• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ปทุมธานีโมเดล

Started by fairya, August 14, 2021, 12:23:50 PM

Previous topic - Next topic

fairya



โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อประชาชนที่มีฐานะยากจน "ปทุมธานีโมเดล" เป็นโครงการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนที่เคยตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณริมคลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ในอดีตคลองรังสิตเป็นคลองสายหลักในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี มีการขุดคลองนี้ขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2433 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้คลองรังสิตนี้ ทำหน้าที่ระบายน้ำจากแม่น้ำนครนายกกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆเพื่อเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของทุ่งรังสิต การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงหลายปีที่ผ่านมาริมคลองนี้มีชุมชนเกิดขึ้นมากมาย ทั้งที่เป็นรูปแบบบ้านจัดสรร อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนที่บุกรุก โดยพบว่าชุมชนบุกรุกมีการก่อตั้งบ้านเรือนรุกล้ำเข้าไปในคลองต่างๆจำนวนมาก ทำให้ปัญหาเรื่องการระบายน้ำ การแก้ไขปัญหาการระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนในการรักษาความสะอาด รวมทั้งการรื้อถอนบ้านเรือนประชาชนที่รุกล้ำลำคลอง

ในปีพ.ศ.2559รัฐบาลได้มี นโยบายแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยเพื่อคนยากจนที่บุกรุกที่สาธารณะริมคลอง สร้างโอกาสให้มีที่พักอย่างอาศัยที่มั่นคง ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่สาธารณะริมคลองหนึ่ง ใน อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ได้รับการจัดสรรพื้นที่ให้เป็นที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงในด้านที่อยู่อาศัย ภายใต้โครงการปทุมธานีโมเดล

นาย ธนัช นฤพรพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) กล่าวถึงความสำเร็จของโครงการปทุมธานีโมเดล ว่า " ปทุมธานีโมเดล มุ่งแก้ไขพัฒนาที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนที่อยู่บริเวณริมคลองในเขตปทุมธานี ในบริเวณ คลอง 1 ซึ่งมีชุมชนที่บุกรุก 16 ชุมชน 1000 กว่าครัวเรือน กระทรวงการพัฒนาชุมชน ร่วมกับผู้ว่าจังหวัดปทุมธานี ร่วมมือกัน จัดทำโครงการ "ปทุมธานีโมเดล" แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและพัฒนาชุมชนไปพร้อมกัน โครงการปทุมธานีโมเดล มีการแก้ปัญหา 3รูปแบบ



รูปแบบที่ 1เป็นการร่วมมือของ 3 หน่วยงานคือ จังหวัดปทุมธานี กรมธนารักษ์ และ พ.อ.ช. กรมธนารักษ์จัดหาที่ราชพัสดุ ประมาณ 30 ไร่ ใกล้กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ให้ชุมชนเช่าอยู่อาศัย โดยวางแผนจัดสร้างเป็นที่พักแบบอาคารชุด 6 อาคาร โดยเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งปัจจุบันสร้างเสร็จไปแล้ว 4 อาคาร และเริ่มมีเข้าผู้พักอาศัยแล้ว

รูปแบบที่ 2 ชุมชนรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ รวมกันซื้อที่ดินเองในการปลูกสร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัย ได้ซื้อที่ดินจำนวน 5 ไร่เศษ ประชาชนประมาณ 100 กว่าครัวเรือน รื้อบ้านที่อยู่ริมคลอง มาอยู่ในที่ดินแห่งใหม่ โครงการก็เริ่มมาตั้งแต่ 2559 เหมือนกับโครงการรูปแบบที่ 1 และดำเนินการสร้างพักเสร็จปลายปี 2560 ประชาชนเข้ามาอยู่อาศัยได้ประมาณ 3 ปี แล้ว โครงการรูปแบบที่ 2 นี้ สำเร็จไปแล้วทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์

รูปแบบที่ 3 คืออยู่บริเวณเดียวกับรูปแบบที่ 1 ในพื้นที่ 30 ไร่ ของราชพัสดุ โดยเป็นชุมชนที่บุกรุกเดิมในพื้นที่ เปลี่ยนจากการบุกรุกมาสู่การสร้างที่พักอาศัยในบริเวณเดิมที่บุกรุกของจำนวน 34 ครัวเรือน

