• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - Ailie662

#2841


ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,514.34 จุด ลดลง 1.96 จุด หรือ -0.06% ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 27,806.11 จุด ลดลง 171.04 จุด หรือ -0.61% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 26,365.19 จุด ลดลง 26.43 จุด หรือ -0.10%

สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยเช้านี้ สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นรายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2/2564 ขยายตัว 1.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี หลังจากที่หดตัวลง 3.7% ในไตรมาส 1 โดยตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 ของญี่ปุ่นขยายตัวได้ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเพียง 0.7%


ทั้งนี้ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 ที่ขยายตัวได้ดีเกินคาดนั้น เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าการอุปโภคบริโภคและการใช้จ่ายด้านทุนของญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวขึ้น หลังได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

เช็คสถิติ 'ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล' ออกงวด 16 ส.ค. ย้อนหลัง 10 ปี 'หวย16/8/64'
ยอด 'โควิด-19' วันนี้ น่าห่วง! พบติดเชื้อเพิ่ม 21,157 ราย เสียชีวิต 182 ราย ไม่รวม ATK อีก 803 ราย
'โควิดติดเชื้อวันนี้' ชลบุรี 1,223 เสียชีวิตอีก 9 ราย จับตาสถานที่ทำงานยอดพุ่ง
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์กังวลว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกนั้น อาจขยายตัวไม่มากนักในไตรมาส 3 ปีนี้ หลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศใช้มาตรการฉุกเฉินเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในหลายพื้นที่ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายภาคครัวเรือน
#2842


บมจ.คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ (QTC) ฝ่าวิกฤตโควิค-19 โชว์ผลงานครึ่งปีแรกรายได้รวมแตะระดับ 528 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 45.14 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 2/2564 รายได้รวม 294.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26% (QoQ) และกำไรสุทธิ 22.49 ล้านบาท รับอานิสงส์จากการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ส่งผลมีงานทยอยเข้ามาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้าน CEO "พูลพิพัฒน์ ตันธนสิน" ประกาศเดินเกมรุกธุรกิจในครึ่งปีหลังเร่งต่อจิ๊กซอว์การลงทุนด้านพลังงาน หม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมศึกษาแผนการลงทุนใหม่ๆ ขยายฐานลูกค้าทั้งใน-ต่างประเทศ พร้อมส่งซิกจ่อคว้างานหม้อแปลงไฟฟ้าเข้าพอร์ตเพิ่ม 100 ล้านบาท ขณะที่ติดตั้งแผงโซลาร์ฟาร์มยังฉลุย หนุนทั้งปีรายได้แตะ 1,200 ล้านบาทตามแผน

บริษัท คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ QTC ผู้ผลิตจัดจำหน่ายและให้บริการหม้อแปลงไฟฟ้า รายงานผลประกอบการงวดไตรมาส 2 ปี 2564 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ว่า แม้ในขณะนี้ประเทศไทยยังต้องเผชิญสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง ทำให้แต่ละองค์กรต้องปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อปรับตัวให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่ง QTC ได้วางกลยุทธ์เชิงรุก โดยเจาะตลาดทั้งในธุรกิจการจำหน่ายและให้บริการหม้อแปลงไฟฟ้า และธุรกิจเทรดดิ้ง จากการเป็นตัวแทนจำหน่ายโซลาร์เซลล์ให้แก่ LONGI Solar, Trina Solar การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Huawei Solar Inverter รวมไปถึงการจำหน่าย DE BUSDUCT ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง

ซึ่งจากการวางกลยุทธ์ดังกล่าวภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ภาพรวมผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 2/2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามแผนที่บริษัทฯ วางไว้ โดยบริษัทฯ มีรายได้รวมเท่ากับ 294.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนนี้ (QoQ) ขณะที่กำไรสุทธิเท่ากับ 22.49 ล้านบาท ยังคงทรงตัวหากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้ (QoQ) ในขณะที่ผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี 2564 บริษัทฯ มีรายได้รวม เท่ากับ 528.30 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ เท่ากับ 45.14 ล้านบาท

นายพูลพิพัฒน์ ตันธนสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ (QTC) เปิดเผยถึงปัจจัยที่ทำให้บริษัทฯ มีผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างต่อเนื่องว่า มาจากการทำการตลาดแบบเชิงรุกในงานซ่อมบำรุงหม้อแปลงไฟฟ้า และยังมีการขยายตลาดในส่วนของธุรกิจการจำหน่ายแผงโซลาร์เซลล์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่อง

ส่งผลให้ในไตรมาสดังกล่าวบริษัทฯ สามารถรับรู้รายได้ตามแผนที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีการชะลอตัวด้านการลงทุนในโครงสร้างขนาดใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชน แต่บริษัทฯ ยังมีออเดอร์การจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน บริษัทฯ สามารถคว้างานจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้อีกกว่า 123 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยส่งสินค้าในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 นี้ ส่งผลให้ ณ สิ้นไตรมาส 2/2564 บริษัทฯ มียอดมูลค่างานในมือ (Backlog) เพิ่มขึ้นแตะระดับ 500 ล้านบาท

ส่วนภาพรวมธุรกิจในครึ่งปีหลัง 2564 นั้น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวเพิ่มเติมว่า ปีนี้ QTC ครบรอบ 25 ปี และย้ายจากตลาดหลักทรัพย์ mai สู่การซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เมื่อวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา บริษัทฯ มุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจด้านพลังงานเพื่อสามารถต่อยอดธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งการศึกษาแผนการลงทุนใหม่ๆ เพื่อขยายฐานลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการขยายตลาดใหม่ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้บริษัทฯ ในอนาคต

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เร่งเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมหม้อแปลงไฟฟ้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ ASEAN และคาดว่าในครึ่งปีหลังนี้บริษัทฯ จะมีโอกาสคว้างานประมูลของการไฟฟ้าภูมิภาค เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 100 ล้านบาท รวมถึงการบุกตลาดเพื่อลุยงานแผงโซลาร์ฟาร์ม ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องการของตลาดในขณะนี้ ดังนั้นจึงมั่นใจว่าเป้าหมายรายได้รวมในปีนี้ 1,200 ล้านบาท จะเป็นไปตามแผนที่วางไว้อย่างแน่นอน
#2843


ทันตแพทย์ชำนาย ชนะภัย กรรมการผู้จัดการทางบริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน) หรือ RAM แจ้งว่า ขณะนี้ทางโรงพยาบาลรามคำแหง ได้เข้าซื้อหุ้นของโรงพยาบาลธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)หรือTHG เป็นจำนวน 177,013,044 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 20.85 % ของทุนจดทะเบียนและชำระแล้วของ THG ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ1(ปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ 6ส.ค.64) โดยมีรายละเอียดดังนี้


1. เป็นการทยอยซื้อในตลาดหลักทรัพย์ ตั้งแต่ 7 ธันวาคม 2560 จนถึงปัจจุบัน

2. ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุน
2.1 เพื่อเป็นพันธมิตรกับทางธุรกิจโรงพยาบาล
2.2 บริษัทคาดว่าธุรกิจนี้จะให้ผลตอบแทนในรูปเงินปันผล สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด


3. ไม่เป็นธุรกิจที่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกัน
RAM และ THG ได้เป็นพันธมิตรที่ดีช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจซึ่งกันและกันตลอดมา แม้ว่าจะประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกันแต่ไม่ใช่คู่แข่งกัน เนื่องจากทำแลที่ตั้งอยู่ห่างกัน และปัจจุบันไม่มีจังหวัดใดที่มีโรงพยาบาลในเครือที่มีการแข่งขันกันหรืออยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน

ส่วนในเขตกรุงเทพมหานคร THG มีโรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนบำรุงเมือง และ RAM มีโรงพยาบาลมเหสักข์ ตั้งอยู่ที่เขตบางรัก ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน แต่ทั้ง 2 แห่ง มีกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน โดย

- โรงพยาบาลมเหสักข์ มีกลุ่มลูกค้าประกันสังคมเป็นส่วนใหญ่
- โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง มีกลุ่มลูกค้าเป็นชาวต่างชาติเป็นส่วนใหญ่
อีกทั้ง THG และ RAM มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคที่แตกต่างกัน ซึ่ง THG มีความ
เชี่ยวชาญในการรักษาโรคที่ซับซ้อน และ RAM มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการต้นทุน เป็นต้น


ในอนาคตหาก RAM จะลงทุนหรือเข้าร่วมลงทุนในกิจการใด ๆ ก่อนลงทุน RAM ต้องศึกษา ความเป็นไปได้ในธุรกิจ (Feasibility Study) อย่างละเอียด ซึ่งต้องพิจารณาสถานที่ตั้ง กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และคู่แข่งในพื้นที่ เพื่อพิจารณาถึงความคุ้มค่าเหมาะสมในการลงทุน และจะไม่ลงทุนในพื้นที่ที่มีโรงพยาบาลในเครือ THG ตั้งอยู่ ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย RAM จะแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบต่อไป


โรงพยาบาลรามคำแหง ส่งกรรมการ 2 ท่าน เข้าไปเป็นกรรมการที่โรงพยาบาลธนบุรีคือ
1. นายแพทย์เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์
2. นางสาวฤกขจี กาญจนพิทักษ์
แต่เป็นกรรมการที่ไม่มีอำนาจลงนาม และไม่มีส่วนร่วมในการบริหาร

ด้าน THG แจง สัดส่วนการถือหุ้นใน THG โดยกลุ่มผู้ร่วมก่อตั้ง 3ครอบครัว จากข้อมูลปิดสมุดทะเบียน ณ วันที่6
สิงหาคม 2564 รวมกันแล้วเป็นจํานวน 260,307,914 หุ้น คิดเป็ นร้อยละ30.66ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายและชําระ
แล้วทั้งหมดของ THG ซึ่งยังมีสัดส่วนที่มากกว่า RAM ทําให้จํานวนเสียงในที่ประชุมคณะกรรมการยังมีมากกว่า
โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) ครอบครัววนาสิน จํานวน 161,486,344 หุ้น คิดเป็ นร้อยละ 19.02โดยมีกรรมการ 2 ท่าน ได้แก่
นายแพทย์บุญ วนาสิน และนางสาวนลิน วนาสิน
2) ครอบครัวอุนนะนันทน์ จํานวน 60,741,770 หุ้น คิดเป็ นร้อยละ 7.15 โดยมีกรรมการ 1 ท่าน คือ
นายแพทย์อาศิส อุนนะนันทน์ และ
3) ครอบครัวเมฆสวรรค์จํานวน 38,079,800 หุ้น คิดเป็ นร้อยละ 4.48 โดยมีกรรมการ 1 ท่าน คือ นายศิธา
เมฆสวรรค์

สำหรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ 10 อันดับแรกของTHG (ข้อมูลณ 15 มี.ค. 2564)

1.บริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน)ถือหุ้นจำนวน145,971,739 หุ้น หรือ  17.19%

2.นาง จารุวรรณ วนาสิน  ถือหุ้นจำนวน 118,489,119 หุ้น หรือ13.96%

3.นายแพทย์ อำนวย อุนนะนันทน์ ถือหุ้นจำนวน 43,882,670หุ้น หรือ 5.17%

4.นาย อาษา เมฆสวรรค์ ถือหุ้นจำนวน 29,794,737 หุ้น หรือ 3.51%

5.นาง ณวรา วนาสิน ถือหุ้นจำนวน 28,720,363 หุ้น หรือ3.38%

6.นาย เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ ถือหุ้นจำนวน 18,259,500 หุ้น หรือ 2.15%

7.บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด ถือหุ้นจำนวน 15,147,902 หุ้น หรือ 1.78%

8.Global Health Investment Co., Ltd. ถือหุ้นจำนวน 11,413,340 หุ้น หรือ1.34%

9.บริษัท เอฟแอนด์เอส 79 จำกัด ถือหุ้นจำนวน 8,695,656 หุ้นหรือ 1.02%

10.นาย ศิธา เมฆสวรรค์ ถือหุ้นจำนวน 8,415,063 หุ้น หรือ 0.99%
#2844
รับทำหมดตั้งแต่รถ รถยนต์ รถกระบะ รถสี่ล้อกลาง รถหกล้อ รถสิบล้อ รถเทรลเลอร์ ร้านเรายึดหลักร้านปะยางใกล้ฉัน และให้บริการ ปะยาง 24 ชั่วโมง เรามีทีมงานมืออาชีพ ประจำอยู่หลายจุด หลายพื้นที่พร้อมบริการ ปะยางนอกสถานที่



ร้านปะยางที่ให้บริการปะยางถึงที่

ไม่ว่ารถของท่านจะอยู่ในหมู่บ้าน คอนโด บนตึกสูง หรืออยู่ข้างทางเราก็พร้อมบริการ ปะยาง ท่านตลอดเวลาบริการระดับ VIP รวดเร็วแต่ไม่เร่งรีบปลอดภัย มีมาตรฐาน ใส่ใจรายละเอียดพร้อมบริการหลังการบริการให้ท่านได้อุ่นใจ

ร้านปะยางที่มีอุปกรณ์ปะยางนอกสถานที่ครบ

ไม่ต้องกังวลหากท่านไม่มียางอะไหล่ไม่ต้องกังวลหากไม่มีเครื่องมือ เครื่องมือไม่ครบหรือหากท่านต้องการจะเปลี่ยนใส่ยางอะไหล่แต่เปลี่ยนเองไม่ได้

โทรหาเราได้เลย เรามีบริการปะยางถึงที่

สะดวก รวดเร็ว ราคาถูก ไม่ว่าใกล้หรือไกลแค่ไหนหากท่านให้เราดูแล ท่านอุ่นใจได้เลย รถยางแตก ยางซึม ยางรั่ว ยางเสีย ยางระเบิด ไม่สามารถไปต่อได้

เรามีบริการนอกสถานที่ดูแลท่านถึงที่ ให้ท่านได้อุ่นใจ



หรือท่านสามารถแอดไอดีไลน์ : @w0909862497
#2845


ประเทศไทยยังมีเส้นเลือดสำคัญที่เป็นแรงกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง จาก"ภาคส่งออก" ที่ขณะนี้ยังมีความต้องการสูงต่อเนื่อง เพราะแม้ว่าทั่วโลกยังอยู่ในสถานการณ์จำเป็นต้องเว้นระยะห่าง หรืองดการเดินทาง แต่ยังคงต้องดำรงชีวิตด้วยสินค้าอุปโภคและบริโภค

ศรัณย เบ็ญจนิรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เผยถึงเรื่องนี้ว่า แนวโน้มปริมาณขนส่งสินค้าทางอากาศในช่วงครึ่งปีหลังนี้ กพท.ยังประเมินว่ามีสัญญาณดี โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากความต้องการในสินค้าเกษตรยังมีสูง และไทยยังเป็นฐานส่งออกสำคัญของสินค้าเกษตร ผักและผลไม้

"การส่งออกทางอากาศเรียกว่าได้รับผลกระทบน้อยมาก เมื่อเกิดการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 โดยพบว่าภาพรวมการขนส่งสินค้าทางอากาศลดลงเพียง 25% หากเทียบกับการขนส่งผู้โดยสารที่ลดลงไปถึง 90%และแนวโน้มการขนส่งสินค้าจะยังคงดีแบบนี้ไปได้เรื่อยๆ ประเมินจากสายการบินที่ทำธุรกิจขนส่งสินค้ายังมีคำขอทำการบินเข้ามาอย่างต่อเนื่อง"

อย่างไรก็ดี ตารางบินในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ยังพบว่าสายการบินขนส่งสินค้า อาทิ เค-ไมล์ แอร์ (K-Mile Air) ซึ่งเป็นสายการบินขนส่งสินค้าที่ฐานหลักอยู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ยังมีคำขอเพิ่มจำนวนอากาศยานขนส่งสินค้า 3 - 4 ลำ และยังมีเส้นทางขนส่งสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการขนส่งสินค้าประเทศปลายทางระยะใกล้อย่างฮ่องกง และสิงคโปร์

นอกจากนี้ ยังพบว่าบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ยังปรับกลยุทธ์มาทำการบินขนส่งสินค้า โดยใช้สิทธิทำการบินที่เคยขอเปิดบินเส้นทางระหว่างประเทศ และรับบริการขนส่งสินค้าให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่การบินไทยได้ลูกค้าเป็นกลุ่มขนส่งสินค้าด่วนพิเศษ สินค้านำเข้า วัคซีนโควิด และสินค้าประเภทผักและผลไม้ จึงถือว่าปัจจุบันธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศยังมีแนวโน้มดี และช่วงครึ่งปีหลังยังคงสดใสต่อเนื่อง


นนท์ กลินทะ ประธานเจ้าหน้าที่สายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า ตอนนี้การบินไทยอยู่ระหว่างผลักดันรายได้ขนส่งสินค้าเพื่อเข้ามาเสริมกับรายได้ขนส่งผู้โดยสารที่ยังไม่ฟื้นตัว โดยพบว่าปัจจุบันรายได้จากการขนส่งสินค้ายังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ความต้องการยังสูง ซึ่งในเดือน ก.ค. - ก.ย.นี้ การบินไทยขยายเที่ยวบินครอบคลุมเอเชีย ยุโรป และออสเตรเลีย รวม 22 เส้นทาง เพื่อตอบรับกับดีมานด์ดังกล่าว

"ช่วงที่ผ่านมาการบินไทยให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ รายได้นี้เข้ามาเป็นรายได้ส่วนหลักขององค์กร ซึ่งระหว่างเดือน เม.ย. 2563 – มิ.ย. 2564 คาร์โก้การบินไทยได้ให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ จำนวนกว่า 3,500 เที่ยวบิน หลักๆ จะเป็นการขนส่งสินค้าภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ประเภท ผัก ผลไม้ อาหารแช่แข็ง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อะไหล่รถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาและวัคซีน"

จากการประเมินเทรนด์การขนส่งสินค้าทางอากาศยานในช่วงครึ่งปีหลังที่จะเกิดขึ้นนั้น ต้องยอมรับว่าเริ่มเห็นสัญญาณบวกตั้งแต่ครึ่งปีแรก ว่าการขนส่งสินค้าจะเป็นพระเอกสร้างรายได้ให้กับธุรกิจโลจิสติกส์อย่างเห็นได้ชัด เพราะข้อมูลจากกองเศรษฐกิจการบิน ฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)

โดยพบว่าปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศในครึ่งแรกของปี 2564 (ม.ค. - มิ.ย. 2564) มีปริมาณสินค้าทั้งหมด 567,743 ตัน เพิ่มขึ้นราว 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปริมาณดังกล่าวแบ่งออกเป็น การขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศมีจำนวน 556,138 ตัน เพิ่มขึ้นราว 14% จากช่วงดียกวันของปีก่อน และการขนส่งสินค้าทางอากาศภายในประเทศ มีจำนวน 11,605 ตัน ลดลงราว 38% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ทั้งนี้ ไม่เพียงการขนส่งสินค้าทางอากาศที่ขยายตัวต่อเนื่อง ยังพบว่าการขนส่งสินค้าทางเรือยังเติบโตสอดคล้องกัน โดยข้อมูลสถิติขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ในช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค. - มิ.ย. 2564) มีสินค้าขาเข้า รวมประมาณ 27 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับจำนวน 24 ล้านตันในช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีสินค้าขาออก รวม 29 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 7.2% เมื่อเทียบกับจำนวน 27 ล้านตันในช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกับปริมาณยอดรวมตู้ ที.อี.ยู ยังมีสูงถึง 4.9 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้นราว 10% เมื่อเทียบกับ 4.5 ล้าน ที.อี.ยู ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
#2846


ความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (9-13 ส.ค.2564) ดัชนี SET ปรับลง 11.87 จุด หรือปรับลง 0.77% มาอยู่ที่ 1,528.32 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 3.33 แสนล้านบาท ระหว่างสัปดาห์ปรับขึ้นทำจุดสูงสุดที่ 1,551.61 จุด และต่ำสุดที่ 1,525.29 จุด โดยตลาดหุ้นไทยยังถูกกดดันจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศที่ยอดผู้ติดเชื้อรายวันทำจุดสูงสุดใหม่ (นิวไฮ) ต่อเนื่อง รวมถึงแรงขายตามข่าว (Sell on Fact) จากการรายงานงบไตรมาส 2 ปี 2564

ขณะที่การซื้อขายแยกตามกลุ่มผู้ลงทุน พบว่า นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 2,307.71 ล้านบาท เช่นเดียวกับบัญชีหลักทรัพย์ที่ซื้อสุทธิ 809.49 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยในประเทศที่ซื้อสุทธิ 96.94 บ้านบาท ส่วนนักลงทุนต่างประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ 3,214.15 ล้านบาท

