• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

วิศวะมหิดล แสดงหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ฝีมือคนไทย ลดปัญหาขาดแคลนแพทย์ -ลดการนำเข้า

Started by deam205, September 01, 2021, 12:51:41 PM

Previous topic - Next topic

deam205



ในงานนิทรรศการ AI และ Big Data กองทัพเรือ ประจำปี 2564 ผ่านระบบออนไลน์เสมือนจริง (Virtual Exhibition) จัดโดย กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ กองทัพเรือ ซึ่งมี พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานเปิดงานเมื่อเร็วๆนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี แสดงผลงานหุ่นยนต์ AI ช่วยผ่าตัด ซึ่งเป็นนวัตกรรมฝีมือคนไทย เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน เสริมสร้างความตื่นตัวการใช้นวัตกรรมของคนไทยและเผยแพร่องค์ความรู้การประยุกต์ใช้หุ่นยนต์และ AI ในการแพทย์และสุขภาพมากยิ่งขึ้น

รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้อำนวยการบริหาร ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ (BART LAB) กล่าวว่า สาขาวิชาวิศกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อตั้งเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและอาเซียน โดยนำองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ผสมผสานแพทยศาสตร์มาตอบโจทย์แก้ปัญหา สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ มาเสริมประสิทธิภาพบุคลากรทางการแพทย์ในการทำงานบำบัดรักษาผู้ป่วยได้สะดวกและแม่นยำยิ่งขึ้น ทั้งนี้ วิศวกรชีวการแพทย์ เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานทั่วโลกสูงมาก โดยจะต้องมีความรู้ในศาสตร์เทคโนโลยีวิศวกรรมและพื้นฐานทางการแพทย์ ปัจจุบัน BART LAB มีห้องแล็บผ่าตัดจำลองและได้พัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์ มาอย่างต่อเนื่อง (www.BARTLAB.org) เพื่อแก้ปัญหาของประเทศไทยซึ่งขาดแคลนแพทย์ที่มีความชำนาญสูง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย เช่น DoctoSight หุ่นยนต์ผู้ช่วยแพทย์อัจฉริยะ ระบบนำทางผ่าตัดมะเร็งเต้านม และ หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ที่สามารถทำงานร่วมกับศัลยแพทย์ได้ โดยจุดเด่นของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดจะสามารถทำงานได้ดีกว่ามนุษย์ในหลายด้าน เช่น ความแม่นยำสูงในพื้นที่ทำงานอันจำกัด ลดระยะเวลาการผ่าตัดและเพิ่มประสิทธิผล ลดความผิดพลาดจากความเหนื่อยล้า ทำงานได้ตลอด 24 ชม. โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดสำหรับการเปิดแผลเล็กนั้น โดยปกติการผ่าตัดประเภทนี้จะต้องใช้บุคลากรจำนวนมากและมีความชำนาญในพื้นที่อันละเอียดอ่อนและจำกัด เมื่อมีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด จะเข้ามาช่วยแพทย์ให้การผ่าตัดได้รับความแม่นยำและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น พร้อมลดภาระบุคคลากรลงด้วย

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Minimal Invasive Surgery: MIS) ที่นำมาแสดงสาธิตในงานนี้ คือ หุ่นยนต์ผ่าตัดแบบส่องกล้อง ซึ่งในการผ่าตัด จะเจาะรูเล็กๆ เพียง 1 - 2 ซม. บริเวณผิวหนังที่ต้องการจะผ่าตัด เพื่อสอดอุปกรณ์ผ่าตัดและกล้องขนาดเล็กเข้าไป หุ่นยนต์จะทำหน้าที่ช่วยถือจับอุปกรณ์การผ่าตัดอย่างมั่นคง โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ควบคุมการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ซึ่งจะอิงอยู่กับจุดที่ทำการผ่าตัดที่กำหนดไว้ ไม่ให้เคลื่อนออกพ้นจากจุดที่ทำการผ่าตัดเปิดแผลไว้ ช่วยป้องกันความเสียหายของเนื้อเยื่อ และที่สำคัญคือ เมื่อต้องทำการฆ่าเชื้อ สามารถถอดอุปกรณ์ออกมาได้ หรือระหว่างการผ่าตัดต้องเปลี่ยนอุปกรณ์เครื่องมือบ่อยครั้ง ไม่เป็นอุปสรรค ในลักษณะของการขับเคลื่อน หุ่นยนต์จะช่วยขับเคลื่อนเข้ามาช่วยให้แพทย์ทำงานอย่างแม่นยำเพิ่มมากขึ้น โดยใช้ ระบบขับเคลื่อนผ่านสายส่งกำลัง เป็นระบบที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษ จะมีตัวส่งกำลัง ระบบมอเตอร์สำหรับขับเคลื่อนหุ่นยนต์อยู่ด้านหลัง นอกจากนี้ ในยุคเทคโนโลยีสื่อสารที่ก้าวหน้า เรายังได้พัฒนาระบบผ่าตัดที่ควบคุมระยะไกล ทำให้ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถเชื่อมต่อกับหุ่นยนต์และทีมแพทย์ที่อยู่หน้างานกับผู้ป่วยได้แม้จะอยู่ในที่ห่างไกลกัน เช่น กรณีศัลยแพทย์อยู่ในกรุงเทพ แต่ผู้ป่วยอยู่ต่างจังหวัดต้องได้รับการผ่าตัดด่วน การมีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ที่หน้างานจะสามารถตัดสินใจและเรียนรู้การทำงานร่วมกันระหว่างแพทย์กับหุ่นยนต์ได้ ใช้งานง่าย ซึ่งถอดแบบมาจากผู้ที่มีประสบการณ์ความชำนาญสูง ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้แพทย์การรักษาบำบัดผู้ป่วยได้แม่นยำรวดเร็ว สามารถเข้าถึงอวัยวะที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนได้ในพื้นที่ทำงานอันจำกัด ผู้ป่วยได้รับการบำบัดรักษาที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น แผลเล็ก เสียเลือดน้อย เจ็บแผลน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว อีกทั้งเพิ่มโอกาสให้แพทย์สามารถรักษาผู้ป่วยคนอื่นได้มากขึ้นด้วย ปัจจุบันทีม BART LAB กำลังพัฒนาการเชื่อมต่อ โดยยึดหลักความปลอดภัย และประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างแพทย์และหุ่นยนต์เป็นสำคัญ