การคืบหน้าของโครงการทั้ง 3 รูปแบบ มีประชาชนที่เข้ามาพักอาศัยแล้ว 300 ครัวเรือน จากเป้าหมาย 1084ครัวเรือน เป็นพื้นที่รวม 16 กิโลเมตร ตั้งกระจายอยู่ตามเส้นทางตั้งแต่ ชุมชนริมคลอง 1 ถึงวัดคุณหญิงส้มจีน อีก 700 กว่าครัวเรือนจะเป็นระยะต่อไป ที่จะต้องพูดคุยกับชุมชน และหาที่ดินรองรับ ให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อเข้าสู่โครงการระยะต่อไป


จากความสำเร็จของโครงการที่คลองลาดพร้าวและคลองเปรมประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร และปทุมธานีโมเดลระยะที่ 1 ได้สร้างความสั่นคงในที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน นับเป็นความสำเร็จที่ ทำให้เกิดความเข้าใจและการตอบรับที่ดีจากชุมชน ในโครงการปทุมธานีโมเดล ระยะ ที่ 2

บ้านที่อยู่อาศัย นับเป็นปัจจัย 1 ใน 4 ในการดำเนินชีวิต เริ่มจากการมีบ้านที่มั่นคง มีสภาพแวดล้อมที่ดี และมีชุมชนที่เข็มแข็ง จะทำให้การเดินหน้าพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาน ทำได้อย่างเต็มที่และมรประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาต่างๆก็ดีขึ้น เช่นปัญหาการป้องกันแพร่กระจายของโควิด – 19 ในชุมชนที่ได้รับการพัฒนาแล้ว จะทำได้ดีกว่าชุมชนเดิม ที่เป็นชุมชนแออัด เพราะในชุมชนมีพื้นที่ส่วนกลางของสหกรณ์ที่สามารถนำมาปรับให้เป็นพื้นที่พักคอยรอการส่งต่อ และในบ้านที่สร้างใหม่เป็นบ้านแฝด 2 ชั้น มีห้องพักที่สามารถให้ผู้ป่วยในระบบ Homeisolate ผู้ป่วยสามารถแยกกักตัวได้ การมีผู้นำชุมชนแบบเป็นทางการจากชุมชนใหม่ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความแข็งแรงของชุมชน สามารถดูแลสมาชิกในชุมชนได้ดีขึ้นเป็นระบบมากขึ้น การจัดทำโครงการบ้านมั่นคงในรูปแบบสหกรณ์เป็นกลไกลในการบริหารโครงการกรรมการสหกรณ์ก็สามารถเป็นกลไกลที่ช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนได้ การดำเนินโครงการต้องมีอุปสรรคบ้างจากผู้ที่ไม่เห็นด้วยปัญหาเหล่านี้ทาง พ.อ.ช เน้นเรื่องการพูดคุย สร้างความเข้าใจให้กับคนในชุมชนซึ่งส่วนใหญ่ เข้าใจและให้ความร่วมมือทำให้โครงการดำเนินต่อไปได้อย่างดี การพัฒนาที่อยู่อาศัยอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ ชาติ 20 ปี เป็นนโยบายที่รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะดำเนินการ โดยมีจุดมุ่งหมายว่าประชาชนทุกคนต้องมีบ้านที่อยู่อาศัยที่มั่นคง มีชุมชนที่เข็มแข็ง ทุกคนภายในปี 2579 พ.อ.ช.มุ่งมั่นที่จะดำเนินนโยบายตามแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม มีสภาพแวดล้อมที่ดี สร้างชุมชนที่ดี สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทั่วประเทศ

นอกจากที่อยู่อาศัยที่มั่นคงอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีแล้ว การมีอาชีพที่มั่นคงถือเป็นความสำคัญ ประชาชนมีรายได้เลี้ยงตนเอง สร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจให้ตนเองและชุมชน ตัวอย่างเช่นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านนากอ ต.จอเบาะ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส

อรุณี ยะโย ประธานวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านนากอ กล่าวถึงการรวมกลุ่มว่า "วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านนากอ เกิดจากการรวมกลุ่มของแม่บ้าน ที่มองเห็นถึงโอกาสในการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรแปรรูปให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่ เมื่อเกิดการรวมกลุ่มแม่บ้าน ก็ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐหลายหน่วยงาน เช่น พช.เข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนด้านเทคนิคการผลิต การให้ความรู้ สนับสนุนอุปกรณ์ ทำให้กลุ่มเข็มแข็งมากขึ้น การดำเนินของกลุ่มจะรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรเช่นลูกหยีและผลผลิตตามฤดูกาลเช่น ส้มแขก ทุเรียน แต่ผลผลิตหลักคือลูกหยี เพราะสามารถเก็บไปได้นาน การแปรรูปลูกหยีมีหลากหลายรสชาติ สามารถจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่ และยังต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยวชุมชน ทำให้กลุ่มและชุมชน มีรายได้จากการท่องเที่ยวและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปเหล่านี้"

วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านนากอ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประสานกับการนำนวัตกรรมมาปรับใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่ม ให้มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นลูกหยีกวน ลูกหยีทรงเครื่อง หรือส้มแขกแช่อิ่ม โดยที่ผ่านมาทาง วิสาหกิจชุมชนแปรรูปทางการเกษตรบ้านนากอก็ได้รับการสนับสนุน จากหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ และมอบอุปกรณ์และพัฒนาระบบการผลิตให้มาตราฐาน

น.อ.วิชชา พรหมคีรี รอง ผอ.รมน.จังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า " กอ.รมน.มีบทบาทในการประสานงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่และดูแลความสงบเรียบร้อย ช่วยเหลือประชาชน มีการส่งเสริมในการประกอบอาชีพต่าง วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านนากอ เป็นชุมชนที่มีความเข็มแข็ง ทั้งด้านการท่องเที่ยว และมีความสามารถ มีความคิดริเริ่มในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในท้องถิ่นให้เป็นสินค้า สามารถจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับกลุ่มและชุมชน และได้รับการส่งเสริมจากหลากหลายหน่วยงานในจังหวัดทำให้ชุมชนมีความเข็มแข็งมากขึ้น "

ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านนากอ เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความมั่นคงและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสมาชิกได้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ทางกลุ่มมีแนวคิดสร้างเครือข่ายชุมชนสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน โดยมีการหารือแนวทางในการร่วมกันบริหารจัดการและสร้างอาชีพและรายได้ให้กับประชาชน ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการขึ้นทะเบียน GMP เพื่อที่ช่วยยกระดับมาตรฐาน และสร้างความมั่นใจ

การสร้างโอกาสให้กับประชาชนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะคนทุกคนล้วนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อยู่อย่างเท่าเทียมกัน การสร้างโอกาสทางอาชีพที่เหมาะสมให้ผู้มีความบกพร่องทางร่างกายทำให้กลุ่มคนเหล่านี้มีอาชีพ สามารถหารายได้เพื่อเลี้ยงดูตัวเอง พร้อมเปิดโอกาสให้เขาได้ทำประโยชน์แก่สังคม

โครงการสร้างพลังคนพิการประกอบอาชีพและสร้างรายได้เครือข่ายกลุ่มคนพิการ มูลนิธิเพื่อพัฒนาคนพิการ อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา เป็นมูลนิธิที่ทำงานอยู่กับคนที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกาย ซึ่งอยู่ในชุมชนบัวใหญ่มาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี โดยงานหลักของมูลนิธิ นั่นคือการช่วยเหลือและสนับสนุนคนพิการให้มีอาชีพ สร้างรายได้เลี้ยงตัวเองและความครัวได้ ผลจากข้อนี้ก็จะช่วยให้คนพิการเกิดการยอมรับจากคนในสังคมมากขึ้น เกิดเป็นความภาคภูมิใจในตัวเองและมีสุขภาพจิตที่ดี ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมามูลนิธิฯ ได้เห็นความสำเร็จพร้อมๆ กับปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน จึงเกิดแนวคิดสร้างพลังคนพิการประกอบอาชีพ และสร้างรายได้เครือข่ายกลุ่มคนพิการเพื่อให้พวกเค้าเกิดเป็นองค์ความรู้สำหรับการต่อยอด และนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการพัฒนาร่วมกับคนพิการต่อไปในอนาคต

