• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ศบค.ยึดโมเดล กทม.ส่งทีม CCRT แก้โควิดใต้ จันทบุรีเจอคลัสเตอร์ใหม่

Started by Beer625, October 28, 2021, 11:33:25 AM

Previous topic - Next topic

Beer625

ศบค. เผย 10 จังหวัดติดเชื้อโควิดสูงสุดยังเป็นภาคใต้กับจังหวัดนำร่องท่องเที่ยว สธ.ส่งทีม CCRT  382 ทีมลงพื้นที่แก้ปัญหาภาคใต้ ใช้โมเดลเดียวกับ กทม. ระบุ "จันทบุรี" พบคลัสเตอร์แคมป์ก่อสร้างติดเชื้อสูงถึง 132 ราย ส่วน 12 จังหวัดนำร่องท่องเที่ยวฉีดวัคซีนเกิน 50% แล้ว จับตาประชุม ศบค.ชุดใหญ่ 29 ต.ค.นี้

วันที่ 27 ตุลาคม  2564 แพทย์หญิงสุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศประจำวันว่า ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 พบผู้ป่วยรายใหม่ 8,452 ราย หายป่วยแล้ว 1,730,871 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,846,452 ราย เสียชีวิตสะสม 18,828 ราย



ชี้แนวโน้มป่วยหนัก-เสียชีวิตลดลง
ส่วนข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563 มีผู้หายป่วยแล้วจำนวน 1,758,297 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,875,315 ราย และเสียชีวิตสะสม 18,922 ราย

วันนี้มีผู้ป่วยกำลังรักษาตัวอยู่จำนวน 98,096 ราย อยู่ใน รพ. 42,762 ราย อยู่ใน รพ.สนาม 55,334 ราย อาการหนัก 2,355 ราย ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 534 ราย

"จะเห็นว่าแนวโน้มผู้ป่วยอาการหนักและต้องใส่เครื่องช่วยหายใจลดลงเรื่อย ๆ และทิศทางของผู้ป่วยปอดอักเสบ ใสท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิตที่ลดลง เป็นไปในทิศทางเดียวกับทั้งโลก" แพทย์หญิงสุมนีกล่าว



ส่วนผู้เสียชีวิตวันนี้มีทั้งสิ้น 57 ราย เป็นชาย 28 ราย หญิง 29 ราย และกว่า 95% เป็นผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี และมีโรคประจำตัว และจากรายงานผู้เสียชีวิตในวันนี้อยู่ในภาคกลางและภาคตะวันออกมากกว่าภาคใต้แล้ว โดยอยู่ในชลบุรี 5 ราย สระบุรี 3 ราย ระยอง 2 ราย เพชรบุรี 2 ราย อ่างทอง 1 ราย ประจวบคีรีขันธ์ 1 ราย ราชบุรี 1 ราย สุพรรณบุรี 1 ราย และปราจีนบุรี 1 ราย รวมผู้เสียชีวิตในภาคกลางและภาคตะวันออกเสียชีวิตรวม 17 ราย (ตามตาราง)



ส่วนภาพรวมของทั้งประเทศมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน แต่ถ้าแยกเป็นสัดส่วน 67 จังหวัดวันนี้จะลดลงแบบทรง ๆ ตัว โดย 67 จังหวัดมีสัดส่วนอยู่ที่ 60% กทม.และปริมณฑลลดลงมาอยู่ที่ 17% และจังหวัดชายแดนใต้อยู่ที่ 23% ซึ่งก็ลดลงแบบทรง ๆ ตัว



สำหรับแนวโน้มของค่าผลตรวจ ATK ในภาพรวมของประเทศวันนี้อยู่ที่ 3.62% โดยยอดตรวจ ATK วันที่ 27 ต.ค. มีจำนวน 38,497 ราย ยอดตรวจสะสมวันที่ 20 ส.ค.-27 ต.ค. มีจำนวน 190,068 ราย




สำหรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก ข้อมูล ณ วันพุธที่ 27 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น. มียอดผู้ติดเชื้อรวม 245,275,490 ราย อาการรุนแรง 75,072 ราย รักษาหายแล้ว 222,349,743 ราย และเสียชีวิต 4,978,726 ราย

ขณะที่อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด อันดับ 1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 46,497,719 ราย 2. อินเดีย จำนวน 34,214,865 ราย 3. บราซิล จำนวน 21,748,984 ราย 4. สหราชอาณาจักร จำนวน 8,853,227 ราย 5. รัสเซีย จำนวน 8,316,019 ราย

ส่วนประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 24 ของโลก จากจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,875,315 ราย



ท็อป 10 จังหวัด จันทบุรีพบติดเชื้อแคมป์ก่อสร้าง 132 คน
สำหรับ 10 จังหวัดที่ติดเชื้อสูงสุดในวันนี้ อันดับ 1 ได้แก่ กทม. 859 ราย รองลงมาเป็นสงขลาที่อันดับขยับขึ้นมาอยู่อันดับที่ 2 จากจำนวน 551 ราย อันดับ 3 ปัตตานี 532 ราย ยะลา 475 ราย จันทบุรี 358 ราย นครศรีธรรมราช 345 ราย นราธิวาส 331 ราย สมุทรปราการ 306 ราย ชลบุรี 297 ราย เชียงใหม่ 270 ราย

สำหรับยอดติดเชื้อ 10 จังหวัด ไม่มีจังหวัดไหนที่ยอดติดเชื้อเกินพันราย ในกรุงเทพวันนี้มีผู้ติดเชื้อต่ำกว่าพันรายเป็นวันที่ 6 ในขณะที่ 4 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา นครศรีธรรมราช นราธิวาส นอกจากนี้ ยังมีจันทบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี เชียงใหม่ (ตามตาราง)

ทั้งนี้ถ้าดูรายละเอียดแต่ละจังหวัด ใน 10 อันดับ จะพบว่าอันดับที่ 5 จันทบุรี พบว่า เยอะที่สุด จะเป็นคลัสเตอร์ที่พบในแคมป์ก่อสร้างถึง 132 คน และจากแรงงานอีก 6 คน สำหรับอันดับที่ 5 คือ จ.นครศรีธรรมราช คลัสเตอร์ที่ยังเจอเยอะจะเป็นคลัสเตอร์งานศพ มีถึง 5 คลัสเตอร์

ส่วนเชียงใหม่วันนี้จะเห็นว่าเป็นสีเขียวแล้ว อันดับลดลงมาอยู่ที่อันดับ 10 แล้ว แสดงให้เห็นว่า มีความร่วมมือกันของประชาชนในจังหวัดในการควบคุมไม่ให้มีการระบาดมากขึ้น แต่การรรายงานก็ยังพบว่า มีการติดเชื้ออยู่อย่างประปรายในตลาด ชุมชน แคมป์ก่อสร้าง และโรงงาน ซึ่งยังคงต้องเน้นย้ำในเรื่องมาตรการส่วนบุคคล ต้องมีการเว้นระยะ ใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ตลอดเวลา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ใน 10 จังหวัด ที่มีผู้ติดเชื้อโควิดสูงสุดวันนี้ (27 ต.ค.) พบว่าอยู่ในจังหวัดชายแดนใต้และจังหวัดพื้นที่นำร่องท่องเที่ยงที่จะเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย.นี้



ฉีดวัคซีนเพิ่มอีกกว่า 8 แสนโดส
สำหรับการฉีดวัคซีนวันนี้ฉีดเพิ่มขึ้น 812,009 ราย เป็นเข็มที่ 1 จำนวน 371,263 ราย รวมสะสม 40.71 ล้านราย คิดเป็น 56.5% ของจำนวนประชากร เข็มที่ 2 จำนวน 401,747 ราย รวมสะสม 29.11 ล้านราย คิดเป็น 40.4% ของจำนวนประชากร และเข็มที่ 3 2.2 ล้านราย คิดเป็น 3.1% ของประชากร

ส่วนกลุ่มฉีดที่สำคัญในช่วงนี้เป็นกลุ่มของนักเรียนและนักศึกษาอายุ 12-17 ปี ซึ่งเริ่มฉีดวัคซีนไปตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ตอนนี้มีการรายงานผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว 1.9 ล้านคน จากทั้งหมด 4.5 ล้านคน คิดเป็น 42.8% นอกจากนี้ ยังต้องเร่งฉีดวัคซีนให้กับครูและบุคลากรในโรงเรียนด้วย

โดยจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษามีทั้งหมด 894,387 คน มีจำนวนได้รับวัคซีนแล้ว 763,149 คน คิดเป็น 85.33% และมีจำนวนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน 131,238คน หรือคิดเป็น 14.67%






12 จังหวัดนำร่องท่องเที่ยวฉีดวัคซีนเกิน 50% แล้ว
ส่วนผลการฉีดวัคซีนพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว โดยจังหวัดที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรในเข็มที่ 1 แล้วอย่างน้อย 50% ได้แก่ กทม. เชียงใหม่ สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี ระยอง ตราด บุรีรัมย์ กระบี่ พังงา และระนอง และยังมีจังหวัดที่เข้าใกล้ 50% ได้แก่ เลย หนองคาย และอุดรธานี อยู่ที่ 47% 45% และ 46% ตามลำดับ



ส่วนความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในกลุ่ม 608 คือ กลุ่มผู้สูงอายุ 7 โรคเรื้อรังและหญิมีครรรภ์ ทั้ง 17 จังหวัดในพื้นี่นำร่องท่องเที่ยว ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 75.3% ซึ่งยังคงต้องเพิ่มการฉีดวัคซีนในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ให้ได้รับการฉีดวัคซีนได้มากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมการเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย.นี้

ส่วนจังหวัดภาคใต้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเกิน 50 % มีจังหวัดยะลา 55.5% สงขลา 58.6% ส่วนนราธิวาสอยู่ที่ 43.9% ปัตตานี 45.7% ส่วนกลุ่ม 608 ใน 4 จังหวัดนี้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 59.4%



