ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN

ตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ โฆษณาสินค้าฟรี => ธุรกิจ งาน => Topic started by: Naprapats on July 26, 2021, 11:33:44 AM

Title: 'จิระวรรณ ไชยพงศ์ผาติ' จากผู้บริหารอาณาจักร E-commerce ก้าวสู่ความท้าทายใหม่ที่ 'SAP'
Post by: Naprapats on July 26, 2021, 11:33:44 AM
(https://i.ibb.co/9br6GPh/2021-07-25-175757.jpg)

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งผู้หญิงเก่งมากความสามารถ ที่ควบตำแหน่งผู้บริหารได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ผ่านบททดสอบสุดหินจากบริษัทยักษ์ใหญ่แถวหน้าของเมืองไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนกลายเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานรัฐ และกระทรวงต่างๆ สำหรับผู้บริหารคนเก่ง "คุณจิระวรรณ ไชยพงศ์ผาติ" อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานฝ่ายบริหารรัฐสัมพันธ์ บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย)

ล่าสุดก้าวกระโดดสู่ความท้าท้าย (https://www.phongxodiax.com/Guestpost/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94-%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C-%E0%B9%80/)ไปอีกขั้น สู่เบื้องหลังดีลบริษัทข้ามชาติกับรัฐบาลไทย กับตำแหน่ง "ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายดูแลรัฐสัมพันธ์" ของ SAP บริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำระดับโลก แต่กว่าคุณจิระวรรณ จะมาอยู่บนเวทีระดับโลกได้ ต้องผ่านอะไรมาบ้าง จะน่าสนใจและให้แง่คิดมากมายแค่ไหน วันนี้ "เดลินิวส์ออนไลน์" มีคำตอบ ตามมาอ่านบนสัมภาษณ์กัน



กว่าจะมาเป็นผู้บริหารระดับสูงของลาซาด้า คุณจิระวรรณต้องผ่านบททดสอบอะไรบ้าง

"ด้วยความที่เราเป็นผู้หญิงที่มีอายุน้อยในตอนนั้น การที่เราจะได้รับการยอมรับ และได้รับมอบหมายในตำแหน่ง "รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานฝ่ายบริหารรัฐสัมพันธ์ " ของบริษัทลาซาด้า ซึ่งถือว่าเป็นคนแรกและคนเดียวของบริษัทที่เข้ามาดูแลประสานงานกับรัฐบาลโดยตรง ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก ความรับผิดชอบหลักคือ การติดต่อ และประสานงาน รวมถึงทำโปรเจคท์ต่างๆ กับหน่วยงานรัฐ ซึ่งหน้าที่ตรงนี้เป็นอีกหนึ่งจุดพิสูจน์ความสำเร็จ ทั้งบททดสอบในสถานการณ์ต่างๆ ทุกอย่างได้ทดสอบเรามาตลอดเวลา จนลาซาด้าทำให้เราเป็นที่รู้จักมากยึ่งขึ้นและลาซาด้าก็เป็นที่รู้จักในหน่วยงานรัฐต่างๆ มากขึ้นเช่นกัน 

ความท้าทายในการทำงาน

"สำหรับความท้าทายอย่างแรก คือ

1. ความเข้าใจของรัฐบาลที่มีต่อธุรกิจ E-Commerce ดังนั้น เราจึงต้องให้ความรู้ ความเข้าใจกับรัฐบาลก่อน

2. การประสานงานในบริษัทเพื่อให้การซื้อขายบน Platform ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเราต้องทำหน้าที่ในการประสานทั้งภาครัฐและบริษัท และด้วยในปัจจุบันการค้าขายแบบ E-Commerce นั้นก้าวกระโดดไปไกลมาก แต่กฎหมายไทยบางข้อยังไม่อัพเดท ซึ่งถือเป็นความท้าทายอย่างมากในการทำงานตรงนี้



จุดเริ่มต้นอะไรที่ทำให้ "คุณจิระวรรณ" ตัดสินใจก้าวกระโดดจากผู้บริหาร Lazada ไปที่ SAP บริษัท software ชั้นนำระดับโลก

"เรามองว่าบริษัท SAP เป็นผู้นำตลาดซอฟต์แวร์ระดับองค์กรขนาดใหญ่และมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในแทบทุกอุตสาหกรรมให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทุกวันนี้ SAP เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และเป็นอันดับ 3 ของโลก เรามีลูกค้าทั่วโลกมากกว่า 440,000 ราย ลูกค้าของ SAP มีกระจายอยู่ในทุกอุตสาหกรรม และมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งการเข้ามาทำงานที่ SAP เหมือนได้ก้าวไปอีกหนึ่งขั้นในชีวิตของการทำงาน ซึ่งเป็นการทำงานมาตรฐานระดับโลก

