• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

“วัคซีนโควิด” – มองประเทศไทยปี 2564 ผ่านคำค้นยอดฮิตบน Google

Started by luktan1479, December 14, 2021, 03:59:23 PM

Previous topic - Next topic

luktan1479

กูเกิลประเทศไทยเปิดคำค้นหายอดนิยมปี 2564 "วัคซีนโควิด" อยู่ในอันดับ 4 ความหวังของชาวไทยในวิกฤตโควิด-19

หนึ่งในคำที่หลายคนคาดว่าจะต้องเข้ามาในลิสต์คำค้นหายอดนิยมในกูเกิลประจำปี 2564 อย่างแน่นอนก็คือ เรื่องที่ยังคงอยู่ในกระแสจนถึงทุกวันนี้อย่าง "วัคซีนโควิด" ความหวังของมวลมนุษยชาติ

เดิมในปี 2563 มีคำค้นหา "โควิด-19" ติดอยู่ในอันดับ 3 เนื่องจากยังเป็นเรื่องใหม่ ผู้คนต้องการทราบรายละเอียดของโรค วิธีการติดต่อ หรือลักษณะอาการ แต่เมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2564 โลกเริ่มรู้แล้วว่า ทางออกของวิกฤตนี้อยู่ที่ใด

ไฟเซอร์ เผย วัคซีนเข็ม3 ต้าน "โอมิครอน" ได้


"วัคซีนโควิด" – มองประเทศไทยปี 2564 ผ่านคำค้นยอดฮิตบน Google
โดยในปี 2564 นี้ มีหลายบริษัทที่พัฒนาวัคซีนโควิด-19 ขึ้นมาได้สำเร็จ ไม่ว่าจะชนิดเชื้อตาย เชื้อเป็น mRNA ทำให้คนเกิดความสนใจ และหาคำตอบว่าแต่ชะชนิดคืออะไรบ้าง มีผลข้างเคียงอย่างไร จะนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อไร ไปฉีดที่ไหน ฯลฯ เรียกได้ว่าเป็นเรื่องยากมากที่คำค้นหายอดฮิตในปีนี้จะไม่มีการพูดถึงวัคซีน เพราะถือได้ว่าเป็นเรื่องใหญ่จริง ๆ

สำหรับประเด็นเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ก็มีความหลากหลาย ซึ่งพอจะแบ่งย่อยออกมาได้ ดังนี้

การคิดค้นพัฒนาวัคซีน – ประชาชนต้องการทราบว่า โลกมีวัคซีนโควิด-19 กี่ยี่ห้อกี่ชนิดแล้ว วัคซีนของแต่ละบริษัทที่พัฒนาขึ้นมาเป็นอย่างไร เป็นชนิดใด และประเทศไทยนำเข้าหรือได้รับบริจาคจากที่ใดบ้าง

ประสิทธิภาพและผลข้างเคียงวัคซีน – เนื่องจากวัคซีนโควิด-19 นับได้ว่าเป็นสิ่งใหม่พอกันกับโรคที่ระบาด และนับว่าโลกใช้เวลาสั้นมากในการพัฒนาวัคซีนขึ้นมา จนประชาชนในประเทศไทยบางส่วนเกิดความไม่มั่นใจว่า วัคซีนจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

ปัญหาเรื่องความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพนั้น หากพูดโดยเฉพาะเจาะจงสถานการณืในไทย ก็ต้องบอกว่า วัคซีนชนิดเนื้อตายอย่าง "ซิโนแวค" เป็นวัคซีนที่ถูกตั้งคำถามอย่างหนักว่า มีประสิทธิภาพเพียงพอจริงหรือเทียบกับราคาที่จ่ายไป

ส่วนในแง่ของผลข้างเคียง มีข่าวในต่างประเทศว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซเนก้าเกิดภาวะเลือดแข็งตัว ลิ่มเลือดอุดตัน จนลดทอนความเชื่อมั่นของผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีนโควิด-19 ลงไปในระดับหนึ่ง

เช่นเดียวกับวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ของ "ไฟเซอร์" และ "โมเดอร์นา" ที่มีปัญหาพบผลข้างเคียงเป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในกลุ่มวัยรุ่น ก็ทำให้กลุ่มวัยรุ่นลังเลที่จะฉีดวัคซีนเช่นกัน

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องของ "การฉีดวัคซีนสูตรไขว้" ที่ไทยประกาศใช้เป็นที่แรก ๆ ในโลก ก็ถูกตั้งคำถามอยู่อย่างสม่ำเสมอเช่นกัน ว่าระดับภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ ภูมิตกเร็วกว่าเดิมหรือไม่ ผลข้างเคียงรุนแรงกว่าการฉีดวัคซีนยี่ห้อเดียว 2 เข็มหรือไม่


การเข้าถึงวัคซีน – เนื่องจากในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงแรก ไทยมีดีลสั่งจองวัคซีนโควิด-19 กับบริษัทผู้ผลิตไม่กี่รายเท่านั้น ทำให้ประชาชนไม่แน่ใจว่า ประเทศไทยจะมีวัคซีนมาฉีดให้ประชาชนเพียงพอหรือไม่

นอกจากนี้ สืบเนื่องมาจากความไม่ไว้วางใจในวัคซีนโควิด-19 ที่รัฐบาลเลือกนำเข้ามา จึงเป็นเหตุให้ประชาชนบางกลุ่มยอมเสียเงินจองวัคซีนที่เชื่อใจผ่านโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งก็เกิดปัญหาในช่วงก่อนหน้านี้ว่า วัคซีนที่เอกชนนำเข้าบางตัว เช่น โมเดอร์นา มาถึงช้าเหลือเกิน จนประชาชนต้องถามทุกวันว่า "เมื่อไหร่จะมาเสียที"

รวมถึงยังคงมีประชาชนค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนฟรี การลงทะเบียนฉีดวัคซีน ซึ่งสะท้อนชัดว่า ประชาชนส่วนมากต้องการฉีดวัคซีนโควิด-19 แต่อาจจะต้องการตัวที่ใช่และที่เข้าถึงได้

ด้วยเหตุนี้ คำค้นหาในกูเกิลเกี่ยวกับ "วัคซีนโควิด" จึงบ่งชี้ชัดเจนว่า ปี 2564 นี้เป็นปีที่ประชาชนตื่นตัวเรื่องของการป้องกันโควิด-19 ด้วยการฉีดวัคซีนมาก เพราะไม่ว่าใครก็ต้องการให้ตัวเองและคนรอบข้างปลอดภัย และเป็นหนึ่งในความหวังว่า อีกไม่นาน เราทุกคนจะได้กลับไปใช้ชีวิตปกติเสียที