ส่ง CCRT 382 ทีมลงพื้นที่แก้ปัญหาโควิดภาคใต้
แพทย์หญิงสุมนี กล่าวว่า ที่ประชุม EOC ของกระทรวงสาธารณสุข มีการเร่งรัดสำคัญ 2 เรื่อง คือ 1.เร่งรัดการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น ทั้งในกลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มเสี่ยง 608 กลุ่มนักเรียน นักศึกษา และแรงงานในพื้นที่ โดยมีการประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจในเรื่องวัคซีนเป็นภาษาพื้นถิ่นผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น หอกระจายข่าว สถานีวิทยุ แผ่นพับ ซึ่งได้รับความช่วยเหลือและประสานงานจากผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนา

2.ต้องจำกัดวง ไม่ให้มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง เนื่องจากวิเคราะห์สถานการณ์แล้วพบว่า เป็นการระบาดในระดับครอบครัว ชุมชนโดยเฉพาะตลาด สถานประกอบกิจการ เช่น ร้านอาหาร ร้านน้ำชา

ทั้ง 2 เรื่องมีการดำเนินการหลัก ๆ โดยได้รับบริการจากรถพระราชทานชีวนิรภัย ได้รับบริการจากโมบายวัคซีนของทางเอกชน คือ เอสซีจี ใช้บริการของรถขนส่งวัคซีนที่เป็นรูปแบบห่วงโซ่ความเย็นที่เสถียร มีหน่วยงานสนับสนุนลงไปสอบสวนโรค (CCRT) จำนวน 382 ทีม โดยหน้าที่ของ CCRT คิดการตรวจคัดกรอง แยกกัก รักษา ให้บริการฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นการนำต้นแบบของการติดเชื้อในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ผ่านมา และได้ใช้การจัดการโดยทีม CCRT ลงไปในพื้นที่

นอกจากนี้ ทางจังหวัดได้ทำแผนงานเชิงรุกของแต่ละจังหวัดเองเพื่อขับเคลื่อนงานโดยผ่าน ศ.ป.ส. เช่น จ.นราธิวาส ทำแคมเปญโดยผ่านผู้นำศาสนา ฝ่ายปกครอง คือกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ที่มีส่วนร่วม คืออาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ทำแคมเปญชื่อ เซฟนารา นาราเซฟ ส่วนสงขลาก็มีแคมเปญเช่นกัน คือ SONGKHLA Fast for Songkhla safe แคมเปญของสงขลาคือ เน้นตรวจไว รักษาไว และถ้าไม่มีการติดเชื้อก็รีบเร่งรัดให้วัคซีนโดยไว



ห่วงหญิงตั้งครรภ์ ชี้สูญเสียถึง 2 ชีวิต
แพทย์หญิงสุมนี ยังกล่าวว่า ที่ประชุม ศบค. มีความเป็นห่วงจากที่มีรายงานผู้เสียชีวิตเป็นระยะ พบว่าผู้ที่เสียชีวิตในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากการรายงานของกรมควบคุมโรคส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี และกลุ่มผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค

ซึ่งในจำนวนนี้ รวมถึงเด็กและหญิงตั้งครรภ์ และกว่า 90% ของกลุ่มผู้เสียชีวิต เป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน ดังนั้น เป้าหมายหลักของการดำเนินการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือการระดมเร่งฉีดวัคซีนในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวให้ได้มากที่สุด

"จากรายงานผู้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 ต.ค.ที่ผ่านมาจะเห็นว่า ผลรวมของกลุ่มเสี่ยงเป็น 100% และทั้งหมดที่เสียชีวิตคือ ไม่ได้รับวัคซีน โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ พบว่าเป็นผู้เสียชีวิตจาก 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นระยะ นั่นหมายถึงการสูญเสียถึงสองชีวิต เพราะจาการรายงานกว่า 50% ของหญิงตั้งครรภ์ที่เสียชีวิตนั้น ทารกในครรภ์จะเสียชีวิตพร้อมมารดา และอีก 50% ที่รอด เป็นการสูญเสียอย่างยิ่งของครอบครัว" แพทย์หญิงสุมนีกล่าว

ดังนั้นจึงขอความร่วมมือสื่อมวลชนในท้องถิ่น ช่วยประชาสัมพันธ์การระดมฉีดวัคซีนในกลุ่มเสี่ยง และขอความร่วมมือจากประชาชนในพื้นี่ หากมีบุคคลที่รู้จัก ญาติสนิท เพื่อนบ้าน หรือ ผู้มีโรคประจำตัว ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี หรือหญิงตั้งครรภ์ช่วยแจ้งหรือสนับสนุนให้มารับบริการการฉีดวัคซีนให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อลดการป่วยหนักและลดการเสียชีวิตได้มากขึ้น

แพทย์หญิงสุมนี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2564  นี้จะมีการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยจะมีนายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกของศบค. มาสรุปรายงานจากที่ประชุม