• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - fairya

#7111


ท็อตแนม ฮอทสเปอร์ ประเดิมสนามรายการใหม่ ยูฟ่า คอนเฟอเรนซ์ ลีก นัดแรกด้วยการบุกไปแพ้ ปากอส เดอ เฟร์เรย์ร่า จากโปรตุเกส 0-1 เมื่อคืนวันที่ 19 สิงหาคม ที่ผ่านมา

ฟุต.รายการใหม่ ยูฟ่า ยูโรป้า คอนเฟอเรนซ์ ลีก รอบเพลย์ออฟ ท็อตแนม ฮอทสเปอร์ ตัวแทนจาก พรีเมียร์ ลีก อังกฤษ ลงสนามไปเยือน ปากอส เดอ เฟร์เรย์ร่า เจ้าบ้านแห่งลีกโปรตุเกส

เกมนี้ สเปอร์ส ของ นูโน่ เอสปิริโต ซานโต เน้นส่งนักเตะสำรองเป็นหลักมี โจวานนี โล เซลโซ, ไรอัน เซสเซญอง กับ แแมตต์ โดเฮอร์ตี เป็นตัวหลักของทีมชุดนี้

อย่างไรก็ตาม ชัยชนะกลับเป็นของเจ้าบ้าน จากประตูโทนนาที 44 จังหวะที่ นูโน่ ซานโตส แทงทะลุให้ ลูคัส ซิลวา สปีดขึ้นไปหลุดเดี่ยวแล้วยิงตุงตาข่าย 1-0

แม้ครึ่งหลัง สเปอร์ส จะพยายามทวงคืนแต่ก็ทำไม่สำเร็จ จบเกม ปากอส คว้าชัยไปก่อนเกมแรก ส่วน "ไก่เดือยทอง" รอกลับไปแก้ตัวในเกมสองที่บ้านตัวเอง วันที่ 26 สิงหาคมนี้
#7113
MEE SK FiR **นวัตกรรมอาหารผิว-เซลล์ ดูดซึม100%เข้าสู่เซลล์ใน5นาทีล่าสุดจากเกาหลี


อยากมีผิวเปล่งปลั่งกระจ่างใส่ฟังทางนี้ วิตามินบูสผิว สารสกัดเข้มข้น 18 ชนิด นวัตกรรมอาหารผิว อาหารเซลล์ ลิขสิทธิ์ระดับโลก 'หนึ่งเดียว'

ด้วยนวัตกรรม FiR FAR INFRARED...



อาหารผิวมาแรงที่สุด โมเลกุลเล็ก ดูดซึมไวเข้าสู่เซลล์ 'ภายใน 5 นาที

5 ประโยชน์ทำไม ต้องทาน ?

เสริมสร้างภูมิต้านทาน

ลดการเกิดสิวอักเสบ

ผิวเด็กกระจ่างใส

ช่วยบำรุงสายตา

ลดรอยดำ รอยแดง ริ้วรอย ฝ้า กระ

ดูแลผิวจากภายในสู่ภายนอก

วิตามินสูงกว่า ทั่วไป 80 เท่า



โปรโมชั่นเปิดตัว   # เปิดบิล 2,699฿ เป็นตัวแทนติดบริษัท  ได้รับ 2 กล่อง



ไม่ต้องมีสต๊อกสินค้าเอง

ไม่ต้องแพ็คและส่งสินค้าเอง

ไม่มีความรู้ ก็เริ่มทำธุระกิจได้

กำไร 50-75%

มีทีมงานการตลาดสอนเทคนิคการขายฟรี

มีกลุ่มและทีมงานคอยดูแลให้คำปรึกษาตลอด

สามารถเริ่มทำงานได้ทันที

  

เติมอาหารผิวเพียงวันละ 1-2 ม็ด (30 แคปซูล )

ปลอดภัย อย. 13-1-14959-5-1478



สนใจสั่งซื้อหรือสมัครตัวแทน

ไลน์ไอดี teerapat999

โทร 0846623662

ข้อมูลเพิ่มเติม  http://porntaywa99.lnwshop.com/p/1230

 กดเข้าลิ้งค์นี้  ลงทะเบียนฟรี !!! เพื่อเข้าศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมการสร้างรายได้

https://www.metang-solution.com/member/register.php...







#7114
บริษัท สบายใจการบัญชี  จำกัด
9/54  หมู่ที่ 8  ตำบลบางเลน  อำเภอบางใหญ่  จังหวัดนนทบุรี   11140
โทร & Line ID.087-347-6299
https://gladnessaccounting.co.th

สำนักงานบัญชีจังหวัดนนทบุรี , สำนักงานบัญชีบางกรวย , สำนักงานบัญชีบางกร่าง , สำนักงานบัญชีบางใหญ่ , สำนักงานบัญชีบางศรีเมือง , สำนักงานบัญชีเลี่ยงเมือง , สำนักงานบัญชีพิมลราช , สำนักงานบัญชีบางคุรัด , สำนักงานบัญชีบางรักพัฒนา , สำนักงานบัญชีบางแม่นาง , สำนักงานบัญชีไทรม้า , สำนักงานบัญชีตลาดขวัญ , สำนักงานบัญชีบางรักน้อย , สำนักงานบัญชีบางพลับ , สำนักงานบัญชีศาลากลางนนทบุรี , สำนักงานบัญชีถนนกาญจนาภิเษกนนทบุรี , สำนักงานบัญชีบางกรวย-จงถนอม , สำนักงานบัญชีถนนชัยพฤกษ์ , สำนักงานบัญชีถนนติวานนท์ , สำนักงานบัญชีท่าอิฐ , สำนักงานบัญชีถนนบางไกรใน , สำนักงานบัญชีถนนราชพฤกษ์ , สำนักงานบัญชีตลิ่งชัน , สำนักงานบัญชีถนนเรวดี , สำนักงานบัญชีถนนศรีสมาน , สำนักงานบัญชีถนน345
#7118


กระแสการพัฒนาเมืองในวิถีใหม่ กำลังเป็นอีกโจทย์ท้าทายที่ถูกพูดถึงในเวลานี้ แต่ในขณะที่ทุกคนต่างมุ่งเป้าไปที่ "สมาร์ทซิตี้" หรือเมืองอัจฉริยะ ว่าจะเป็นคำตอบของการพัฒนาเมืองที่ตอบโจทย์โลกในศตวรรษใหม่