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นเดือนถึงปัจจุบัน (1-13 ส.ค.) นักลงทุนต่างประเทศยังเป็นกลุ่มเดียวที่มียอดขายสุทธิสะสมอยู่ที่ 11,362.58 ล้านบาท สวนทางกับอีก 3 กลุ่มนักลงทุนที่เหลือ เช่นเดียวกับในช่วงตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันที่มียอดขายสุทธิสะสมสูงสุดอยู่ที่ 104,644.84 ล้านบาท และหากย้อนไปไกลกว่านั้นพบว่านักลงทุนกลุ่มนี้มียอดขายสุทธิสะสมราว 6.5 แสนล้านบาท ในช่วงกว่า 4 ปีที่ผ่านมา (2559-ปัจจุบัน)


เมื่อพิจารณาข้อมูลการซื้อขายด้วยบัญชี NVDR ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนชาวต่างประเทศ พบว่า ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันกลุ่มหุ้นที่มียอดขายสุทธิสะสม ได้แก่ กลุ่มสื่อสาร 6,905.86 ล้านบาท กลุ่มค้าปลีก 2,684.44 ล้านบาท กลุ่มเกษตร 1,771.96 ล้านบาท กลุ่มอาหาร 821.45 ล้านบาท กลุ่มขนส่ง 812.81 ล้านบาท และกลุ่มประกัน 433.69 ล้านบาท

หากพิจารณาข้อมูลรายหุ้น พบว่า CPF มียอดขายสุทธิสะสมสูงสุด 4,279.03 ล้านบาท INTUCH 4,002.64 ล้านบาท CPN 2,872.48 ล้านบาท CPALL 2,519.85 ล้านบาท และ BEM 2,487.86 ล้านบาท


อย่างไรก็ดี "ณัฐพล คำถาเครือ" ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หยวนต้า (ประเทศไทย) กล่าวว่า สัดส่วนการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 30% ตอนปลาย แต่กลุ่มนักลงทุนที่มีสัดส่วนการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันมากที่สุดคือนักลงทุนรายย่อยในประเทศที่ประมาณ 40% ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยปัจจุบันได้แรงหนุนจากเม็ดเงินในประเทศเป็นหลัก

ขณะที่การไหลออกต่อเนื่องในระดับแสนล้านบาทนั้น คาดว่าเป็นผลจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศเป็นหลัก อีกทั้งประเทศไทยยังมีความเสี่ยงจะเป็นประเทศเดียวที่จีดีพีปี 2564 ติดลบต่อเนื่องเป็นปีที่สองจากปี 2563 ดังนั้น คาดว่ากระแสเงินลงทุน (ฟันด์โฟลว์) ของกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศยังเป็นการไหลออกต่อเนื่อง จนกว่าภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยจะกลับมา
#2847


กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ พาไปส่อง "รายได้" และ "กำไร" ของกลุ่มแบงก์ ที่เป็น "แบงก์พาณิชย์" หรือธนาคารพาณิชย์ของไทยในช่วงครึ่งแรกปี 2564 ที่มีการรายงานผลกำไรตั้งแต่ต้นปี 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564 ว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

    

 ธนาคารกสิกรไทย 
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ "KBANK" แจ้งผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก 2564 มีกำไรสุทธิ 19,520.94 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 104.40 % จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 9,550.22 ล้านบาท

ส่วนรายได้จากการดำเนินงานครึ่งแรกปี 2564 อยู่ที่ 80,882 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.09% หรือ 79,227 ล้านบาท

โดยในงวดครึ่งปีแรกปี 2564 ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss: ECL) ลดลง 39.32% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยงวดครึ่งปีแรกของปีก่อนธนาคารและบริษัทย่อยได้ตั้งสำรองฯ ในระดับที่สูงเป็นจำนวนถึง 32,064 ล้านบาท ภายใต้หลักความระมัดระวัง เพื่อรองรับความไม่แน่นอนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อันเป็นวิกฤติการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในลักษณะนี้มาก่อน


 ธนาคารไทยพาณิชย์ 
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ "SCB" และบริษัทยย่อยรายงาน ผลประกอบการครึ่งปีแรกของปี 2564 ธนาคารมีกําไรสุทธิจํานวน 18,902 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือปี 2563 ที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 17,610 ล้านบาท 

ขณะที่รายได้จากการดำเนินงานครึ่งปี 2564 อยู่ที่ 74,222 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.40% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 73,917

ทั้งนี้ จากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ไทยพาณิชย์ได้ตั้งเงินสํารองจํานวน 10,028 ล้านบาท สําหรับไตรมาส 2 ของปี 2564 และจํานวน 20,036 ล้านบาทสําหรับครึ่งปีแรกไว้ด้วย ส่วนอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพณสิ้นเดือนมิถุนายน 2564 ทรงตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ 3.79%


 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ "BAY" และบริษัทในเครือเผยผลประกอบการ ครึ่งแรกของปี 2564 กำไรสุทธิจำนวน 21,048 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 55.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 13,540 ล้านบาท หลังออกมาตรการเพื่อช่วยบรรเทาภาระทางการเงินแก่ลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างต่อเนื่อง

ขณะที่รายได้ช่วงครึ่งปี 2564 อยู่ที่ 66,343 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 13.15% หรือ 58,629 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งมีปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย จากการบันทึกกำไรจากเงินลงทุนจากการขายหุ้นในบริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) (เงินติดล้อ) ในไตรมาสสองของปี 2564


 ธนาคารกรุงไทย 
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ "KTB" รายงานกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เท่ากับ 11,590 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.4% ที่ 10,221 ล้านบาท ขณะที่รายได้ครึ่งปี 2564 อยู่ที่ 57,523 ล้านบาท ลดลงจากครึ่งปีก่อนหน้า 9.27% ที่ 63,403 ล้านบาท

ทั้งนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยได้ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสำหรับรองรับรองรับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าซึ่งรวมถึงการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ด้วย

 ธนาคารกรุงเทพ 
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ "BBL" รายงานรายได้ครึ่งปีแรก 2564 มีกำไรสุทธิ 13,279.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 10,765.49 ล้านบาท

ขณะที่รายได้จากการดำเนินงานในครั้งปี 2564 อยู่ที่ 64,696 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.25% ที่ 58,679 ล้านบาท

ทั้งนี้ หลักๆ มีส่วนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 4.8% จากผลของการรวมธนาคารเพอร์มาตาตั้งแต่เดือน พ.ค. 2563 ด้วย


 ธนาคารทหารไทยธนชาต 
ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ "ttb" รายงานกำไรครึ่งปีแรกของปี 2564 กำไรสุทธิอยู่ที่ 5,316 ล้านบาท ลดลง 26.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 7,258 ล้านบาท

ส่วนรายได้จากการดำเนินกิจการหลังควบรวม ธนาคารทหารไทย และธนาคารธนชาต เป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต (ttb) มีรายได้ครึ่งแรกปี 2564 อยู่ที่ 32,743 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.08% หรือ 58,679 ล้านบาท

 ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ "CIMBT" รายงานกำไรสุทธิในช่วงครึ่งปีแรก 2564 อยู่ที่ 954.76 ล้านบาท ลดลง 31.1% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,385.87 ล้านบาท เนื่องจากรายได้จากการดำเนินงานที่ลดลง 8% และมีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้น 19% จากช่วงเดียวกันปีก่อน 

สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 มีรายได้จากการดำเนินงานจำนวน 7,284.1 ล้านบาทลดลง 644.2 ล้านบาท หรือ 8.1% จากรายได้ครึ่งแรกปี 2563 ที่ 7,928 ล้านบาท

สาเหตุหลักเกิดจากผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 อยู่ที่ 1,956.10 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ตั้งสำรอง 1,642.15 ล้านบาท เป็นผลจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและโอกาสที่คุณภาพสินเชื่อของลูกค้าที่จะแย่ลงจากผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของโควิด-19

 ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ​
ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ รายงานกำไรสุทธิช่วงครึ่งแรกของ ปี 2564 อยู่ที่ 3,613 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31.95% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 2,738 ล้านบาท

ขณะที่รายได้จากการขายเท่ากับ 15,605.26 ล้านบาท ในขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อน (2563) มีรายได้จากการขายเท่ากับ 12,278.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,326.75 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้น 27.09%

 ธนาคารทิสโก้ 
ธนาคารทิสโก้ รายงานผลการดำเนินงานรวมงวดครึ่งแรกของปี 2564 กำไรสุทธิสำหรับผลประกอบการงวดครึ่งปีแรกของปี 2564 มีจำนวน 3,430.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 

ขณะที่รายได้โดยรวมของทิสโก้ ในช่วงครึ่งแรกปี 2564 อยู่ที่ 9,816 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.80% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 9,274 ล้านบาท

ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทหารไทยธนชาต 
#2848


บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เดินหน้าปรับลดอัตราค่าบริการ EMS ในประเทศสูงสุด 20% ตามเงื่อนไขส่งสิ่งของ/พัสดุ ในปริมาณตั้งแต่ 2-20 กิโลกรัม เพื่อแบ่งเบารายจ่ายของผู้ใช้บริการและลดความเสี่ยงในการออกนอกบ้านเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19

นายดนันท์  สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) กล่าวว่า บริการ EMS ส่งด่วนทั่วไทยเป็นบริการที่ตอบโจทย์ประชาชนและร้านค้าออนไลน์ ช่วยพลิกฟื้น SMEs ไทยให้ไปต่อได้ในภาวะวิกฤติ

นอกจากนี้ ไปรษณีย์ไทยยังได้ปรับปรุงฟีเจอร์บริการใหม่ เพื่อรองรับปริมาณการส่งสิ่งของที่มากขึ้น ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบสถานะได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยจะเริ่มให้บริการในวันที่ 14 สิงหาคม 2564



เขาดล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจค้าขาย ต้องปรับตัวมาขายสินค้าออนไลน์กันมากขึ้น ในทางกลับกันผู้บริโภคที่ต้องพักอาศัยอยู่ที่บ้าน ได้หันมาสั่งของผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นจากเดิม

ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงในการออกนอกบ้าน ไปรษณีย์ไทยจึงปรับลดอัตราค่าบริการ EMS ในประเทศ ให้แก่ผู้ใช้บริการที่มีปริมาณการส่งสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก โดยอัตราค่าบริการที่ปรับลดลงมีเงื่อนไขเฉพาะการจัดส่งตั้งแต่น้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม จนถึง 20 กิโลกรัม ซึ่งในแต่ละพิกัดน้ำหนักปรับลดสูงสุด 20% ถือเป็นการปรับลดอัตราค่าบริการครั้งใหญ่ ตั้งแต่ที่มีการเปิดให้บริการ EMS มา

นอกจากนี้ ไปรษณีย์ไทยยังได้พัฒนาฟีเจอร์ของตัวบริการให้มีความรวดเร็วและผู้ใช้บริการใช้งานได้อย่างคล่องตัวขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การใช้ระบบเทคโนโลยีแบบ Real Time ด้วยการแจ้งเตือนผู้รับก่อนการนำจ่าย และการ Pick Up รับฝากถึงที่อยู่ได้ไวขึ้น

ผ่านช่องทาง Line @Thailandpost มีการกำหนดมาตรฐานการจัดส่งในปลายทาง กทม. ให้ถึงภายในวันเดียวหรือไม่เกินวันรุ่งขึ้น และพื้นที่ต่างจังหวัดภายใน 1-3 วัน   เพิ่มโอกาสในการขายด้วยการเรียกเก็บเงินปลายทาง (COD) โดยสามารถเลือกการรับเงินผ่านระบบกระเป๋าเงินไปรษณีย์ (Wallet@post) หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารได้โดยตรง ซึ่งจะมีระบบการแจ้งเตือนสถานะสิ่งของที่อยู่ระหว่างดำเนินการผ่านระบบ Wallet@post หรือ SMS

รวมถึงสามารถเลือกรับสิ่งของได้หลากหลายช่องทาง หากไม่อยู่บ้านหรือไม่สะดวกรับของที่บ้านเมื่อมีการฝากส่งสิ่งของ สามารถไปรอรับได้ที่ ตู้ iBox หรือ Box 24 ที่ตั้งอยู่ในจุดที่มีการเดินทางได้ง่ายและกระจายอยู่ครอบคลุมในย่านใจกลางเมือง โดยไปรษณีย์ไทยปรับระยะเวลาในการสอบสวนภายใน 5 วันทำการ หากสิ่งของได้รับความเสียหาย/สูญหายจะได้รับอัตราการชดใช้ทันทีไม่เกิน 2,000 บาท/ชิ้น
#2849


วันนี้ (13 สิงหาคม 2564) นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH พร้อมด้วยนายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO และนายจรัญ คำเงิน ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมพิธีมอบเงินให้แก่มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินจำนวน 3 ล้านบาท เพื่อสมทบทุนในการจัดหายาฟ้าทะลายโจรให้แก่ผู้ป่วยโควิด -19 โดยมีนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ รองประธานโครงการสนับสนุนการใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อช่วยประชาชนในช่วงโควิด-19 เป็นผู้แทนรับมอบผ่านระบบออนไลน์

นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ RATCH ในฐานะผู้แทนกลุ่ม กฟผ. เปิดเผยว่า กลุ่ม กฟผ. พร้อมเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนในการช่วยเหลือสนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 อย่างสุดกำลัง ตั้งแต่การจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ การผลิตนวัตกรรมทางการแพทย์ เตียงสนาม รวมถึงจัดหาอาหารและสิ่งของจำเป็นมอบให้แก่ประชาชน

โดยในโอกาสนี้ กฟผ. RATCH และ EGCO ร่วมกันมอบเงินให้แก่มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินจำนวน 3 ล้านบาท เพื่อสมทบทุนในการจัดหายาฟ้าทะลายโจรชนิดแคปซูล

รวมถึงฟ้าทะลายโจรแบบต้นสดหรือต้นตากแห้งที่จะนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตยาฟ้าทะลายโจรให้แก่ผู้ป่วยโควิด -19 สำหรับนำไปแจกจ่ายให้แก่ผู้ป่วยและคลัสเตอร์ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อบรรเทาอาการระหว่างรอเข้ารับการรักษา และผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปได้โดยเร็วที่สุด

ด้านนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ รองประธานโครงการสนับสนุนการใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อช่วยประชาชนในช่วงโควิด-19 มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน กล่าวว่า มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินได้ดำเนินการจัดหาฟ้าทะลายโจรชนิดแคปซูล ฟ้าทะลายโจรแบบต้นสดและตากแห้ง รวมถึงวัตถุดิบในการผลิตขิงผงที่เป็นยาฤทธิ์ร้อนที่ใช้รับประทานคู่กับยาฟ้าทะลายโจรเพื่อลดอาการข้างเคียง มอบให้แก่ชุมชนแออัด วัด และโรงพยาบาลต่าง ๆ ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทางมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับกลุ่ม กฟผ.

ซึ่งเป็นองค์กรเสาหลักที่ช่วยเหลือสังคมมาในทุกวิกฤตมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานนอกเหนือจากภารกิจด้านพลังงานไฟฟ้าทั้งในยามที่ประชาชนต้องการความช่วยเหลือ การดูแลชุมชนสิ่งแวดล้อม ซึ่งการสนับสนุนการจัดหายาฟ้าทะลายโจรในครั้งนี้ของกลุ่ม กฟผ. จะทำให้ยาฟ้าทะลายโจรเข้าถึงประชาชนที่ขาดโอกาสในการรักษาและผู้ป่วยโควิด-19 มากยิ่งขึ้น ตลอดจนช่วยลดความรุนแรงของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดให้อยู่ในวงจำกัดอีกด้วย
#2850


"บจ." เตรียมนำบริษัทลูกขายไอพีโอต่อเนื่อง ล่าสุด 7 บริษัทจ่อระดมทุนเบื้องต้นปี 64-65 "บล.เมย์แบงก์ฯ" ชี้ ช่วยลดภาระบริษัทแม่ เผย อยู่ระหว่างทำดีลสปินออฟธุรกิจสินเชื่อ คาดชัดเจนเร็วๆ นี้ "บล.บัวหลวง" ซุ่มทำดีล หลังส่ง OR เข้าเทรดต้นปีที่ผ่านมา

ในช่วงปี 2564-2565 มีบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ประกาศนำบริษัทลูกเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ (สปินออฟ) โดยยื่นแบบแสดงข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แล้ว 2 ราย ได้แก่ บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) ได้ส่งบมจ.ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ (TFM) ยื่นไฟลิ่งขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 109.3 ล้านหุ้น และ บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ (ORI) ยื่นไฟลิ่งเสนอขาย IPO ของบริษัท บริทาเนีย จำกัด (BRI) ไม่เกิน 252.65 ล้านหุ้น นอกจากนี้ ยังมีอีก บจ.อีก 5 แห่งที่เตรียมยื่นไฟลิ่งบริษัทลูก

นายประเสริฐ ตันตยาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เมย์​แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า บล.เมย์แบงก์ฯ มีลูกค้า บจ.ที่อยู่ระหว่างเตรียมตัวสปินออฟบริษัทลูกจำนวน 1 ราย ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อ โดยคาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายในเร็วๆ นี้ เพราะระยะเวลาการทำดีลสั้นกว่าการเตรียมความพร้อมระดมทุน IPO เนื่องจากที่บริษัทลูกของ บจ.มีความพร้อมของข้อมูลอยู่แล้ว เช่น การจัดทำบัญชีที่ได้มาตรการเหมือนกับบริษัทแม่ เป็นต้น


โดยการนำบริษัทลูกไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะช่วยลดภาระทางการเงินของบริษัทแม่ โดยกระแสการสปินออฟไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงโควิด-19 เพราะมองว่าที่ผ่านมา บจ.ที่แยกลูกออกมาระดมทุนไม่ได้มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องในช่วงวิกฤติ ขณะที่ บจ.ที่มีการประกาศเตรียมสปินออฟในช่วงที่ผ่านมา เช่น ORI ที่เตรียมนำ BRI ออกมาระดมทุน เป็นหนึ่งในแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อเป็นโฮลดิ้งส์อยู่แล้ว

ขณะที่ช่องทางการระดมทุน แม้บริษัทลูกของ บจ.ส่วนใหญ่จะสามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน รวมถึงใช้เครื่องมือการออกหุ้นกู้เหมือนบริษัทแม่ได้ก็ตาม แต่ในส่วนของตลาดหุ้นกู้ที่มีต้นทุนต่ำกว่าเงินกู้ธนาคาร พบว่านักลงทุนสถาบันส่วนใหญ่ยังมีข้อจำกัดที่ต้องลงทุนหุ้นกู้ของ บจ.เท่านั้น นอกจากนี้ การแยกตัวออกมาระดมทุนด้วยตนเองช่วยลดความเสี่ยงที่บริษัทแม่จะต้องเพิ่มทุนเพื่อควบคุมอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ในกรณีที่ต้องการเงินทุนไปใช้ในการขยายธุรกิจของบริษัทลูกอีกด้วย

นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย กรรมการผู้อำนวยการ บล.บัวหลวง กล่าวว่า การสปินออฟบริษัทลูกของ บจ.เพื่อให้นักลงทุนสามารถมองภาพธุรกิจได้ง่ายขึ้น และประเมินมูลค่าได้ง่ายขึ้น เช่น อัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E) ในตลาดหุ้นซึ่งไม่เท่ากันในแต่ละอุตสาหกรรม ทั้งนี้ เทรนด์การสปินออฟเกิดขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว เพราะบริษัทลูกของ บจ.เริ่มเติบโตและมีศักยภาพที่จะลงทุนได้ด้วยตนเองมากขึ้น

ปัจจุบัน บล.บัวหลวง อยู่ระหว่างจัดทำดีลในลักษณะดังกล่าวเช่นกัน แต่คาดว่าจะใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าที่จะเห็นผล ภายหลังในช่วงต้นปี 2564 ที่ผ่านมาได้นำ บมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บมจ.ปตท. (PTT) เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไปแล้ว และหากย้อนไปปี 2563 ได้นำ บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP) เข้ามาระดมทุนด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC)
#2851


นางอาภัสรา ภาณุพัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ซันเวนดิ้ง เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SVT เปิดเผยถึง สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ทั่วประเทศ ที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาครัฐ ยังคงเข้มมาตรการลดความแออัดในที่สาธารณะและปูพรมฉีดวัคซีนให้กับประชาชนทั่วประเทศ ลดโอกาสการแพร่ระบาดและติดเชื้อไวรัสโควิด-19

