42.50 บาท ซึ่งในปีนี้ทำราคาสูงสุดระหว่างวัน 57.50 บาท ก่อนจะไปปิดที่ 54.00 บาทในวันที่ 6 ม.ค.64 และเมื่อย้อนดูเมื่อปี 63 ทำราคาต่ำสุดระหว่างวัน 39.50 บาท แล้วไปปิดที่ 50.00 บาท (13 มี.ค.63) ส่วนสูงสุดทำได้ 76.50 บาท ก่อนปิดที่ 74.50 บาท (21 ม.ค.63)

ราคาล่าสุด 30 ก.ค.64 ปิด 42.50 บาท เหลืออัพไซด์ 11.50% จากราคาเป้าหมาย 54.00 บาท ขณะอัตราผลตอบแทนจากราคาย้อนหลังลบทุกช่วงเวลาโดย 5 วัน 20 วัน -7.10%, 60 วัน -15.84%, 120 วัน -14.14%, YTD -19.81%

6.PTG (บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี) มาร์เกตแคป 26,219 ล้านบาท ล่าสุด 30 ก.ค. 64 ราคาระหว่างวันต่ำสุด 15.50 บาท ทำ NEW LOW ในรอบปี 64 ก่อนจะดีดขึ้นเล็กๆ ปิดที่ 15.70 บาท ซึ่งในปีนี้เคยทำราคาสูงสุดระหว่างวันถึง 21.90 บาท ก่อนจะไปปิดที่ 20.80 บาทในวันที่ 9 มี.ค.64 และเมื่อย้อนดูเมื่อปี 63 ทำราคาต่ำสุดระหว่างวัน 8.95 บาท แล้วไปปิดที่ 9.10 บาท 26 มี.ค.63 ส่วนสูงสุดทำได้ 19.30 บาท ก่อนปิดที่ 18.40 บาท (22 ก.ค.63)

ราคาล่าสุด 30 ก.ค.64 ปิด 15.70 บาท เหลืออัพไซด์ 46.50% จากราคาเป้าหมาย 23.00 บาท ขณะอัตราผลตอบแทนจากราคาย้อนหลังลบทุกช่วงเวลาโดย 5 วัน -5.42%, 20 วัน -15.14%, 60 วัน -21.89%, 120 วัน -8.72%,YTD -1.26%

7.ESSO (บมจ.เอสโซ่) มาร์เกตแคป 25,264 ล้านบาท ล่าสุด 30 ก.ค.64 ราคาระหว่างวันต่ำสุด 7.20 บาท ทำ NEW LOW ในรอบปี 64 ก่อนจะดีดขึ้นเล็กๆปิดที่ 7.30 บาท ซึ่งในปีนี้เคยทำราคาสูงสุดระหว่างวันถึง 9.40 บาท ก่อนจะไปปิดที่ 9.05 บาทในวันที่ 16 ก.พ.64 และเมื่อย้อนดูเมื่อปี 63 ทำราคาต่ำสุดระหว่างวัน 3.14 บาท แล้วไปปิดที่ 3.36 บาท (19 มี.ค.63) ส่วนสูงสุดทำได้ 9.70 บาท ก่อนปิดที่ 8.90 บาท (6 ม.ค.63)

ราคาล่าสุด 30 ก.ค.64 ปิด 7.30 บาท เหลืออัพไซด์ 7.12% จากราคาเป้าหมาย 7.82 บาท ขณะอัตราผลตอบแทนจากราคาย้อนหลังลบทุกช่วงเวลาโดย 5 วัน -1.35%, 20 วัน -11.52%, 60 วัน -14.62%, 120 วัน -12.57%, YTD -1.35%

8.EGCO (บมจ.ผลิตไฟฟ้า) มาร์เกตแคป 90,025 ล้านบาท ล่าสุด 30 ก.ค.64 ราคาปิด 171.00 บาท ซึ่งในปี 64 ต่ำสุด 168.50 บาท (24 พ.ค.) ส่วนสูงสุดปีนี้คือ 213.00 บาท (6 ม.ค.) และเมื่อย้อนดูเมื่อปี 63 ทำราคาต่ำสุดระหว่างวัน 161.00 บาท แล้วไปปิดที่ 210.00 บาท (13 มี.ค.63) ส่วนสูงสุดทำได้ 350.00 บาท ก่อนปิดที่ 342.00 บาท (15 ม.ค.63)

ราคาล่าสุด 30 ก.ค.64 ปิด 171.00 บาท เหลืออัพไซด์ 78.07% จากราคาเป้าหมาย 304.50 บาท ขณะอัตราผลตอบแทนจากราคาย้อนหลังลบเกือบทุกช่วงเวลาโดย 5 วัน +0.59%, 20 วัน -2.29%, 60 วัน -3.12%, 120 วัน -4.20%, YTD -11.17%

9.TTW (บมจ.ทีทีดับบลิว) มาร์เกตแคป 46,284 ล้านบาท ล่าสุด 30 ก.ค.64 ราคาปิด 11.60 บาท ซึ่งในปี 64 ต่ำสุดระหว่างวัน 11.40 บาท แล้วไปปิดที่11.50 บาท (6 พ.ค.64) และเคยทำราคาสูงสุดระหว่างวันถึง 12.50 บาท ก่อนจะไปปิดที่ 12.30 บาท (11 ม.ค.64) และเมื่อย้อนดูเมื่อปี 63 ทำราคาต่ำสุดระหว่างวัน 11.00 บาท แล้วไปปิดที่ 11.30 บาท (17 มี.ค.63) ส่วนสูงสุดทำได้ 14.70 บาท ก่อนปิดที่ 14.30 บาท (19 ก.พ.63)

ราคาล่าสุด 30 ก.ค. 64 ปิด 11.60 บาท เหลืออัพไซด์ 20.69% จากราคาเป้าหมาย 14.00 บาท ขณะอัตราผลตอบแทนจากราคาย้อนหลังลบเกือบทุกช่วงเวลาโดย 5 วัน -0.85%, 20 วัน -0.85%, 60 วัน 0.00%, 120 วัน -4.92%, YTD -6.45%

10.GULF (บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์) มาร์เกตแคป 393,060 ล้านบาท ล่าสุด 30 ก.ค.64 ราคาปิด 33.50 บาท ซึ่งราคาตำสุดของปีนี้ 31.00 บาท (19 เม.ย.) ห่างจากต่ำสุด 2.50 บาท ก็จะเป็น NEW LOW ในรอบปี 64 ส่วนปีนี้เคยทำราคาสูงสุด 38.00 บาท (8 ม.ค.) และเมื่อย้อนดูเมื่อปี 63 ทำราคาต่ำสุดระหว่างวัน 22.35 บาท แล้วไปปิดที่ 26.79 บาท (13 มี.ค.63) ส่วนสูงสุดทำได้ 41.03 บาท ก่อนปิดที่ 38.81 บาท (21 พ.ค.63)

ราคาล่าสุด 30 ก.ค.64 ปิด 33.50 บาท เหลืออัพไซด์ 26.33% จากราคาเป้าหมาย 42.32 บาท ขณะอัตราผลตอบแทนจากราคาย้อนหลังลบเกือบทุกช่วงเวลาโดย 5 วัน -0.74%, 20 วัน -2.19%, 60 วัน -2.90%, 120 วัน 0.00%, YTD -2.19%

ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มพลังงานส่วนใหญ่พื้นฐานแข็งแกร่ง มีสตอรี่และเป็นที่นิยมของนักลงทุนกันมาก แต่เมื่อเผชิญโควิด-19 รอบนี้ จึงถูกถูกกดดันหนัก จึงน่าจับตาว่า จะลงไปถึงจุดต่ำสุดเท่าไร และเมื่อไรกัน?

https:// m.mgronline.com/stockmarket/detail/9640000075283
#6472


นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ภายในประเทศที่ยังขยายตัวในวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อเอสเอ็มอีเป็นจำนวนมาก ทั้งปัญหายอดขายและรายได้ลดลง SME D Bank ในฐานะสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อเอสเอ็มอีไทย จึงออกมาตรการทางการเงินเสริม ด้วยแพคเกจสินเชื่อ "เติมทุน SMEs มีสุข ยิ้มได้" วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท ภายใต้ 3 ผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ ได้แก่ "SMEs D เติมทุน" "SMEs มีสุข" และ "SMEs ยิ้มได้" ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้มีวงเงินเพิ่มขึ้น นำไปใช้เสริมสภาพคล่อง และลดต้นทุนทางการเงิน


สำหรับจุดเด่นของ 3 ผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ เปิดกว้างเอสเอ็มอีทุกกลุ่มธุรกิจ คุณสมบัติกู้ได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ทั้งลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ วงเงินกู้สูงขึ้นถึง 15 ล้านบาทต่อราย ได้แก่ "สินเชื่อ SMEs D เติมทุน" วงเงิน 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 4% ต่อปี เปิดโอกาสรับรีไฟแนนซ์จากสถาบันการเงินเดิม ช่วยลดต้นทุนทางการเงิน ผ่อนนานถึง 10 ปี


"สินเชื่อ SMEs มีสุข" วงเงิน 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 5% ต่อปี สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเงินลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการ หรือปรับเปลี่ยนธุรกิจ รองรับการเติบโตในอนาคต ผ่อนนานถึง 10 ปี และ "สินเชื่อ SMEs ยิ้มได้" วงเงิน 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 5.5% ต่อปี ทบทวนวงเงินได้ทุกปี ช่วยเติมทุนหมุนเวียนให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สามารถบริหารจัดการธุรกิจไม่มีสะดุด โดยเปิดรับคำขอกู้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565


"SME D Bank ตระหนักดีถึงพันธกิจสำคัญในการเป็นกลไกของรัฐพาเอสเอ็มอีไทยให้เข้าถึงแหล่งทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอีอย่างรุนแรง ธนาคารจึงดำเนินนโยบายให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม ด้วยการออกแพคเกจสินเชื่อใหม่ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีเงินทุนเพิ่มขึ้น ต้นทุนทางการเงินลดลง สามารถนำไปใช้เสริมสภาพคล่องเพียงพอสูงถึงรายละ 15 ล้านบาท ช่วยบริหารจัดการธุรกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้" นางสาวนารถนารี กล่าว
#6473


ผลวิเคราะห์ของบรรดานักวิชาการสหราชอาณาจักรที่เผยแพร่โดยกลุ่มที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการด้านวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลสหราชอาณาจักร เชื่อว่า "เกือบจะแน่นอน" ที่จะเกิดการอุบัติขึ้นของตัวกลายพันธุ์หนึ่งของ SARS-Cov-2 (ไวรัสที่เป็นต้นตอของโควิด-19) ซึ่งจะมอบความล้มเหลวแก่วัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน พร้อมแนะนำเจ้าหน้าที่ลดการแพร่เชื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดโอกาสเกิดตัวกลายพันธุ์ใหม่ที่ดื้อต่อวัคซีน

มุมมองดังกล่าวแสดงอยู่ในเอกสารที่จัดทำโดยบรรดานักวิชาการ บนสมมติฐานต่างๆ นานาเกี่ยวกับวิวัฒนาการระยะยาวของ SARS-Cov-2 ซึ่งถูกหยิบยกไปปรึกษาหารือและเผยแพร่โดยกลุ่มที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์สำหรับเหตุฉุกเฉินของสหราชอาณาจักร (Scientific Advisory Group for Emergencies - SAGE)

อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ในเบื้องต้นที่ยังไม่ผ่านการทบทวนโดยผู้เชี่ยวชาญ (peer-reviewed) เป็นเพียงหลักทฤษฎีและไม่ได้มีข้อพิสูจน์ใดๆ ว่าตัวกลายพันธุ์ลักษณะดังกล่าวกำลังวนเวียนอยู่ในตอนนี้

สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่า เอกสารดังกล่าวลงวันที่ 26 กรกฎาคม และเผยแพร่โดยรัฐบาลสหราชอาณาจักรในวันศุกร์ (30 ก.ค.)