โดยเรามาทำงานที่นี่เป้าหมายคือ คือการนำนวัตกรรมทางดิจิทัลและประสบการณ์ของภาครัฐทั่วโลกจาก SAP มาช่วยเสริมสร้างศักยภาพของภาครัฐให้ก้าวไปสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาวิกฤตการณ์ที่เกิดมากจากโควิท19 ซึ่งเป็นความท้าทายอันสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ของรัฐไทย"

การเริ่มต้นใหม่กับ "SAP" มองความท้าทายอย่างไรบ้าง

สิ่งที่ท้าทายกับการร่วมงานกับ SAP คือ

1. เราจะทำอย่างไรให้ภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยรู้จัก นวัตกรรมทางดิจิทัลสมัยใหม่ และใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของ SAP ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ     

ทั้งนี้แม้ว่า SAP จะอยู่คู่กับสังคมไทยมากว่า 26ปีแล้ว แต่เรายังเห็นโอกาสที่จะช่วยทางภาครัฐและเอกชนในการนำนวัตกรรมทางดิจิทัลมาใช้ เพื่อที่จะขับเคลื่อน นโยบาย ไทยแลนด์ 4.0ในหลายๆมิติ

2. การเปลี่ยนจากบริษัท e-commerce มาเป็นบริษัท software ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทาย เช่น เรื่องของกระบวนการภายในองค์กร โครงสร้างองค์กร กระบวนการต่างๆ การจัดการองค์กร ที่แตกต่างกัน เช่น ธุรกิจ E-Commerce ก็จะเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด ในขณะที่ SAP ก็จะเคลื่อนตัวอย่างมั่นคง ระบบต่างๆ ก็จะต่างกัน นอกจากนี้การทำงานกับ ลาซาด้าจะอยู่ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีอาลีบาบา เป็นบริษัทแม่ แต่ SAP มีเครือข่ายทั่วทุกมุมโลก ดังนั้นเราก็ต้องทำงานทั้งในอเมริกาและยุโรปด้วย ซึ่งกระบวนการของที่นี่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างบุคลากรในบริษัทได้อย่างยอดเยี่ยม


เป็นผู้หญิงมาอยู่บริษัทชั้นนำระดับโลกเป็นไงบ้าง มีความกดดันอย่างไรบ้าง

"ส่วนตัวเรามองว่า บททดสอบก่อนหน้านี้ได้พิสูจน์ตัวเราจนทำให้กลายเป็นที่ยอมรับต่อทุกคนหมดแล้ว ตั้งแต่ครั้งแรกที่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ในตอนนั้น ยังพ่วงตำแหน่ง เลขานุการคณะกรรมการกฎหมาย สมาคมประกันชีวิตแห่งประเทศไทย เป็นเวลา 8 ปี ซี่งตอนนั้นมีอายุเพียง 29 ปี และเมื่อมาทำงานที่ลาซาด้า เรายังเป็นประธานฝ่ายบริหารรัฐสัมพันธ์ คนแรกของลาซาด้าในเมืองไทยด้วย และปัจจุบันยังดำรงเป็นอนุญาโตตุลาการศาลยุติธรรมของประเทศไทย

สำหรับตอนนี้ เมื่อเราก้าวมาบริษัทชั้นนำระดับโลกอย่าง SAP ที่มาพร้อมกับตำแหน่ง ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายดูแลรัฐสัมพันธ์ เมื่อถามถึงความกดดันว่ามีมากไหม แน่นอนว่าต้องมากอยู่แล้ว ด้วยความที่เป็นผู้บริหารที่มีอายุน้อยมากเมื่อเทียบกับผู้บริหารท่านอื่น แต่มั่นใจว่าจะทำหน้าที่ตรงนี้ให้ดีที่สุด


ส่วนตัวมักจะมองตัวเองเป็นน้ำครึ่งแก้วตลอด พร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา ถามตัวเองเสมอว่าเราจะเรียนรู้อะไรดี ซึ่งเรามักจะต้องคอยหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่ใช่ทุกวัน แต่เป็นทุกชั่วโมง ในเรื่องของดิจิทัล และซอฟต์แวร์เราต้องเรียนรู้ตลอดเวลา เพื่อให้รู้เท่าทันสถานการณ์โลกที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ซึ่งทั้งหมดก็กลายเป็นสิ่งที่หลอมรวมเป็นตัวเราขึ้นมาได้ และพิสูจน์แล้วว่าเวทีระดับโลกแบบนี้ก็เหมาะสมกับผู้หญิงแบบเรา ซึ่งเราทำให้ลาซาด้ากลายเป็นที่ยอมรับของหลายๆ หน่วยงานรัฐ และเราก็มั่นใจว่า เราจะทำให้ SAP เป็นที่รู้จักของรัฐบาลและประยุกต์ใช้นวัตกรรมดิจิทัลมากขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืนได้เช่นกัน"

"คุณจิระวรรณ" ตั้งเป้าหมายจะบริหารไปรูปแบบไหน

"เป้าหมายหลักในการบริหาร SAP คือ อยากช่วยให้ภาครัฐและเอกชน เข้าใจนวัตกรรมดิจิทัลของ SAP และสามารถประยุกต์ใช้ให้มากที่สุด เพื่อให้ได้ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมดิจิทัลนี้ในการขับเคลื่อนทั้งภาคเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับประเทศไทยให้ก้าวทันโลก ทั้งนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมของภาครัฐและสังคมในการรองรับกับ New normal ในโลกยุคดิจิทัลที่เกิดมาจากวิกฤตการณ์การระบบของโควิท19  นี่เป็นเป้าหมายจริงๆ ของเราที่ตัดสินใจสินใจก้าวมายืนอยู่บริษัทชั้นนำระดับโลกแบบนี้"

มุมมองของตลาดซอฟแวร์โลก จะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านใดให้หมาะสม ความคาดหวังในอนาคตจะพาบริษัท  SAP ไปในรูปแบบไหน

"SAP เรามีความชำนาญในทุกๆอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากประสบการณ์ที่อยู่กับสังคมไทยมากกว่า 26ปีนั้น ได้นำ Best Practice และ solution ที่ประสบความสำเร็จในหน่วยของภาครัฐทั่วทุกมุมโลก มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับนโยบายของรัฐและบริบทของสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นระบบการบริหารทรัพยากรขององค์กร (ERP)  ระบบบัญชีการเงินและภาษี, ระบบบริหารงบประมาณ, ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล, ระบบวางแผนการผลิต, ระบบบริหารสินค้าคงคลัง, ระบบจัดซื้อจัดจ้าง, ระบบบริหารจัดการความสัมพันธ์กับภาคประชาชน และอื่นๆอีกมากมาย โดยผ่านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยระดับโลกของ SAP ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ ปัญญาประดิษฐ์(AI) การสอนให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยการใช้ข้อมูลหรือ Machine Learning(ML), การทำ Analytics เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ผ่านระบบคลาวด์แพลทฟอร์มของเรา

เพราะฉะนั้นทุกองค์กรทุกระดับไม่ว่าจะเล็ก กลางใหญ่ สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมดิจิทัลที่ได้การยอมรับทั่วโลกได้โดยง่ายและอย่างทันท่วงที ซึ่งเหมาะกับสถานการณ์ของประเทศที่เราต้องแข่งกับเวลาในการแก้ปัญหา ส่วนในตัวของเราอยากที่จะโฟกัสเฉพาะรัฐบาล เพราะอย่างเราทราบกันดี ในเรื่องของระบบการบริการจัดการต่างๆของทางภาครัฐนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องปรับปรุงโดยใช้นวัตกรรมดิจิทัลเป็นอย่างมากเพื่อให้รัฐบาลสามารถให้บริการประชาชนในรูปแบบดิจิทัลหรือeservices ที่เข้าถึงกับประชาชนได้เร็วและง่ายและมีประสิทธิภาพ เราเล็งเห็นความสำคัญตรงนี้ จึงตั้งใจที่อยากจะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนเรื่องนี้ให้กับทุกกระทรวง ทบวง กรม และทุกองค์กรของภาครัฐ เพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนพร้อมแข่งขันในเวทีโลก

ซึ่งถ้าซอฟต์แวร์ที่เป็นฟันเฟืองหลักของการเข้าสู่ยุคดิจิทัลของประเทศไทยยังไม่มีศักยภาพ มันจะไม่มีทางเลยที่ประเทศไทยของเราจะแข่งขันในเวทีกับระดับโลก เรามั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ของ SAP จะช่วยให้ประเทศไทยก้าวไปสุ่จุดนี้ได้ และไม่ใช่เพียงภาครัฐเท่านั้น ยังรวมไปถึงภาคเอกชนต่างๆอีกด้วย

เพียงแต่ว่าถ้าเรามีโอกาสในการนำเสนอคุญค่าในการนำนวัตกรรมและประสบการณ์ของทาง SAP ต่อหน่วยงานของภาครัฐ เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าทางภาครัฐจะเห็นความสำคัญและคุณค่า และให้ SAP มีส่วนร่วมในการผลักดันนโยบายต่างๆของภาครัฐมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ"


เรามองจุดที่เราอยู่ตรงนี้ เรียกว่าประสบความสำเร็จแล้วหรือยัง และจุดไหนที่เรามองว่าเราประสบความสำเร็จแล้ว

"เรียกได้เราประสบความสำเร็จแค่ระดับนึงนะ เรายังพร้อมที่จะก้าวไปอีกขั้นเสมอ พร้อมที่จะเรียนรู้กับสิ่งใหม่ เช่นตอนนี้ได้เข้ามาทำงานกับ SAP ก็ได้เรียนรู้ระบบคลาวด์ และ success stories ของหน่วยงานรัฐทั้งในภูมิภาคนี้และในประเทศอื่นๆทั่วโลก ซึ่งตรงนี้เองเรามองว่าการเรียนรู้เป็นอะไรที่ไม่สิ้นสุด และอีกสิ่งที่อยากจะทำ คือ เราอยากจะใช้ความรู้ทั้งหมดที่เรามีใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคม เรามั่นใจว่า SAP จะช่วย ขีดความสามารถของการบริหารจัดการทั้งหมดของภาครัฐบาล และภาคเอกชนได้อย่างแท้จริง สามารถช่วยลดทั้งต้นทุน และเวลา และความรวดเร็วในการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ พร้อมทั้งก้าวไปสู่ระบบดิจิทัลให้ทันกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเรามองว่าถ้าเราไปเป้าหมายเหล่านี้ได้ นั้นแหละคืออีกหนึ่งความสำเร็จของเรา"



สำหรับสถานการณ์โควิด-19 ที่ "คุณจิระวรรณ" ต้องพบเจอในตอนนี้ มีผลกระทบต่อการทำงานอย่างไรบ้าง และจะแก้ไขปัญหาอย่างไร

"ถ้าถามว่ากระทบไหม ตอบได้เลยว่ากระทบแน่นอน อย่างตอนนี้กลายเป็นว่าทุกคนต้องทำงานที่บ้าน โควิด-19 เปลี่ยนโลกเราให้กลายเป็นยุคนิวนอมอล(New Normal) ผ่านการใช้ดิจิทัลและเทคโนโลยีอย่างแท้จริง หลายๆ คนก็เริ่มจะศึกษาระบบคลาวด์ การปกป้องข้อมูลทาง internet ส่วนผลกระทบเรื่องของเศรษฐกิจก็มีคนพูดไปเยอะแล้ว เรามองว่าทุกคนควรที่จะหันมามองว่า เราควรจะมีระบบอะไรเพื่อจะช่วยให้ธุรกิจเราสามารถเติบโตได้มากขึ้นทันทีที่โควิด-19 หายไป เราเชื่อว่านวัตกรรมของ SAP จะช่วยบริษัท หรือรัฐบาลให้ก้าวไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม เราจะไม่กลับมาสู่สิ่งนี้อีกแล้ว ภายใต้การเรียนรู้ในที่สิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้ว"

"สำหรับการบริหารจัดการในยุคนี้เรามองว่าพอมันเป็นยุคดิจิทัล 4.0 สิ่งที่สำคัญของบริษัททุกบริษัทนั้นก็คือ ดิจิทัลแพลทฟอร์ม เพราะฉะนั้นถ้าคุณไม่มีรากฐานที่ดี ไม่มีเครื่องมือ คุณจะไม่สามารถไปต่อสู้กับใครได้เลย ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาล และคนไทย ควรจะหันมามองได้แล้วว่า จริงๆ แล้ว ระบบหลังบ้านเราอะไรที่ควรจะซ่อมแซมได้บ้าง แล้วอะไรที่เราควรจะพัฒนา ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ใช้อดีตที่ผ่านมามองเป็นบทเรียน เพื่อให้เราสามารถป้องกันสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากอีก 10 ปีข้างเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก เราก็จะสามารถบริหารจัดการ รับมือได้ดีและรวดเร็วมากขึ้น สุดท้ายเรายังคงมองว่าดิจิทัลแพลทฟอร์มเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะบริหารจัดการระบบหลังบ้านที่ทุกคนจะต้องมี และหันมาตระหนักถึงได้แล้ว".. คุณจิระวรรณ กล่าวทิ้งท้าย... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/news/89889/