SVT ในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจขายสินค้าผ่านเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ แบรนด์ SUN Vending พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันและร่วมสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อฟันฝ่าสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ไปให้ได้ โดย SVT ได้นำ Vending Machine จำนวน 4 เครื่อง ที่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น เครื่องดื่ม, ขนมขบเคี้ยว, อุปกรณ์เสริมสำหรับมือถือ,หน้ากากอนามัย, น้ำยาฆ่าเชื้อ และเจลแอลกอฮอล์ เป็นต้น ไปติดตั้งบริการบริเวณประตูทางเข้าที่1 และ 3 สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเป็นศูนย์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ประชาชนที่มารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้มีเครื่องดื่ม หรือขนมขบเคี้ยวรับประทาน เพิ่มความสดชื่นและมีพลังระหว่าที่รอคิดเข้ารับการฉีดวัคซีน 

โดยสินค้าทั้งหมดภายในตู้ SVT ได้ร่วมมือกับคู่ค้า นำสินค้าคุณภาพมาตรฐานมาจัดจำหน่ายในราคาพิเศษ เพื่อลดภาระค่าครองชีพ แบ่งเบาภาระคนไทยช่วงวิกฤตโควิด-19 รวมถึงยังเป็นการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยและส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น



สำหรับ Vending Machine ทั้ง 4 เครื่อง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่เหมาะสำหรับยุค New Normal ตัวเครื่องรองรับการชำระค่าสินค้าผ่าน Cashless Payment ต่างๆ อาทิ พร้อมเพย์, TrueMoney Wallet, Rabbit Line Pay รวมถึงเงินสดทั้งเหรียญและธนบัตร เพื่อความสะดวกรวดเร็วและง่ายสำหรับการใช้บริการของผู้บริโภค โดยเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติทุกเครื่อง ผ่านการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

"SVT ขอเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ที่ทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่เป็นด่านหน้า รับมือสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 และส่งเสริมให้คนไทยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด -19 อย่างทั่วถึง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้ประเทศไทยก้าวผ่านสถานการณ์โควิด-19 กลับคืนสู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุด" นางอาภัสรา กล่าว

ขณะที่ นายพิศณุ โชควัฒนา รองผู้อำนวยการสายงานการผลิต บริษัท ซันเวนดิ้ง เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SVT กล่าวว่า การนำ Vending Machine ทั้ง 4 เครื่อง มาติดตั้งให้บริการที่ศูนย์ฉีดวัคซีน สถานีกลางบางซื่อ ถือเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนได้เป็นอย่างดี ช่วยแบ่งเบาภาระของภาครัฐในการจัดหาเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว มาให้บริการประชาชนที่มารับการฉีดวัคซีน
#2852


นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลอดช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่บ้านปูยังคงบริหารธุรกิจให้เดินหน้าเพื่อประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย ภารกิจเคียงข้างคนไทยในยามวิกฤตินี้ก็เดินหน้าควบคู่ไปอย่างต่อเนื่อง ตามเจตนารมณ์ของคุณชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการของบ้านปู ซึ่งร่วมก่อตั้งกองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทยสู้ภัย COVID-19 หวยออนไลน์ขึ้น เพื่อส่งมอบความช่วยเหลือและขวัญกำลังใจให้กับทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะบุคลากรด่านหน้า นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นวิกฤติที่หนักหน่วงที่สุดและมีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรง บ้านปูได้จัดสรรเงินช่วยเหลือไปกว่า 120 ล้านบาท เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มโรงพยาบาล

โดย 2 ส่วนหลักมาจากที่เราสนับสนุนงบประมาณ 30 ล้านบาท เพื่อสร้างหอผู้ป่วยวิกฤติระบบการหายใจบ้านปู 2 แก่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือครั้งที่ 2 ต่อเนื่องจากครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมา และงบประมาณกว่า 20 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลในกรุงเทพและพื้นที่ใกล้เคียง 5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลสมุทรปราการ โรงพยาบาลสมุทรสาคร และสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา


นอกจากนี้ยังสนับสนุนโครงการนำร่อง Telemedicine ให้แก่โรงพยาบาลบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์กลุ่มเครื่องพยุงอาการและช่วยชีวิต ได้แก่ เครื่องช่วยหายใจ เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ เครื่องเฝ้าระวังและติดตามสัญญาณชีพ เครื่องให้อากาศผสมออกซิเจนอัตราการไหลสูง เครื่องควบคุมการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ให้กับโรงพยาบาลต่างๆ เช่น โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ โรงพยาบาลสระบุรี และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เพื่อช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์รักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว และมีความพร้อมในการรับมือกับวิกฤติสาธารณสุขที่เกิดขึ้น



สำหรับการช่วยเหลือภาคประชาชน บ้านปูได้ขยายความช่วยเหลือสู่ชุมชนผ่านองค์กรที่เป็นสื่อกลาง เพื่อให้เข้าถึงผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนได้อย่างทั่วถึง อาทิ การสนับสนุนเงินจำนวน 1.5 ล้านบาท แก่โครงการ "ต้องรอด" ของกลุ่ม Up for Thai เพื่อจัดซื้อวัตถุดิบทำอาหารสำหรับโรงครัวชุมชนต่างๆ ในการผลิตอาหารและแจกจ่ายไปยังชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง

และล่าสุด บ้านปูได้สนับสนุนกล่องเราดูแลกัน หรือ Covid Care Box ซึ่งบรรจุเวชภัณฑ์และสิ่งของจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน พร้อมชุดตรวจโควิดด้วยตนเอง (Rapid Antigen Test) ผ่านเครือข่าย 'เราดูแลกัน' (We Care Network) มูลค่า 5 ล้านบาทอีกทั้งยังสนับสนุนงบประมาณรวม 7 ล้านบาทเพื่อร่วมสร้างเมรุเผาศพรวมถึงสนับสนุนกิจกรรมการฌาปนกิจให้แก่วัดอีก 20 แห่งในพื้นที่สีแดงเข้มอีกด้วย

การช่วยเหลือของบ้านปูในครั้งนี้เป็นหนึ่งในภารกิจภายใต้ "กองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัย COVID-19" มูลค่า 500 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนของบ้านปู 250 ล้านบาท ที่ดำเนินการช่วยเหลือเพื่อสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่จำเป็นในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แก่โรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ ทั่วประเทศ

รวมถึงช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบเชิงเศรษฐกิจจากโควิด-19 โดยตั้งแต่จัดตั้งกองทุนฯ เมื่อเดือนมีนาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน กองทุนมิตรผล-บ้านปูฯ ได้มอบความช่วยเหลือให้กับ 336 หน่วยงาน ใน 38 จังหวัด รวมมูลค่ากว่า 430 ล้านบาท 
#2853


กระแสความสนใจของประชาชน วันนี้ กรณีการแจกเงินเยียวยา ให้แก่ประชาชนแรงงานผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด ที่ประกาศ ล็อกดาวน์ โดยประกันสังคม เปิดลงทะเบียนผ่าน www.sso.go.th สำหรับผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 (ม.33) , มาตรา 39 (ม.39) และมาตรา 40 (ม.40) ดังนี้


ผู้ประกันตนมาตรา 33 ใน 9 ประเภทกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ คลิกตรวจสอบสิทธิ์

แรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงมีมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการ "ล็อกดาวน์หวยออนไลน์" ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา เพิ่มเติม จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา ครอบคลุม 9 ประเภทกิจการ นั้น ได้แก่ กิจการก่อสร้าง กิจการที่พักแรมบริการด้านอาหาร กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ สาขากิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน สาขากิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ และสาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร นั้น

สำหรับความคืบหน้าการเยียวยากลุ่มนายจ้างมาตรา 33 จำนวน 3,000 บาท ต่อลูกจ้างไม่เกิน 200 คน นั้น ขณะนี้มีนายจ้างได้ทยอยยื่นขอรับเงินชดเชยเข้ามาในระบบ e -service โดยในพื้นที่ 13 จังหวัดนั้นมีนายจ้างทั้งหมดประมาณ 180,000 ราย

ทั้งนี้ รมว.แรงงาน ยังได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคม เร่งประชาสัมพันธ์กระตุ้นเตือนไปยังนายจ้างที่ยังไม่ได้ยื่นขอรับค่าชดเชยเยียวยาสามารถยื่นความประสงค์ขอรับเงินได้ที่ ระบบ e – service ของประกันสังคม จากนั้นปริ้นข้อมูลแบบรับการเยียวยาแล้วกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม ส่งกลับมาให้ประกันสังคมโดยถ้าเป็นนายจ้างที่เป็นนิติบุคคลต้องแนบเลขบัญชีธนาคารกลับมาด้วย แต่ถ้าเป็นนายจ้างบุคคลธรรมดาให้นายจ้างผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนเพื่อประกันสังคมจะได้โอนเงินให้โดยเร็ว


ผู้ประกันตนมาตรา 39 และผู้ประกันตนมาตรา 40 คลิกตรวจสอบสิทธิ์


เช้าวันนี้ ดร.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล ย้ำว่าผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 ตรวจสิทธิรับเงินเยียวยาได้แล้ว ประกันสังคม เปิดให้ ผู้ประกันตน มาตรา 39 และ มาตรา 40 (29 จังหวัดแดงเข้ม 9 กลุ่มกิจการ) ตรวจสอบสิทธิ รับเงินเยียวยา รายละ 5,000 บาท ได้แล้ว คลิกตรวจสอบสิทธิ์


ทั้งนี้ การสมัครมาตรา 40 ไม่เกี่ยวข้องกับสิทธิรักษาพยาบาลร่วมกับบัตรทอง (สปสช.) รวมทั้งสิทธิประโยชน์สวัสดิการแห่งรัฐต่างๆ แต่อย่างใด และสิทธิที่เคยได้รับยังเหมือนเดิม และมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย หรือสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิตจากสำนักงานประกันสังคมเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย ส่วนสิทธิประโยชน์ของมาตรา 40 แต่ละทางเลือกขึ้นอยู่กับทางเลือกที่ผู้ประกันตนสมัคร

กระทรวงแรงงาน ย้ำยื่นก่อนได้ก่อน รับเงินเยียวยานายจ้าง ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ
นายจ้างที่อยู่ในพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้ม และอยู่ใน 9 ประเภทกิจการที่ถูกควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
จะได้รับเงินเยียวยา 3,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน (สูงสุดไม่เกิน 200 คน) สำนักงานประกันสังคมจะเริ่มโอนเงินเข้าบัญชี ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2564 นี้ เป็นต้นไป

ที่มา - สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
#2854


เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เผยแพร่การขึ้นทะเบียนชุดตรวจสำหรับ COVID-19 ประเภท Rapid Test Antigen หรือ Antigen Test Kits 'ATK' แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen Test Self-Test Kits)