บรรดานักวิทศาสตร์เขียนว่าสืบเนื่องจากการขุดรากถอนโคนไวรัสดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ พวกเขาจึงเชื่อมั่้นเป็นอย่างสูงว่าตัวกลายพันธุ์จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเกือบแน่นอนว่าจะค่อยๆ เกิดเปลี่ยนแปลงของแอนติเจน ที่ท้ายที่สุดจะนำมาซึ่งความล้มเหลวของวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน

พวกเขาแนะนำให้เจ้าหน้าที่ลดการแพร่เชื้อให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อลดโอกาสเกิดตัวกลายพันธุ์ใหม่ที่ดื้อวัคซีน

บรรดานักวิทยาศาสตร์ยังแนะนำการวิจัยวัคซีนใหม่ อย่ามุ่งเน้นเพียงป้องกันการป่วยหนักเข้าโรงพยาบาลและการติดเชื้อเท่านั้น แต่มันควรนำมาซึ่งภูมิคุ้มกันแบบเยื่อเมือกในระดับสูงและทนทาน นอกจากนี้ พวกเขาระบุด้วยว่าเป้าหมายควรเป็นการลดการติดเชื้อและแพร่เชื้อจากบุคคลที่ฉีดวัคซีนแล้วเช่นกัน

ทั้งนี้ หลายบริษัทกำลังดำเนินการวิจัยสำหรับผลิตวัคซีนโควิด-19 ที่สามารถจัดการกับตัวกลายพันธุ์ใหม่ๆ ได้

ในเอกสารระบุว่า ตัวกลายพันธุ์บางตัวที่อุบัติขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ได้ลดภูมิคุ้มกันจากการได้รับวัคซีน แม้ยังไม่มีตัวไหนเล็ดลอดการดักจับของวัคซีนไปได้ทั้้งหมด

อย่างไรก็ตาม พวกเขาเตือนว่าตัวกลายพันธุ์เหล่านั้นปรากฏตัวขึ้นก่อนมีการฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวาง และพอมีการฉีดวัคซีนกว้างขวางขึ้น ไวรัสตัวหนึ่งๆ ที่สามาถหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากการได้รับวัคซีนก็จะฉวยโอกาสแพร่เชื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งในประเด็นดังกล่าวทาง SAGE เคยออกมาเตือนก่อนหน้านี้แล้ว

ในรายงานจากที่ประชุมเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม บรรดานักวิยาศาตร์ของ SAGE ระบุว่า การผสมผสานกันระหว่างความชุกของผู้ติดเชื้อในระดับสูงกับอัตราผูุ้ฉีดวัคซีนในระดับสูง ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นไปได้อย่างที่สุดว่าตัวกลายพันธุ์ที่สามารถเล็ดลอดภูมิคุ้มกันตัวหนึ่งๆ จะอุบัติขึ้น พวกเขาบอกในตอนนั้นว่า "ยังไม่ทราบว่ามันมีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน แต่ตัวกลายพันธุ์ดังกล่าวจะมีความเสี่ยงอย่างมากทั้งในสหราชอาณาจักรและนานาประเทศ"

(ที่มา : ซีเอ็นเอ็น) https:// m.mgronline.com/around/detail/9640000075331
#6474
ถมที่ ขุดสระ จัดสวน วางท่อ ติดต่อ 080-022-3804
www.mmee2000.com ทำจริงไม่ทิ้งงาน
#6475
รับถมดิน ราคาถูก ติดต่อ 080-022-3804 www.mmee2000.com
#6476


ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยรวมใจพนักงานและลูกค้าระดมเงินบริจาคกว่า 5 ล้านบาทในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาเพื่อมอบให้แก่สภากาชาดไทยนำไปซื้อชุดอุปกรณ์ยังชีพและของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน สำหรับมอบให้กับผู้ยากไร้ที่ต้องกักตัวที่บ้านตามมาตรการป้องกันโควิด-19

โดยในโครงการ #รวมใจสู้ไปพร้อมคุณ เพื่อสู้ภัยโควิต-19 นั้น ทุกเงินบริจาค 1 บาทจากพนักงาน ธนาคารจะสมทบอีก 1 บาท สูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท นอกจากนี้ ลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตยูโอบียังร่วมบริจาคคะแนนสะสมบัตรเครดิตยูโอบี โดยคะแนนสะสมทุก 1,000 คะแนนเปลี่ยนเป็นเงินบริจาคได้ 120 บาท

มร. ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า "เรากำลังเผชิญกับโรคระบาดที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยบันทึกในประวัติศาสตร์ และชุมชนไม่เคยต้องการความช่วยเหลือและการดูแลมากเท่านี้มาก่อน ผมขอขอบคุณเพื่อนพนักงานและลูกค้าสำหรับน้ำใจที่มอบให้ในช่วงเวลาแห่งความท้าทายนี้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเงินบริจาคของเราที่ส่งมอบให้สภากาชาดไทยจะมีส่วนช่วยเพื่อนพี่น้องที่ตกทุกข์ได้ยากให้ก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปได้"

โครงการระดมเงินบริจาคนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการยูโอบี ฮาร์ทบีท เพื่อสู้ภัยโควิด-19 อันเป็นความคิดริเริ่มภายใต้โครงการ #รวมใจสู้ไปพร้อมคุณ ของกลุ่มธนาคารยูโอบีทั่วโลกที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โครงการนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือชุมชนในระยะยาวของกลุ่มธนาคารในช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้
#6477
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 716
#6478

โดย ทีมจัดการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด 

ท่ามกลางแรงหนุนจากอุปสงค์ทั้งในและนอกประเทศที่ฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ในไตรมาสที่ 1 เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (EM) ยังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ในไตรมาส 1 โตถึง 18.3 % YoY ซึ่งเป็นการเติบโตที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 1992 ทําให้รัฐบาลจีนออกมาทยอยผ่อนปรนการผ่อนคลายทั้งนโยบายการเงินและการคลังลง (Policy Normalization) ซึ่งเรามีมุมมองว่าอาจจะส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ EM ชะลอตัวลงในระยะข้างหน้า แต่อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจ EM ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกที่ยังใช้นโยบายการเงินและการคลังแบบผ่อนคลายและเศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดย IMF ได้ปรับคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 6% ในปีนี้ ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากที่เคยคาดการณ์เอาไว้เมื่อเดือน ม.ค. ที่ว่าจะขยายตัวที่ระดับ 5.5% โดยได้รับปัจจัยหนุนจากโครงการฉีดวัคซีนในหลายๆ ประเทศทั่วโลก

สำหรับด้านการลงทุน เรามีมุมมองเป็นกลางต่อตลาดหุ้น EM ในระยะสั้นถึงกลาง เนื่องจากยังคงมีปัจจัยเสี่ยงด้านลบที่ต้องติดตาม ปัจจัยแรก ได้แก่ การที่รัฐบาลจีนทำ Policy Normalization ซึ่งเริ่มส่งผลกระทบต่อตัวเลขทางเศรษฐกิจของจีนทั้งดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตของจีน (Chinese Man.cturing PMI) ที่ดูหมือนจะชะลอตัวลงและตัวเลขสภาพคล่องทางการเงินในประเทศจีน TSF ที่มีแนวโน้มจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว โดยถ้าตัวเลขเหล่านี้ยังชะลอลงอย่างต่อเนื่องอาจจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจในภูมิภาค EM ได้ ปัจจัยต่อมาได้แก่ตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศกลุ่ม EM เช่น ตุรกี อินเดีย และบราซิล ยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงยอดการฉีดวัคซีนในกลุ่มประเทศ EM ที่ยังน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศ Developed Market (DM) เช่น ยุโรป หรือ สหรัฐฯ ดังแผนภาพที่ 

นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้นในระยะสั้น ซึ่งจะกดดันกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น EM และ ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ไม่รู้จะสิ้นสุดลงอย่างไร แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่สภาวะตลาดในช่วงที่ผ่านมาจะเป็นการสลับการลงทุนระหว่างกลุ่มมากกว่าการเทขายทั้งตลาด ทำให้ถึงแม้โดยรวมเราจะมีมุมมองเป็นกลาง แต่เรายังมองว่าหุ้นบางกลุ่มยังมีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ดีอยู่ในระยะข้างหน้า เช่น หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในจีนที่ในช่วงที่ผ่านมาโดนผลกระทบจากการสลับการลงทุนจากหุ้นกลุ่ม Growth ไปยังหุ้น กลุ่ม Value รวมถึงกฎเกณฑ์ของรัฐบาลจีนเกี่ยวกับการต่อต้านการผูกขาด ทำให้ราคาของหุ้นกลุ่มนี้ปรับตัวลงมาค่อนข้างแรง โดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในจีน (FTSE China Incl A 25% Technology Capped Index) จากต้นปีปรับตัวลงมาประมาน 2.5% เทียบกับตลาดหุ้นจีนโดยรวม (MSCI China Index) ที่ปรับตัวลงประมาณ 0.5% ส่วนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในสหรัฐฯ (Nasdaq 100 Index) ปรับตัวขึ้นถึง 10 % ทำให้ Valuation ในเชิงเปรียบเทียบของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในจีนลงมาอยู่ในระดับที่น่าสนใจ ดังแผนภาพที่ 2


สุดท้ายนี้ ถึงแม้ตลาดหุ้น EM จะยังไม่มีความน่าสนใจในระยะสั้นถึงกลางแต่ในระยะยาวเรายังมีมุมมองเป็นบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้น EM อยู่จากระดับ Valuation ที่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำเทียบกับตลาดหุ้น DM ดังแผนภาพที่ 3 รวมถึงแนวโน้มเงินเฟ้อที่อยู่ในขาขึ้นจากสภาวะเศรษฐกิจที่ค่อยๆ ฟื้นตัวจากผลกระทบของ COVID-19 ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนตลาดหุ้น EM ในระยะยาว ทำให้ตลาดหุ้น EM ยังเป็นทางเลือกที่ดีในการลงทุนระยะยาวและกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน

https:// m.mgronline.com/mutualfund/detail/9640000075343
#6479


บอร์ด ทอท.เคาะขยายเวลาก่อสร้างสุวรรณภูมิ 3 สัญญา "APM-สายพานและเครื่องตรวจระเบิด" โควิดนำเข้าอุปกรณ์ไม่ได้ คำสั่งปิดแคมป์หยุดก่อสร้างหมด มั่นใจไม่กระทบบริการ ชี้ใช้ SAT-1 เมื่อเกิน 50 ล้านคน คาดอุตสาหกรรมการบินฟื้น มี.ค. 66

แหล่งข่าวจาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท. ครั้งที่ 10/2564 เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ที่มี นายสราวุธ เบญจกุล เป็นประธาน ได้มีมติอนุมัติขยายระยะเวลางานจ้างโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส 2 จำนวน 3 สัญญา ได้แก่ 1. ขยายระยะเวลาสัญญางานจ้างก่อสร้างอาคารสำนักงานสายการบิน และที่จอดรถด้านทิศตะวันออก โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กับบริษัทพระราม 2 จำกัด ในสัญญาจ้างลงวันที่ 6 มิ.ย. 2562 มูลค่าสัญญา 871.888 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 540 วัน โดยเป็นการขยายระยะเวลาแล้วเสร็จอีกจำนวน 231 วัน จากเดิมวันที่ 14 ธ.ค. 2563 เป็นวันที่ 2 ส.ค. 2564

