• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

เช็คสิทธิลดหย่อนภาษี ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง

Started by deam205, December 02, 2021, 02:30:42 PM

Previous topic - Next topic

deam205

ลดหย่อนภาษีปี 2564 กรณีค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ใช้สิทธิเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถลดหย่อนสูงสุดท้องละ 60,000 บาท มีเงื่อนไขอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่

ใกล้เข้าช่วงยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2564 ที่จะต้องยื่นภายในเดือนมีนาคมปี 2565 นั้น มาดูกันว่าการใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษี กรณีของค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร"  สามารถหักลดหย่อนตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินท้องละ 60,000 บาท มีรายละเอียดเงื่อนไขดังนี้  


 

สิทธิประโยชน์หักค่าลดหย่อน

 

มนุษย์เงินเดือนผู้มีรายได้ที่กำลังมีลูก สามารถนำค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรของตนไปใช้เป็น ค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงรวมสูงสุดไม่เกินท้องละ 60,000 ทั้งนี้อาจจะมีลูกมากกว่า 1 ท้องต่อปีก็ได้ ส่วนการตั้งครรภ์ลูกแฝดถือเป็นการตั้งท้องครั้งเดียว

 

ทั้งนี้หาก ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรเกิดขึ้นคนละปีกัน สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละปีภาษี แต่ท้องนั้นจะลดหย่อนรวมกันได้สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท 

 

เงื่อนไขการรับสิทธิ

 

 กรณีทั่วไป
ในกรณีที่สามีภรรยายื่นภาษีรวมกัน ให้คนที่ยื่นภาษีหลักเป็นคนได้ใช้สิทธินี้ แต่ถ้าสามีภรรยาต่างฝ่ายต่างยื่นภาษี คนที่ใช้สิทธิลดหย่อนนี้ได้ต้องเป็น ภรรยา คนเดียวเท่านั้น   

 

 กรณีตั้งครรภ์หลายครั้งในปีเดียวกัน
ในกรณีที่มีท้องสองครั้งในปีเดียวกัน แต่ละท้องจะได้สิทธิลดหย่อนแยกกันท้องละไม่เกิน  60,000 บาท

 

เช่น ถ้าจ่ายค่าทำคลอดสำหรับท้องแรกไป 50,000 บาท และในปีเดียวกันก็จ่ายค่าฝากครรภ์สำหรับท้องที่สองด้วยอีก 50,000 บาท จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษี 50,000 บาท สำหรับท้องแรก และใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอีก 50,000 บาท  สำหรับท้องที่สอง เพราะกฎหมายให้สิทธิแยกเป็นคราวตามการตั้งครรภ์

 


กรณีเบิกสวัสดิการค่าทำคลอดได้
 

หากมีสิทธิสวัสดิการเบิกค่าฝากครรภ์หรือค่าคลอดบุตรได้ ไม่ว่าจะเบิกจากบัตรทอง (หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ), ประกันสังคม, สวัสดิการข้าราชการหรือหน่วยงานของรัฐ หรือสิทธิสวัสดิของนายจ้าง ฯลฯ เพดานสิทธิในการหักลดหย่อน จะต้องหักออกจากเงินค่าใช้จ่ายจากสิทธิสวัสดิการที่เบิกมาได้ด้วย

 

เช่น หากเบิกค่าคลอดบุตรจากประกันสังคมมาได้ 13,000 บาท เพดานสิทธิลดหย่อนจะลดลงจาก 60,000 บาท เหลือ 47,000 บาท (เพดานสิทธิ 60,000 -  สิทธิสวัสดิการที่เบิกได้ 13,000 บาท ) หรือกรณีเบิกค่าคลอดบุตรจากบริษัทมาได้ 70,000 บาท  เพดานสิทธิลดหย่อนก็จะลดลงเหลือ 0 บาท 

 

ค่าใช้จ่ายที่นำไปลดหย่อนได้

ค่าใช้จ่ายที่คุณสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่

 

ค่าตรวจและรับฝากครรภ์
ค่าบำบัดทางการแพทย์
ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์
ค่าทำคลอด
ค่ากินอยู่ในสถานพยาบาล
 

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายข้างต้นจะจ่ายให้สถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชนก็ได้ และแม้ว่าการตั้งครรภ์นั้นสุดท้ายจะแท้งไปก็ยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้

 

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการยื่นลดหย่อนภาษี

 