อีกฟากมุมมองจากนักพัฒนา กลับเริ่มที่จะหันมาให้ความสำคัญถึงกระแสการพัฒนา "เมืองแห่งการเรียนรู้" หรือ "Learning City"มากขึ้นเช่นกัน นั่นเพราะทุกคนต่างหมายมั่นว่า Learning City อาจเป็นภาพฝันของเมืองคุณภาพในอนาคตที่แท้จริง

จาก Lifelong Learning สู่ Learning City

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เล่าถึงเหตุผลว่า ทำไมเราจึงต้องขับเคลื่อน "เมืองแห่งการเรียนรู้" ผ่านการนำเสนอสาธารณะ ภายใต้ประเด็น "ฟื้นเมืองบนฐานความรู้" (Knowledge-based City Development) ซึ่งจัดโดย UddC ภายใต้ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บริษัทป่าสาละ The Urbanis และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS) โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การนำเสนอผลการศึกษาโครงการเมืองกับบทบาทและศักยภาพของประเทศไทย ตลอดจนการร่วมมองหาทิศทาง "เมืองแห่งการเรียนรู้" ในไทย ว่าจะมีความเป็นไปได้เพียงใด

ผศ.ดร.นิรมลเอ่ยว่า เพราะปัจจุบันเรากำลังอยู่ในมรสุมของความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่ ที่กำลังสร้างความท้าทายใหม่ๆ และเริ่มทำให้ทุกคนตระหนักมากขึ้นว่า การเรียนรู้เฉพาะการศึกษาในระบบอาจไม่เพียงพออีกต่อไป


ดังนั้น แต่ละชุมชนจำเป็นต้องมี "พื้นที่" สำหรับการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนที่สามารถทำให้ "ทุกคน" ในสังคมได้มีโอกาสเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ และสมรรถนะของความเป็นพลเมืองเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

"คำว่าสมาร์ทซิตี้อาจไม่ได้จำกัดแค่เรื่องเทคโนโลยีที่มาทำให้เราสะดวกสบายเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองแบบไหนที่จะสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ของคนในเมืองด้วย"

ดังนั้น เพื่อสร้างบรรยากาศให้คนเรียนรู้ได้เอง เราต้องสร้างนิเวศน์ จัดการให้เมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

 

สำหรับกระแส Learning City เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น หลังจากองค์การยูเนสโกเล็งเห็นว่า หากโลกจะเดินไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goal:SDGs) จำเป็นต้องสร้างสังคม "การเรียนรู้ตลอดชีวิต" ให้เกิดขึ้น

"เมือง" หรือชุมชน จึงเป็นผู้รับบทบาทโดยตรงในการทำหน้าที่นิเวศน์ของการเรียนรู้ ในทุกที่ทุกเวลา 

ซึ่ง ผศ.ดร.นิรมล ยังยกตัวอย่างของเมืองแห่งการเรียนรู้หลายแห่งทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในยุโรปและเอเชียโดยเฉพาะ "ญี่ปุ่น" สามารถยกระดับสังคมเรียนรู้ กลายเป็นฐานขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบยั่งยืนให้แก่ชุมชนจริงมาแล้ว

"เมืองเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ และยังมีการส่งต่อข้อมูลหรือความรู้ในท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น เช่น ในญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการอ่านที่เข้มแข็งมาตั้งแต่สมัยเอโดะ คนญี่ปุ่นอ่านตลอดเวลาเพราะหนังสือมีราคาถูก ทุกคนเข้าถึงได้ และยังมีวัฒนธรรมการจดบันทึกที่ยาวนาน นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังใช้สถานศึกษาเป็นพื้นที่แกนกลางในการจัดทำเมืองการเรียนรู้ แบ่งปันความรู้ กลั่นความรู้มาสร้างอาชีพสร้างเศรษฐกิจ สร้างภูมิปัญญาในชุมชน"

ตัวอย่างความสำเร็จหนึ่งที่เกิดจากการพัฒนาดังกล่าว คือการต่อยอดแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสินค้าเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น ที่เรียกว่าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล ซึ่งประเทศไทยเราได้นำเอาแบบอย่างมาใช้นั่นเอง

สำหรับลักษณะของเมืองแห่งการเรียนรู้ ผศ.ดร.นิรมล ได้สรุปว่าควรมีคุณสมบัติ 5 ประการ ได้แก่

1. การมีวัฒนธรรมการเรียนรู้และการอ่านที่เข้มแข็ง

2. การเป็นเมืองมีอำนาจในการตัดสินใจและจัดการตนเอง

3. การมีโครงสร้างการปกครองที่มีการกระจายอำนาจให้เมือง

4. การมีชุมชนและภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง

5.การมีลักษณะความเป็นเมืองสอดคล้องกับความเป็นมนุษย์หรือ Human scale/walkable

Learning City แค่ผังเมืองไม่พอ?

เมืองแห่งการเรียนรู้แบบไหนที่เราควรสนับสนุนให้เกิดในประเทศไทยบ้าง?

จากการศึกษาการจัดการผังเมืองของ UddC พบว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมุ่งเน้นการจัดการเมืองในเชิงพื้นที่ เป็นหลัก เช่นการจัดวางผังโรงเรียนให้สามารถเดินเข้าถึงได้ การพัฒนาสถานศึกษาให้เกิดความสมดุล เป็นต้น โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือต้องการให้ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบการศึกษา ซึ่งฟังดูก็น่าจะเป็นการจัดการที่เหมาะสม ทว่าปัจจุบันเพียงแค่มี "การศึกษา" ทั่วถึงอาจไม่เพียงพอ

"โลกกำลังต้องการคนที่มีทักษะความสามารถมากกว่าที่ระบบการศึกษาผลิตออกมา นั่นคือคนที่สามารถวิเคราะห์ แก้ปัญหา และมีความยืดหยุ่นเป็นต้น เหล่านี้คือทักษะอันพึงประสงค์ที่โลกศตวรรษใหม่ต้องการ ความรู้ที่ใช้ในปัจจุบันแตกต่างกับความรู้ในอดีตที่ผ่านมา พลเมืองยุคใหม่ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต เราจึงต้องสร้างสังคมที่ส่งเสริมเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาและสามารถก้าวทันความเปลี่ยนแปลงโลกแบบDigitalization" ผศ.ดร.นิรมล กล่าว

"หากถามว่าเมืองแบบไหนที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ ถ้าเรานำกรอบ Learning City ของยูเนสโกมาเป็นแนวทางการพัฒนาเมือง จะพบว่าทิศทางการพัฒนาเมืองวิถีใหม่นี้จะขยับห่างออกจากการพัฒนาเชิงกายภาพทันที"

เพราะการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ไม่ใช่การพัฒนาเฉพาะทางกายภาพ  ดังนั้นนอกจากศาสตร์การวางผังเมือง จำเป็นต้องใช้ศาสตร์หลากหลายในการจัดการชุมชน รวมถึงการพัฒนาศักยภาพ "คน" ที่อยู่ในเมืองนั้น ให้เป็นพลเมืองตื่นการเรียนรู้ไปด้วย

"การลงทุนเมืองแห่งการเรียนรู้ ไม่ใช่การลงทุนการศึกษาในระบบหรือสถานศึกษาเท่านั้น เราสามารถจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ หรือปรับปรุง Learning Facility ให้เชื่อมโยงกับในระบบการศึกษาเดิมได้ ไม่จำเป็นต้องสร้างใหม่เสมอไป" ผศ.ดร.นิรมลให้ข้อมูล

ฟื้นกรุงเทพฯ-ปากน้ำโพ บนฐานการเรียนรู้

แต่ก่อนที่ประเทศไทยจะตั้งเป้าหมายเดินหน้าขับเคลื่อนไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ การบ้านข้อแรกที่เราอาจต้องทำความเข้าใจคือ การเสาะหาโอกาสและข้อจำกัดของตนเอง ว่ามีอะไรบ้างที่ทำให้เกิดช่องว่าง และการพัฒนาสู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ ตลอดจนโอกาส อุปสรรค

ที่สำคัญการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้จะช่วยพัฒนาปิดช่องโหว่ได้จริงหรือไม่

ซึ่งทาง UddC เองได้มีการลงพื้นที่ศึกษาเมืองต้นแบบ 2 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ตัวแทนเมืองศูนย์กลางที่พร้อมที่สุดในประเทศ แต่แม้จะดูมีความพร้อมในฐานะเมืองหลวง กลับพบว่า กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ที่มีระดับความหลากหลายของของ "ย่าน" หรือชุมชนที่ซับซ้อนและยังมีโครงสร้างทางกายภาพที่ไม่เอื้อต่อการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ ทั้งยังขาดความเชื่อมโยงในหลายมิติ

คณะทำงานได้ทำการเลือกพื้นที่ย่านปทุมวัน บางรัก และธนบุรี เนื่องจากมองว่าเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมที่สุดด้วยมีแหล่งชุมชนและสถานศึกษา เพราะมีทั้งระดับมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัย

ส่วนเมืองต้นแบบแห่งที่สอง คือเมืองปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ถือเป็นเมืองรองที่ผลิตคน มีฐานการศึกษาระดับมัธยมที่เข้มแข็ง สามารถป้อนคนเข้าสู่ตลาดงานระดับประเทศ แต่ขณะเดียวกัน ในการพัฒนาท้องถิ่น กลับเป็นเมืองที่มีการเติบโตแบบถดถอย

บทสรุปที่ได้จากการวิจัยนี้ คือย้ำให้เห็นว่า "การเรียนรู้" กับ "การศึกษา" นั้นมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี แม้จะมีความแตกต่างกัน แต่ก็มีการส่งเสริม เชื่อมโยงกันและกันไปในตัว

"เราพบว่าอุปสรรคสำคัญคือ ประเทศไทยมีลักษณะของเมืองที่เป็นแบบแยกส่วน แต่รวมศูนย์ ที่สำคัญข้อมูลก็ถูกรวมศูนย์ไปอยู่กับส่วนกลาง อาจทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่นำไปสู่องค์ความรู้เกิดขึ้นได้ยากจึงควรมีการถ่ายเทอำนาจการจัดการจากภาคนโยบายมาสู่ท้องถิ่น รวมถึงคืนข้อมูลสู่ชุมชน"

นอกจากนี้ การบริหารภายใต้ระบบราชการไทย ยังมีลักษณะการทำงานเป็นแบบ Project Based คือ การทำงานแยกส่วน หรือแยกกันทำตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน แต่ขาดการเชื่อมโยงกัน ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถตอบสนองแนวทางเมืองบนฐานแห่งความรู้ได้

ปัญหาดังกล่าวยังเกิดขึ้นแม้กระทั่งโครงการพัฒนา ผศ.ดร.นิรมล ยอมรับว่า แม้แต่โครงการอาร์ตอินซอยที่ทาง UddC ดำเนินการเอง ถึงจะประสบความสำเร็จในแง่เป้าหมายโครงการ แต่ไม่ได้ประสบความสำเร็จในด้านการช่วยส่งเสริมพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ได้

ดังนั้น ในข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองบนฐานความรู้ ผศ.ดร.นิรมล เอ่ยว่า ควรประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์

"หนึ่งคือการสร้างเครือข่ายของเครือข่ายและกรอบการพัฒนาสู่เมืองฐานความรู้ สอง ควรมีแพลตฟอร์มที่รวบรวมความรู้ย่านในทุกมิติ และสาม คือการผลักดันให้เกิดการสร้างพลเมือง/อาสาสมัครย่านด้านความรู้และข้อมูลในเมือง"

ผศ. คมกริช ธนะเพทย์ ประธานหลักสูตรสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าถึงกรณีศึกษาของเมืองปากน้ำโพ นครสวรรค์ว่า จากการลงพื้นที่พบปัญหาเชิงโครงสร้าง 5 ประเด็น ได้แก่การยึดติดอยู่กับเมืองการศึกษา การต้องการการนำเข้าความรู้เพื่อการพัฒนาอีกมาก การมีต้นทุนความรู้ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ การเชื่อมโยงความรู้ที่จนมีกับการพัฒนาที่ควรจะเป็น ยังไม่ลงตัว และการกระจายความรู้ที่เป็นประโยชน์สีด้านยังไม่ถึงคนทุกกลุ่ม

ซึ่งปัญหาเชิงโครงสร้างที่ปากน้ำโพเผชิญ อาจคือภาพสะท้อนความเป็นเมืองทั่วประเทศไทย ที่ถูกพัฒนาภายใต้ความเคยชิน ในการเดินตามสิ่งที่รัฐ หรือภาคนโยบายเป็นผู้เลือกหรือนำเสนอให้มาโดยตลอดไมนด์เซ็ตใหม่จึงควรพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม

"อาจเพราะที่ผ่านมาการศึกษาในระบบมุ่งเน้นให้คนเป็นลูกจ้างในตลาดแรงงานใหญ่ทั้งระบบ แต่เมืองท้องถิ่นแบบปากน้ำโพเองกลับขาดการจ้างงานที่ใช้ทักษะสูง ทำให้ไม่มีแรงขับเคลื่อนในการที่จะพัฒนาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านอื่น ๆ และเริ่มละทิ้งงานที่ใช้ทักษะเฉพาะทางหรือทักษะเฉพาะพื้นที่ ปากน้ำโพจึงขาดบรรยากาศสาธารณะที่การเรียนรู้ที่กระจายตัวอย่างทั่วถึง"ผศ. คมกริช เอ่ย

อีกสิ่งที่ ผศ.คมกริชมองว่า อันตรายที่สุดของการพัฒนาเมืองปากน้ำโพ คือภาวะ "ความเป็นพลเมืองหดลง"

"การที่คนอยู่ไม่รู้สึกถึงความเป็นพลเมืองและมีชีวิตอยู่เพียงแค่รักษาตึกแถวแล้วหน้าบ้านเอาไว้เพื่อตนเองก็พอ เป็นสิ่งที่น่ากังวล ดังนั้น หากนครสวรรค์จะเปลี่ยนเมืองฐานการศึกษาให้เป็นเมืองฐานความรู้ควรเริ่มด้วยกันรับฟังและต่อยอดความรู้ภายในและภายนอกอย่างเป็นระบบและเข้าถึงได้" ซึ่งผศ.คมกริชเสนอแนะว่า ควรใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง 3 ยุทธศาสตร์ ตามที่ผศ.ดร.นิรมล เอ่ยบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมืองด้วย

เป็นเมืองเรียนรู้ ต้องมีข้อมูลให้รู้

"เรามักมีมายาคติว่าเมืองเราไม่มีข้อมูล แต่ผมเชื่อว่าทุกเมืองมีข้อมูล แต่อาจจะเป็นในรูปแบบของเศษกระดาษ เอกสาร องค์ความรู้ ภูมิปัญญาต่างๆ หรือแม้แต่ความทรงจำ แต่ปัญหาที่ผ่านมาคือ มันไม่เกิดกระบวนการถ่ายโอน หรือถ่ายทอดข้อมูลในสังคมเมือง" อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Intelligence เอ่ย

โดยกล่าวว่าปัญหาส่วนหนึ่ง เกิดจากสิ่งที่เรียกว่า "ระบบผูกขาดข้อมูล" กับ "การโจรกรรมข้อมูลเมือง" คือการที่ข้อมูลถูกไม่นำมาคืนกลับสู่ท้องถิ่นหรือชุมชน

อดิศักดิ์ กล่าวว่าข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลพื้นที่โครงสร้างเมือง ข้อมูลคน/พลเมือง และข้อมูลพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลอะไรก็ได้ แม้แต่ข้อมูลสุขภาพ

 "อาจเริ่มมีการพูดถึงดาต้าเซ็นเตอร์ในภาครัฐมากขึ้น แต่หากไม่มีนำมาใช้ประโยชน์ให้เกิดการแลกเปลี่ยน จึงอาจไม่ใช่คำตอบในการสร้างฐานข้อมูลเมือง ข้อมูลท้องถิ่น เมืองควรเป็นผู้จัดเก็บและนำมาใช้งานได้เองในท้องถิ่น เพื่อที่จะสามารถเอาข้อมูลนั้นมาสร้างให้เกิดประโยชน์หรือเกิดนวัตกรรม ต่อยอดการพัฒนาต่าง ๆ เพราะหากเราปราศจากข้อมูลก็ยากที่จะมีความรู้ และหากปราศจากความรู้และข้อมูลก็ยากที่จะขับเคลื่อนเมืองการเรียนรู้ได้ จึงจำเป็นต้องมีการจัดสรรและจัดวางกลไกต่างๆ ภายในชุมชนเมือง ไม่ใช่แค่ระบบท็อปดาวอย่างเดียว"

รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กลุ่ม .ter Bangkok ให้อีกมุมมองว่าในการสร้างสังคมของการเรียนรู้ หรือเมืองบนฐานความรู้ต้องมีแรงจูงใจ (incentive) ของการเรียนรู้

"ผมว่าหัวใจแห่งการเรียนรู้ คือการสร้าง Incentive ให้เขาเห็นว่า หากเขาได้เรียนรู้แล้วจะได้อะไร มันส่งผลดีกับชีวิต หรือทำให้ชีวิตเขาดีขึ้นอย่างไร"

ซึ่งปัจจัยที่จะสร้างแรงจูงใจของการเรียนรู้ รศ. ดร.ชัชชาติ มองว่าต้องเริ่มด้วย Passion, Self interest และ Public interest

"ที่ผ่านมาการเรียนรู้ไม่เกิดเนื่องจากระบบอุปถัมภ์ การผูกขาดผลประโยชน์ให้กับรายใหญ่ ทำให้คนตัวเล็กเข้าไม่ถึงทรัพยากร จนมองว่าไม่มีประโยชน์ในการจะเรียนรู้สิ่งใหม่ ซึ่งเห็นด้วยว่าภาพประชาสังคมและภาคเอกชนจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อให้ประชาชน" รศ.ดร.ชัชชาติ กล่าว


อีกโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาเมืองด้วยฐานความรู้ นั่นคือ การที่พลเมืองสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลและความรู้ เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการส่งเสริมการตระหนักรู้ ตลอดจนมีความตื่นตัวในการดูแลสุขภาวะของตนเองได้ ในเรื่องนี้ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวถึงเหตุผลที่ สสส. สนับสนุนกระบวนการศึกษาและกระบวนการมีส่วนร่วมที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองสุขภาวะ ด้วยการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อรองรับความเป็นเมือง (Urbanization) ว่า เป็นการสร้างต้นแบบพื้นที่สุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย ซึ่งผลจากการสนับสนุนดังกล่าว ยังนำไปสู่การเกิดนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ สำหรับการผลักดันนโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) และแนวคิดการพัฒนาบนฐานความรู้ (knowledge based development) ผ่านการออกแบบกิจกรรมสร้างเมืองผ่านการร่วมเรียนรู้ ฟื้นกรุงเทพฯ บนฐานความรู้" และ ฟื้นนครสวรรค์บนฐานความรู้" มองว่าจะช่วยตอบโจทย์ในการเพิ่มปัจจัยแวดล้อม/พื้นที่สุขภาวะ (Built Environment/Healthy Space) ทั้งยังเป็นการใช้ประโยชน์พื้นที่ทั้งในพื้นที่สาธารณะ พื้นที่เอกชน รวมไปถึงสถานที่ทางธรรมชาติ ภายใต้การออกแบบ หรือการจัดการเพื่อพัฒนาให้เป็นปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อกิจกรรมทางกายและสุขภาวะอย่างเท่าเทียม
#7119


วันนี้ (19 ส.ค.2564) สมาชิกเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน (Labour Network for People Rights) และตัวแทนครอบครัวแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งเป็นเครือข่ายที่รวมตัวกันของแรงงานจากหลายจังหวัดหลายภาคธุรกิจทั้งจากพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ และพื้นที่จังหวัดปทุมธานี

นำโดยนางสาวศรีไพร นนทรี ผู้แทนกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง นางสาวธนพร วิจันทร์ ผู้ประสานงานเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน นายจเด็ด เชาวิไล มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และผู้แทนเครือข่ายฯจากพื้นที่สมุทรปราการ สระบุรี รังสิต และปทุมธานี จำนวน 10 คน ขอเข้าพบ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะกำกับดูแลงานด้านนโยบายคุณภาพชีวิตแรงงาน เพื่อยื่นหนังสือข้อเรียกร้อง


เปิดหนังสือข้อเรียกร้อง 'หญิงตั้งครรภ์' ทำงานที่บ้าน
รายละเอียดหนังสือข้อเรียกร้อง มีดังนี้

1) สนับสนุนให้บริษัทมีการตรวจคัดกรองเชิงรุกให้กับคนงาน เพื่อคัดกรองคนงานที่ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง

ADVERTISEMENT


2) มีมาตรการให้บริษัทจัดหาสถานที่สำหรับคนงานที่ต้องแยกกักตัว รักษา (Community Isolation) ทั้งในส่วนพื้นที่ของบริษัทหรือการประสานชุมชนในการจัดหาสถานที่

3) มีมาตรการในการดูแลกลุ่มเปราะบาง เช่น กลุ่มคนงานหญิงตั้งครรภ์ โดยจัดสถานที่ทำงานใหม่ให้เหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์ให้มีความปลอดภัย

4) ต้องเร่งจัดหาวัคซีนเพื่อคนงานอย่างเร่งด่วน

5) มีมาตรการชัดเจนในการเยียวยาตามสิทธิของลูกจ้างที่มีอยู่ และสิทธิในการเยียวยาเพิ่มเติมตามมาตรการของภาครัฐ ทั้งกลุ่มเปราะบาง กลุ่มคนงานหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มครอบครัวคนงานที่เสียชีวิตจากโควิด-19

นายสุชาติ กล่าวว่า สำหรับข้อเรียกร้องดังกล่าวนั้น ปัจจุบันกระทรวงแรงงานได้ดำเนินการอยู่แล้ว ทั้งการตรวจคัดกรองโควิดเชิงรุก ในสถานประกอบการ การส่งเสริมให้สถานประกอบการดำเนินการตามโครงการ Factory Sandbox การฉีดวัคซีนโควิดแก่ ผู้ประกันตน และการเยียวยาแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ส่วนมาตรการดูแลกลุ่มเปราะบาง เช่น กลุ่มคนงานหญิงตั้งครรภ์

โดยจัดสถานที่ทำงานใหม่ให้เหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์ให้มีความปลอดภัยนั้น พร้อมให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เร่งออกร่างประกาศกระทรวงโดยเร็วที่สุด และเร่งประชาสัมพันธ์ออกไป เพื่อขอความร่วมมือไปยังสถานประกอบการให้สตรีที่มีผลตรวจว่าตั้งครรภ์ ควรกำหนดให้มีการทำงานที่บ้าน (Work from Home) โดยให้จ่ายค่าแรงเต็มจำนวน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19

น.ส.ศรีไพร นนทรี ผู้แทนกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กล่าวว่า ขอบคุณท่าน รมว.แรงงาน ที่ท่านได้รับเรื่อง รับลูก และแจ้งให้เราทราบในทันทีว่าจะออกประกาศกระทรวง เพื่อแยกคนท้องออกจากพื้นที่เสี่ยงโควิด ให้สามารถทำงานที่บ้านได้ และได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน ซึ่งทางเราที่มาในวันนี้รู้สึกหายห่วงที่อย่างน้อยสิ่งที่ได้มาเข้าพบท่าน ได้รับการดูแลและดำเนินการโดยทันที เพื่อให้เครือข่ายแรงงานได้มีความปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่จากมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลดูแล
#7120


นายนนท์ กลินทะ ประธานเจ้าหน้าที่สายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการการเดินทาง รวมทั้งปรับตารางบินให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 บริษัทฯ ให้บริการเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสารในประเทศ และระหว่างประเทศ ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม 2564 โดยมีรายละเอียดดังนี้

เส้นทางในประเทศ

1.เส้นทาง กรุงเทพฯ-ภูเก็ต ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน ได้แก่

-เที่ยวบินที่ ทีจี 922 ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพฤหัสบดี
-เที่ยวบินที่ ทีจี 916 ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันศุกร์

หมายเหตุ : เริ่มทำการบินตั้งแต่เดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)

เส้นทางสนับสนุนโครงการภูเก็ตแซนด์บ๊อกซ์

1.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต-แฟรงก์เฟิร์ต ทำการบินสัปดาห์ละ 1 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพฤหัสบดี
2.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต-ลอนดอน ทำการบินสัปดาห์ละ 1 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันศุกร์
3.เส้นทาง กรุงเทพฯ-ปารีส-ภูเก็ต-กรุงเทพฯ ทำการบินสัปดาห์ละ 1 เที่ยวบิน โดยออก จากกรุงเทพฯ ทุกวันพฤหัสบดี
4.เส้นทาง กรุงเทพฯ-ซูริก-ภูเก็ต-กรุงเทพฯ ทำการบินสัปดาห์ละ 1 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันศุกร์


เส้นทางยุโรปและออสเตรเลีย

1.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-ลอนดอน ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพุธ และอาทิตย์
2.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-แฟรงก์เฟิร์ต ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันเสาร์ และอาทิตย์
3.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-โคเปนเฮเกน ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันอังคาร และเสาร์ (หมายเหตุ : เดือนกันยายนทำการบินเฉพาะวันเสาร์)
4.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-ซิดนีย์ ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพุธ และอาทิตย์

เส้นทางเอเชีย

1.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-สิงคโปร์ ทำการบินสัปดาห์ละ 1 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพุธ (หมายเหตุ : ให้บริการในเดือนตุลาคม 2564)
2.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-โอซากา ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกพฤหัสบดี และเสาร์
3.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-โตเกียว (นาริตะ) ทำการบินสัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์
4.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-โตเกียว (ฮาเนดะ) ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันอังคาร และเสาร์
5.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-นาโกยา ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพฤหัสบดี และอาทิตย์
6.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-โซล ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพฤหัสบดี และอาทิตย์
7.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-ไทเป ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพุธ และศุกร์
8.เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-จาการ์ตา ทำการบินสัปดาห์ละ 1 เที่ยวบิน โดยออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพุธ

ตลาดแร่โลหะ ณ ตลาดลอนดอน (19 ส.ค. 64)
'วันสารทจีน 2564' วันประตูนรกเปิด แนะวิธีทำบุญและบอกสิ่งห้ามทำ โดย อาจารย์ 'คฑา ชินบัญชร'
'หญิงตั้งครรภ์'ติดโควิด19โอกาสเข้าไอซียูสูงกว่า 2-3เท่า
ผู้โดยสารสามารถตรวจสอบข้อมูลการเดินทางเพิ่มเติม รายละเอียดตารางบิน พร้อมสำรองที่นั่ง และออกบัตรโดยสารได้ที่เว็บไซต์ thaiairways.com และสำนักงานขายการบินไทย หรือ THAI Contact Center โทร. 0-2356-1111 ทุกวัน (ตลอด 24 ชั่วโมง) สำหรับผู้โดยสารที่จะเดินทางเข้าประเทศไทย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากสำนักงานสาขาที่ออกบัตรโดยสารในแต่ละท้องถิ่น
#7121
สนใจติดต่อคุณเป้ง 087-347-6299
https://gladnessaccounting.co.th/

สำนักงานบัญชีนนทบุรี  สำนักงานบัญชีบางกรวย  สำนักงานบัญชีบางใหญ่  สำนักงานบัญชีบางบัวทอง  สำนักงานบัญชีไทรน้อย  สำนักงานบัญชีปากเกร็ด  สำนักงานบัญชีบางศรีเมือง  สำนักงานบัญชีพิมลราช  สำนักงานบัญชีบางคูรัด  สำนักงานบัญชีบางรักพัฒนา  สำนักงานบัญชีบางแม่นาง  สำนักงานบัญชีบางกร่าง  สำนักงานบัญชีไทรม้า  สำนักงานบัญชีตลาดขวัญ  สำนักงานบัญชีบางตะไนย์  สำนักงานบัญชีบางพลับ  สำนักงานบัญชีบางรักน้อย  สำนักงานบัญชีมหาสวัสดิ์  สำนักงานบัญชีศาลากลางนนทบุรี  สำนักงานบัญชีอ้อมเกร็ด  สำนักงานบัญชีแจ้งวัฒนะ  สำนักงานบัญชีถนนกาญจนาภิเษกนนทบุรี  สำนักงานบัญชีถนนจงถนอม-ไทรน้อย  สำนักงานบัญชีถนนชัยพฤกษ์  สำนักงานบัญชีถนนติวานนท์  สำนักงานบัญชีถนนทวีวัฒนา  สำนักงานบัญชีถนนเทศบาลจังหวัดนนทบุรี  สำนักงานบัญชีถนนเทิดพระเกียรติ  สำนักงานบัญชีท่าอิฐ  สำนักงานบัญชีถนนนครอินทร์  สำนักงานบัญชีบางม่วง  สำนักงานบัญชีบางกรวย-จงถนอม  สำนักงานบัญชีถนนบางไกรใน  สำนักงานบัญชีบางกรวย-ไทรน้อย  สำนักงานบัญชีบางคูเวียง  สำนักงานบัญชีบางศรีเมือง  สำนักงานบัญชีถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม  สำนักงานบัญชีไทรม้า  สำนักงานบัญชีถนนพิบูลสงคราม  สำนักงานบัญชีถนนราชพฤกษ์  สำนักงานบัญชีตลิ่งชัน  สำนักงานบัญชีถนนเรวดี  สำนักงานบัญชีถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี  สำนักงานบัญชีถนนศรีสมาน  รับทำบัญชี
#7122
บริษัท สบายใจการบัญชี  จำกัด
9/54  หมู่ที่ 8  ตำบลบางเลน  อำเภอบางใหญ่  จังหวัดนนทบุรี   11140
โทร & Line ID.087-347-6299
https://gladnessaccounting.co.th

สำนักงานบัญชีจังหวัดนนทบุรี , สำนักงานบัญชีบางกรวย , สำนักงานบัญชีบางกร่าง , สำนักงานบัญชีบางใหญ่ , สำนักงานบัญชีบางศรีเมือง , สำนักงานบัญชีเลี่ยงเมือง , สำนักงานบัญชีพิมลราช , สำนักงานบัญชีบางคุรัด , สำนักงานบัญชีบางรักพัฒนา , สำนักงานบัญชีบางแม่นาง , สำนักงานบัญชีไทรม้า , สำนักงานบัญชีตลาดขวัญ , สำนักงานบัญชีบางรักน้อย , สำนักงานบัญชีบางพลับ , สำนักงานบัญชีศาลากลางนนทบุรี , สำนักงานบัญชีถนนกาญจนาภิเษกนนทบุรี , สำนักงานบัญชีบางกรวย-จงถนอม , สำนักงานบัญชีถนนชัยพฤกษ์ , สำนักงานบัญชีถนนติวานนท์ , สำนักงานบัญชีท่าอิฐ , สำนักงานบัญชีถนนบางไกรใน , สำนักงานบัญชีถนนราชพฤกษ์ , สำนักงานบัญชีตลิ่งชัน , สำนักงานบัญชีถนนเรวดี , สำนักงานบัญชีถนนศรีสมาน , สำนักงานบัญชีถนน345
#7123


ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 5/2564 ซึ่งเป็นการประชุมเมื่อวันที่ 4 ส.ค.2564 โดยมีกรรมการที่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ (ประธาน) นายเมธี สุภาพงษ์ (รองประธาน) นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน นายรพี สุจริตกุล นายสมชัย จิตสุชน และ นายสุภัค ศิวะรักษ์ ส่วนนายคณิศ แสงสุพรรณ ลาประชุม

ภาวะเศรษฐกิจโลกและภาวะตลาดการเงิน

เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่การฟื้นตัวของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักและกลุ่มประเทศเอเชียแตกต่างกันมากขึ้น กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องตามการกระจายวัคชีนที่คืบหน้าไปมาก ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชียถูกกระทบจากการระบาดและการกลายพันธุ์ของโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้นในหลายประเทศ

ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไปยังมีความไม่แน่นอนสูงจากการระบาดที่อาจรุนแรงขึ้นจากการกลายพันธุ์ของไวรัส โดยเฉพาะประเทศที่กระจายวัคซีนล่าช้าและมีข้อจำกัดในการเข้าถึงวัคชีนที่มีประสิทธิภาพ

ตลาดการเงินโลกมีความกังวลเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่กลับมารุนแรงในหลายประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets: EMs) ที่มีอัตราการฉีดวัคซีนในระดับต่ำ ส่งผลให้นักลงทุนปรับลดความเสี่ยงจากการลงทุน (Risk-off sentiment) โดยลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง เช่น ตราสารทุน และเพิ่มการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น พันธบัตรรัฐบาล

ADVERTISEMENT


ทั้งนี้ ตลาดการเงินไทยเคลื่อนไหวสอดคล้องกับภูมิภาค โดยดัชนีหลักทรัพย์ไทยและอัตราผลตอบพันธ์บัตรรัฐบาลปรับลดลง สำหรับเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. และดัชนีค่าเงินบาท (Nominal Effective Exchange Rate: NEER) อ่อนค่าลงจากการประชุมครั้งก่อน โดยเงินบาทอ่อนค่ามากกว่าสกุลเงินภูมิภาคจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศที่รุนแรง และแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ล่าช้า

มองไปข้างหน้า ตลาดการเงินโลกมีแนวโน้มผันผวนสูง และอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังตลาดการเงินไทยได้ โดยมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่มีความไม่แน่นอนสูงและอาจรุนแรงขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงแนวโน้มการดำเนินนโยบายการคลังและการเงินของสหรัฐฯ โดยเฉพาะหากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวดีและอัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นต่อเนื่องจนทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินเร็วกว่าที่นักลงทุนคาดไว้

ภาวะเศรษฐกิจและเสถียรภาพระบบการเงินไทย

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอลงมากจากมาตรการควบคุมการระบาดโควิด-19 ที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศษฐกิจและอุปสงค์ในประเทศ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 0.7 และ 3.7 ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ ปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากประมาณการในเดือน มิ.ย.2564 ตามการบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบมากในปีนี้และแนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับลดลงมากในปีหน้า

ขณะที่ตลาดแรงงานมีแนวโน้มเปราะบางขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้างในภาคบริการและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีรายได้ลดลง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจาก (1) แนวโน้มการใช้จ่ายภาครัฐที่สูงขึ้นจาก พ.ร.ก. กู้เงินฉบับใหม่วงเงิน 5 แสนล้านบาท ซึ่งจะช่วยพยุงกำลังซื้อของครัวเรือนและลดทอนผลกระทบของการระบาดระลอกล่สุดได้ส่วนหนึ่ง และ (2) การส่งออกสินค้าที่ขยายตัวดีตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ประเทศคู่ค้า

แม้ภาคการผลิตและภาคส่งออกบางส่วนจะเผชิญกับข้อจำกัดด้านอุปทาน เช่น ภาคการผลิตถูกกระทบจากจำนวนชั่วโมงทำงานที่ปรับลดลงหลังภาครัฐออกมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และการขาดแคลนวัตถุดิบทั่วโลก โดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มใกล้เคียงเดิม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับต่ำตามอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอ ขณะที่การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางยังคงยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย

เศษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าเผชิญกับความเสี่ยงด้านต่ำอย่างมีนัยสำคัญ จาก (1) สถานการณ์การระบาดทั้งในและต่างประเทศที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการกลายพันธุ์ของไวรัสที่ลดทอนประสิทธิภาพของวัคซีน รวมถึงความล่าช้าในการกระจายวัคซีน ซึ่งอาจทำให้ปัญหาสาธารณสุขยืดเยื้อและรุนแรงขึ้น (2) ฐานะทางการเงินของธุรกิจ โดยเฉพาะภาคบริการที่เปราะบางมากขึ้นอีก ซึ่งอาจนำไปสู่การปิดกิจการและเลิกจ้างแรงงานจำนวนมาก

และ (3) ปัญหาข้อจำกัดด้านอุปทาน โดยเฉพาะผลกระทบจากการระบาดในโรงงานและการขาดแคลนวัตถุดิบชั่วคราวที่คาดว่าจะคลี่คลายภายในครึ่งแรกของปี 2565 อาจรุนแรงยืดเยื้อและส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกของไทยมากกว่าที่คาด

เสถียรภาพระบบการเงินมีแนวโน้มเปราะบางขึ้น โดยการระบาดระลอกล่าสุดช้ำเติมให้รายได้และฐานะทางการเงินของลูกหนี้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่เปราะบางอยู่เดิมให้แย่ลง ส่งผลให้จำนวนลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงในการชำระหนี้ (Debt at Risk) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์ยังมีฐานะการเงินที่มั่นคงสามารถรองรับคุณภาพสินเชื่อที่อาจด้อยลงในอนาคต จึงทำให้ความเสี่ยงดังกล่าวต่อเสถียรภาพระบบการเงินในภาพรวมยังมีจำกัด

สำหรับประเด็นสำคัญที่คณะกรรมฯ เช่น การลดอัตราดอกเบี้ย คณะกรรมการฯ อภิปรายอย่างกว้างขวางถึงประสิทธิภาพการส่งผ่านนโยบายการเงินในสถานการณ์ปัจจุบัน ผลประโยชน์สุทธิต่อเศรษฐกิจจากการลดดอกเบี้ยนโยบาย รวมถึงทางเลือกต่างๆ ของการดำเนินนโยบายในครั้งนี้ โดยเห็นพ้องกันว่าการใช้มาตรการทางการเงินจะสามารถช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ได้ตรงจุดมากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่า (1) โจทย์สำคัญของการดำเนินนโยบายในปัจจุบันคือการกระจายสภาพคล่องในระบบธนาคารที่อยู่ในระดับสูงไปสู่ธุรกิจและครัวเรือนที่ มีความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) (2) กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงเป็นผลจากมาตรการควบคุมการระบาด ทั้งนี้ ภาวะการเงินโดยรวมยังคงผ่อนคลาย เอื้อให้สถาบันการเงินสามารถช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านมาตรการทางการเงินต่างๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการต่อเนื่อง และ (3) มาตรการทางการเงิน โดยเฉพาะมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูที่ช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนสภาพคล่องของผู้ได้รับผลกระทบ

รวมทั้งการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อช่วยแก้ปัญหาหนี้ที่อยู่ในระดับสูง เป็นการดำเนินการที่มีประสิทธิผลและตรงจุดมากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ไม่มีเป้าเฉพาะเจาะจง ที่แม้จะส่งผลในวงกว้างแต่ช่วยลดภาระหนี้ของกลุ่มเปราะบางได้น้อย อย่างไรก็ตาม กรรมการฯ ส่วนหนึ่งเห็นว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้จะเป็นการดำเนินนโยบายเพื่อรองรับการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในระยะข้างหน้า (Pre-emptive)

โดยประเมินว่ามาตรการทางการเงินและการคลังที่ได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาอาจยังมีข้อจำกัดและไม่เพียงพอ ขณะที่นโยบายการเงินต้องใช้เวลาส่งผ่านไปยังเศรษฐกิจ จึงควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้เพื่อช่วยรองรับความเสี่ยงของเศรษฐกิจที่อาจสูงขึ้นในระยะข้างหน้า แม้อัตราดอกเบี้ยจะเป็นเครื่องมือที่ตรงจุดและมีประสิทธิผลน้อยกว่ามาตรการการเงินและการคลังอื่นๆ
#7124
MEE SK FiR **นวัตกรรมอาหารผิว-เซลล์ ดูดซึม100%เข้าสู่เซลล์ใน5นาทีล่าสุดจากเกาหลี


อยากมีผิวเปล่งปลั่งกระจ่างใส่ฟังทางนี้ วิตามินบูสผิว สารสกัดเข้มข้น 18 ชนิด นวัตกรรมอาหารผิว อาหารเซลล์ ลิขสิทธิ์ระดับโลก 'หนึ่งเดียว'

ด้วยนวัตกรรม FiR FAR INFRARED...



อาหารผิวมาแรงที่สุด โมเลกุลเล็ก ดูดซึมไวเข้าสู่เซลล์ 'ภายใน 5 นาที

5 ประโยชน์ทำไม ต้องทาน ?

เสริมสร้างภูมิต้านทาน

ลดการเกิดสิวอักเสบ

ผิวเด็กกระจ่างใส

ช่วยบำรุงสายตา

ลดรอยดำ รอยแดง ริ้วรอย ฝ้า กระ

ดูแลผิวจากภายในสู่ภายนอก

วิตามินสูงกว่า ทั่วไป 80 เท่า



โปรโมชั่นเปิดตัว   # เปิดบิล 2,699฿ เป็นตัวแทนติดบริษัท  ได้รับ 2 กล่อง



ไม่ต้องมีสต๊อกสินค้าเอง

ไม่ต้องแพ็คและส่งสินค้าเอง

ไม่มีความรู้ ก็เริ่มทำธุระกิจได้

กำไร 50-75%

มีทีมงานการตลาดสอนเทคนิคการขายฟรี

มีกลุ่มและทีมงานคอยดูแลให้คำปรึกษาตลอด

สามารถเริ่มทำงานได้ทันที

  

เติมอาหารผิวเพียงวันละ 1-2 ม็ด (30 แคปซูล )

ปลอดภัย อย. 13-1-14959-5-1478



สนใจสั่งซื้อหรือสมัครตัวแทน

ไลน์ไอดี teerapat999

โทร 0846623662

ข้อมูลเพิ่มเติม  http://porntaywa99.lnwshop.com/p/1230

 กดเข้าลิ้งค์นี้  ลงทะเบียนฟรี !!! เพื่อเข้าศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมการสร้างรายได้

https://www.metang-solution.com/member/register.php...







#7125


นายเกียรติศักดิ์ สิริรัตนกิจ รักษาการ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและประธานเจ้าหน้าที่การเงิน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ขอชี้แจงผลการดำเนินงาน สำหรับงวด 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.2564 โดยบริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 432.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 329.88 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 321.17 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งมีกำไรสุทธิ 102.71 ล้านบาท


และเนื่องจากผลการดำเนินงานตามงบกำไรขาดทุนดังกล่าวแสดงผลกำไรสุทธิซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเกินกว่าร้อยละ 20 บริษัทฯ จึงใคร่ขอชี้แจงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่มีสาระสำคัญดังนี้

1. รายได้ค่านายหน้าเพิ่มขึ้น 260.43 ล้านบาท จาก 627.66 ล้านบาท เป็น 888.09 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.49 เนื่องจาก

- รายได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น 272.69 ล้านบาท จาก 511.69 ล้านบาท เป็น 784.38 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.29 ซึ่งเป็นไปตามมูลค่าการซื้อขายของลูกค้าของบริษัทฯ ในงวด 6 เดือน ปี 2564 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.39 จากงวดเดียวกันของปี 2563

- รายได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าลดลง 12.27 ล้านบาท จาก 115.98 ล้านบาท เป็น 103.71 ล้านบาท หรือลดลงร้อยล: 10.58 ซึ่งเป็นไปตามปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าของบริษัทฯ ในงวด 6 เดือน ปี 2564 ที่ลดลงร้อยละ 25. 76 จากงวดเดียวกันของปี 2563

2. รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้น 59.82 ล้านบาท จาก 88.64 ล้านบาท เป็น 148.46 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.49 เนื่องมาจากการรายได้จากการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินเพิ่มขึ้น 14.63 ล้านบาท รายได้จากการเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น 20.67 ล้านบาท และรายได้อื่นเพิ่มขึ้น 27.52 อย่างไรก็ตามรายได้จากการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ลดลง 2.99 ล้านบาท

3. รายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 64.15 ล้านบาท จาก 198.97 ล้านบาท เป็น 263.13 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.24

4. กำไรและผลตอบแทนจากเครื่องมือทางการเงินเพิ่มขึ้น 319.65 ล้านบาท จาก 147.58 ล้านบาท เป็น 467.23 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 216.59 เนื่องมาจากกำไรจากเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 872.13 ล้านบาท ในขณะที่กำไรจากอนุพันธ์ลดลง 544.28 ล้านบาท และรายได้เงินปันผลลดลง 8.19 ล้านบาท

5. ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 278.88 ล้านบาท จาก 951.95 ล้านบาท เป็น 1,230.84 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.30 ซึ่งค่าใช้จ่ายหลักที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานเพิ่มขึ้น 195.97 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมและบริการจ่ายเพิ่มขึ้น 62.36 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มขึ้น 30.76 ล้านบาท ในขณะที่ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดลง 9.86 ล้านบาท

6. ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้น 96.60 ล้านบาท จาก 13.69 ล้านบาท เป็น 110.29 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 705.75 เนื่องมาจากกำไรก่อนภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น 426.48 ล้านบาท จาก 116.40 ล้านบาท เป็น 542.88 ล้านบาท

ดังนั้น จึงมีผลทำให้ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เพิ่มขึ้นจากผลการดำเนินงานของงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า ร้อยละ 321.17