• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

‘ส.ตราสารหนี้ไทย’ ชี้ปี 64 เห็นมูลค่าออกหุ้นกู้ทะลุ 1 ล้านล้านบาทแน่

Started by Jessicas, October 08, 2021, 06:45:42 PM

Previous topic - Next topic

Jessicas



'ส.ตราสารหนี้ไทย' ชี้ปี 64 เห็นมูลค่าออกหุ้นกู้ทะลุ 1 ล้านล้านบาทแน่ โตแรงไม่หวั่นโควิด-ล็อกดาวน์
เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ไทยบีเอ็มเอ) เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดตราสารหนี้ไทย ในปัจจุบันยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แม้มีการระบาดโควิด-19 ที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ โดยมูลค่าการออกหุ้นกู้ภาคเอกชนระยะยาวในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ (สะสม 9 เดือน) เพิ่มขึ้น 54% จากช่วงเดียวกันของปี 2563 มียอดการออกรวมเท่ากับ 817,556 ล้านบาท

โดยกลุ่มธุรกิจที่เสนอขายสูงสุด 5 กลุ่มแรกในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ได้แก่ พลังงาน 20.6% อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง 15.1% ธุรกิจการเงิน 13.6% บริการ 12.8% และเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร 11.8% ซึ่งพบว่าผู้จัดจำหน่ายใช้ช่องทางติดต่อเสนอขายตราสารหนี้ผ่านออนไลน์และแอพพลิเคชั่นมากขึ้น ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน ทำให้แม้มีการใช้มาตรการล็อกดาวน์ แต่ยังเห็นการซื้อขายหุ้นกู้เหมือนภาวะปกติ หลังจากมีตัวอย่างการล็อกดาวน์ในช่วงที่ผ่านมาแล้วว่า ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการออกหุ้นกู้ และการซื้อมากนัก โดยในปี 2564 ประเมินว่าโอกาสที่จะเห็นการออกหุ้นกู้มีมูลค่าทะลุ 1 ล้านล้านบาทได้ และเชื่อว่ามูลค่าจะเกินเป้าหมายที่คาดไว้ช่วงต้นปีนี้ ว่าจะมีการออกหุ้นกู้มูลค่าประมาณ 9 แสนล้านบาทแน่นอน


"สถานการณ์หุ้นกู้ในประเทศไทย หลังเห็นวิกฤตกรณีเอเวอร์แกรนด์ หรือบริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่อันดับสองของจีน ที่ขาดสภาพคล่องนั้น จะมีความกังวลถึงหุ้นกู้ในกลุ่มอสังหาฯ ไทยหรือไม่ ขณะนี้มองว่ายังไม่น่าเป็นห่วงมากนัก เพราะหากประเมินจากผู้ออกหุ้นกู้ในรายกลุ่มอุตสาหกรรม พบว่ามีความหลากหลายกว่า 8 กลุ่มอุตสาหกรรม ที่คิดเป็นสัดส่วนกว่า 80% ของมูลค่าหุ้นกู้ทั้งหมด ไม่ได้กระจุกตัวมากนักในกลุ่มอสังหาฯ หรือกลุ่มอุตสาหกรรมใดกลุ่มเดียวเท่านั้น โดยกลุ่มอสังหาฯ มีสัดส่วนเพียง 11% ของหุ้นกู้คงค้างทั้งหมด หรือประมาณ 4.4 แสนล้านบาทเท่านั้น จากมูลค่าหุ้นกู้คงค้างทั้งหมดประมาณ 4 ล้านล้านบาท รวมถึงกลุ่มอสังหาฯ กว่า 75% เป็นผู้ออกหุ้นกู้ในกลุ่มระดับลงทุน หรืออินเวสต์เมนต์ เกรดทั้งนั้น ซึ่งจะมีเรทติ้งตั้งแต่ AAA จนถึง BBB- หมายความว่าเป็นหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทที่มั่นคง ผลประกอบการดี อยู่ในกลุ่มที่น่าลงทุน" นางสาวอริยากล่าว

นางสาวอริยากล่าวว่า ด้านกระแสเงินลงทุนจากต่างประเทศ (ฟันด์โฟลว์) ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2564 พบว่า นักลงทุนยังคงซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทยกว่า 37,579 ล้านบาท แต่กลับมาขายสุทธิค่อนข้างมากในเดือนกันยายนที่ผ่านมา แต่ยังเห็นว่านักลงทุนต่างชาติ ยังมียอดการซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปีกว่า 6.6 หมื่นล้านบาท ทำให้ยอดการถือครองตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างชาติ ณ สิ้นไตรมาส 3/2564 อยู่ที่ 915,918 ล้านบาท คิดเป็น 6% ของมูลค่าคงค้างตราสารหนี้ไทย โดยกว่า 90% เป็นการถือครองในตราสารหนี้ระยะยาว และมีอายุเฉลี่ยของพันธบัตรที่ถือครองเท่ากับ 9.4 ปี

โดยเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield Curve) ของไทยในช่วงไตรมาส 3 ปรับตัวในทิศทางขาขึ้น นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ตามทิศทางเดียวกันกับพันธบัตรสหรัฐจากทั้งปัจจัยภายนอก ได้แก่ แนวโน้มเงินเฟ้อของสหรัฐ และการทำมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) และปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ ปริมาณพันธบัตรที่จะเพิ่มขึ้นมากจากความต้องการระดมทุนของรัฐบาลไทย ทำให้ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยรุ่นอายุ 2 ปี ปรับตัวสูงขึ้น 0.18% มาอยู่ที่ร้อยละ 0.56 และรุ่นอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้น 0.61% มาอยู่ที่ 1.89%

นางสาวอริยากล่าวว่า สำหรับตลาดตราสารหนี้ไทยในช่วงที่เหลือของปี 2564 นี้ แม้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (บอนด์ยีล) จะมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางในตลาดโลก แต่ส่วนชดเชยความเสี่ยง (Credit spread) ของหุ้นกู้ที่ปรับลดลง ประกอบกับสภาพคล่องในระบบ ทำให้ต้นทุนของผู้ออกตราสารหนี้ภาคเอกชนไม่ได้เพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการออกหุ้นกู้เพิ่มขึ้น ทำให้การออกหุ้นกู้ระยะยาวของปีนี้จะไม่ต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ ส่วนทิศทางบอนด์ยีลระยะยาวในรุ่น 10 ปีของไทย ในช่วงที่เหลือของปีนี้เชื่อว่าจะปรับขึ้นได้อีกไม่มากนัก เพราะตลาดได้ปรับตัวล่วงหน้าสะท้อนปัจจัยหลักต่างๆ ไปแล้ว โดยอาจแกว่งตัวได้ตามตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่จะมีการทยอยประกาศออกมา