2. อนุมัติขยายระยะเวลาสัญญางานซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Movew : APM) ให้แก่นิติบุคคลร่วมทำงานไออาร์ทีวี ประกอบด้วย บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท เรืองณรงค์ จำกัด บริษัท แบคเคอร์ อินดัสทรี จำกัด และ บริษัท วิวเท็กซ์ จำกัด ในสัญญาจ้างลงวันที่ 20 พ.ย. 2560 มูลค่าสัญญา 2,999.90 ล้านบาท ขยายระยะเวลาแล้วเสร็จอีก 330 วัน จากเดิมวันที่ 3 ก.ย. 2563 เป็นวันที่ 30 ก.ค. 2564

โดยสัญญางานระบบ APM ระยะเวลาก่อสร้างเดิม 870 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 พ.ย. 2560-วันที่ 7 เม.ย. 2563 ต่อมามีการขยายระยะเวลาอีก 149 วัน จากวันที่ 7 เม.ย. 2563-วันที่ 3 ก.ย. 2563 และล่าสุดขยายอีก 330 วัน นับรวมระยะเวลาดำเนินงาน 1,019 วัน

3. อนุมัติขยายระยะเวลางานซื้อพร้อมติดตั้งระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า (BHS) และระบบตรวจจับวัตถุระเบิด (EDS) (ขาออก) ให้กับนิติบุคคลร่วมทำงาน ล็อกซเล่ย์-แอลพีเอส ประกอบด้วย บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ล็อกซเล่ย์เพาเวอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด ในสัญญาจ้างลงวันที่ 1 ก.พ. 2561 มูลค่าสัญญา 3,646.560 ล้านบาท โดยเป็นการขยายระยะเวลาแล้วเสร็จจำนวน 214 วัน จากเดิมวันที่ 6 ส.ค. 2564 เป็นวันที่ 8 มี.ค. 2565

นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง ทอท. กล่าวว่า บอร์ด ทอท.มีการพิจารณาขยายระยะเวลาก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 จำนวน 3 สัญญา ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากไม่สามารถนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศได้ตามกำหนด และคาดว่าในภาพรวมอาจจะต้องมีการพิจารณาปรับขยายระยะเวลาสัญญาอีกครั้งเนื่องจากมาตรการรัฐบาลที่ให้ปิดแคมป์ก่อสร้าง ห้ามเคลื่อนย้ายแรงงาน ทำให้งานก่อสร้างโครงการสุวรรณภูมิเฟส 2 ต้องหยุก่อสร้างทุกสัญญาในขณะนี้ ยกเว้นงานที่อยู่ในความดูแลของวิศวกร เช่น การทดสอบระบบที่ยังทำได้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะขยายระยะเวลาสัญญา แต่ในขณะนี้โครงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 ในส่วนของอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) เสร็จแล้ว แต่ ทอท.วางแผนในการเปิดใช้อาคาร SAT-1 ต่อเมื่ออาคารผู้โดยสารหลักมีปริมาณผู้โดยสารเกิน 50 ล้านคน/ ปี จึงจะเปิดใช้อาคาร SAT-1 เพื่อลดความแออัดของอาคารหลัก แต่หากอาคารหลักยังไม่แออัดก็ไม่จำเป็นเร่งเปิดใช้ SAT-1 เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 300 ล้านบาท/เดือน

แต่จากสถานการณ์โรคโควิด-19 ซึ่งมีการประเมินว่าอุตสาหกรรมการบินจะกลับมาในช่วงตารางบินฤดูร้อนปี 2566 (ประมาณเดือน มี.ค. 2566) ซึ่งยังมีเวลาเพียงพอในการก่อสร้างและทดสอบระบบที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของสุวรรณภูมิเฟส 2
#6480
www.programlike.com
ปั้มไลค์ แฟนเพจ, ไลค์โพส, แชร์โพสต์, ยอดวิววิดีโอ