ใบเสร็จที่คุณหรือคู่สมรสจ่ายค่าฝากครรภ์และค่าทำคลอดให้สถานพยาบาล
ใบรับรองแพทย์จากแพทย์ที่ได้ตรวจและแสดงความเห็นว่ามีภาวะตั้งครรภ์

10 คำถามที่พบบ่อย

การใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร

 

Q1 : หากจ่ายค่าคลอดบุตรต้นปี 2561 เป็นเงิน 60,000 บาท ปลายปีจ่ายค่าฝากครรภ์บุตรคนที่ 2 อีก 60,000 บาท ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 120,000 บาทใช่หรือไม่

A1 : สามารถใช้สิทธิแต่ละคราวหรือท้องละไม่เกิน 60,000 บาท ดังนั้น สามารถใช้สิทธิได้ 120,000 บาท

 

Q2 : หากจ่ายค่าฝากครรภ์ต้นปี 2561 เป็นเงิน 30,000 บาท ต่อมาแท้งบุตรต้องขูดมดลูกจำนวน 40,000 บาท สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้บุคคลธรรมดาเท่าใด

A2 : ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งค่าฝากครรภ์และค่าขูดมดลูก แต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท

 

Q3 : หากจ่ายค่าฝากครรภ์ปลายปี 2560 เป็นเงิน 35,000 บาท และจ่ายค่าคลอดบุตรปลายปี 2561 เป็นเงิน 45,000 บาท สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้บุคคลธรรมดาในปี 2561 ได้เท่าใด

A3 : ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉพาะค่าคลอดบุตร 45,000 บาท เนื่องจากสามารถใช้สิทธิยกเว้นได้เท่าที่จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป

 

Q4 : หากจ่ายค่าฝากครรภ์ปี 2561 เป็นเงิน 35,000 บาท และจ่ายค่าคลอดบุตรปี 2562 เป็นเงิน 45,000 บาท สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้บุคคลธรรมดาในปี 2561 และ 2562 ได้เท่าใด

A4 : ปี 2561 ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 35,000 บาท และปี 2562 จำนวน 25,000 บาท เนื่องจากในแต่ละคราวรวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท

 

Q5 : กรณีฝากครรภ์แล้วภายหลังตรวจพบว่าบุตรในครรภ์ไม่สมบูรณ์ แพทย์จำเป็นต้องนำทารกออกจากครรภ์ (ยุติการตั้งครรภ์) สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่

A5 : ได้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์และคลอดบุตร ไม่ว่าจะเป็นค่าตรวจและรับฝากครรภ์ ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์ ค่าทำคลอด และค่ากินอยู่ในสถานพยาบาล ทั้งนี้ ไม่ว่าทารกที่คลอดจะมีชีวิตรอดหรือไม่

 

Q6 : กรณีตั้งครรภ์และแท้งเอง และตั้งครรภ์ใหม่ในปีภาษีเดียวกัน ลดหย่อนได้เท่าใด

A6 : ใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้ง 2 ครั้งๆ ละ ไม่เกิน 60,000 บาท ตามข้อ2(4) ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331)

 

Q7 : ค่าขูดมดลูกกรณีแท้งจากครั้งก่อน ถือเป็นค่าฝากครรภ์ที่ได้รับสิทธิลดหย่อนหรือไม่

A7 : ได้ ถือเป็นค่าบำบัดทางการแพทย์ ตามความหมายของค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331)

 

Q8 : กรณีต่างฝ่ายต่างมีเงินได้แยกยื่นแบบ ใบเสร็จรับเงินค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรออกมาในชื่อสามี ภริยาใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่

A8 : ได้ ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงว่าผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสได้จ่ายค่าฝากครรภ์ ตามข้อ 3(2) ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331)

 

Q9 : กรณีตั้งครรภ์และแท้งในเดือนมีนาคม 2561 และตั้งครรภ์ใหม่ในเดือนกันยายน 2561 จะได้รับสิทธิค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรอย่างไร

A9 : ได้รับสิทธิ 120,000 บาท เนื่องจากมีการตั้งครรภ์ 2 คราว ในปีภาษีเดียวกัน

 

Q10 : กรณีคลอดลูกแฝด ในเดือนกันยายน ปี 2561 จะได้รับสิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรอย่างไร

A10 : ได้รับสิทธิ 60,000 บาท เนื่องจากเป็นการตั้งครรภ์เพียงคราวเดียว

 

อ่าน : คำถามพบบ่อยเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 

ที่มา :   กรมสรรพากร 

        :   ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฏหมายภาษีอากรและ CEO iTAX