การทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม
โรงไฟฟ้าแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือโรงไฟฟ้าที่ go green กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างมากในหมู่นักลงทุน เนื่องจากการทำโรงไฟฟ้านั้นย่อมเผาผลาญพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติอีกมากมาย นอกจากนั้นก็ยังทำลายสภาพแวดล้อมของชุมชนรอบข้างด้วย จึงไม่แปลกที่เมื่อโรงไฟฟ้าหันมา go green ใช้พลังสะอาดเข้ามาผลิตไฟฟ้ามากขึ้น ผู้คนจึงให้ความนิยมและได้รับการตอบรับที่ดีจากสังคม โดยหนึ่งในโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานสะอาดก็คือโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม หรือที่เรียกว่า combined Cycle System เป็นระบบโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังความร้อนร่วมกันจากสองแหล่ง ซึ่งเราจะมาพูดถึงรูปแบบในการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมนี้กันว่ามีรูปแบบการทำงานแบบไหนบ้าง
รูปแบบการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม
มาดูกันว่าในการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมนี้มีรูปแบบการทำงานแบบไหนกันบ้าง
รูปแบบการทำงานแบบที่ 1 คือการนำไอเสียมาอุ่นน้ำเลี้ยง โดยหลักการทำงานของรูปแบบนี้คือ เป็นการนำเอาความร้อนทิ้งจากก๊าซเทอร์ไบน์หรือไอเสียมาให้ความร้อนกับน้ำเลี้ยงของโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ ซึ่งการทำงานในรูปแบบนี้โครงสร้างการทำงานไม่ซับซ้อน แต่ก็ไม่สามารถคาดหวังกับประสิทธิภาพที่ออกมาได้
รูปแบบการทำงานแบบที่ 2 คือการนำไอเสียมาเผาไหม้ซ้ำ โดยหลักการทำงานของรูปแบบนี้คือการนำความร้อนทิ้งจากก๊าซเทอร์ไบน์หรือไอเสียมาใช้เป็นอากาศสำหรับเผาไหม้ของหม้อไอน้ำเพื่อที่จะนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้
รูปแบบการทำงานแบบที่ 3 คือการนำไอเสียมาเติมเชื้อเพลิง โดยหลักการทำงานของรูปแบบนี้คือ ในขั้นตอนการทำงานนั้นระหว่างทางที่นำก๊าซไอเสียจากก๊าซเทอร์ไบน์ผ่านไปที่หม้อไอน้ำแบบ waste-heat boiler ก็จะมรการทำการเผาไหม้เชื้อเพลิงเสริมขึ้น ซึ่งขั้นตอนนี้จะทำเพื่อเป็นการปรับปรุงสภาวะหรือปรับปรุงสภาพของไอน้ำให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มกำลังขาออกของกังหันไอน้ำอีกด้วย
รูปแบบการทำงานแบบที่ 4 คือการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ โดยหลักการทำงานของรูปแบบนี้คือจะเป็นการนำเอาไอเสียของก๊าซเทอร์ไบน์มาให้ความร้อนแก่หม้อไอน้ำแบบ waste-heat boiler แล้วก็ใช้ไอน้ำที่เกิดขึ้นนั้นไปขับกังหันไอน้ำนั่นเอง
รูปแบบในการทำงานของโรงไฟฟ้าประเภทนี้ก็มีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแต่ละรูปแบบก็จะแตกต่างกันออกไปตามตัวแปรต่าง ๆ ในการทำงาน
โรงไฟฟ้าแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือโรงไฟฟ้าที่ go green กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างมากในหมู่นักลงทุน เนื่องจากการทำโรงไฟฟ้านั้นย่อมเผาผลาญพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติอีกมากมาย นอกจากนั้นก็ยังทำลายสภาพแวดล้อมของชุมชนรอบข้างด้วย จึงไม่แปลกที่เมื่อโรงไฟฟ้าหันมา go green ใช้พลังสะอาดเข้ามาผลิตไฟฟ้ามากขึ้น ผู้คนจึงให้ความนิยมและได้รับการตอบรับที่ดีจากสังคม โดยหนึ่งในโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานสะอาดก็คือโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม หรือที่เรียกว่า combined Cycle System เป็นระบบโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังความร้อนร่วมกันจากสองแหล่ง ซึ่งเราจะมาพูดถึงรูปแบบในการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมนี้กันว่ามีรูปแบบการทำงานแบบไหนบ้าง
รูปแบบการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม
มาดูกันว่าในการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมนี้มีรูปแบบการทำงานแบบไหนกันบ้าง
รูปแบบการทำงานแบบที่ 1 คือการนำไอเสียมาอุ่นน้ำเลี้ยง โดยหลักการทำงานของรูปแบบนี้คือ เป็นการนำเอาความร้อนทิ้งจากก๊าซเทอร์ไบน์หรือไอเสียมาให้ความร้อนกับน้ำเลี้ยงของโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ ซึ่งการทำงานในรูปแบบนี้โครงสร้างการทำงานไม่ซับซ้อน แต่ก็ไม่สามารถคาดหวังกับประสิทธิภาพที่ออกมาได้
รูปแบบการทำงานแบบที่ 2 คือการนำไอเสียมาเผาไหม้ซ้ำ โดยหลักการทำงานของรูปแบบนี้คือการนำความร้อนทิ้งจากก๊าซเทอร์ไบน์หรือไอเสียมาใช้เป็นอากาศสำหรับเผาไหม้ของหม้อไอน้ำเพื่อที่จะนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้
รูปแบบการทำงานแบบที่ 3 คือการนำไอเสียมาเติมเชื้อเพลิง โดยหลักการทำงานของรูปแบบนี้คือ ในขั้นตอนการทำงานนั้นระหว่างทางที่นำก๊าซไอเสียจากก๊าซเทอร์ไบน์ผ่านไปที่หม้อไอน้ำแบบ waste-heat boiler ก็จะมรการทำการเผาไหม้เชื้อเพลิงเสริมขึ้น ซึ่งขั้นตอนนี้จะทำเพื่อเป็นการปรับปรุงสภาวะหรือปรับปรุงสภาพของไอน้ำให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มกำลังขาออกของกังหันไอน้ำอีกด้วย
รูปแบบการทำงานแบบที่ 4 คือการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ โดยหลักการทำงานของรูปแบบนี้คือจะเป็นการนำเอาไอเสียของก๊าซเทอร์ไบน์มาให้ความร้อนแก่หม้อไอน้ำแบบ waste-heat boiler แล้วก็ใช้ไอน้ำที่เกิดขึ้นนั้นไปขับกังหันไอน้ำนั่นเอง
รูปแบบในการทำงานของโรงไฟฟ้าประเภทนี้ก็มีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแต่ละรูปแบบก็จะแตกต่างกันออกไปตามตัวแปรต่าง ๆ ในการทำงาน