• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - Beer625

#2861
 ข้าวออร์แกนิค  ข้าวorganicส่งทั่วไทย #ข้าวออแกนิค หรือ #ข้าวออร์แกนิค หรือ #ข้าวออร์แกนิก หรือ "#ข้าวเกษตรอินทรีย์"  (#OranicRice)
ข้าวออแกนิค หรือ ข้าวออร์แกนิค หรือ ข้าวออร์แกนิก (#OranicFood) หรือเรียกง่ายๆเป็นภาษาไทยว่า "ข้าวเกษตรอินทรีย์" หรือ "ข้าวอินทรีย์" / ปลูกข้าวมะลินิลออแกนิค คือ ข้าวที่ผ่านการผลิตทางการเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี หรือวัตถุสังเคราะห์ใด ๆ ทั้งสิ้น (รวมไปถึงเมล็ดพันธุ์ ข้าวที่ไม่ตัดต่อทางพันธุกรรม) กระบวนการผลิตข้าวไม่มีการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช ก่อนการปลูกข้าวจะต้องเตรียมหน้าดินก่อนด้วยวิธีธรรมชาติ ทุกขั้นตอนการผลิตข้าวจะไร้สารปนเปื้อนที่เกิดมนุษย์ จะไม่ผ่านการฉายรังสี ไม่เพิ่มเติมสิ่งปรุงแต่งลงไปในข้าว 




  ข้าวกล้องหอมมะลิออแกนิคข้าวออแกนิค หรือ ข้าวออร์แกนิค หรือ ข้าวออร์แกนิก หรือ "ข้าวเกษตรอินทรีย์"  (Oranic Rice)   ข้าวกล้องหอมมะลิสุขภาพ คืออะไร?
1. ส่วนประกอบทุกอย่างล้วนมากจากธรรมชาติ โดยข้าวออแกนิคจะไม่มีการใช้สารสังเคราะห์ใด ๆ ในการเพาะปลูก  ข้าวกล้องปะกาอำปึลออร์แกนิคเลย ข้าวก็จะถูกปลูกและเจริญเติบโตมาด้วยอาหารจากธรรมชาติล้วน ๆ ส่วนข้าวก็จะเป็นการปลูกในนา ไม่ใส่วัตถุสังเคราะห์ใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และสารเคมีหรือยาฆ่าแมลง ใช้แต่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกจากธรรมชาติในการเพาะปลูกข้าว ส่วนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่นำมาเพาะปลูกจะต้องไม่มีตัดต่อพันธุกรรม และต้องมีการเตรียมหน้าดินก่อนการเพาะปลูกข้าวด้วยวิธีธรรมชาติ คือ จะต้องทำให้ปลอดสารพิษไม่น้อยกว่า 3 ปี เหล่านี้จึงเรียกได้ว่าเป็นการสร้างอาหารแบบธรรมชาติอย่างแท้จริง 100% มีกลิ่นหอมตามแบบธรรมชาติ ทุกขั้นตอนในการปลูกข้าวและการแปรรูปข้าวจะต้องอยู่ในมาตรฐานที่ผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานต่าง ๆ ส่วนประกอบทุกอย่างจึงสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีสารพิษตกค้างหรือสารก่อมะเร็ง
2. ข้าวออแกนิคจะไม่มีการใช้สารเคมีใด ๆ เลย ส่วนประกอบทุกอย่างจะต้องมาจากธรรมชาติ เพราะถ้ามีการใช้สารเคมีก็จะไม่ถือว่าเป็นข้าวออแกนิค ซึ่งการไม่ใช้สารเคมีที่ว่านั้นหมายถึง การไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี 
3. ไม่ก่อให้เกิดมลพิษในกระบวนการปลูก  ปลูกข้าวหอมมะลิแดงอินทรีย์ เพราะข้าวออแกนิคนั้น นอกจากจะมุ้งเน้นให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดีแล้ว จุดประสงค์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการช่วยลดมลพิษให้กับธรรมชาติ เพราะเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการใช้สารเคมีต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี หรือสารเร่งการเจริญเติบโตต่าง ๆ นั้นจะก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในดิน ในน้ำ และในอากาศ ซึ่งกว่าจะย่อยสลายไปได้บางทีก็อาจใช้ระยะเวลาเป็นสิบ ๆ ปี ซึ่งวิธีการปลูก  ข้าวกล้องอินทรีย์หอมมะลินิล แบบธรรมชาตินี้เองจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยฟื้นฟูธรรมชาติที่เสียไป เพราะนอกจากจะได้รับประทานข้าวที่ปลอดสารพิษแล้ว ยังช่วยลดมลพิษต่าง ๆ ได้ดีอีกด้วย

ข้าว Hor.Boutique ข้าวอินทรีย์สุรินทร์   ขายข้าวกล้องหอมมะลิแดงอินทรีย์
277 หมู่ 14 ถ.พิชิตชัย ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000
โทร. 092-8245655
website : https://xn--22c6bf3bcuv6dva2b1ntb.com/
Line: @Hor.Boutique

เรามีข้าวอินทรีย์ 7 ประเภทครับ
1. ข้าวกล้องหอมมะลิอินทรีย์
2.  กลุ่มข้าวกล้องหอมมะลิอินทรีย์
3. ข้าวปะกาอำปึลออแกนิคคือ
4.  ข้าวผสมหลายสายพันธุ์ปลอดสารจังหวัดสุรินทร์
5. ข้าวกล้องหอมมะลิแดงออแกนิคสำหรับทารก6.  ข้าวกล้องหอมมะลินิลออร์แกนิค7.  ข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์


#ข้าวออร์แกนิกสุรินทร์  #ข้าวออแกนิคสุรินทร์  #ข้าวออแกนิกสุรินทร์   #ข้าวอินทรีย์สุรินทร์  #ข้าวสุขภาพสุรินทร์
 
 
#2862
สำนักพรเทวะ  ศูนย์รวมวัตถุมงคล เครื่องราง ของขลัง เมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ รับทำเทียนสะเดาะเคราะห์ สืบชะตา รับโชค แก้ชง เสริมดวงเสริมบารมีต่างๆ เรียกคู่ เรียกจิต ให้บูชาน้ำมันว่านสาวหลง น้ำมันว่านดอกทอง อื่น ๆ รับวิเคราะห์ชื่อ(ฟรี) รับตั้งชื่อ จำหน่ายเพนดูลั่มลูกดิ่งพลังจิต ให้บูชาคัมภีร์พระเวทย์

 สนใจติดต่อ
อ.ทองเอก พรเทวะ
โทร 0846623662
Line : teerapat999

 lazada :
https://www.lazada.co.th/porntaywa/?from=wangpu&lang=th&langFlag=th&page=1&pageTypeId=2&q=All-Products&sort=priceasc 
#2863


วันนี้ (12 ส.ค. 64) นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีชมรมแพทย์ชนบททักท้วงเรื่องคุณภาพของชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit (ATK) ที่องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ได้ดำเนินการจัดหาเพื่อใช้แจกให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่า ในวันพรุ่งนี้ (13 ส.ค.64) คณะอนุกรรมการจัดทำแผนการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการฯ ภายใต้บอร์ด สปสช. จะมีการประชุมด่วนเพื่อหารือข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว

เนื่องจากต้องการให้ชุดตรวจ ATK ที่จะแจกให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงใช้ตรวจโควิดด้วยตนเองนั้น ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล ซึ่งการแจกชุดตรวจ ATK ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเป็นแนวทางหนึ่งในการลดการระบาดของโรคโควิด-19 แยกผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็ว เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล

นพ.จเด็จ กล่าวต่อว่า สำหรับงบประมาณจัดหาชุดตรวจ ATK ให้หน่วยบริการแจกจ่ายประชาชนทุกคนทุกสิทธินั้น เป็นการใช้จ่ายจากงบประมาณตาม พ.ร.ก.กู้เงินฯ โดยให้เครือข่าย รพ.ราชวิถี จัดหาชุดตรวจผ่าน องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2561 ที่รับทราบเรื่องการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์การแพทย์ตามโครงการพิเศษที่ให้ รพ.ราชวิถี ซึ่งเป็นตัวแทนหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการจัดซื้อยากับทางองค์การเภสัชกรรม (อภ.) แทน สปสช.
#2864


จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรี พม. ชี้'บิ๊กตู่'  ให้ พม.ดูแลกลุ่มเปราะบางเพราะวิกฤตโควิด หากติดเชื้อจะมีความลำบากที่สุด เร่งส่งถุงยังชีพ พร้อมมอบเงินให้ 13 จังหวัดสีแดงที่เข้าเงื่อนไข หากไม่พอของบกลางเพิ่ม แจง พม.จับมือภาครัฐจัดตั้งศูนย์พักคอย ได้เห็นการช่วยเหลือเกื้อกูล'บวร'  พร้อมทีม ทหาร กทม.จิตอาสาเข้มแข็ง รวมทั้งส่งทีมอาสา พม. 100 คนเข้าช่วยงานรพ.สนาม มทบ.11 ยอมรับเป็น รพ.สนามICU ที่สมบูรณ์ที่สุด ระบบทันสมัย จากทีมแพทย์ของโรงพยาบาลธนบุรี ชื่นชมอีกด้าน 'หมอบุญ วนาสิน' ทุ่มสรรพกำลังช่วย รพ.สนาม มทบ.11 ได้กล่อง แต่ไม่ได้เงิน!

ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ ก็ยังมีมุมเล็ก ๆ ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าคนไทยไม่ทิ้งกัน แม้จะอยู่ในฐานะที่ไม่ได้ร่ำรวย แต่ความเอื้ออาทร ความเสียสละมีให้เห็นเต็มเปี่ยม พร้อม ๆ กับปรากฏการณ์เหรียญ มี 2 ด้านที่ในโลกของโซเชียลมีเดีย มองเห็นภาพของ นพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่ถูกโจมตีว่าแหกตาคนทั้งประเทศกับข่าวการนำเข้าวัคซีน mRNA จำนวน 20 ล้านโดส

แต่นี่ก็เป็นอีกด้านหนึ่งที่หมอบุญ เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทำงานเพื่อวางระบบให้กับโรงพยาบาลสนามของกองทัพบก เพื่อช่วยผู้ป่วยโควิดที่มีความทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่ง



นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ระบุว่า กระทรวง พม.ได้จับมือกับ กทม. ก.กลาโหม วัด โรงเรียน เพื่อเข้าไปจัดทำศูนย์พักคอย (Community Isolation – CI) ซึ่งมีอยู่ 50 เขต จำนวน 62 แห่ง เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่เป็นผู้ป่วยโควิด กลุ่มสีเขียว ที่มีอาการไม่มาก หรือไม่มีอาการ ซึ่งหากจะกักตัวอยู่ที่บ้านอาจจะไม่สะดวก ก็จะให้มาอยู่ที่ CI สถานที่ที่นำมาทำเป็น CI ก็จะมีทั้งวัดที่เคยใช้ในการอบรมสมาธิ   หรือโรงเรียนต่าง ๆ ก็จะถูกนำมาใช้ที่เราเคยรู้จักกันในรูปแบบ 'บวร' นั่นเอง

"ชุมชนดั้งเดิม จะมีการจัดระบบการดูแลได้ดีมาก วัดก็ช่วยทั้งเรื่องที่พักและเป็นสถานที่จัดเตรียมอาหาร 3 มื้อ ของที่มีคนนำมาให้ หรือบริษัทต่าง ๆ นำมาบริจาค มีการจัดสรรกันอย่างดี คนในชุมชน ที่ไม่ป่วยหรือป่วยหายแล้วก็มาเป็นจิตอาสา ดูแลคนป่วยต่อไป กทม.ก็จัดแพทย์ พยาบาล มาดูแล ป่วยหนักก็มีการส่งต่อ ทหารก็มาช่วยจัดเตรียมอุปกรณ์ที่พัก บริหารจัดการในศูนย์"

ขณะเดียวกันกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ พม.ก็ได้มีการส่งถุงยังชีพไปให้ รวมไปถึงคนจนเมื่อมีปัญหาจากวิกฤตโควิดก็สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือมาที่กระทรวง พม.ซึ่งก็มีการพิจารณาช่วยเป็นเงินเช่นกัน แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ซึ่งเวลานี้งบประมาณปี 2564 เหลืออยู่จำกัดหากไม่พอก็จะขออนุมัติงบกลางจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อมาช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางได้อีก

"นายกฯย้ำมาก ต้องดูแลกลุ่มเปราะบาง คนเหล่านี้หากติดเชื้อ จะลำบากมาก ซึ่ง พม.ได้เข้าไปดู ไปช่วยเหลือ เน้นในพื้นที่สีแดง 13 จังหวัดก่อน เรามีงบเหลือเพียง 70 ล้าน ไม่พอก็ขอเพิ่ม"



รัฐมนตรี พม. กล่าวอีกว่า ในเรื่องของศูนย์พักคอย ยังมีที่เป็นของเอกชน และมีของกองทัพ ที่นำพื้นที่ทหารมาทำเป็นศูนย์พักคอย รวมไปถึงนำไปสร้างเป็นโรงพยาบาลสนามอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะโรงพยาบาลสนามกองทัพบก มณฑลทหารบกที่ 11 เขตหลักสี่ กทม. จัดสร้างขึ้นมานั้น เป็นความร่วมมือของกองทัพ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวง พม. และบริหารจัดการโดยโรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ที่มี นพ.บุญ วนาสิน เป็นที่ปรึกษา

"ที่นี่จัดเป็นโรงพยาบาลสนามระดับสูง รองรับผู้ป่วยสีเหลือง สีส้ม สีแดง ที่ดูแลผู้ป่วยระดับ ICU ได้เป็นแห่งแรก มีห้องแยก ติดตั้งระบบไหลเวียงออกซิเจนสำหรับผู้ป่วย ระบบควบคุม กล้องวงจรปิด เครื่องมอเตอร์ติดตามอาการ ระบบเทเลเมดิซีน"

การบริหารจัดการระบบต่าง ๆ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วย โดยเฉพาะทุกจุดจะไม่ให้ใช้มือไปสัมผัส เพราะจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย แม้กระทั่งประตูทางเข้าก็ไม่มีปุ่มกด แต่จะใช้ Motion sensor ในการควบคุมอัตโนมัติ