โดย 'ATK' ที่ได้รับการอนุญาตให้ผลิต/นำเข้า ณ วันที่ 12 สิงหาคม 2564 จำนวน 34 รายการ ทั้งจีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหรัฐฯ สเปน และสวิตเซอร์แลนด์ โดยแสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน ระบุชื่อบริษัทผู้นำเข้า วันเดือนปีที่ได้รับอนุญาต เลขที่ใบรับรอง และคิวอาร์โค้ด พร้อมคลิปแนะนำขั้นตอนการใช้

หนึ่งในนั้นเป็นของ บริษัทออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นลำดับที่ 4 นำเข้าชุดตรวจ ATK ของบริษัท Beijing Lepu Medical Technology จากประเทศจีน เลขที่ใบรับรองประเมินเทคโนโลยี T6400123 ซึ่งเมื่อวันที่ 10 ส.ค.องค์การเภสัชกรรม

(จีพีโอ) ได้เปิดซองราคาตามที่ได้รับมอบหมายจากโรงพยาบาลราชวิถี ให้ดำเนินการจัดหา ชุดตรวจโควิด-19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen self-test Test Kits : ATK) จำนวน 8.5 ล้านชุด เป็นการเร่งด่วน ตามโครงการพิเศษของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำหรับให้ประชาชนใช้ตรวจคัดกรองเชิงรุก เพื่อค้นหาผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษารวดเร็วขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรค


ปรากฏว่าบริษัทออสแลนด์ แคปปิตอล จำกัด เป็นผู้ที่เสนอราคาต่ำสุด โดยเสนอราคาต่ำกว่าวงเงินงบประมาณที่ สปสช.ตั้งไว้ ชุดละ 120 บาท เป็นเงิน 1,014 ล้านบาท ทำให้ประหยัดงบประมาณภาครัฐได้กว่า 400 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ราคาชุดตรวจ ATK เหลือประมาณชุดละ 70 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนและรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว ซึ่งอภ.จะเร่งส่งมอบให้สปสช.ก่อนสิ้นเดือนสิงหาคม

สมัครผ่อนของ 0% 40 เดือนกับ Citi คลิกเลย

ย้ำการจัดหาชุดตรวจ 'ATK' โปร่งใส คุณภาพเหมาะสมราคา
ศิรินุช ชีวันพิศาลนุกูล รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ (10 สิงหาคม 2564) องค์การฯ ได้ให้บริษัทผู้จำหน่าย ATK จำนวน 19 บริษัท (จากที่เชิญไป 24 บริษัท) เข้าร่วมเสนอราคา คณะกรรมการพิจารณาในขั้นต้นแล้วพบว่ามีบริษัทที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนด และสามารถส่งมอบได้ตามกำหนด 16 บริษัท จึงได้ทำการเปิดซองราคาและปรากฏว่าบริษัทออสแลนด์ แคปปิตอล จำกัด เป็นผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดดังกล่าว

ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า มีบริษัทจำนวนมากเข้าร่วมเสนอราคา และสามารถส่งมอบได้ตามเวลาที่กำหนดเกือบทุกบริษัท การดำเนินการเป็นไปด้วยความโปร่งใส มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพในราคาเหมาะสม และยังทำให้ทราบว่าราคาของ ATK ที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดขณะนี้ยังสามารถปรับลดลงได้อีกเพื่อบริการประชาชนในช่วงวิกฤติและยากลำบาก

​"การดำเนินการจัดหาชุดตรวจ ATK ครั้งนี้ องค์การฯดำเนินการภายใต้หลักการของความถูกต้อง โปร่งใส แต่ยังคงมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ความต้องการที่เร่งด่วน ประหยัดงบประมาณให้รัฐ และมีการประสานงานกับโรงพยาบาลราชวิถี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้ประชาชน และประเทศชาติได้รับประโยชน์สูงสุด" รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าว


ชุดตรวจ 'ATK' คือหัวใจควบคุมโรคโควิด
ขณะเดียวกันก็มีความเคลื่อนไหวของ "ประธานชมรมแพทย์ชนบท" ออกมาเรียกร้องให้ องค์การเภสัชกรรม จัดหา 'ATK' ที่มีคุณภาพมาตรฐานองค์การอนามัยโลก ให้แก่ประชาชนเพื่อผลที่แม่นยำ สร้างความมั่นใจให้แก่บุคลากรทางการรักษา โดยตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2564 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ออกประกาศผ่านเว็บไซด์ FDA ให้ระงับใช้ชุดตรวจหาเชื้อโควิด -19 ทั้ง Antigen Rapid Test Kit (ATK) และ Antibody Rapid Test Kit ของ Lepu Medical Technology

ชมรมแพทย์ชนบท ขอยืนยันว่า ชุดตรวจATK คือหัวใจของการควบคุมโรคโควิด ATK ต้องมีคุณภาพสูง ต้องมีความแม่นยำ ความจำเพาะและมีความไวตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (ซึ่งสูงกว่ามาตรฐาน อย.ไทย) หากใช้ ATK ที่ไม่แม่นยำ ย่อมต้องมีการตรวจซ้ำด้วย RT-PCR อีก จะเสียโอกาสของผู้ป่วยในการรักษาเร็วอีกทั้งสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการตรวจRT-PCRเพิ่มเติมอีกด้วย


ชะลอทำสัญญาซื้อตรวจสอบคุณภาพ
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม ออกมาระบุ เนื่องจากบางหน่วยงานมีความห่วงใยและไม่มั่นใจในคุณภาพของชุดตรวจ ATK ดังนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจในสินค้า จึงขอชะลอการดำเนินการในขั้นตอนการทำสัญญาออกไปก่อน โดยองค์การเภสัชกรรมและ อย. จะเร่งทำการตรวจสอบข้อมูลคุณภาพของผลิตภัณฑ์

โดยยืนยันการดำเนินการทุกขั้นตอนเป็นไปด้วยความโปร่งใส มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพในราคาเหมาะสม ซึ่งความคืบหน้าจะแจ้งให้ทราบต่อไป


"คุณภาพหรือราคา"ATKต้องมาก่อน
อย่างไรก็ตามวันนี้ (13 ส.ค) เวลา 11.00 น.นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา จะแถลงข่าวมาตรฐานการพิจารณาอนุญาตชุดตรวจ ATK พร้อมทั้ง คณะอนุกรรมการจัดทำแผนการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ภายใต้บอร์ดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะมีการประชุมด่วนเพื่อหารือข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าวด้วย

เนื่องจากต้องการให้ ชุดตรวจ ATK ที่จะแจกให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงใช้ตรวจโควิดด้วยตนเองนั้นได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล ซึ่งการแจกชุดตรวจ ATK ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเป็นแนวทางหนึ่งในการลดการระบาดของโรคโควิด-19 แยกผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็ว เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล


ชี้ชุดตรวจควรได้มาตรฐาน WHO
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผอ.รพ.มหาราชนครราชสีมา ในฐานะประธานคณะกรรมการต่อรองราคา สปสช. กล่าวกับ"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์"ว่าชุดตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเองสำหรับประชาชนควรได้มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก เพื่อความแม่นยำในการตรวจและนำไปสู่การรักษาที่ทันท่วงทีเพราะหากไม่แม่นยำ จะนำไปสู่การรักษาที่ผิดพลาด และอาจจะทำให้คนติดเชื้อกระจายมากขึ้นได้

และจากการที่ตรวจสอบมี บริษัทที่ผ่านการรับรองคือ ผลิตภัณฑ์ STANDARD Q ที่นำเข้าโดย บริษัท เอ็มพี กรุ๊ป (ประเทศไทย) ซึ่งได้เจรจาต่อรองราคาพร้อมค่าขนส่งแล้วอยู่ที่ 120 บาท ซึ่งคณะกรรมการฯได้เสนอไปที่สปสช.ว่า ให้จัดซื้อแบบเฉพาะเจาะจงในราคา 120 บาทจาก บริษัท เอ็มพี กรุ๊ป (ประเทศไทย) เพราะเชื่อว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและแม่นยำ ส่วนอีกบริษัทเสนอราคามา 160 บาท


สำหรับชุดตรวจสำหรับ COVID-19 ประเภท Rapid Test Antigen หรือ Antigen Test Kits แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen Test Self-Test Kits) ที่ได้รับการอนุญาตให้ผลิต/นำเข้าณ วันที่ 12 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านการรับรองอย.จากองค์การอนามัยโลก ได้แก่

อันดับ 1.ผลิตภัณฑ์ STANDARD Q COVID-19 Ag Home Test รหัสสินค้ำ Q-NCOV-03G ขนำดบรรจุ 1, 2, 25 ชุดทดสอบต่อกล่อง (Nasal Swab)ผู้นำเข้าบริษัท เอ็มพี กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด โทร 02-538-0559 ผู้ผลิต

SD Biosensor Inc., Korea. ได้รับอนุญาต 15/7/2564 เลขที่ใบรับรอง ประเมิน เทคโนโลยี T 6400120

อันดับ6 .ผลิตภัณฑ์ Panbio COVID-19 Antigen Self-Test รหัสสินค้า 41FK71, 41FK81 และ 41FK91 ขนาดบรรจุ 1,4,10,20 ชุดทดสอบต่อกล่อง (Nasal Swab) ผู้นำเข้า บริษัท ดีซีเอช ออริก้า (ประเทศไทย) จำกัด  โทร.02-257-3500  ผู้ผลิต Abbott Diagnostics Korea Inc.,Korea  ได้รับอนุญาต 20/7/2564 เลขที่ใบรับรองประเมินเทคโนโลยี T 6400127

ส่วนที่เหลืออีก 32 บริษัทผ่านการรับของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ทั้งนี้ สำหรับรายชื่อของบริษัทที่ผ่านการรับรองของอย.ของไทยสามารถเช็คได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
#2855


นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป เปิดเผยว่า ทิศทางการลงทุนครึ่งปีหลังของปี 2564 เอ็กโก กรุ๊ป กำลังเดินหน้าพัฒนาธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่ ธุรกิจเชื้อเพลิงและระบบสาธารณูปโภค เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจหลัก ได้แก่ โครงการขยายระบบขนส่งน้ำมันทางท่อไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิคมอุตสาหกรรมเอ็กโกระยอง และการนำเข้าแอลเอ็นจีตามที่ได้รับใบอนุญาตจาก กกพ.

รวมทั้งธุรกิจ Smart Energy Solution เพื่อต่อยอดธุรกิจหลักด้วยนวัตกรรมใหม่และเทคโนโลยีพลังงานแห่งอนาคต ได้แก่ การลงทุนในบริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างกลุ่ม กฟผ. เพื่อทำธุรกิจเกี่ยวกับนวัตกรรมไฟฟ้าและธุรกิจ New S-Curve โดยเอ็กโก กรุ๊ป จะเน้นการต่อยอดทางธุรกิจของเทคโนโลยีด้านไมโครกริด ด้านระบบกักเก็บพลังงาน และด้านยานยนต์ไฟฟ้า

"เอ็กโก กรุ๊ป ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 โดยมุ่งต่อยอดธุรกิจไฟฟ้า โดยเฉพาะการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด ในขณะเดียวกัน ได้เร่งขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อสร้างสมดุลในพอร์ตโฟลิโอให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่านในอุตสาหกรรมพลังงาน ทำให้มั่นใจได้ว่าเอ็กโก กรุ๊ป จะสามารถเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว"

สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564  การดำเนินธุรกิจนับว่ามีความท้าทายมาก ทั้งจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องจากเทคโนโลยีดิสรัปชัน แต่บริษัทก็สามารถขยายการลงทุนใหม่ได้สำเร็จ โดยสามารถไปปักธงในสหรัฐอเมริกา ด้วยการลงทุนในโรงไฟฟ้าลินเดน โคเจน รัฐนิวเจอร์ซีย์ ซึ่งได้ปิดดีลเมื่อเดือนมิถุนายน 2564 ในขณะเดียวกัน ยังสามารถขยายการลงทุนสู่ธุรกิจเชื้อเพลิง โดยได้รับมติเห็นชอบการออกใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (LNG Shipper License) 200,380 ตันต่อปี จากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) นอกจากนี้ ยังสามารถบริหารจัดการสินทรัพย์ที่เดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบริหารโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างให้ดำเนินไปได้ตามแผนงาน"

ส่วนผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 2 ปี 2564 เอ็กโก กรุ๊ป มีกำไรจากการดำเนินงาน (ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี การด้อยค่าของสินทรัพย์ การวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน และการรับรู้รายได้แบบสัญญาเช่า) 2,758 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 313 ล้านบาท หรือคิดเป็น 13% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2563 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรที่เพิ่มขึ้นของโรงไฟฟ้าไซยะบุรี และกำไรจากการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณการขายไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในต่างประเทศ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพาจู และโรงไฟฟ้าซานบัวนาเวนทูรา ในขณะที่ผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี 2564 บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงาน 4,846 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

เมื่อพิจารณากำไรสุทธิในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 บริษัทมีกำไรสุทธิ 1,510 ล้านบาท ลดลง 3,565 ล้านบาท หรือคิดเป็น 70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่มีกำไรสุทธิงวด 6 เดือนแรกของปี 2564 จำนวน 2,095 ล้านบาท ลดลง 2,567 ล้านบาท หรือคิดเป็น 55% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักมาจากการรับรู้ผลกระทบทางบัญชีที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน และการแปลงมูลค่าหนี้สินระยะยาวเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินบาทจากการอ่อนค่าของค่าเงินบาท


ด้านโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 บริษัทมีโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 3 โครงการ ประกอบด้วยโครงการโรงไฟฟ้า 2 โครงการ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งทะเล "หยุนหลิน" ในไต้หวัน ก่อสร้างแล้วเสร็จ 69% และโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ "น้ำเทิน 1" ใน สปป.ลาว ก่อสร้างแล้วเสร็จ 89% นอกจากนี้ ยังมีโครงการธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่ โครงการ "ขยายระบบขนส่งน้ำมันทางท่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" ก่อสร้างแล้วเสร็จ 85% ในขณะที่โครงการ "นิคมอุตสาหกรรมเอ็กโกระยอง" อยู่ระหว่างการออกแบบโครงการ

ปัจจุบัน เอ็กโก กรุ๊ป มีกำลังผลิตตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมทั้งสิ้น 6,016 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว 29 แห่ง คิดเป็นกำลังผลิตตามสัญญาซื้อขายตามสัดส่วนการถือหุ้น 5,695 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 2 โครงการ คิดเป็นกำลังผลิตตามสัญญาซื้อขายตามสัดส่วนการถือหุ้น 321 เมกะวัตต์ โดยโรงไฟฟ้าและโครงการต่างๆ ตั้งอยู่ใน 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา ซึ่งผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงหลายประเภท ทั้งก๊าซธรรมชาติ แอลเอ็นจี ถ่านหิน ชีวมวล พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ และเซลล์เชื้อเพลิง

นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่ โครงการขยายระบบขนส่งน้ำมันทางท่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเอ็กโกระยอง ตลอดจนยังได้รับใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย
#2856


องค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) เตือนว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกอาจทะลุระดับ 300 ล้านรายภายในต้นปีหน้า หากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงดำเนินต่อไปในทิศทางปัจจุบัน และได้เรียกร้องให้บรรดาผู้นำทั่วโลกชะลอการแพร่ระบาดด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์ตรวจเชื้อ, การรักษา และวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แก่บรรดาประเทศยากจน

นายแพทย์ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ของดับเบิลยูเอชโอ เปิดเผยในการแถลงข่าวเมื่อวันพุธ (11 ส.ค.) ว่า การคาดการณ์ดังกล่าวมีขึ้นเพียง 1 สัปดาห์หลังจากดับเบิลยูเอชโอ รายงานว่าพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกจำนวน 200 ล้านรายแล้ว

นายแพทย์ทีโดรสกล่าวว่า จำนวนผู้ติดเชื้อที่ไม่มีการรายงานนั้น อาจทำให้ยอดติดเชื้อจริงๆ สูงกว่าที่มีการรายงานอย่างมาก

"ยอดติดเชื้อจะถึง 300 ล้านรายหรือไม่ และจะไปถึงระดับดังกล่าวรวดเร็วเพียงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคน" นายแพทย์ทีโดรสระบุ

บรรดาเจ้าหน้าที่ของดับเบิลยูเอชโอ เปิดเผยถึงความต้องการเงินทุน 7.7 พันล้านดอลลาร์อย่างเร่งด่วนเพื่อช่วยในการแจกจ่ายวัคซีน, ออกซิเจน และการรักษาพยาบาลในประเทศที่มีรายได้ต่ำ ขณะที่นายแพทย์ทีโดรสผลักดันให้มีการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมมาอย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มทางเลือกในการรักษาผู้ติดเชื้อตั้งแต่อาการน้อยจนถึงอาการรุนแรง

ด้าน Worldometer ซึ่งเป็นเว็บไซต์รายงานข้อมูลล่าสุดที่มีการรวบรวมจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขทั่วโลกรายงานเมื่อวานนี้ว่า ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกสะสมนั้นมีจำนวน 205,103,455 รายแล้ว และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 4,332,308 ราย โดยสหรัฐมียอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สูงสุดในโลก (36,897,983) รองลงมาคืออินเดีย (32,052,127) และบราซิล (20,213,388)
#2857


กาญจนบุรี - อุทยานฯไทรโยค ไอเดียเป็นเลิศ เพิ่มจุดเช็คอิน ดึงความสามารถของ เจ้าหน้าที่ ในช่วงโควิด-19 ปรับโฉมศูนย์บริการ นักท่องเที่ยว เนรมิตเป็นจิตกรรมฝาผนัง ได้ทั้งความเพลิดเพลิน และความรู้

นายสมเจตน์ จันทนา หัวหน้าอุทยานแห่งชาติไทรโยค เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วประเทศ รวมทั้งจังหวัดกาญจนบุรีของเรา จากการติดตามข้อมูลจากสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี พบยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ได้เร่งดำเนินการตรวจหาเชื้อในเชิงรุกเพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดให้ได้โดยเร็ว ซึ่งอำเภอไทรโยค พบผู้ติดเชื้อสะสมข้อมูลวันที่ 11 ส.ค.ที่ผ่านมาอยู่ที่ จำนวน 156 ราย เสียชีวิตสะสม จำนวน 6 ราย ส่วนตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมทั้งจังหวัดอยู่ที่ จำนวน 7,457 ราย เสียชีวิตสะสม จำนวน 53 ราย ซึ่งหวังว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว



โดยที่ผ่านมาอุทยานแห่งชาติหลายแห่งทั่วประเทศได้มีการปิดรับบริการนักท่องเที่ยวเพื่อความปลอดภัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ และตัวของนักท่องเที่ยวเอง ซึ่งอุทยานแห่งชาติไทรโยคเป็นอีกหนึ่งสถานที่ ที่ยังเปิดให้บริการ และยังคงจัดชุดลาดตระเวนเชิงคุณภาพเพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและล่าสัตว์ป่าอย่างเข้มข้น ควบคู่ไปกับการพัฒนาอาคารสถานที่ให้เกิดความสวยงามเอาไว้รองรับนักท่องเที่ยวในอนาคตอันใกล้นี้

ทั้งหมดเป็นไปตามนโยบาย ทส. ยกกำลัง 2 + 4 ของ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ยกระดับคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มเป็นสองเท่า และเจ้าหน้าที่ในสังกัดทุกคนต้องเพิ่มศักยภาพในการทำงานมากขึ้น



อุทยานแห่งชาติไทรโยค จึงใช้โอกาสที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาจำนวนไม่มาก ปรับปรุงศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่มีอยู่ให้ได้มาตรฐานให้เป็นไปตามนโยบาย ด้วยการจัดทำนิทรรศการในรูปแบบจิตกรรมฝาผนังขึ้นภายในศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อให้ความรู้รวมทั้งเป็นการยกระดับมาตรฐานของนักท่องเที่ยวให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากการเข้ามาท่องเที่ยวตามวิถีปกติ ทุกคนจะได้ความรู้กลับไป

เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามายังอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่ง สถานที่แรกที่จะเป็นเสมือนห้องรับแขกให้กับนักท่องเที่ยวนั่นก็คือ "ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว" เพื่อให้นักท่องเที่ยวทุกท่านที่เดินทางมาจะได้ทราบถึงแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ การปฏิบัติตัวเมื่อเข้ามาอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติ รวมถึงข้อห้ามต่างๆ ที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติ เพื่อให้ระบบนิเวศทางธรรมชาติไม่ถูกทำลาย" นายสมเจตน์ฯ กล่าว



นายสมเจตน์ จันทนา กล่าวว่า อุทยานแห่งชาติไทรโยค มีความตั้งใจที่จะปรับปรุงอาคารศูนย์บริการนักท่องท่องเที่ยว จึงดึงศักยภาพของเจ้าหน้าที่มาช่วยกันคิด ช่วยกันออกแบบ แล้วลงมือทำกันเองตามความถนัดของแต่ละคน ซึ่งเป็นความโชคดีที่เจ้าหน้าที่ของเรามีความถนัดในหลายๆด้าน เช่นช่างก่อสร้างโครงสร้าง ช่างไม้ ช่างไฟ และช่างศิลป์ มีการออกแบบเนื้อหาพร้อมรูปภาพประกอบนิทรรศการ ตลอดจนการแปลภาษา เพื่อให้ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่เป็นด่านหน้ารับนักท่องเที่ยวนั้น เป็นห้องนิทรรศการศิลปะฝาผนังเพื่อความสวยงาม นอกจากนี้เราได้มีการสื่อสารแบบสองภาษาเพื่อความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น

โดยเนื้อหาของนิทรรศการจะประกอบไปด้วยความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสน้ำตกไทรโยค จนเป็นที่มาของเพลงเขมรไทรโยคอันเป็นเพลงไทยเดิมที่ยังคงความไพเราะมาจนถึงปัจจุบัน การสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะ ที่บ่งบอกถึงความยากลำบากที่เกิดขึ้นตลอดระยะทาง 415 กิโลเมตร ที่ทางรถไฟสายนี้พาดผ่าน รวมถึงความสำคัญของอุทยานแห่งชาติ แหล่งท่องเที่ยวน้ำตกและถ้ำต่างๆ ในอุทยานแห่งชาติไทรโยค และสัตว์ป่าที่สามารถพบได้ในป่าแถบนี้



นอกจากนั้นยังมีตัวอย่างของค้างคาวชนิดต่างๆ โดยเฉพาะค้างคาวคุณกิตติ ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกที่สามารถพบในอุทยานแห่งชาติไทรโยคให้ชม โดยภายในศูนย์บริการจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและให้ความรู้แก่ทุกคน ตลอดจนสื่อ แผ่นพับ เอกสารต่างๆ ไว้แจกแก่นักท่องเที่ยว

จึงขอเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวทุกท่านที่มาเยือนอุทยานแห่งชาติไทรโยคได้เข้ามาหาความรู้บนศูนย์บริการนักท่องเที่ยวกันได้ ปัจจุบันนี้อุทยานแห่งชาติไทรโยคยังเปิดให้บริการการท่องเที่ยวแต่ต้องปฏิบัติตัวภายใต้มาตรการป้องกันการระบาดของเชื้อโควิด – 19 อย่างเคร่งครัด
#2858
เพื่อให้เจ้าของกิจการ รอดผ่านวิกฤติ โควัด ไปด้วยกัน โพสต์ธุรกิจของท่านได้ฟรี ที่ https://bizzmotive.net/

สร้างโปรไฟล์ และโพสต์ธุรกิจของคุณได้ ฟรี https://bizzmotive.net/add-listing/ 
หรือ โพสต์ประกาศได้ที่ https://forum.bizzmotive.net/ 

ไม่เสียค่าใช้จ่ายไดๆ ทั่้งสิ้น 
ถ้าติดปัญหรือ ต้องการแนะนำ ติดต่อเข้ามาได้ https://bizzmotive.net/contact/
หรือ email info@bizzmotive.net

ศึกษาวิธีการใช้งานได้ที่ https://bizzmotive.net/how-it-works
#2859


นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 14 พ.ศ. 2564 Beyond COVID - 19 Crisis : A Decade of Health Transformation (ก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 สู่ทศวรรษแห่งการปฏิรูประบบสุขภาพ) ผ่านระบบประชุมทางไกล ในการประชุมดังกล่าว มีการประกาศผลรางวัลและเชิดชูเกียรติบุคคลและองค์กรดีเด่น โดย กฟผ. ได้รับรางวัลสูงสุด ประเภทองค์กรดีเด่น ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม Princess Health Award 2021 จากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะได้รับพระราชทานเหรียญรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในภายหลัง

นายบุญญนิตย์ กล่าวว่า รางวัลดังกล่าว เกิดจากความร่วมมือของทุกเครือข่าย นับตั้งแต่หน่วยงานกำกับดูแล ชุมชน สังคม สื่อมวลชนที่ได้ติดตามให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานของ กฟผ. ตลอดจนความร่วมมือ ในการขับเคลื่อนการสร้างสุขภาวะที่ดีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างความสุขที่ยั่งยืนให้กับคนไทย ผ่านโครงการปลูกป่า กฟผ. โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยังยืน โครงการแว่นแก้ว รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพต่าง ๆ อาทิการจัดงานวิ่ง งานแข่งจักรยาน และการสนับสนุนกีฬาต่าง ๆ ในระดับประเทศ

โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 นับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา กฟผ. ได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วน สนับสนุนการกู้วิกฤตตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่ความพยายามลดการระบาดของโรค การป้องกัน การรักษา เยียวยา

โดยเริ่มจากการดูแลพนักงาน เน้นการรักษาตัวเพื่อรักษาหน้าที่ เพื่อให้สามารถนำศักยภาพขององค์กรมาเร่งสนับสนุนในทุก ๆ ด้านอย่างสุดกำลัง อาทิ ผลิตเจลอนามัยน้ำใจ กฟผ. ผลิตตู้ตรวจโควิดกว่า 600 ตู้ ผลิตชุดหมวกป้องกันเชื้อ PAPR กว่า 1,000 ชุด

รวมทั้งจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์สนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม-ศูนย์พักคอย ระดมทุนจัดหาเตียงสนามและสิ่งของจำเป็นอีก 3,500 ชุด ร่วมสนับสนุนการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน เป็นต้น เพื่อร่วมสร้างพลังให้ทุกภาคส่วนสามารถฝ่าฟันและผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้โดยเร็วที่สุด

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ทุกความมุ่งมั่นที่ กฟผ. ได้ดำเนินการเพื่อสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ล้วนสำเร็จได้จากแรงกายแรงใจจากทุกภาคส่วน กฟผ. จึงขอขอบคุณและขอมอบรางวัลนี้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้มีส่วนร่วม ตลอดจนคนไทยทุกคนที่คอยเป็นแรงใจให้ กฟผ. ซึ่งเป็นของคนไทย ได้ทำเพื่อคนไทยทุกคน
#2860


'บมจ.เซ็ปเป้' หรือ SAPPE ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2564 ทำรายได้รวม 960.5 ล้านบาท เติบโต 31.9% และกำไรสุทธิ 125.2 ล้านบาท เติบโต 53.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พร้อมเดินหน้าปรับแผนงานเชิงรุก ทยอยออกผลิตภัณฑ์ใหม่เจาะตลาดรักสุขภาพ สร้างโมเมนตัมในตลาดอาหารและเครื่อมดื่มมากขึ้น พร้อมรับอานิสงส์ตลาดต่างประเทศฟื้นตัว กำลังซื้อเริ่มกลับมา รวมถึงรับผลดีจากค่าเงินบาทอ่อนค่า มั่นใจรายได้ทั้งปีเติบโต 10-15% ตามเป้าหมาย

น.ส.ปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) หรือ SAPPE เปิดเผยว่า สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2564 (เมษายน-มิถุนายน) ถือเป็นปีที่บริษัทฯ มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยมีรายได้รวม 960.5 ล้านบาท เติบโต 31.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่มีรายได้รวม 728.2 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเติบโตแม้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยตลาดต่างประเทศกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่งด้วยอัตราการเติบโต 52.0% จากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจนจากกำลังซื้อของผู้บริโภคหลังจากประชาชนทยอยเข้ารับการฉีดวัคซีน โดยภูมิภาคที่เติบโตโดดเด่นได้แก่ ตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกา ที่ถึงแม้มีอุปสรรคด้านค่าระวางการขนส่งสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งบริษัทฯ ได้มีการเข้าไปบริหารจัดการอย่างใกล้ชิด

สำหรับตลาดในประเทศ ไตรมาสนี้ได้มีการลงนาม MOA โครงการส่งเสริมการปลูกพืชกัญชงกับ บจ.ไทย เฮมพ์ เวลเนส เพื่อเตรียมพร้อมรับเทรนด์กัญชงแล้ว SAPPE ยังได้ปรับแผนเชิงรุกเพื่อขยายตลาดในประเทศโดยเดินหน้าออกผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบรับกระแสรักสุขภาพของผู้บริโภค เช่น เครื่องดื่มเซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์ กรีน รีแล็กซิ่งคาล์ม เครื่องดื่มน้ำสมุนไพร ตะขาบห้าตัว Sappe x Takaab เครื่องดื่มสมุนไพรแบบช็อตรูบี้ เลดี้ กาแฟเพรียว คอฟฟี่ สูตรใหม่ คอลลาเจน ไทพ์ทู แม็กซ์ทีฟ กาแฟถังเช่าสายพันธุ์ทิเบตผสมวิตามินบีรวม และในกลุ่มขนมขบเคี้ยว เช่น ลูกอมครูเพ็ญศรี โดยร่วมมือกับพันธมิตร Sappe x Workpoint ทำให้มีโมเมนตัมในตลาดอาหารและเครื่องดื่มมากขึ้น

ส่วนกำไรสุทธิทำได้ 125.2 ล้านบาท เติบโต 53.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 81.6 ล้านบาท อันเป็นผลมาจากยอดขายที่เพิ่มมากขึ้น และการบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้รับประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ส่งผลให้สามารถรับรู้รายได้และกำไรเข้ามาเพิ่มมากขึ้น

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SAPPE กล่าวว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานในครึ่งปีหลัง 2564 คาดว่าจะรักษาการเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง จากแนวโน้มการขยายตัวของตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากแบรนด์สินค้า ช่องทางการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่ง และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ สำหรับตลาดในประเทศ บริษัทฯ มีแผนทยอยออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Functional Drink รวมถึงสร้างสีสันให้ตลาดอาหารและเครื่องดื่มด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อกระตุ้นให้ตลาดกลับมาคึกคักไม่แพ้ช่วงครึ่งปีแรก โดยคาดว่าผลการดำเนินงานปี 2564 บริษัทฯ จะสามารถผลักดันรายได้ให้เติบโตได้ 10-15% ตามเป้าหมาย