นางพัชราภรณ์ ชนภัณฑารักษ์ กล่าวถึงความเป็นมาของมูลนิธิว่า "จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปัญหาของกลุ่มคนเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาเรื่องการเข้าถึงสิทธิ์ แต่เป็นปัญหาเรื่องการส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสม ทางมูลนิธิได้นำงานวิจัยมาทอดบทเรียนได้ต้นแบบ 4 ต้นแบบ นำต้นแบบมาขยายผลสู่เยาวชน 40 คน เยาวชนกลุ่มนี้ได้เข้ารับการฝึกอบรมด้านอาชีพ และกลับมาเป็นแกนนำ ต่อจากนั้นทางมูลนิธิได้ขอทุนสนับสนุน จาก กศศ เพื่อใช้ในการพัฒนาและยกระดับ กลุ่มคนพิการ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนผู้มีบกพร่องทางร่างกาย ให้เข้าถึงสิทธิ์ต่างๆของทางภาครัฐและได้รับอุปกรณ์ ส่งเสริมให้มีอาชีพ มีรายได้ และสามารถพึ่งพิงตัวเองได้ครับ ทั้งนี้มูลนิธิเพื่อพัฒนาคนพิการ อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ได้จัดโครงการสร้างพลังคนพิการประกอบอาชีพของเครือข่ายกลุ่มคนพิการขึ้น เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ ด้านภูมิปัญญางานหัตถกรรมพื้นบ้าน ที่ใช้สมองและงานฝีมือ ให้พวกเขามีอาชีพและสร้างรายได้ตามศักยภาพของตนเอง และวางแผนขยายช่องทางการตลาดผ่านระบบออนไลน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลังจากการฝึกอบรมการขายแบบออนไลน์ให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ผลปรากฏว่ามียอดการสั่งจองสินค้าเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้พิการมีรายได้มากขึ้น"

นอกจากการส่งเสริมอาชีพหัตถกรรมแล้ว ยังมีการส่งเสริมอาชีพการทำการเกษตรให้กับคนพิการบางกลุ่มที่ไม่มีความถนัดในงานหัตกรรม การส่งเสริม การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประกอบด้วยการเลี้ยงไก่ การปลูกผักอินทรีย์ โดยเน้นปลูกผักใช้น้ำน้อย สามารถดูแลได้ง่าย เพื่อให้รายได้ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ซึ่งเพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ และมูลนิธิยังคอยติดตามช่วยเหลือแนะนำ รวมทั้งรับซื้อผลผลิตของกลุ่มผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายด้วย โครงการสร้างพลังคนพิการประกอบอาชีพและสร้างรายได้เครือข่ายกลุ่มคนพิการของมูลนิธิเพื่อพัฒนาคนพิการ ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สร้างพลังให้กลุ่มคนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สร้างความภาคภูมิใจและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

FrankJScott

In reply to the man inquiring about temperature control, aluminum cans packaging, ecology, local service, marques locales, multi-lane feeding system,  I highly suggest this from this source on custom packaging site or all-in-one side loading solution, et pack etc20, emballeuse automatique, wrapping machine, parts availability, shared values with enopac, and don't forget this more info on automated packing blog and don't forget trusted and experienced manufacturers, increased appetite for innovation, cased glass wine bottles, combined cardboard and shrink film packing, scara robots, robot palletizer system, as well as this for beginners about packaging solutions info which is also great. Also, have a look at this had me going for automated packing advice and don't forget high-performance and reliable machines, blisters, standardize processes, factors, all-in-one side loading solution, tâches qui nécessitent des travailleurs humains, alongside all this straight from the source for automated packing info as well as quick response, desired speed of operation, sealing machine, stainless steel frame, cartoner and case packer, stainless steel frame and panels, as well as read more for automated packing url which is also wopackingh a look. I also suggest this at yahoo for custom packaging details on top of future of packaging, easy to operate, enoline packaging solutions, examinez comment l'encaisseuse réagit aux variations de matériaux, labeling solutions, solutions de refroidissement rapide, as well as this super fast reply for custom packaging blog alongside all technologie brevetée, preventative maintenance, side loading variety pack machine, erreur humaine, boxes, packing material, as well as my sources on custom packaging info not to mention machines d'emballage, automated packaging machines, machines réglables, nashville, automatic loading, total cost of ownership, which is also great. Finally, have a look at this official statement for custom packaging site with ideal for cans, bottles, jars or multipacks, side loading for variety packs, packaging equipment, solutions compactes, ruban adhésif, easy change over,  for good measure. Check more @ Free Hints For Deciding On Merino Wool Layers 85af3_8