"ทีมผู้บริหารของโรงพยาบาลธนบุรี บอกว่า ระบบการทำงานจะมีความปลอดภัยมาก แพทย์มีจำกัด เพราะติดเชื้อกันไปเยอะ เราจึงมีระบบกันแพทย์ออกจากคนไข้ มีการใช้เทเลเมดิซีน ปรึกษาดูแลทั้งหมด ส่วนพยาบาลมาจากโรงพยาบาลทหาร และมีบางส่วนมาจากกระทรวงสาธารณสุข แต่ทุกคนต้องเข้าห้องปฐมนิเทศ ฝึกการใช้ เพื่อให้เกิดความคุ้มเคยกับระบบ และเครื่องมือไฮเทคทางการแพทย์ที่ทีมธนบุรีจัดขึ้นมา"

สำหรับทีมแพทย์นั้นจะมาจากโรงพยาบาลธนบุรีทั้งหมด ซึ่งผู้ป่วยหนัก สีแดง สีส้ม ที่เตียงคนไข้ทุกเตียง จะมีกล้อง ซึ่งแพทย์จะให้พยาบาลที่เข้ามาใส่ชุด PPE ดูแลคนไข้ และหมอจะพูดกับคนไข้ผ่านกล้อง ในห้องกระจกที่มองเห็นชัดเจน

"คนไข้สีแดง จะมี 100 กว่าคน จะใช้จอขนาดใหญ่ 70 นิ้ว 9 จอในการควบคุม และทุกเตียงจะมีอุปกรณ์เครื่องช่วยครบทุกเตียง"



พยาบาลอาสา จากต่างโรงพยาบาล จะได้รับการ ปฐมนิเเทศ 5-ุ 7  วัน เพื่อฝึกทำงานเป็นทีม และจะอบรมให้พยาบาล มีความคุ้นเคย กับระบบและเครื่องมือไฮเทค ของแพทย์ 
พยาบาลอาสา จากต่างโรงพยาบาล จะได้รับการ ปฐมนิเเทศ 5-ุ 7 วัน เพื่อฝึกทำงานเป็นทีม และจะอบรมให้พยาบาล มีความคุ้นเคย กับระบบและเครื่องมือไฮเทค ของแพทย์


นอกจากนี้ ยังได้มีการสร้างที่พักให้กับพยาบาลที่เข้ามาปฏิบัติงานที่นี่ เพื่อให้มีความสะดวกสบาย เวลาพักผ่อน และระบบคัดกรองคนไข้สีต่าง ๆ ห้องน้ำของคนป่วยก็มีการแยกสัดส่วนได้ดีมาก ยังมีการสร้างห้องแล็บขึ้นมาใหม่ เพียงแค่ 2 ชั่วโมง ผลแล็บก็ออกแล้ว ซึ่งโรงพยาบาลสนาม มณฑลทหารบกที่ 11 มีประมาณ 600 กว่าเตียง สามารถใช้ห้องแล็บที่นี่ได้หมด เพราะโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ ไม่ใช่มีเพียงสีเหลือง สีแดง ยังมีการนำโรงยิมทั้ง 3 โรง มาจัดทำเป็นโรงพยาบาลสนามระดับสีเขียว เพราะเมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นอยู่ในระดับเป็นสีเขียวจะส่งต่อไป Hospitel หรือโรงพยาบาลสนามอื่นต่อไป

"ห้องปลี่ยนชุด PPE ของพยาบาล เป็นห้องความดันลบ ปลอดเชื้อจริงๆ ห้องขยะติดแอร์ เพราะว่าไม่ต้องการให้ขยะเพาะเชื้อ และ กทม. มีหน้าที่ไปกำจัดต่อไป"

รัฐมนตรีจุติ บอกอีกว่า ทีมแพทย์ยืนยันว่า โรงพยาบาลสนาม มทบ.11 มีความทันสมัยที่สุดและมีเครื่องมือที่พร้อมมาก และใกล้ ๆ อาคารผู้ติดเชื้อ จะเห็นเป็นแท่งสูง ๆ ขนาดใหญ่ นั่นคือ แท่งผลิตออกซิเจน 23,000 ลิตร เตรียมไว้รองรับผู้ป่วย เพื่อไม่ต้องการให้คนไข้มีความเสี่ยงเวลาที่ออกซิเจนหมด

"ผมเปลี่ยนความรู้สึกเรื่องของหมอบุญ ไปมาก เมื่อมาดูสิ่งที่หมอบุญ ส่งทีมงานมาทำให้กับโรงพยาบาลสนามของทหาร ทั้งระบบ เครื่องออกซิเจนที่เอามาติด เขาบอกว่าลดความเสี่ยงให้คนไข้ได้ด้วย เขามองความปลอดภัยรอบด้าน ทำแบบของโรงพยาบาลเอกชนเลย ก็ไม่รู้ว่าหมอบุญจะเอาแท่งนี้คืนไปหรือเปล่า เมื่อโควิดจบลง"



รัฐมนตรีจุติ บอกอีกว่าการเข้ามาทำงานครั้งนี้มั่นใจว่า หมอบุญ เลือกแล้วที่จะรับกล่องไม่ใช่เงินค่าตอบแทน เพราะคนป่วยติดเชื้ออยู่ 14 วัน สปสช.จ่ายให้แค่ 5 หมื่น แต่เรามองย้อนไปดูแค่ค่าห้อง ICU ต่อเตียงค่ารักษาก็ 1,200,000 บาทแล้ว

"ผมก็ถามทีมแพทย์เขาว่า หมอบุญ ไม่มาดูเหรอ เขาบอกไม่มา แต่ทีมผู้บริหาร หรือทีมแพทย์ที่เข้ามาดูเป็นคนของหมดบุญทั้งหมด"

ดังนั้นการจะรับรู้แต่สื่อโซเชียลเพียงอย่างเดียวบางทีก็ทำให้เกิดมุมมองเชิงลบ แต่ถ้าได้ไปสัมผัสสิ่งที่เป็นจริงก็จะทำให้เห็นอีกมุมหนึ่งของเหรียญเช่นกัน

"เหรียญมี 2 ด้าน ได้เห็นอีกด้านของหมอบุญ ส่งทีมแพทย์ รพ.ธนบุรี มาวางระบบทำโรงพยาบาลสนาม มทบ.11 มีความพร้อมมาก รองรับผู้ป่วยสีส้ม สีแดง ทีมงานถูกฝึกให้คุ้นเคย เวลาวิกฤตกู้ชีพคนไข้ งานนี้หมอบุญเอากล่องไม่เอาเงิน"

โดย รพ.สนามกองทัพบก มณฑลทหารบกที่ 11 นั้น ได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลธนบุรีบำรุงเมือง ที่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร ธุรกิจเฮลท์แคร์ภายใต้การดำเนินงานของ ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป (THG) ในด้านเครื่องมือแพทย์ 45 ล้านบาท ค่าปรับปรุงสถานที่ 25 ล้านบาท และค่าวางระบบไอที ประมาณ 4 ล้านบาท


ส่วนการที่ กระทรวง พม.ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องนั้น รัฐมนตรีจุติ บอกว่า ทางกองทัพ ได้ขอให้ พม.ส่งอาสาสมัครเข้ามาช่วยจำนวน 100 คน เพราะทีมแพทย์ พยาบาล มีหน้าที่ในการดูแลรักษาคนไข้ ไม่ต้องให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับเรื่องอื่น ๆ และการกรอกประวัติคนไข้ ก็ได้จากแอร์โฮสเตส ที่ตกงาน มาจัดการเรื่องข้อมูลคนไข้

"ผมจัดอาสาสมัครให้เรียบร้อย ก็ต้องใช้เงินส่วนตัว ทำประกันโควิดที่ไพบูลย์ประกันภัย ให้กับทุกคน วงเงินคุ้มครองคนละ 5 แสนบาท เพราะหากเขาป่วยก็มีเงินรักษา มีค่ารถให้เขาด้วย เพื่อมาเตรียมเรื่องอาหาร และอื่น ๆ ทุกคนก็มากันด้วยใจที่เสียสละ"

ปัจจุบันทีมงานของ พม.ก็ได้เข้าไปช่วยตามที่กองทัพแจ้งมาแล้ว และการเข้ามาดูโรงพยาบาลสนามมณฑลทหารบกที่ 11 รวมทั้งการไปเยี่ยมศูนย์พักคอย จึงได้เห็นถึงความร่วมมือร่วมแรงที่จะฟันฝ่าวิกฤตโควิดไปด้วยกัน!
#2865


ตามที่สหรัฐมีแผนให้เด็กนักเรียนที่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนกลับเข้าชั้นเรียนในปีการศึกษาใหม่นี้ ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มสูงขึ้นทั่วประเทศเพราะสายพันธุ์เดลตา ทำให้ผู้ปกครองและนักการศึกษากังวลใจ

นายเกวิน นิวซัม ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย ประกาศเมื่อวันพุธ (11 ส.ค.) ตามเวลาท้องถิ่นว่า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครองว่าเด็กๆ ปลอดภัยเมื่อกลับมาเรียนเต็มรูปแบบ ทางการขอให้บุคลากรในโรงเรียนทุกคนฉีดวัคซีน

"การฉีดวัคซีนทำให้เรายุติการระบาดนี้ได้ ในฐานะพ่อ ผมตั้งตารอเริ่มปีการศึกษาใหม่ที่เด็กแคลิฟอร์เนียทุกคนได้กลับเข้าชั้นเรียนอีกครั้ง" ผู้ว่าการรัฐกล่าว

แคลิฟอร์เนียเป็นรัฐแรกที่บังคับบุคลากรในโรงเรียนทุกคนไม่ว่าโรงเรียนของรัฐหรือเอกชนต้องฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไม่เช่นนั้นก็ต้องตรวจหาเชื้อสัปดาห์ละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย ซึ่งบรรดากลุ่มผู้ปกครองตอบรับกับความเคลื่อนไหวนี้

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขรัฐแคลิฟอร์เนีย เด็กอายุเกิน 12 ปี ราว 2 ใน 3 ฉีดวัคซีนครบแล้ว ส่วนที่อายุน้อยกว่านั้นไม่ต้องฉีดวัคซีน
#2866
มาฟัง ดร.สมโชค เดชะ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ออสซี่ออยล์ จำกัด ทางรายการ กรุงเทพธุรกิจ ในหัวข้อเรื่อง ออสซี่ออยล์แตกไลน์ 'น้ำมันแกลลอน' สู้ศึกโควิด
โอกาสมาถึงแล้ว..คุณพร้อมแล้วหรือยังที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจลงทุนวันนี้ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่าในวันข้างหน้าหากสนใจทักแชทได้เลยนะคะ
Aussie oil ผู้เชียวชาญด้านธุรกิจพลังงานที่เราอยากแนะนำให้กับคุณ ...
ปรึกษาหรือสอบถามฟรี
สอบถามรายละเอียดได้ที่ :
Tel : 02-1114-7334  line: @aussieoil
(สามารถติดต่อได้ 9.00 - 17.00 น.)

https://youtu.be/cZRFXCcpzo0
#2867


บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพเพื่อโลกที่ยั่งยืน ด้วยสมดุลของพอร์ตธุรกิจจากทั้งพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป (Thermal Power Business) และพลังงานหมุนเวียน (Renewable Power Business) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายเพื่อลงทุนในบริษัท Temple Generation Intermediate Holdings II, LLC ผ่านบริษัทย่อย Temple Generation I, LLC หรือ "Temple I" ซึ่งเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ขนาด 768 เมกะวัตต์ ที่ตั้งอยู่ในรัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นประเทศที่ 7 ที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ มูลค่าการลงทุนรวม 430 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 14,147 ล้านบาท จากการทำสัญญาผ่านบริษัท BKV-BPP Power LLC ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50 คิดเป็นเงินลงทุน 215 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 7,074 ล้านบาท ส่งผลให้บ้านปู เพาเวอร์ มีกำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุน 384 เมกะวัตต์ นับเป็นผลสำเร็จจากการดำเนินตามแผนกลยุทธ์ขยายการเติบโตสู่เป้าหมาย 5,300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568 ด้วยการต่อยอดระบบนิเวศทางธุรกิจภายในกลุ่มบ้านปู ซึ่งมีฐานธุรกิจผลิตพลังงานที่แข็งแกร่งอย่างแหล่งก๊าซธรรมชาติ บาร์เนตต์ (Barnett) ในรัฐเทกซัส รวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีคุณภาพสอดคล้องกับกลยุทธ์ Greener & Smarter

นายกิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "การลงทุนของบ้านปู เพาเวอร์ ในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ "Temple I" ครั้งนี้ถือเป็นการต่อยอดระบบนิเวศ (Ecosystem) จากบริษัทแม่ที่ดำเนินธุรกิจผลิตก๊าซธรรมชาติอยู่แล้วในสหรัฐฯ และสอดคล้องกับทิศทางการลงทุนในโรงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (High Efficiency, Low Emissions : HELE) อยู่ในสถานะที่มีการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างกระแสเงินสดได้ทันที จุดเด่นของโรงไฟฟ้าแห่งนี้แบ่งได้เป็น 5 ข้อหลัก คือ 1.เป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยี Combined Cycle Gas Turbines หรือ CCGT ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ผสมผสานกระบวนการทำงานของ Gas Turbine (กังหันก๊าซ) กับ Steam Turbine (กังหันไอน้ำ) เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้การผลิตไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2.ตั้งอยู่ในรัฐเทกซัสซึ่งมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง เนื่องจากมีจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงและเป็นหนึ่งในศูนย์กลางเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว 3.เป็นโรงไฟฟ้าที่จัดอยู่ในลำดับการเรียกจ่ายไฟฟ้า (Merit Order)[1] ที่ดี เหมาะกับสภาพการแข่งขันในตลาด Electric Reliability Council of Texas หรือ ERCOT ที่มีการซื้อขายไฟฟ้าแบบเสรี 4.มีความพร้อมด้านการขนส่งและการจัดเก็บก๊าซ (Gas Storage) ซึ่งมีส่วนช่วยให้บริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มความยืดหยุ่นในการเดินเครื่องเพื่อผลิตไฟฟ้าให้สอดรับกับรูปแบบความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ 5.มีสัญญาระยะยาว 30 ปี สำหรับการสำรองน้ำสำหรับกระบวนการผลิต ทำให้เกิดเสถียรภาพและเอื้อต่อกระบวนการผลิตในระยะยาว และมีระบบจัดการน้ำทิ้งที่ดี สามารถลดการปล่อยน้ำเสียจนเกือบเป็นศูนย์ (Near Zero Liquid Discharge Facility)"



"การลงทุนในครั้งนี้อยู่ภายใต้เงื่อนไขการปิดตามธรรมเนียม (Customary Closing Conditions) คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จตามเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในสัญญา และคาดว่า BPP จะรับรู้รายได้ภายในไตรมาส 4/2564 บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าขยายกำลังผลิตไฟฟ้าอย่างยั่งยืนด้วยสัดส่วนที่สมดุลระหว่างพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไปและพลังงานหมุนเวียน โดยมองหาโอกาสการลงทุนในโรงไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยี HELE ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในตลาดที่มีความเติบโตของความต้องการใช้ไฟฟ้าและมีนโยบายสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง" นายกิรณ กล่าวเพิ่มเติม

จากการลงทุนในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ "Temple I" ส่งผลให้ในปัจจุบัน บ้านปู เพาเวอร์มีกำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุนรวม 3,300 เมกะวัตต์เทียบเท่า โดยภายในปี 2564 ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าที่คาดว่าจะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เพิ่มอีก 3 แห่ง ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมหวินเจา (Vinh Chau) ระยะที่ 1 ในเวียดนาม กำลังผลิต 30 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่นอีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เคเซนนุมะ (Kesennuma) กำลังผลิต 20 เมกะวัตต์ และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ชิราคาวะ (Shirakawa) กำลังผลิต 10 เมกะวัตต์
#2868


อาร์เดิร์น ได้รับการชื่นชมจากประชาคมโลกในฐานะที่ประสบความสำเร็จในการใช้กลยุทธต่างๆควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศอย่างได้ผล ซึ่งรวมถึงการการล็อกดาวน์และปิดพรมแดนระหว่างประเทศตั้งแต่เดือนมี.ค.ปี 2563 แต่กลยุทธดังกล่าวเริ่มมีปัญหาเพราะเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์ต้องพึ่งพาแรงงานอพยพอย่างมาก เมื่อไม่มีแรงงานต่างชาติ ทำให้ต้นทุนในการผลิตในภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้นและผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมตกต่ำลง

ปัญหาขาดแคลนแรงงานในนิวซีแลนด์เกิดขึ้นกับทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมทั้ง อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม พืชสวน ที่อยู่อาศัย การบริการ สุขภาพ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกัับสาธารณ ทำให้มีเสียงเรียกร้องจากผู้ประกอบการในทุกภาคอุตสาหกรรมขอให้รัฐบาลเปิดพรมแดนระหว่างประเทศอีกครั้ง

แรงกดดันเกี่ยวกับเรื่องนี้รุนแรงขึ้นเมื่อวันจันทร์(9ส.ค.)เมื่อพยาบาลผดุงครรภ์ประมาณ 1,500 คนผละงานประท้วงโดยให้เหตุผลว่าทำงานหนักเกินไปเพราะปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านนี้ ขณะที่พยาบาลจำนวนกว่า 30,000 คนชุมนุมประท้วงเป็นครั้งที่2ในเดือนนี้นับตั้งแต่เดือนมิ.ย.เป็นต้นมา เพื่อเรียกร้องให้ทางการปรับขึ้นเงินเดือนและปรับปรุงสวัสดิการให้ดีขึ้น

"เราพึ่งพาพยาบาลที่มีคุณสมบัติจากต่างประเทศเพื่อเข้ามาช่วยเติมเต็มปัญหาขาดแคลนพยาบาลแต่ถ้าพรมแดนประเทศของเรายังคงปิดอยู่ เราก็ไม่สามารถรับสมัครพยาบาลจากต่างประเทศได้ เกลนดา อเล็กแซนเดอร์ ผู้จัดการแผนกการบริการด้านอุตสาหกรรมขององค์การพยาบาลแห่งนิวซีแลนด์ กล่าว

อเล็กแซนเดอร์ กล่าวเสริมว่า ชาวนิวซีแลนด์ไม่นิยมมาเป็นพยาบาลเพราะเห็นว่าเป็นงานหนักและได้ค่าเหนื่อยน้อย ประกอบกับวิตกกังวลว่าจะทำงานได้ไม่ดีหรือผิดพลาดจนส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย


เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา รัฐบาลนิวซีแลนด์ยกเลิกข้อจำกัดต่าง ๆ เกือบทั้งหมดที่เคยประกาศใช้เพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 หลังจากไม่พบผู้ป่วยโรคนี้ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ ส่งผลให้ชาวนิวซีแลนด์ไม่ต้องทำตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม และสามารถออกไปรวมตัวกันในที่สาธารณะได้โดยไม่มีข้อจำกัด แต่นิวซีแลนด์ก็ยังไม่เปิดด่านพรมแดนสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ

นิวซีแลนด์กำหนดให้ชาวนิวซีแลนด์ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศต้องกักตัวหรือเข้ารับการควบคุมโรคเป็นเวลา 14 วัน

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อาร์เดิร์น เปิดรับแรงงานตามฤดูกาลจากซามัว ทองกา และวานูอาตู ซึ่งประเทศเหล่านี้ไม่มีผู้ป่วยโรคโควิด-19 เพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมด้านการเกษตร

ขณะที่ทางการนิว ซีแลนด์ระบุว่ามีผู้ป่วยโรคโควิด-19สะสมประมาณ 2,500 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดนี้จำนวน 26 ราย ถือเป็นตัวเลขต่ำที่สุดในโลก

ปัญหาขาดแคลนแรงงานในนิวซีแลนด์กำลังเพิ่มต้นทุนทางธุรกิจแก่บรรดาผู้ประกอบการ เพราะต้องจ่ายค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นแรงจูงใจให้พนักงานทำงานกับบริษัทต่อไป ขณะที่อัตราเงินเฟ้อรายปีของประเทศเพิ่มขึ้นมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในไตรมาสสอง อยู่ที่ 3.3% สูงกว่าที่ธนาคารกลางของนิวซีแลนด์คาดการณ์ไว้

บรรดานักเศรษฐศาสตร์ คาดการณ์ว่าแรงกดดันจากปัญหาขาดแคลนแรงงานจะบังคับให้ธนาคารกลางแห่งนิวซีแลนด์(อาร์บีเอ็นซี)ดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดในสัปดาห์หน้าเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศร้อนแรงเกินไป

อย่างไรก็ตาม ข้อกังวลหลักของอาร์เดิร์นและบรรดาผู้กำหนดนโยบายคือการระบาดของโรคโควิด-19สายพันธุ์เดลตา ซึ่งขณะนี้กำลังสร้างปัญหาให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างออสเตรเลียและประเทศอื่นๆทั่วโลก

การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาทั่วออสเตรเลีย ทำให้เมื่อเดือนที่แล้ว อาร์เดิร์นตัดสินใจระงับโครงการ"ทราเวล บับเบิล"ที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เดินทางไปมาระหว่างกันได้โดยไม่ต้องกักตัว

บรรดาผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าหากพบการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาในนิวซีแลนด์จะส่งผลให้มีการล็อกดาวน์ยาวนานขึ้น เพราะขณะนี้ประชาชนในนิวซีแลนด์ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วเพียง 21% เท่านั้น

"สายพันธุ์เดลตามีอันตรายกว่าโควิด-19สายพันธุ์อื่นๆ และโควิด-19สายพันธุ์นี้จะเปลี่ยนแปลงการคำนวณหรือประเมินความเสี่ยงในชีวิตของประชาชนทุกคนอย่างสิ้นเชิง"อาร์เดิร์น กล่าว
#2869


ภาคอีสาน-ACE รวมพลังคณะผู้บริหารและพนักงานจิตอาสาในกลุ่มสู้โควิด-19 เดินหน้าผลิตเตียงสนามจากไฟเบอร์บอร์ด จำนวนรวมกว่า 2,000 เตียง ส่งมอบแก่หน่วยงานภาครัฐ โรงพยาบาล และชุมชนที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศ โดยทยอยส่งมอบล็อตแรกทั่วโคราชรวม 300 เตียง



นางสาวจิรฐา ทรงเมตตา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ACE ผู้นำด้านพลังงานสะอาดของไทย เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นจนส่งผลให้โรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามทั่วประเทศประสบปัญหาขาดแคลนเตียงรองรับผู้ป่วย บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนของปัญหาที่เกิดขึ้น จึงผนึกกำลังคณะผู้บริหารและพนักงานจิตอาสาในกลุ่ม ACE ร่วมกันผลิตเตียงสนามจากแผ่นไม้ไฟเบอร์บอร์ด จำนวนรวมกว่า 2,000 เตียง สำหรับส่งมอบแก่หน่วยงานภาครัฐ โรงพยาบาล รวมถึงชุมชนที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศ



สำหรับแผ่นไม้ไฟเบอร์บอร์ดที่ ACE นำมาผลิตเตียงสนามสามารถรองรับน้ำหนักได้มากถึง 200 กิโลกรัม โดยทำมาจากต้นยูคาลิปตัสที่บริษัทในเครือส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อสร้างรายได้เสริม ลดการตัดไม้จากป่าธรรมชาติอันเป็นสาเหตุให้เกิดสภาวะโลกร้อน



นางสาวจิรฐากล่าวต่อว่า ปัจจุบัน ACE เริ่มทยอยส่งมอบเตียงสนามแล้ว โดยล็อตแรกจำนวน 300 เตียงถูกส่งมอบแก่หลายหน่วยงานในจังหวัดนครราชสีมา เช่น เทศบาลตำบลโชคชัย จำนวน 20 เตียง อำเภอโชคชัย จำนวน 50 เตียง ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา จำนวน 50 เตียง โรงพยาบาลจักราช จำนวน 10 เตียง ศูนย์พักคอย อบต.โชคชัย จำนวน 44 เตียง อบต.พลับพลา 17 เตียง ฯลฯ และอยู่ระหว่างเร่งผลิตเพื่อกระจายส่งมอบทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง



นอกจากนี้ ที่ผ่านมา ACE ยังได้บริจาคขวดเจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัยให้แก่ชุมชน รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องสแกนวัดอุณหภูมิ เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพอัตโนมัติแก่โรงพยาบาลและสถานพยาบาลในบริเวณรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดของ ACE ใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ และยังคงมุ่งมั่นให้ความช่วยเหลือเคียงคู่คนไทยสู้โควิด-19 จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะคลี่คลาย
#2870


ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อในเรื่องของสมุนไพรต่างๆ เช่นเดียวกับสมุนไพรประเภทที่ช่วยในเรื่องของการขับถ่าย สาวใต้วัย 23 ปี จึงถือกำเนิดแบรนด์ "Suamtaek" น้ำสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องของการขับถ่าย ผลตอบรับล้นหลามจึงปรับโดยการแปรรูปเป็น เจลลี่ เพื่อขายกลุ่มลูกค้า ให้สามารถกินได้ง่ายกว่าเดิม



ปภาวรินท์ พึ่งเกียรติรัศมี หรือปันปัน เจ้าของแบรนด์ "Suamtaek" วัย 23 ปี เล่าว่า หลังจากเรียนจบจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็กลับมาช่วยงานที่บ้าน ในจังหวัดสงขลา ระหว่างนั้นก็ต้องการที่จะมีธุรกิจเป็นของตัวเองด้วย โดยตนก็เริ่มจากการขายสมุนไพรอบแห้ง และพัฒนามาเป็น สมุนไพรแบบบรรจุขวดพร้อมดื่ม แต่ก็ติดปัญหาตรงที่ไม่สามารถส่งให้ลูกค้าที่อยู่ในระยะไกลได้



ทั้งนี้ตนยังต้องการที่จะพัฒนาสินค้าให้แปลกและแตกต่างไปจากผู้ประกอบการรายอื่นๆ ทำให้สมุนไพรนี้สามารถกินได้ง่ายขึ้น ไม่มีกลิ่น หรือรส ที่เป็นสมุนไพร ทำให้ลูกค้ากลุ่มที่ไม่ชื่นชอบน้ำสมุนไพรแบบต้ม ได้มาลองในรูปแบบเจลลี่ รสองุ่น จึงเริ่มขึ้นมาเป็นแบรนด์ "Suamtaek" ซึ่งเปิดตัวมาได้นาน 3 เดือนแล้ว



สำหรับส่วนประกอบหลักๆ ที่มีอยู่ในเจลลี่ "Suamtaek" คือ ไคโตซาน ไซเลี่ยมฮัสก์ เมล็ดกาแฟสด บร็อคโคลี่ พุทรา และดอกเก็กฮวย เป็นต้น ช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย เหมาะสำหรับคนที่ท้องผูก ซึ่งส่วนประกอบทั้งหมดนี้เรียกได้ว่าเป็นออร์แกนิค และผลิตในโรงงานที่ได้มาตรฐานการผลิตอีกด้วย



"ตอนที่ตัดสินใจทำส่วนตัวเรียกได้ว่าเป็นคนธาตุหนักขับถ่ายยาก บวกกับเป็นริดสีดวง หลักจากเรียนจบกลับมาก็อยากหาอะไรทำ จึงเลือกทำเป็นสมุนไพรดีท็อกซ์ ลองขายหลายรูปแบบ ล่าสุดพัฒนาแปรรูปให้เป็น เจลลี่ ดีท็อกซ์ เรียกได้ว่าเราเป็นเจ้าแรกที่ทำสมุนไพรดีท็อกซ์ ในรูปแบบเจลลี่แบบนี้ด้วยค่ะ ผลตอบรับจากลูกค้าถือว่าดีมากเพราะว่าลูกค้าที่เคยซื้อไปลองแล้ว ยังกลับมาซื้อซำ้อีกบ่อยๆ จนตอนนี้สินค้าที่ผลิตออกมาล็อตแรกๆ ใกล้หมดแล้ว และเตรียมสั่งล็อตต่อไปเรียบร้อย"



สินค้าใน 1 กล่องจะมีทั้งหมด 5 ชิ้น ราคากล่องละ 290 บาท ซึ่งงานทั้งหมดจะทำเองเรียกได้ว่าตั้งแต่ต้นจนไปถึงมือลูกค้า ดูแลในเรื่องของการติดต่อโรงงาน การตลาด ทั้งการโปรโมท ลงโฆษณา แผนการขายโปรโมชั่น วางแผนทำเองทุกอย่างทั้งหมดด้วยตัวเอง และในการทำธุรกิจตั้งแต่อายุยังน้อยเช่นนี้ การเริ่มต้นจะต้องมีทุน แน่นอนว่าการทำธุรกิจจะต้องมีเงินทุน และอีกอย่างหนึ่งในการทำธุรกิจคือต้องมีไอเดีย เรียกได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด



ในการทำธุรกิจนอกจากมีทุน และไอเดียแล้ว ยังต้องมีในเรื่องของความพร้อม พร้อมในที่นี้คือ พร้อมที่จะทำธุรกิจ ต้องมีการวางแผนให้ดี ไม่วู่วาม สำรวจตลาดให้ดี รอบคอบ เช่น การทำธุรกิจในครั้งนี้จะทำอย่างไรให้แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่นๆ



สำหรับการเริ่มต้นธุรกิจในช่วง โควิด-19 เช่นนี้ ทำให้การทำงานยากขึ้นไปอีก เนื่องจากการวางแผนในครั้งแรกคือเรื่องของราคา การตั้งราคาที่สูงทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อยาก และด้วยสินค้าของ "Suamtaek" ถือเป็นสินค้าในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย (Luxury goods) คือจะมีหรือไม่มีก็ได้ ทำให้ยากในเรื่องการปิดยอดขาย



ในอนาคตตั้งเป้าไว้ว่า จะเพิ่มในรสชาติของเจลลี่ดีท็อกซ์ ให้มีเพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งผลิตสินค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมา ที่เกี่ยวกับรังนกที่เป็นธุรกิจของที่บ้าน อาจจะเลือกเพิ่มสินค้าในไลน์อื่นๆ เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการเสริมกับธุรกิจของครอบครัวอีกช่องทางหนึ่ง

สนใจติดต่อ เฟซบุ๊ก : Suamtaek_detox
#2871


บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2564 บริษัทมีรายได้รวมและส่วนแบ่งกำไร และกำไรสุทธิทั้งสิ้น 1,873.1 ล้านบาท และ 260.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.3% และ 93.2% จากไตรมาส 1/2564 โดยเป็นรายได้รวมและส่วนแบ่งกำไรปกติ และกำไรสุทธิปกติทั้งสิ้น 1,892.5 ล้านบาท และ 282.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.1% และ 53.6% จากไตรมาสที่แล้ว สำหรับผลการดำเนินงาน 6 เดือนแรกของปี 2564 บริษัทฯ มีรายได้รวมและส่วนแบ่งกำไรทั้งสิ้น 3,278.9 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 394.9 ล้านบาท โดยหากพิจารณาผลประกอบการปกติ บริษัทฯ มีรายได้รวมและส่วนแบ่งกำไรปกติ 3,346.8 ล้านบาท และกำไรปกติ 466.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.9% และ ลดลง 31.1% จากช่วงเดียวกันของปี 2563

นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของ 4 กลุ่มธุรกิจในครึ่งปีแรกว่า ธุรกิจโลจิสติกส์ เติบโตตามความต้องการศูนย์กระจายสินค้าและคลังสินค้าคุณภาพสูงของธุรกิจ E-Commerce และผู้ประกอบการในกลุ่ม Consumer ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้วเป็นต้นมา สำหรับไตรมาส 2 และ 6 เดือนแรกของปี 2564 บริษัทฯ รับรู้รายได้จากธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งสิ้น 279.9 ล้านบาท และ 556.9 ล้านบาท ตามลำดับ โดยปัจจุบันบริษัทฯ มีสัญญาให้เช่าระยะสั้นที่ให้ผลตอบแทนสูงจำนวนกว่า 56,000 ตารางเมตร สูงกว่าเป้าหมายสัญญาให้เช่าระยะสั้นที่วางไว้ 50,000 ตารางเมตรสำหรับปีนี้ ซึ่งความต้องการเช่าพื้นที่คลังสินค้าที่เข้ามาอย่างต่อเนื่องก็ส่งผลทำให้อัตราการเช่าพื้นที่ (Occupancy Rate) ของสินทรัพย์ที่อยู่ในพอร์ทของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นไปแตะที่ระดับ 90%

นอกจากนั้น บริษัทฯ ได้เปิดตัวโครงการดับบลิวเอชเอ เมกกะ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ แหลมฉบัง แห่งที่ 2 ซึ่งนับเป็นโครงการแห่งที่ 38 ของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป บนพื้นที่รวมทั้งหมดกว่า 50,000 ตารางเมตร โดยมีผู้เช่าหลักเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มโลจิสติกส์เพื่อใช้เป็นศูนย์กระจายสินค้าสำหรับประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เมียนมา ลาว และกัมพูชา ซึ่งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้บริษัทฯ เร่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการพัฒนากระบวนการทำงาน และการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้า ปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างการเจรจาเข้าลงทุนในบริษัทและธุรกิจ Startups กลุ่มโลจิสติกส์หลายราย โดยบริษัทฯ คาดว่าจะสามารถทราบผลของการเจรจาภายในสิ้นปีนี้

สำหรับแผนการขายทรัพย์สิน และ/หรือ สิทธิการเช่าทรัพย์สินให้กับกองทรัสต์ ในปี 2564 ล่าสุดผู้ถือหน่วยทรัสต์ได้มีมติอนุมัติให้ทำการลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินหลักครั้งที่ 7 จำนวน 3 โครงการ มูลค่าไม่เกิน 5,549.7 ล้านบาท ทรัพย์สินประกอบด้วยโครงการ WHA Mega Logistics Center (วังน้อย 62) โครงการ WHA Mega Logistics Center (ถนนบางนา-ตราด กม. 23 โปรเจค 3) และโครงการ WHA E-Commerce Park อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา คิดเป็นพื้นที่รวม 184,329 ตารางเมตร โดยสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ของบริษัททั้งหมดและคาดว่าจะสามารถรับรู้รายได้ภายในไตรมาส 4/2564 ตามแผนงานที่วางไว้ รวมถึง บริษัทฯ อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ของการระดมทุนผ่านสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งรูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) และสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Asset-backed Token) เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจที่หลากหลายและการเติบโตในอนาคตของบริษัทฯ อีกด้วย


นอกจากนั้นเพื่อเป็นการต่อยอดธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ล่าสุดบริษัทฯ ได้เปิดตัว "WHA Office Solutions" พื้นที่สำนักงานชั้นนำระดับเวิร์ลคลาส บน 6 ทำเลที่มีศักยภาพสูงในกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ รวมพื้นที่สำนักงานให้เช่ากว่า 100,000 ตร.ม. ได้แก่ โครงการ WHA Tower, โครงการ SJ Infinite I, อาคารสำนักงาน @Premium, โครงการ WHA Bangna Business Complex, ศูนย์บ่มเพาะนวัตกรรม TusPark WHA และโครงการ WHA KW S25 ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง

ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม  6 เดือนแรกของปี 2564 บริษัทฯ มียอดขายที่ดินรวม 274 ไร่ (ไทย 241 ไร่/ เวียดนาม 33 ไร่) และยอดเซ็นต์ MOU รวม 83 ไร่ (เวียดนาม) โดยบริษัทฯ สามารถรับรู้รายได้จากธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมในครึ่งปีแรกรวม 691.8 ล้านบาท ชะลอตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับรายได้ในไตรมาส 1 ปี 2564 จำนวน 154.1 ล้านบาทแล้วรายได้จากธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ของบริษัทฯ มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 537.7 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับสภาวะการลงทุนและการส่งออกของประเทศไทยในไตรมาสที่ผ่านมาที่เริ่มกลับมาส่งสัญญาณเชิงบวก โดยเฉพาะในกลุ่มนักลงทุนสัญชาติญี่ปุ่น ยุโรป จีนและไต้หวัน รวมถึงนักลงทุนอินเดียที่แสดงความสนใจย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากขึ้น ภายหลังจากประเทศอินเดียต้องประสบกับวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างหนักในช่วงต้นปีที่ผ่านมา

ด้านธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมในเวียดนาม ณ สิ้นไตรมาส 2 บริษัทฯ มียอดขายที่ดินทั้งสิ้น 33 ไร่ และยอด MOU 83 ไร่ เนื่องจากเขตนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล โซน 1 เหงะอานของบริษัทฯ ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี บริษัทฯ จึงเร่งสานต่องานก่อสร้างในพื้นที่เฟส 1B ส่วนที่เหลือจำนวน 2,100 ไร่ พร้อมขยายการก่อสร้างในเฟส 2 และเฟส 3 คิดเป็นพื้นที่เพิ่มเติมอีก 4,700 ไร่ รวมถึงการดำเนินการเพื่อขอใบอนุญาตและการอนุมัติโครงการเพื่อพัฒนาเขตอุตสาหกรรม 2 แห่งในจังหวัดถั่งหัว (Thanh Hoa) บนพื้นที่รวมกว่า 7,500 ไร่ ที่ยังคงดำเนินไปตามแผน โดยบริษัทฯ คาดว่าจะสามารถเริ่มเข้าไปพัฒนาพื้นที่ในเขตอุตสาหกรรม WHA Northern Industrial Zone และ WHA Smart Technology Industrial Zone ภายในสิ้นปีนี้ และเริ่มเปิดให้บริการพื้นที่แก่นักลงทุนที่สนใจภายในปีหน้า ทั้งนี้บริษัทฯ ได้มีการติดตามและประเมินสถานการณ์การผลิตและการกระจายวัคซีนของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอย่างใกล้ชิด ซึ่งในช่วงผ่านมาบริษัทฯ ก็ยังคงได้รับการติดต่อจากนักลงทุนที่แสดงความสนใจเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ อยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ที่สนใจจำนวนมากกว่า 30 ราย คิดเป็นพื้นที่ขายรวมกว่า 2,000 ไร่ทั้งไทยและเวียดนาม ซึ่งหากการดำเนินการด้านวัคซีนของประเทศต่างๆ เป็นไปตามแผนที่วางไว้ก็จะเป็นปัจจัยหนุนสำคัญที่ทำให้เกิดการขยายตัวทางด้านการค้าและการลงทุนของภูมิภาคต่อไป

บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าพัฒนาแนวคิดนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์อัจฉริยะ หรือ Smart ECO Industrial Estate ที่มีความทันสมัยทั้งด้านเทคโนโลยีการผลิต ขนส่ง สื่อสาร ฯลฯ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมร่วมกับพันธมิตรเพื่อให้บริการ Digital Healthcare อย่างครบวงจรแก่ผู้ประกอบการ พนักงาน/ แรงงาน และผู้อยู่อาศัยทั้งภายในและบริเวณโดยรอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมของบริษัทฯ ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีบล็อกเชน รวมถึงเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทฯ ได้ร่วมสนับสนุน บริษัท เพอเซ็ปทรา (Perceptra) สตาร์ทอัพสัญชาติไทยในการนำระบบปัญญาประดิษฐ์มาใช้วิเคราะห์ภาพเอกซเรย์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลสนามในการวินิจฉัยและตรวจรักษาโรคโควิด-19 อีกด้วย

นอกจากนี้ ศูนย์ควบคุมส่วนกลาง (Unified Control Center, "UOC") ณ อาคาร WHA Tower สำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของบริษัทฯ พร้อมเปิดดำเนินการแบบเต็มรูปแบบแล้ว โดยศูนย์ UOC ดังกล่าวสามารถนำเสนอข้อมูล และติดตามผลการทำงาน รวมถึงได้ติดตั้งระบบเฝ้าระวังแบบเรียลไทม์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในการปฏิบัติงานประจำวันหรือในสถานการณ์ฉุกเฉินโดยระบบดังกล่าวจะส่งสัญญาณเตือนไปยังผู้รับผิดชอบที่ศูนย์ UOC รวมถึงแจ้งเตือนผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มฯ กล่าวเพิ่มเติมถึงธุรกิจสาธารณูปโภคว่า ผลประกอบการของธุรกิจน้ำในไตรมาสที่ผ่านมามีความโดดเด่น โดยบริษัทฯ มีปริมาณยอดขายและบริหารน้ำทั้งหมดในประเทศไทยและต่างประเทศในไตรมาส 2 และ 6 เดือนแรกของปี 2564 รวมเท่ากับ 35.2 ลูกบาศก์เมตร และ 67.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้บริษัทฯ สามารถรับรู้รายได้จากธุรกิจสาธารณูปโภครวมในไตรมาส 2 และ 6 เดือนแรกของปี 2564 เท่ากับ 595.8 และ 1,182.1 ล้านบาท ตามลำดับ

ปริมาณยอดขายน้ำในประเทศมีการเติบโตดีขึ้นสำหรับทุกประเภทผลิตภัณฑ์ โดยปริมาณการจำหน่ายน้ำในไตรมาส 2 และ 6 เดือนแรกของปี 2564 มีจำนวนเท่ากับ 29.3 ล้านลูกบาศก์เมตร และ 56.8 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้น 27.3% และ 16.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการเติบโตดังกล่าวสะท้อนความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มมากขึ้นจากทั้งกลุ่มลูกค้าเดิมในทุกอุตสาหกรรม และกลุ่มลูกค้าใหม่ในกลุ่มปิโตรเคมี อาทิ GC Oxirane ที่เริ่มเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ช่วงปลายปีและมีปริมาณการใช้น้ำประมาณ 5,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน หรือลูกค้าโรงไฟฟ้า อาทิ Gulf SRC ที่ขยายกำลังการผลิตทำให้มีความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นประมาณ 12,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน รวมถึงยังสะท้อนการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของปริมาณยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมูลค่าเพิ่ม (Value-Added Products) ที่มีการเติบโตอย่างมากในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนอีกด้วย
#2872


นายอุทัย อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการมองตลาดเร็วและพร้อมปรับตัวรองรับทุกสถานการณ์ ตลอดเวลา (Speed to Market) ส่งผลให้ 7 เดือนที่ผ่านมาบริษัทสามาถทำยอดขายรวมได้ถึง 20,600 ล้านบาท หรือเกือบ 70% จากเป้าหมายยอดขาย 31,000 ล้านบาท โดยเป็นยอดขายจากโครงการแนวราบ 13,700 ล้านบาท และยอดขายจากโครงการคอนโดมิเนียม 6,900 ล้านบาท สัดส่วนยอดขายจากโครงการแนวราบเพิ่มเป็น 67% โดยบ้านเดี่ยวแบรนด์ เศรษฐสิริได้รับการตอบรับที่ดี อาทิ โครงการ เศรษฐสิริ กรุงเทพกรีฑา2, เศรษฐสิริ พระราม 5 และเศรษฐสิริ จรัญฯ – ปิ่นเกล้า2 เป็นต้น รวมทั้งทาวน์โฮมภายใต้แบรนด์"สิริ เพลส" ซีรี่ย์ล่าสุด Dream Destination ทั้ง สิริ เพลส บางนา - เทพารักษ์ และ สิริ เพลส วงแหวน - ลำลูกกา ที่ทำยอดขายกว่า 80% ของยูนิตที่เปิดขาย


ขณะที่คอนโดมิเนียม แบรนด์เดอะ มูฟ หนึ่งในโปรดักส์ไฮไลท์ในปีนี้ ที่รองรับเซกเมนต์ในระดับราคาที่เข้าถึงง่าย ได้รับการตอบรับที่ดี ไม่ว่าจะเป็นเดอะ มูฟ เกษตรเดอะ มูฟ ราม 22 ขายหมดทุกยูนิตที่เปิดขายในทั้ง 2 โครงการ คาดว่าจะส่งต่อความสำเร็จไปสู่ "เดอะ มูฟ บางนา" เป็นโครงการที่ 3 ราคาเริ่มต้น 1.29 ล้านบาท ที่เตรียมพรีเซลล์เป็นโครงการต่อไป

นายอุทัย ระบุว่า ช่วง 7 เดือน ที่ผ่านมาบริษัทมียอดโอนโครงการที่อยู่อาศัยทุกประเภทที่สร้างเสร็จสมบูรณ์และส่งมอบให้กับลูกค้าไปแล้วถึง 18,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นเกือบ 60% จากเป้าหมายยอดโอน 31,000 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดโอนจากโครงการแนวราบและคอนโดมิเนียม ในสัดส่วน 55 : 45 โดยครึ่งปีหลัง บริษัทยังเตรียมโอนคอนโดมิเนียม เอดจ์ เซ็นทรัล – พัทยา คอนโดไลฟ์สไตล์สุดพีคใจกลางพัทยา และ ดีคอนโด ไฮด์อเวย์ – รังสิตรองรับการรับรู้รายได้ในช่วงครึ่งปีหลัง ตามเป้าหมายรายได้จากการขายที่วางไว้ 27,600 ล้านบาท โดยล่าสุด แสนสิริมี รายได้ในมือที่รองรับแล้ว(Secured Revenue)ถึง 22,800 ล้านบาท หรือคิดเป็น 83% เหลืออีกเพียง 17% เท่านั้น ก็จะทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงคาดว่าจะสามารถทำได้ตามเป้ารายได้ที่วางไว้อย่างแน่นอน

สำหรับคอนโดมิเนียม เอดจ์ เซ็นทรัล – พัทยา คอนโดไลฟ์สไตล์สุดพีคใจกลางพัทยา จำนวน 603 ยูนิต มูลค่าโครงการ 3,200 ล้านบาท พร้อมสระว่ายน้ำสีทองแชมเปญบนชั้นดาดฟ้า พร้อมวิวอ่าวไทย ราคาเริ่มต้น 3.99 ล้านบาท มียอดขายแล้ว 70% พร้อมเข้าอยู่ในเดือนก.ย. เริ่มโอนวันที่ 4 – 5 ก.ย.นี้

โครงการดีคอนโด ไฮด์อเวย์ คอนโดมิเนียมโลว์ไลส์ สูง 8 ชั้น จำนวน 3 อาคาร 800 ยูนิต มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท ขนาดพื้นที่โครงการ 10 ไร่ แบ่งออกเป็น พื้นที่ส่วนกลาง 8 ไร่ พร้อมพื้นที่สีเขียว 2.5 ไร่ ครบทั้งสระว่ายน้ำ สวนผักออแกนิกส์ Jogging Track คลับเฮาส์พร้อมฟิตเนส Co-working space และจัดสรรพื้นที่สำหรับจอดรถไว้ถึง 40% บนทำเลศักยภาพ โซนรังสิต ใกล้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รองรับกลุ่มนักศึกษา คนทำงาน และนักลงทุน ราคาเริ่มต้น 1.59 ล้านบาท โดยอัตราค่าเช่าในทำเลนี้ยังมีผลตอบแทนที่สูงด้วยเช่นกัน โดยมีอัตราค่าเช่าที่ 8,500 - 10,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นอัตราผลตอบแทนการปล่อยเช่า (Yield) ประมาณ 5.5% ปัจจุบันโครงการมียอดขายแล้ว 60% พร้อมโอนในเดือนต.ค.นี้
#2873


นายเศรษฐา  ทวีสิน ประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า วิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้เป็นอุบัติการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ทาง โดยเฉพาะการพังทลายของระบบเศรษฐกิจการค้าที่ยังหาจุดจบไม่ได้ และดูเหมือนทุกคนจะโดนผลกระทบเหมือนๆ กัน ซึ่งหากวิเคราะห์ จากตัวเลขสถิติต่างๆ ให้ดี สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นคือช่องว่างทางด้าน "ความมั่งคั่ง" ระหว่าง "คนมี" กับ "คนไม่มี" กำลังขยายตัวกว้างขึ้นอย่างน่ากลัวและจะเป็นการปรับฐานสมดุลย์ทางด้านความมั่งคั่งที่ทำให้โอกาสเกิดความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจเป็นไปได้ยากมาก อย่างไรก็ดี ทุกประเทศมีวิธีแก้ปัญหาปากท้องให้ประชาชน ผ่านนโยบายอัดเงินเข้าระบบ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย การแจกเงิน การลดภาษี ผ่อนปรนหนี้ ฯลฯ แต่มาตรการเหล่านี้ไม่ใช่คำตอบที่ส่งผลให้เกิดความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ หรือช่วยลดช่องว่างทางด้านความมั่งคั่งลงได้


 ยกตัวอย่าง  สหรัฐอเมริกาในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีการออก American Rescue Plan Act ซึ่งนับเป็นแผนกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดยักษ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน รวมทั้งการออกมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจที่เรียกว่า CARES Act มากว่า 2.2 ล้านล้านเหรียญเมื่อปีที่แล้ว ผลที่ตามมาและเกิดขึ้น คือกลายเป็นการช่วยทวีคูณความมั่งคั่งให้คนรวย 1% ที่อยู่ด้านบนของปิรามิดประชากรเป็นมูลค่าถึงกว่า 4.8 ล้านล้านเหรียญเลยทีเดียว ในขณะที่คน 80% ที่อยู่ด้านล่างฐานปิรามิดต้องแบ่งความมั่งคั่งมูลค่าแค่ 12,000 ล้านเหรียญเท่านั้น 


"สำหรับในประเทศไทย วิกฤติโควิดในไทยครั้งนี้ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำของเศรษฐกิจ-สังคม ในสัดส่วนที่ "ห่าง" ออกจากกันเยอะขึ้น ดังนั้น ความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจสังคม ที่เกิดขึ้นหลังโควิด จึงเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง เพราะจะทำให้ความเท่าเทียมยิ่งถูกลิดรอน คนรวยรวยขึ้น คนจนจนลง อย่างไรก็ดี วิกฤติโควิดฟื้นได้ หากมีวัคซีนที่ดีทั่วถึงโดยเร็วที่สุด คนป่วยได้รับการรักษาอย่างเท่าเทียมและรวดเร็วเพื่อลดการเสียชีวิต ขณะที่การพยุงเศรษฐกิจในขณะนี้ ภาครัฐควรมีการจัดกองทุนช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบโควิดและขาดรายได้ ควบคู่ไปกับการพักชำระหนี้" นายเศรษฐา กล่าว  

อย่างไรก็ตาม แสนสิริภายใต้การมองตลาดเร็วและความพร้อมในการปรับแผนรองรับในทุกสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งภายใต้สถานการณ์โควิด- 19 ด้วยรายได้สูงสุดในกลุ่มตลาดอสังหาฯ และยอดโอนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีที่ผ่านมา และยอดขาย-ยอดโอนในปีนี้เกินเป้าหมายในรอบครึ่งปีและมี Secured Revenue เกินกว่า 83% ของเป้ารายได้ในปีนี้ในระยะเวลาเพียง 7 เดือน ทำให้แสนสิริมีกำลังที่จะแบ่งปันสังคมในด้านต่างๆ 


ทั้งนี้ แสนสิริขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือประเทศไทยด้วยการใช้งบ 100 ล้านบาทเพื่อผลักดัน "วัคซีนทั่วถึง – รักษาเท่าเทียม - พยุงคนลำบาก"  เพราะแสนสิริจะไม่ทอดทิ้งใคร เพื่อให้สังคมก้าวข้ามวิกฤตินี้ไปด้วยกัน เพราะการสร้างสังคมที่ดี สร้างชีวิตที่ดีสำหรับแสนสิริ เราหมายถึง "ทุกคน" #แสนสิริไม่ทอดทิ้งใคร พร้อมยืนยันมุ่งมั่นช่วยเหลือ 4 เสาสังคมอย่างเต็มที่และดูแลทุกกลุ่มไม่ทอดทิ้งใคร เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และเพื่อประเทศและเศรษฐกิจไทยเราจะผ่านพ้นไปด้วยกันได้  


ผู้ถือหุ้น – สร้างความแข็งแกร่งทางการการเงิน โตสวนกระแสแม้ในภาวะวิกฤติ

ลูกบ้าน – ออกมาตรการขานรับ Home Isolation มุ่งช่วยเหลือลูกบ้านผู้รักษาแบบกักตัวที่บ้านสูงสุด และ Community Isolation เพื่อความอุ่นใจปลอดภัยของทั้งโครงการ และปลูกฟ้าทะลายโจรจำนวน 100,000 ต้นไว้รองรับ

พนักงาน-คู่ค้า – จัดตั้งกองทุน Sansiri Relief Fund, จัดหาวัคซีนครอบคลุมพนักงานทุกคน

สังคม – มุ่งเน้นสังคมมากขึ้นในปีนี้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยคนจนที่ช่องว่างทางสังคมเริ่มห่างออกไป เพื่อให้ภาคใหญ่ของประเทศผ่านวิกฤติไปด้วยกัน เช่น ร่วมสร้างโรงพยาบาลสนาม, ช่วยแคมป์คนงาน, ช่วยเหลือเกษตรกร, ช่วยช้างไทย ฯลฯ


โดยเฉพาะในด้านสังคม แสนสิริเดินหน้าสุดตัวบริจาคและสร้างโรงพยาบาลสนาม บริจาคภาครัฐให้คนเข้าถึงวัคซีนทั่วถึงและเท่าเทียม และช่วยเกษตรกรคนยากไร้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงวัคซีน ด้วยการบริจาคเงินรวม 4 ล้านบาทให้ศูนย์วัคซีนกลางบางซื่อ ร่วมปูพรมฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มแก่พนักงาน-คู่ค้า-สังคม  ภายใต้กลยุทธ์ "แสนสิริและสังคม...คนละครึ่ง" 50% ของวัคซีนให้แก่พนักงานและครอบครัว ส่วนอีก 50% สู่คู่ค้า พันธมิตร และสังคม รวมทั้งจัดซื้อโมเดอร์นาเข็มที่ 3 ให้กับพนักงานรวม 6,000 คน 


ลดความเหลื่อมล้ำในการรักษาโควิด ด้วยการร่วมสร้างโรงพยาบาลสนามบุษราคัม เช่น เร่งสร้างห้อง ICU ที่โรงพยาบาลสนามบุษราคัม เสร็จภายใน 1 อาทิตย์ และกำลังเดินหน้าสร้างห้อง ICU เพิ่ม สร้างห้องอาบน้ำสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 มูลค่า 8 ล้านบาท และสร้างห้องอาบน้ำให้กับแพทย์และพยาบาล 40 ห้อง รวมทั้งยังบริจาคให้แก่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อการรักษาและควบคุมการระบาดสม่ำเสมอ เช่น บริจาคเครื่องช่วยหายใจและเครื่องมือทางการแพทย์ 8 ล้านบาทแก่กระทรวงสาธารณสุข, บริจาครถตรวจโควิด ฯลฯ


ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ด้วยการช่วยสนับสนุนสินค้าเกษตรจากเกษตรกรทั่วประเทศ และทำแคมเปญช่วยเหลือ SME และซื้อของจาก SME ในธุรกิจก่อสร้างมากขึ้น ช่วยเหลือผู้เดือดร้อน อุดหนุนร้านค้ารายย่อยในชุมชน และดูแลชุมชนรอบโครงการ ตลอดจนดูแลแคมป์คนงานก่อสร้างอย่างเต็มที่ 


"ตอนนี้เป็นวาระแห่งชาติที่ทุกคนต้องช่วยกัน แสนสิริเชื่อมั่นว่า ควรยับยั้งความเหลื่อมล้ำที่จะเกิดขึ้น เพื่อสังคมจะฟื้นตัวอย่างอย่างยั่งยืน และอยากให้บริษัทใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ทุกแห่งมาช่วยกัน เพื่อประเทศไทยเราจะได้ฟื้นตัวและข้ามวิกฤติได้ โดยไม่ทอดทิ้งใครไว้แม้แต่คนเดียว "No One Left Behind" นายเศรษฐา กล่าว 

เศรษฐกิจไทยควรเดินต่ออย่างไร โดยไม่ทอดทิ้งใคร


"ภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าวัคซีน ที่ต้องมีเพียงพอ จัดหาอย่างรวดเร็ว และการกระจายอย่างเสมอภาค รัฐบาลควรเตรียมวัคซีนช็อตที่ 3 เพื่อสร้างภูมิจากการรุกหนักของโควิดในรอบนี้ นอกจากนี้ต้องไม่ลืมมองข้ามช็อตไปถึงวัคซีนปีหน้าและปีถัดๆ ไปที่เราต้องเตรียมตัวเอาไว้ด้วย  เพราะโควิดจะเหมือนไข้หวัดใหญ่ที่ต้องฉีดวัคซีนทุกปี เรามีบทเรียนในปีนี้แล้ว ดังนั้น ในปีหน้าต้องประเมินปริมาณวัคซีนให้ดี ควรต้องสั่งเผื่อล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เท่าของจำนวนประชากร สำหรับตัวเลข 2 แสนล้านสำหรับค่าวัคซีนถึงแม้จะดูจำนวนมาก แต่อยากให้ภาครัฐ "ลงทุนกับสวัสดิภาพและความมั่นใจของประชาชนในระยะยาว" นายเศรษฐา กล่าว

สำหรับภาพเศรษฐกิจไทย ธนาคารโลกได้วิเคราะห์ไว้ว่า วิกฤติโควิดครั้งนี้ทำให้คนจนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึง 1.5 ล้านคน ซึ่งภาครัฐควรถือโอกาส "ยกการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นวาระแห่งชาติ" นอกจากนี้ แนวทาง "ทำอย่างไรให้ประเทศไทยฟื้นตัวเร็ว" มีมุมมองในด้านต่างๆ ดังนี้ 


"ควรเตรียมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่" เพราะแผนลงทุนโครงสร้างขนาดใหญ่กระตุ้นให้เกิดการจัดซื้อจัดจ้างและการจ้างงานปริมาณมหาศาลตามมา ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐต้องหาเงินมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือคนที่ได้รับผลกระทบเพิ่มโดยเฉพาะ SME และธุรกิจท่องเที่ยว ผ่านการกู้เพิ่มและเก็บภาษีมรดกคนรวย ยกตัวอย่างที่ยุโรป สหรัฐอเมริกาออกแผนงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเรียบร้อยแล้ว โดย ประธานาธิบดี สหรัฐฯ โจ ไบเดน เปิดตัวแผนลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของสหรัฐฯ มูลค่ารวม 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ สูงกว่างบที่ใช้ช่วงวิกฤติเมื่อสิบกว่าปีก่อนถึง 4 เท่า ขณะที่ทางรัฐสภายุโรปก็เพิ่งอนุมัติงบประมาณ 3 หมื่นล้านยูโร ในการสนับสนุนโครงการด้านการขนส่ง ดิจิทัล และพลังงานจนถึงปี 2570 


ในประเทศไทย หากต้องลงทุนเพิ่มก็ต้องมีเงินทุน แหล่งเงินอย่างแรกที่รัฐบาลต้องพิจารณาก็คือ "การกู้" ที่ได้รับความเห็นชอบให้กู้เงินเพิ่มเป็น 1.5 ล้านล้านบาทแล้ว ควรต้องเดินหน้าเร่งกู้เงินเพื่อเตรียมใช้ในการลงทุน เพราะไทยต้องแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ที่เร่งกู้เพื่อฟื้นฟูประเทศเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ รัฐบาลควรต้องขอขยายสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 60% เช่นเดียวกับหลายๆ ประเทศที่มีการปรับอัตราสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงขึ้นแล้ว จากการที่ทุกประเทศต้องการเงินกู้เพื่ออัดฉีดเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคมในประเทศของตัวเองเช่นกัน หากไทยไม่เร่งกู้ เงินในระบบจะถูกดูดไปหมดก่อน คล้ายกับกรณีวัคซีนที่จะหาทีหลังก็หาไม่ได้แล้ว 
ควรมีการปรับโครงสร้างการเก็บภาษี เพราะเป็นแหล่งรายได้ของรัฐ ที่จะถูกนำมา ใช้ในการชำระหนี้และดำเนินการบริหารโครงการต่างๆ ของประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับการเสนอแนะให้ปรับภาษีความมั่งคั่ง ที่ควรมีการเรียกเก็บภาษีเพิ่มจากผู้ที่มั่งคั่งกว่าในรูปแบบต่างๆ ให้เกิดภาวะการเงินที่สมดุลของประเทศ 


การพยุงราคาสินค้าและประกันราคาสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และอ้อย รัฐบาลต้องช่วยรับภาระในการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรกลับไปสร้างผลิตผลทางการเกษตร แทนที่จะรอเงินช่วยเหลืออย่างเดียวและประชาชนจะได้พอเลี้ยงตัวผ่านวิกฤติในครั้งนี้ไปได้
ควรเร่งแก้ปัญหาการบินไทยและพยุงสายการบินอื่นๆ ด้วย เพราะ GDP ไทย พึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสูงมาก ดังนั้นต้องเร่งแก้ปัญหาการบินไทยให้จบ และต้องใช้โอกาสนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ปรับองค์กรให้จบ และโปร่งใส เมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้น ไทยจะได้มีสายการบินหลักที่มีประสิทธิภาพที่จะนำนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทยได้ 


มีมาตรการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ การลงทุนจากต่างชาติอั้นมาพอสมควรจากสถานการณ์ 1-2 ปีที่ผ่านมา แต่เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ปริมาณการลงทุนจะดีดตัวขึ้นแน่นอน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนนี้ไทยเริ่มโดนสิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซียทิ้งห่างไปเยอะ มาตรการดึงดูดการลงทุนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษีหรือสิทธิประโยชน์ที่ต้องตอบโจทย์บริษัทที่จะเข้ามาลงทุนก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่รัฐบาลต้องรีบจัดการและประชาสัมพันธ์ให้ชัดเจน 


การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาสู่ระบบการเมืองในสายตาประชาชน ไม่ว่าจะมีการปรับแก้ไขรายมาตราหรือจะแก้ทั้งฉบับก็ต้องหาทางออกให้ได้ เพราะเศรษฐกิจและการเมืองแยกกันไม่ขาด ถ้าเศรษฐกิจเริ่มกลับมาแต่องค์ประกอบทางการเมืองยังเป็นชนวนของความขัดแย้งอยู่ ประชาชนก็จะไม่มีความมั่นใจ และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจก็จะชะลอไปด้วย
#2874


แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม "ไมซ์" (MICE : การจัดประชุม ท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล สัมมนา และแสดงสินค้า) ในปัจจุบัน แต่สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือ "ทีเส็บ" ยังคงเดินหน้าผลักดันโครงการ "MICE Winnovation" ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาเพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการไมซ์นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจ ยกระดับการจัดงานไมซ์ในภาวะวิกฤติ

จารุวรรณ สุวรรณศาสน์ ผู้อำนวยการฝ่าย MICE Intelligence และนวัตกรรม ทีเส็บ กล่าวว่า นวัตกรรมและเทคโนโลยีได้กลายเป็นเครื่องมือจำเป็นที่ช่วยผู้ประกอบการไมซ์ดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น! เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และได้คิดค้นเทคโนโลยีรองรับงานไมซ์ในยุควิถีปกติใหม่แล้ว ยังช่วยขยายการรับรู้ไปยังกลุ่มเป้าหมายทั่วโลกอีกด้วย

"ประเทศไทยมีแหล่งจัดงานไมซ์หรือศูนย์แสดงสินค้าอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ต้องมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสร้าง S-Curve ใหม่ให้กับอุตสาหกรรมไมซ์ด้วย ซึ่งสอดรับกับการจัดงานอีเวนท์ในช่วงที่โควิด-19 ยังระบาด เทรนด์การจัดงานในปีนี้จะเป็นแบบเสมือนจริงหรือไฮบริด (Virtual and Hybrid Event) มากขึ้น ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย การปฏิบัติการเพื่อลดการสัมผัส การบริหารจัดการฝูงชนผู้เข้าร่วมงานเพื่อรักษาระยะห่างทางสังคม และหันมาจัดงานนอกสถานที่ (Outdoor Activities) มากขึ้น"

โดยในช่วงที่ผ่านมาทีเส็บได้พัฒนาแอพพลิเคชั่น "BizConnect" สำหรับการจัดงานอีเวนท์และงานแสดงสินค้าเพื่อตอบโจทย์งานไมซ์ในยุคดิจิทัล รวบรวมงานไมซ์ 78 งาน มีผู้ใช้งาน 24,571 ราย และสร้างการรับรู้กว่า 48,300 ราย นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์ม "Thai MICE Connect.com" มาร์เก็ตเพลสธุรกิจไมซ์เชื่อมโยงผู้ซื้อผู้ขายทั้งในตลาดไทยและตลาดโลก โดยจากการรวบรวมข้อมูลล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2563-14 พ.ค.2564 ซึ่งโควิด-19 ยังระบาด พบว่ามีธุรกิจไมซ์กว่า 10,201 ราย มีผู้เข้าชมแพลตฟอร์ม 603,656 ราย, เกิดปฏิสัมพันธ์ (Engagements) 112,930 ครั้ง และมีผู้ใช้งานใหม่ 129,851 ราย

"เมื่อมีการนำแพลตฟอร์มมาใช้เพื่อตอบโจทย์การเจรจาธุรกิจแบบ B2B ยังสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์พฤติกรรมและความสนใจของผู้เข้าร่วมงานไมซ์ทั้งก่อน-ระหว่าง-หลังเข้าชมงานได้ โดยเฉพาะระหว่างเข้าชมงานแสดงสินค้าว่าผู้เข้าร่วมงานสนใจดูข้อมูลสินค้าตัวไหนแบบซ้ำๆ บนแพลตฟอร์ม เพื่อนำไปสู่การปิดดีลซื้อสินค้าให้ได้ภายใน 3-6 เดือนหลังการจัดงาน เมื่อขายของได้ คนขายก็กลับมาใช้งานแพลตฟอร์มมากขึ้น นับเป็นการสร้างประสบการณ์มากกว่าการจับคู่เจรจาธุรกิจทั่วไป"

จารุวรรณ เล่าเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการ "MICE Winnovation" เป็นการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สนับสนุนให้การจัดงานไมซ์เดินหน้าต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และเตรียมความพร้อมรองรับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต!

ผลการดำเนินโครงการฯระหว่างเดือน มี.ค.-ก.ค.ที่ผ่านมา มีการเจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไมซ์และผู้ให้บริการนวัตกรรมด้านไมซ์มากถึง 152 คู่ นำไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ๆ รองรับการจัดงานไมซ์ร่วมกัน มีการจับคู่ขอรับการสนับสนุนจากทีเส็บจำนวน 35 งาน โดยมีงานที่ผ่านการพิจารณาได้รับการสนับสนุนแล้วทั้งสิ้น 18 งาน แบ่งเป็นการสนับสนุนเทคโนโลยีการจัดงานแบบเสมือนจริงหรือไฮบริด จำนวน 15 งาน และเป็นการสนับสนุนเทคโนโลยีบริหารจัดการผู้เข้าร่วมงาน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ จำนวน 3 งาน

ปัจจุบันมีงานที่จัดไปแล้ว 2 งาน คือ งานประชุมใหญ่ "ไลออนส์สากลภาครวม 310 ประเทศไทย" ครั้งที่ 55 ระหว่างวันที่ 7-9 พ.ค.ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมงานออนไลน์จากทั่วประเทศ 2,318 คน และงาน "Bangkok Projection Mapping Competition 2021" (BPMC 2021) ซึ่งเป็นงานประกวดออกแบบสื่อภาพเคลื่อนไหว ระหว่างวันที่ 12-20 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีผู้ชมงานผ่านไลฟ์สตรีมมิ่งบนเฟซบุ๊กร่วม 20,000 ราย ส่วนงานที่เหลือมีกำหนดทยอยจัดในช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค.2564

"ผลตอบรับโครงการนี้ถือว่าดีมาก เป็นไปตามที่ทีเส็บต้องการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไมซ์นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้จัดงานได้จริง ตอบโจทย์การแก้ปัญหาได้ตรงใจ และเกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรม ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มความสามารถในการดำเนินงานให้กับผู้ประกอบการไมซ์แล้ว ยังเป็นการสร้างโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจแก่กลุ่มผู้ให้บริการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีของไทย ทั้งยังเป็นการพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ มาช่วยเสริมสร้างศักยภาพยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์ไทยในระดับนานาชาติอีกด้วย"

ขณะเดียวกันโครงการ MICE Winnovation ยังได้มีการพัฒนา "MICE Innovation Catalog" ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มรวบรวมข้อมูลผู้ให้บริการนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมไมซ์ และเป็นพื้นที่ทางการตลาดให้ผู้ประกอบการไมซ์เฟ้นหาคู่ค้า มีการจัดแบ่งหมวดหมู่นวัตกรรมไมซ์ครอบคลุมตั้งแต่ก่อนเริ่มงานจนจบงาน ซึ่งทีเส็บและพันธมิตรจากทั้งภาครัฐและสมาคมในอุตสาหกรรมไมซ์ได้ร่วมพิจารณาคัดเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เหมาะสมนำมาบรรจุไว้ใน MICE Innovation Catalog เป็นประจำทุกเดือน เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้ผู้ประกอบการไมซ์สามารถเลือกใช้งานได้มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันบนแพลตฟอร์มมีนวัตกรรมด้านไมซ์ที่พร้อมให้บริการกว่า 70 นวัตกรรม จาก 50 บริษัท
#2875


ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ลดลง 106.66 จุด หรือ 0.30% ปิดที่ 35,101.85 จุด ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ลดลง 4.17 จุด หรือ 0.09% ปิดที่ 4,432.35 จุด และดัชนีแนสแด็ก เพิ่มขึ้น 24.41 จุด หรือ 0.16% ปิดที่ 14,860.18 จุด

ดัชนีดาวโจนส์พุ่งขึ้นกว่า 100 จุดเมื่อวันศุกร์แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขานรับการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ดีเกินคาด ซึ่งทำให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ

อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทร่วงลงในวันนี้ นำโดยหุ้นกลุ่มพลังงาน ท่ามกลางการทรุดตัวของราคาน้ำมัน หลังจากที่องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เรียกร้องให้นานาชาติยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและถ่านหิน ขณะที่ภาวะโลกร้อนกำลังใกล้เข้าสู่ระดับวิกฤต

ทั้งนี้ นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการยูเอ็นเรียกร้องให้นานาชาติยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและถ่านหิน รวมทั้งพลังงานอื่นๆที่ปล่อยมลพิษในระดับสูงโดยทันที หลังจากที่รายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ระบุว่า ระดับก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศในขณะนี้สูงพอที่จะส่งผลเสียต่อสภาพภูมิอากาศไปอีกหลายสิบปีหรือหลายร้อยปีข้างหน้า

ประกันโควิด เจอ จ่าย จบ! รับเลย 100,000 บาท

นักลงทุนจับตาตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ในวันพุธ และเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (พีพีไอ) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต ในวันพฤหัสบดี

นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนีซีพีไอพื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน พุ่งขึ้น 4.3% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายปี

นักลงทุนกังวลว่า หากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนก.ค. หลังจากที่มีการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่ง ก็จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) รวมทั้งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบต่อตลาดหุ้นวอลล์สตรีท

นักลงทุนคาดว่าเฟดจะส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งแนวโน้มการปรับลดวงเงินคิวอีในการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวันที่ 26-28 ส.ค.

นายริชาร์ด แคลริดา รองประธานเฟด ส่งสัญญาณในการกล่าวถ้อยแถลงก่อนหน้านี้ว่า เฟดจะปรับลดวงเงินคิวอีภายในปีนี้ ก่อนที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2566

ทั้งนี้ นายแคลริดากล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายด้านการจ้างงานและเงินเฟ้อของเฟดภายในปลายปีหน้า ซึ่งจะทำให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2566

"ผมเชื่อว่าเศรษฐกิจจะบรรลุเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดภายในปลายปีหน้า และการกลับมาใช้นโยบายการเงินแบบปกติในปี 2566 จะสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ยแบบยืดหยุ่นของเฟด" นายแคลริดากล่าว

"หากการคาดการณ์ของผมเป็นจริง ก็คาดว่าเฟดจะเริ่มประกาศปรับลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรภายในปีนี้" เขากล่าว

คำกล่าวของนายแคลริดาสอดคล้องกับถ้อยแถลงของนายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ว่าการของเฟด โดยนายวอลเลอร์ระบุว่า เฟดควรจะเริ่มปรับลดวงเงินคิวอีภายในเดือนต.ค.
#2876
บ้านเดี่ยวหรูหลังใหญ่พุทธมณฑลสาย1  ขายคาซ่าแกรนด์สาย1 แปลงมุมหน้าสวนหน้าสโมสร 2 หลังติดกัน ในหมู่บ้านดีบรรยากาศแบบตะวันตก  ขายบ้านเดี่ยวหรูพุทธมณฑลสาย1  Build-in ทั้งหลัง บ้านเดี่ยว2หลัง เนื้อที่156 ตรว


ขายบ้านเดี่ยวหรูคาซ่าแกรนด์สาย1 บ้านเดี่ยวหรูหลังใหญ่
ขายคาซ่าแกรนด์สาย1แปลงมุมทั้งสองหลัง หลังบ้านติดกัน รวม 7 ห้องนอน 8 ห้องน้ำ จอดรถในร่มรวม 5 คัน ลงเสาเข็มเพิ่มเติม ตกแต่ง Build-in ทั้งหลัง พร้อมห้องเก็บเสียง 1 ห้อง พื้นที่ใช้สอยรวม 560 ตรม ที่ดินรวม 156 ตรว ราคาสองหลังคู่ 34.5 ล้าน


บ้านเดี่ยวสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณูปโภคระดับรีสอร์ทหรู
CASA GRAND Phetkasem Sai1 ขายบ้านเดี่ยวหรูพุทธมณฑลสาย1
สิ่งอำนวยความสะดวก ฟิตเนสคลับเฮาส์ สระว่ายนํ้า 
สิ่งอำนวยความสะดวก ฟิตเนสคลับเฮาส์ สระว่ายนํ้า
– สวนสาธารณะส่วนรวม พร้อมลู่วิ่ง
– คลับเฮาส์,
– สระว่ายน้ำ (พร้อมะสระเด็ก),
– ฟิตเนส,
– ระบบ รปภ24ชม
-ระบบCCTV,


สถานที่ใกล้เคียง
-ใกล้เดอะมอลล์บางแค
-ใกล้โลตัสบางแค
-รพ.พญาไท3
-รพ.เกษมราษฎร์ บางแค
-มหาวิทยาลัยสยาม
-รร.อนุบาลแด่นหล้า


ทำเลที่ตั้ง
คาซ่าแกรนด์เพชรเกษมสาย1 CASA GRAND Phetkasem Sai1
ทำเล บางแค, ตลิ่งชัน, ทวีวัฒนา, ภาษีเจริญ
ขนส่งสาธารณะ รถไฟฟ้า MRT ส่วนต่อขยาย (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน)
ที่ตั้ง ถนนพุทธมณฑลสาย 1 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

ขายบ้านเดี่ยวสองหลังคู่ 34.5 ล้าน สนใจ คุณไป๊ป์ 0867779444

รายละเอียดเพิ่มเติม
https://asungha987.com/?p=3062

คำค้น
บ้านเดี่ยวคาซ่าแกรนด์สาย1, ขายบ้านเดี่ยวหรูคาซ่าแกรนด์สาย1, ขายบ้านหรูพุทธมณฑลสาย1สาธารณูปโภคระดับรีสอร์ทหรู, ขายบ้านเดี่ยวหรูพุทธมณฑลสาย1
 
#2877


จากกรณีที่ประเทศไทยได้รับบริจาควัคซีน "ไฟเซอร์" จากประเทศสหรัฐอเมริกา 1.5 ล้านโดส โดยได้จัดส่งถึงประเทศไทย พร้อมกับให้ดำเนินการจัดสรรให้กับบุคคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าอย่างเร่งด่วน เพื่อรับมือกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นทั่วประเทศนั้น  

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊กสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น โพสต์ข้อความเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ที่ผ่านมา ระบุว่า เวลา 14.00 น. ณ สำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น นายแพทย์สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นรับมอบ "วัคซีนไฟเซอร์" ล็อตแรก 9,840 โดส โดยกองโรคติดต่อทั่วไปจัดส่งวัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ รอบต้นเดือนสิงหาคม 2564 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อลดการป่วยรุนแรงและอัตราการเสียชีวิต และปกป้องระบบสาธารณสุขของประเทศ



โดยมอบหมายให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพิจารณาเร่งรัดการให้วัคซีนกับกลุ่มเป้าหมาย ภายในอาทิตย์ นี้ เบื้องต้นมีบุคลากรด่านหน้าแจ้งความประสงค์ ฉีด 17,000 คน แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

ประเภทที่ 1


บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทุกคนที่ต้องสัมผัสผู้ป่วยโควิด 19 จากการปฏิบัติงานทั่วประเทศ รวมทั้งนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ที่ต้องสัมผัสผู้ป่วยโควิดจากการปฏิบัติงาน เช่น แผนกผู้ป่วยนอก แผนกผู้ป่วยใน คลินิกทางเดินหายใจ ห้องฉุกเฉิน แผนกผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลสนาม เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่สอบสวนโรค เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสถานที่กักกัน หรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 อื่นๆ ตามการพิจารณาของสถานพยาบาล/หน่วยงานต้นสังกัด 


โดยมีหลักการให้วัคซีน ดังนี้

1.1 บุคลากรที่ได้รับวัคซีน Sinovac หรือ Sinopharm ครบ 2 เข็ม อย่างน้อย 1 เดือนพิจารณาให้วัคซีน Pfizer กระตุ้น 1 เข็ม 
1.2 บุคลากรที่ได้รับวัคซีนใดๆ มาแล้วเพียง 1 เข็ม พิจารณาให้วัคซีน Pfizer เป็นเข็มที่ 2 โดยกำหนดระยะห่างระหว่างโดส ตามชนิดของวัคซีนเข็มที่ 1 เป็นหลัก
1.3 บุคลากรที่เคยติดเชื้อโควิด 19 และไม่เคยได้รับวัคซีน พิจารณาให้วัคซีน Pfizer 1 เข็ม โดยมีระยะห่างจากวันที่พบการติดเชื้ออย่างน้อย 1 เดือน
ประเภทที่ 2

บุคลากรที่ไม่เคยได้วัคซีนใดๆ มาก่อน พิจารณาให้วัคซีน Pfizer 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์ทั้งนี้เนื่องจากวัคซีนจะเก็บอยู่ในอุณหภูมิ  2 -  8 องศาเซลเซียส ได้เพียง 1 เดือน ดังนั้น กองโรคติดต่อทั่วไป  จะส่งวัคซีน Pfizer สำหรับผู้รับวัคซีนเข็ม 2 ในกลุ่มเป้าหมายประเภท 2 ประมาณกลางเดือนสิงหาคม 2564  และหากจังหวัดได้ตรวจสอบว่ามีบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณสมบัติตามกลุ่มเป้าหมายประเภทที่ 1  และ 2 เพิ่มเติมสามารถแจ้งขอรับการสนับสนุนวัคซีนเพิ่มเติมได้ที่กรมควบคุมโรค


ต่อมา วานนี้ (7 ส.ค.) องค์กรแพทย์ รพ.ขอนแก่น ได้ออกแถลงการณ์เรื่องการขอวัคซีน "ไฟเซอร์" ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าโรงพยาบาลขอนแก่น ความว่า ตามที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยได้รับบริจาควัคซีนไฟเซอร์จากประเทศสหรัฐอเมริกา 1.5 ล้านโดส และจะมีการจัดสรรให้กับบุคลากรสาธารณสุขด่านหน้าอย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด -19 ที่เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ

โรงพยาบาลขอนแก่นนับเป็นโรงพยาบาลหลักในการดูแลผู้ป่วยโควิดทุกความรุนแรงของจังหวัดขอนแก่นตั้งแต่ผู้ป่วยคลัสเตอร์ฟันน้ำนม คลัสเตอร์แรงงาน คลัสเตอร์เรือนจำและทัณฑสถาน ไปจนถึงผู้ป่วยหนักอาการวิกฤตสำหรับโควต้าการฉีดวัคซีนไฟเซอร์มีบุคลากรทางการแพทย์ลงชื่อรับวัคซีนไฟเซอร์เป็นจํานวน 1,400 คน แต่โรงพยาบาลขอนแก่นกลับได้รับการจัดสรรวัคซีนเป็นจำนวนเพียง 700 โดสเท่านั้น ทั้งที่เป็นการขอตรงตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดทุกประการองค์กรแพทย์โรงพยาบาลขอนแก่นจึงขอเรียกร้องให้มีการจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์ให้เพียงพอต่อจำนวนบุคลากรด้านหน้าของโรงพยาบาลขอนแก่นเพื่อเป็นการปกป้องชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้ทุ่มเทรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถมาโดยตลอด
#2878


นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 7 ส.ค.64 ระบุ จำเป็นต้องมีการวิจัยรักษาโควิด-19 ด้วยฟ้าทะลายโจรซ้ำด้วยกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้น โดยว่า "เมื่อวานนี้ ทีมผู้วิจัย (ชาวไทย) ซึ่งได้ทำวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ (RCT) ที่สรุปผลได้ว่าฟ้าทะลายโจรใช้รักษาโควิด19แล้วมีผลดีลดการเกิดปอดอักเสบได้ ได้ขอถอนนิพนธ์ต้นฉบับของตนเองที่รอตีพิมพ์กลับคืนจากคลังวารสารรอตีพิมพ์ (medRxiv) ด้วยเหตุผลว่ามีความผิดพลาดในการคำนวณค่านัยสำคัญของความแตกต่าง (p-value) จึงของดการเผยแพร่ไว้ก่อนเพื่อป้องกันการนำผลวิจัยไปใช้ด้วยสำคัญผิด

เจาะลึกลงไปอีกหน่อยก็คือในงานวิจัยนั้นรายงานว่า กลุ่มผู้ใช้ฟ้าทะลายโจร 29 คน เป็นปอดอักเสบ 0 คน กลุ่มที่ใช้ยาหลอก 28 เป็นปอดอักเสบ 3 คน คำนวณนัยสำคัญของความแตกต่างได้ p=<0.039 ซึ่งเป็นความแตกต่างที่มีนัยสำคัญ (ตัดกันที่ p=<0.05)

แต่หากคำนวณอย่างถูกต้องแท้จริงแล้วค่านัยสำคัญจริงๆคือ p=0.1 แปลไทยให้เป็นไทยก็คือจะต้องเปลี่ยนคำสรุปผลวิจัยเป็น "การใช้ฟ้าทะลายโจรลดปอดบวมได้ไม่แตกต่างจากใช้ยาหลอก"

ระหว่างที่งานวิจัยใหม่นี้ยังไม่ออกมา ชาวไทยเราก็ต้องอาศัยข้อสรุปใหม่ล่าสุดที่ว่า "ฟ้าทะลายโจรลดปอดบวมในคนไข้โควิด-19ได้ไม่แตกต่างจากยาหลอก" ไปพลางๆ ก่อนนะครับ และที่หมอสันต์เคยบอกว่าหลักฐานวิทยาศาสตร์สนับสนุนการใช้ฟ้าทลายโจรรักษาโควิดตอนนี้พอแล้วนั้น ก็ต้องถอนคำพูด และขอใช้คำพูดใหม่ว่า

"หลักฐานวิทยาศาสตร์สนับสนุนการใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโควิดตอนนี้ยังมีไม่พอ ต้องรอการวิจัยซ้ำด้วยกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้น"
#2879


เมื่อเร็วๆนี้ การประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 2/2564 โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการ กพอ. เป็นประธาน ผลประชุมส่วนหนึ่งเห็นชอบเพิ่มเติมเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ให้เพียงพอและจูงใจเอกชน ลงทุนต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมจำนวน 7 แห่งตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี 4 แห่ง และ จังหวัดระยอง 3 แห่ง 

พื้นที่โครงการรวมประมาณ 8,000 ไร่ มีพื้นที่รองรับประกอบกิจการรวมประมาณ 6,000 ไร่ โดยมีเป้าหมายเงินลงทุนรวมประมาณ 3 แสนล้านบาท ภายใน 10 ปี (2564 – 2573) ได้แก่ เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการอุตสาหกรรม รูปแบบนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มเติมจำนวน 5 แห่ง ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี 3 แห่ง ในจังหวัดระยอง 2 แห่ง

จัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษจำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้านฉาง จังหวัดระยอง เห็นชอบ เปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ ศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ (พัทยา) หรือ EECmd โดยขยายพื้นที่เพิ่ม 18.68 ไร่ เงินลงทุนประมาณ 8,000 ล้านบาท
#2880


คณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นำโดย ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง ได้ถอดบทเรียนการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ของหลายประเทศ ที่มีการทำงานที่น่าสนใจในการจัดหาวัคซีน ประกอบไปด้วยประเทศในอาเซียน 4 ประเทศ บราซิล และ อิสราเอล


ประสบการณ์ต่างประเทศในการจัดหาวัคซีน

สิงคโปร์ ถือว่าเป็นประเทศที่สามารถจัดหาวัคซีนได้รวดเร็วมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชีย โดยเป็นตัวอย่างที่ดีของการจัดหาวัคซีนเชิงรุกอย่างแท้จริง โดยเริ่มจัดหาวัคซีนตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2563 ผ่านความร่วมมือของ "TxVax Panel" จัดตั้งโดย Economic Development Board (คล้ายสภาพัฒน์ฯ) นำโดยภาคเอกชน นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญในด้านที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่ศึกษาและคัดเลือกวัคซีนที่น่าสนใจ ก่อนจะส่งต่อให้ Planning Committee ที่ประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานและราชการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ลงความเห็นว่าควรสั่งซื้อวัคซีนชนิดใด ถือเป็นการทำงานแบบ two-track (ในขณะที่ไทยทำแบบ one-track) 

สิงคโปร์ตัดสินใจลงนามสั่งซื้อวัคซีนเร็วมากคือสั่งซื้อ Moderna เดือนมิถุนายน 2563 Pfizer และ Sinovac ในเดือนสิงหาคม 2563 แต่ที่สำคัญคือ สิงคโปร์ไม่มีข้อจำกัดจากกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้าง ทำให้สามารถสั่งจองวัคซีนที่อาจยังไม่ประสบความสำเร็จ และแม้จะยังไม่ได้รับการรับรองจาก Health Science Authority (คล้าย อย. ของไทย) เป็นการทำสัญญาสั่งจองวัคซีนล่วงหน้าไว้เป็นหลักประกัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสิงคโปร์จะได้รับวัคซีนในปริมาณที่มากและรวดเร็ว


อินโดนีเซีย มีการใช้การทูตช่วยเจรจาในระดับสูง มีรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของคณะเจรจาจัดหาวัคซีน และใช้ประโยชน์ทาง Geopolitics โดยได้รับการบริจาคช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และยังได้เป็น Hub สำหรับผลิต Sinovac ในภูมิภาค

มาเลเซีย ผู้รับผิดชอบจัดหาวัคซีนคือ รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นการแบ่งงานออกจากกระทรวงสาธารณสุข แต่ยังเชื่อมโยงกันทำให้มีความคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น รัฐมนตรีคนนี้มีศักยภาพ เห็นได้จาก 

- สามารถจัดประชุมเพื่อจัดหาวัคซีนร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ ได้ตั้งแต่ เดือนเมษายน 2563 ก่อนจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดหาวัคซีน (JKJAV) อย่างเป็นทางการ 


- การสั่งวัคซีนได้รวดเร็ว เมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น โดยสั่งวัคซีนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 และ 

- สื่อสารกับประชาชนตลอดเวลา เช่น ชี้แจงว่าทำไมมาเลเซียถึงฉีดวัคซีนช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน (สิงคโปร์ หรือ อินโดนีเซีย) หรือ แถลงแผนการกระจายวัคซีนที่ชัดเจน

ฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่มีบริบทใกล้เคียงกับไทย ในเชิงที่ว่าเคยติดข้อจำกัดจากกฎหมายจัดซื้อจัดจ้างทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินล่วงหน้าเพื่อจองวัคซีนได้ ยกเว้นว่าประธานาธิบดีให้ความเห็นชอบ และ "ปลดล็อค" ข้อจำกัดได้ในเดือนพฤศจิกายนซึ่งช้ากว่าไทยเสียอีก แต่ฟิลิปปินส์สามารถจัดหาวัคซีนได้มากกว่าไทยพอสมควร

โดยปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ช่วยให้ฟิลิปปินส์จัดหาวัคซีนได้มาก คือ การที่เอกชนและรัฐบาลท้องถิ่นมีบทบาทในการจัดหาวัคซีนอย่างมากและเริ่มมีบทบาทเร็ว เช่น การซื้อวัคซีน AstraZeneca ในเดือนพฤศจิกายน 2563 จำนวน 2.6 ล้านโดส นั้นเป็นการจัดซื้อของบริษัทเอกชนทั้งหมด เพื่อนำมาฉีดให้พนักงานและครอบครัว รวมถึงการซื้อวัคซีน AstraZeneca ในเดือนมกราคม2564 อีกกว่า 14 ล้านโดสที่เกิดจากเอกชนร่วมลงเงินกับรัฐบาลท้องถิ่น

อิสราเอล เป็นประเทศกลุ่มแรกๆ ที่ได้รับวัคซีน ปัจจัยหนึ่งมาจากการที่กระทรวงการคลัง ร่วมกับผู้นำทางการเมืองของอิสราเอลได้สงวนเงินจำนวนหนึ่งไว้เพื่อจัดหาวัคซีนโดยเฉพาะ อิสราเอลจึงพร้อมที่จะซื้อวัคซีน Pfizer ในราคาต่อโดสที่สูงกว่าสหภาพยุโรปเกือบเท่าตัว (23 ยูโร เทียบกับ 12 ยูโร)

นอกจากนี้ บริษัทยาต้องการที่จะใช้อิสราเอลเป็นพื้นที่วิจัยและประเทศแบบอย่าง เนื่องจากระบบสาธารณสุขและระบบข้อมูลมีความพร้อม โดยข้อมูลทางการแพทย์ที่อิสราเอลเก็บและส่งให้กับบริษัท Pfizer ประกอบด้วย จำนวนการติดเชื้อและการฉีดวัคซีน ผลข้างเคียงที่พบในผู้ที่ฉีดวัคซีน ประสิทธิภาพของวัคซีน ระยะเวลาพัฒนาภูมิคุ้มกัน ตลอดจนข้อมูลประชากรของผู้ป่วย เช่น อายุและเพศ เป็นต้น บริษัท Pfizer สามารถใช้ข้อมูลนี้ในการตั้งกลยุทธ์การขาย และการวิจัยพัฒนาวัคซีน การเตรียมการล่วงหน้าและความพร้อมของระบบสาธารณสุขและระบบข้อมูลของอิสราเอลเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้อิสราเอลสามารถจัดหาวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว

บราซิล  ใช้หน่วยงานรัฐและสาธารณสุขที่กระจายกันเจรจาจัดซื้อวัคซีนกับผู้ผลิตโดยตรง ประกอบกับมีแผนงานและข้อกฎหมายที่สามารถรองรับมาตรการฉีดวัคซีนอยู่ก่อนแล้ว ทำให้บราซิลมีการเจรจาการจัดซื้อวัคซีนได้หลากหลายเจ้าและมีการจัดการวัคซีนที่ค่อนข้างรวดเร็ว เห็นได้จากการในช่วงแรกของการระบาดบราซิลมีการสั่งซื้อวัคซีนและร่วมมือผลิตวัคซีนภายในประเทศกับ Sinovac และ AstraZeneca ทำให้สามารถฉีดวัคซีนในเข็มแรกได้ครอบคลุมประชากรเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ บราซิลก็ปรับเปลี่ยนแผนการจัดซื้อวัคซีนค่อนข้างรวดเร็ว โดยเพิ่มความหลากหลายของวัคซีน 


 


จากข้อสรุปการจัดหาวัคซีนของประเทศต่างๆที่หยิบยกมาจะพบว่าทุกประเทศ (ยกเว้นอิสราเอล) ได้รับวัคซีนมากกว่า 2 ชนิดก่อนไทย และทุกประเทศ (ยกเว้นอิสราเอลและสิงคโปร์) ได้รับวัคซีนผ่านช่องทางCOVAX และเริ่มได้รับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 ขณะที่ไทยเพิ่งจะมีวัคซีน 3 ชนิดในเดือน มิ.ย.2564 ที่ผ่านมา

หลายประเทศในอาเซียนได้รับวัคซีนบางชนิดที่คนไทยหลายคนเรียกร้อง (วัคซีนไฟเซอร์และโมเดิร์นนา) เร็วกว่าหรือในปริมาณมากกว่าประเทศไทย ในขณะที่ในประเทศไทยมีการอธิบายมาตลอดว่าที่หาวัคซีนดังกล่าวไม่ได้เพราะปริมาณการผลิตของบริษัทมีจำกัด ถูกประเทศร่ำรวยซื้อไปจนหมดแล้ว ไม่เหลือให้ประเทศอื่นเท่าไร ทำให้ไทยไม่ได้สั่งซื้อวัคซีนกลุ่มนี้ในตอนแรกในขณะที่หลายประเทศสั่งก่อนหน้า แต่ในระยะหลังที่ประเทศที่มีรายได้ใกล้เคียงไทยเริ่มได้รับวัคซีนกลุ่มนี้ด้วยก็น่าจะแสดงถึงจุดอ่อนในกระบวนการจัดหาวัคซีนของไทย

"ในความเป็นจริงก็ควรจะเป็นเช่นนั้น เพราะการจัดหาวัคซีนน่าจะมี 'เทคนิค' และ 'ลูกเล่น' มากกว่าเพียงการติดต่อและถามตรงๆ กับผู้แทนบริษัทวัคซีนว่า 'คุณมีวัคซีนพอให้เราจองไหม' และเมื่อเขาบอกว่าไม่มีทางเราก็ยอมแพ้และเลิกติดต่อ ในขณะที่หากเป็นนักธุรกิจที่ต้องการซื้อสินค้าที่เขาคิดว่าจำเป็นมากก็มักจะสรรหาช่องทางต่างๆ หรือใช้เทคนิคการเจรจาที่หลากหลายเพื่อให้ได้มา นอกจากนี้กรณีวัคซีนยังเกี่ยวข้องกับการเมืองระดับประเทศและระดับโลกด้วย เราก็ควรรู้จักใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้เพื่อให้ได้วัคซีนมามากขึ้นผ่านช่องทางการทูตเช่นกัน"

ข้อสังเกตสำคัญบางประการในการจัดหาวัคซีน 

1.ทีมจัดหาวัคซีนในเกือบทุกประเทศมีองค์ประกอบมากกว่าบุคลากรด้านการแพทย์ละสาธารณสุข หลายประเทศมีกระทรวงต่างประเทศ (กรณีประเทศไทย กระทรวงต่างประเทศเริ่มเข้ามาช่วยจัดหาวัคซีนอย่างไม่เป็นทางการในระยะหลังเท่านั้น ยังถือเป็น 'งานฝาก') สิงคโปร์มีหน่วยงานวางแผนด้านเศรษฐกิจ (คล้ายสภาพัฒน์ฯ ของเรา) มีส่วนร่วมซึ่งน่าจะทำให้มีมุมมองด้านเศรษฐกิจมากขึ้น บางประเทศให้รัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะ มีเพียงประเทศอิสราเอลที่การจัดหาเป็นหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น แต่เนื่องจากทีมแพทย์อิสราเอลมีประสบการณ์บริหารในสถานการณ์วิกฤติบ่อยครั้งน่าจะทำให้ประเมินสถานการณ์อย่างรอบด้านมากกว่า ที่สำคัญนายกรัฐมนตรีอิสราเอลมีบทบาทสูงในการเจรจากับบริษัทไฟเซอร์จนทำให้อิสราเอลเป็นประเทศแรกๆ ที่ได้วัคซีนจากไฟเซอร์ในจำนวนมากและน่าจะเร็วที่สุดในโลก 

2.เกือบทุกประเทศเปิดช่องทางการจัดหาวัคซีนที่มากกว่าทีมจัดหาหลัก ไม่ว่าจะเป็นให้รัฐบาลท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และที่สำคัญคือ ภาคเอกชนมีบทบาทโดยตรงในการนำเข้าวัคซีนได้ แต่มักไม่ใช่วัคซีนหลักที่รัฐบาลจัดหา หรือถ้าจัดหามาได้ก็ต้องกระจายวัคซีนตามลำดับความสำคัญที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งตรงกับข้อเสนอแนะ TDRI ที่กล่าวถึงก่อนหน้า

3.การมีโรงงานผลิตหรือบรรจุวัคซีนได้ในประเทศมีส่วนช่วยในการได้มาซึ่งวัคซีน แต่คาดว่าไม่ได้มีผลมากนัก ตัวอย่างเช่น อิสราเอลซึ่งไม่มีโรงงานในประเทศเลยแต่สามารถจัดการวัคซีนได้เร็วที่สุด การเจรจาและหาช่องทางที่หลากหลายในการได้มาซี่งวัคซีนน่าจะสำคัญกว่า

4.มีบางประเทศติดขัดปัญหาข้อกฎหมายในการจองหรือจัดหาวัคซีน แต่ส่วนใหญ่จะแก้ปัญหาได้ในเวลาใกล้เคียงกับประเทศไทย (ฟิลิปปินส์แก้ปัญหาได้ในเดือนพฤศจิกายน 2563 หนึ่งเดือนหลังประเทศไทย) เร็วกว่า (อินโดนีเซียออกคำสั่งประธานาธิบดีตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563) หรือช้ากว่า (บราซิลที่ต้องรอถึงมีนาคม 2564 จึงแก้ปัญหากฎหมายประมูลสินค้าได้) อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่มีการสั่งซื้อวัคซีนอย่างกระฉับกระเฉงเร็วกว่าไทยหลังจากแก้ปัญหาเชิงกฎหมายดังกล่าวแล้ว

ข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย

ประเทศไทยควรใช้บทเรียนจากประสบการณ์ต่างประเทศที่กล่าวถึงข้างต้นในการปรับกระบวนทัพการจัดหาวัคซีน ดังนี้

1.'สร้าง'ทีมจัดหาวัคซีนใหม่ที่มีความหลากหลายมากกว่าปัจจุบันที่เป็นเพียงแพทย์เท่านั้น โดยควรมีทั้งกระทรวงต่างประเทศ ทูต บุคคลากรสาธารณสุข โดยทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันอย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่นกระทรวงต่างประเทศสามารถมีส่วนร่วมเต็มตัวไม่ใช่ทำหน้าที่แบบ 'งานฝาก' เหมือนทุกวันนี้

2.หรือ'เสริม' ทีมจัดหาวัคซีนปัจจุบัน (ระบบ two-tracks แบบสิงคโปร์) ให้มีความหลากหลายมากขึ้นดังกล่าวข้างต้น

3.ทีมจัดหาวัคซีนต้องมีความคล่องตัวในการดำเนินงาน ไม่ติดระบบราชการมากเกินไป

4.การซื้อวัคซีนไม่จำเป็นต้องซื้อจากบริษัทเสมอไป แต่อาจขอซื้อจากประเทศที่จองไปแล้วแต่เหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะจองมากเกินแต่ประชาชนเขาไม่อยากฉีดยี่ห้อที่จอง

5.นอกจากการหาซื้อวัคซีนที่ผลิตสำเร็จแล้ว ยังควรทำการจองวัคซีนที่ใกล้ประสบความสำเร็จแต่ยังไม่ผ่านการรับรอง โดยต้องสื่อสารกับประชาชนให้ทราบถึงความเสี่ยงที่อาจสูญเงินจองถ้าวัคซีนนั้นไม่ประสบความสำเร็จ วิธีนี้จะทำให้คิวจองของเราไม่ยาวเกินไป

6.อาจทำการ'แลกเปลี่ยน' วัคซีนที่บางประเทศเหลือฉีดโดยขอยืมมาก่อนแล้วอาจซื้อคืนให้ทีหลัง (โดยใช้โควตาการซื้อที่เรามีอยู่แต่ได้มาช้า) 

และ 7.ใช้กลวิธีทางการทูตทุกลักษณะและในเชิงรุก ในการขอซื้อหรือขอรับบริจาคจากมิตรประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีกับไทย