• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

กสศ.หนุน 'ทีมพี่เลี้ยง' ฉุดเด็กนอกระบบสู้ชีวิต

Started by Jessicas, August 02, 2021, 10:42:29 PM

Previous topic - Next topic

Jessicas



"ทีมพี่เลี้ยง" 2 หัวหอกสหภาพแรงงานฯ แท็กทีมเครือข่ายเชิงพื้นที่ผนึก กสศ.ฉุดเยาวชนแรงงานสู้วัฎจักรเหลื่อมล้ำทางการศึกษาก้าวข้ามกับดักความยากจน

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. เป็นองค์กรแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้กับรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาด้วยการนำเสนอ "โครงการนำร่อง" เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาและแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา เบื้องต้นมีหลักฐานบ่งชี้ว่าภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน หรือ เอ็นจีโอ รวมถึงชุมชนสามารถเข้าถึง ค้นหาและสนับสนุนเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาได้ในฐานะเกาะติดในพื้นที่ จึงเกิดความร่วมมือระหว่าง กสศ. กับ โครงการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา โดยเครือข่ายเชิงพื้นที่ : ภาคตะวันออก จังหวัดปราจีนบุรี

จังหวัดปราจีนบุรีเป็นหนึ่งในพื้นที่ทำงานที่ กสศ. ต้องการสนับสนุน "เยาวชนแรงงานนอกระบบการศึกษา" อายุระหว่าง 18 ถึง 25 ปี ในเขตนิคมอุตสาหกรรมให้สามารถฝ่าข้ามสถานการณ์เศรษฐกิจอันเปราะบางจากการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด – 19 อาจทำให้เกิดปัญหาว่างงานได้ในอนาคตและเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เนื่องจากการศึกษาเชิงพื้นที่พบว่า วัฏจักรแห่งความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจากรุ่นสู่รุ่น คือ "ติดกับดักค่าจ้าง" จากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ , ค่าล่วงเวลา หรือ โอที ,โบนัสประจำปี และเบี้ยขยันขึ้นอยู่กับชั่วโมงการทำงานมากน้อยเพียงใด



ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจครอบครัว จำเป็นต้องงทำงานหนักอันเป็นผลพวงจากการศึกษาต่ำ จึงทำให้โอกาสในการเลือกประกอบอาชีพที่มีรายได้สูงย่อมแคบลง ประกอบกับปัญหาครอบครัวและหนี้สินสะสม จำเป็นต้องทนทำงานเป็นเวลายยาวนานเฉลี่ย 12 ถึง 14 ชั่วโมงต่อวันเป็นอย่างน้อย จึงส่งผลให้ไม่มีเวลาดูแลครอบครัวและบุตรสุ่มเสี่ยงหลุดนอกระบบการศึกษาได้โดยง่าย นอกจากนี้ยังไม่มีเวลาในการศึกษาหรือพัฒนาทักษะใหม่ และ ปัญหาสุขภาพจากการทำงานในระยะยาวต้องแบกต้นทุนการดูแลสุขภาพจากโรคเรื้อรังรุมเร้าในช่วงบั้นปลายชีวิต

ในการขับเคลื่อนงานเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชนแรงงานนอกระบบการศึกษา "ปัญญา ตลุกไธสง" ประธานสหภาพแรงงานฮิตาชิแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานกลุ่มสหภาพแรงงานจังหวัดปราจีนบุรี ถือเป็นหัวหอกคนสำคัญในการนำ "ทีมพี่เลี้ยง" จำนวน 20 คน ร่วมกับชุมชนทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่ โดยกลุ่มสหภาพแรงงานจังหวัดปราจีนบุรี มีบทบาทเป็นแหล่งค้นหากลุ่มเป้าหมาย ประชาสัมพันธ์และสื่อสารภายในสมาชิกสหภาพฯ ที่ทำงานในโรงงาน 9 แห่ง พร้อมเก็บข้อมูลเบื้องต้น ประสานครอบครัวและชุมชนให้มาเข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงอำนวยความสะดวกสถานที่จัดกิจกรรม ทั้งยังผนึกความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายหน่วยงานรัฐ อาทิ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานปราจีนบุรี , สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานปราจีนบุรี และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี เข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้ หลักสูตรและวิทยากร ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมาร่วมจัดฝึกอบรมทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ



ทั้งนี้ กสศ. ได้สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ "ทีมพี่เลี้ยง" ให้เข้ามาช่วยดูแลเยาวชนแรงงานนอกระบบการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยเฉพาะแกนนำสหภาพแรงงานจังหวัดปราจีนบุรีที่แต่ละสหภาพฯมีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพที่ตนเองถนัดตามศักยภาพเข้ามาร่วมจัดพื้นที่การเรียนรู้ใหม่ที่เหมาะสมกับเยาวชนแรงงานและสภาพพื้นที่ อาทิ เพิ่มทักษะอาชีพเสริม หรือ ต่อยอดอาชีพเดิม เช่น ตัดผมเสริมสวย อัดกรอบพระ เบเกอรี่อาหารเครื่องดื่ม หรือ สนับสนุนทุนและทักษะอาชีพแบบรายกลุ่มที่สอดคล้องกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของโรงงานที่เยาวชนแรงงานนอกระบบการศึกษาทำงานอยู่นำมาจัดจำหน่าย หรือ ให้บริการภายในชุมชน อาทิ "ฮิตาชิ" และ "ไฮเออร์" โรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ตู้แช่ ปั๊มน้ำ เครื่องทำน้ำอุ่น ฯลฯ สนับสนุนให้เกิดอาชีพบริการ "ช่างชุมชน" หารายได้เสริมระหว่างทำงานในโรงงานในช่วงวันหยุด

เช่นเดียวกับ "ธีระพงษ์ อุ่นฤดี" แกนนำสหภาพแรงงานซันโยแห่งประเทศไทย หรือ บริษัท ไฮเออร์ อีเล็คทริค (ประเทศไทย) จำกัด อีกหนึ่งแนวหน้าที่เข้ามาร่วมหนุนเสริม เพราะเห็นว่าโครงการฯ กสศ. สอดคล้องกับปัญหาและสถานการณ์เชิงพื้นที่ โดยเฉพาะสถานการณ์โควิด ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจครอบครัวผู้ใช้แรงงานอย่างมาก เนื่องจากรายได้หลักเกินครึ่งหนึ่งมาจากการทำงานล่วงเวลา หรือ โอที แต่พอเกิดสถานการณ์โควิด รายได้จากโอทีหดหาย ขณะเดียวกันผู้ประกอบการเริ่มใช้แรงงานต่างด้าวเข้ามาทดแทนแรงงานไทยมากขึ้น ดังนั้นแรงงานไทยต้องพัฒนาฝีมือแรงงานอยู่เสมอไม่เช่นนั้นตกงาน



ยิ่งซ้ำร้ายไปกว่านั้น เริ่มมีสัญญาณไม่ดี ลดค่าจ้าง ลดโอที หรือ บางแห่งถึงขั้นปิดโรงงานลอยลอยแพพนักงานจากวิกฤตโควิด จึงทำให้สถานะทางเศรษฐกิจครอบครัวของเยาวชนแรงงานนอกระบบการศึกษาเปราะบางมาก ดังนั้นการมีอาชีพเสริม หรือ อาชีพทางเลือกระหว่างทำงานประจำในโรงงาน จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงต่อเศรษฐกิจครอบครัว จึงกลายเป็นความร่วมมือระหว่าง กสศ.กับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ท่ามกลางสถานการณ์โควิด

"แรงงานที่ติดโควิด ทั้งเพราะไม่รู้ตัว หรือรู้ตัวว่าติดแต่ก็ไม่กล้าบอกใคร เพราะกลัวถูกนายจ้างไล่ออกจากงาน เพราะงานที่ทำอยู่รายได้ก็ไม่พอกินอยู่แล้ว หากติดโควิดหรือต้องกักตัวก็ขาดรายได้แล้วจะอยู่ได้อย่างไร" แกนนำสหภาพซันโยฯ กล่าวถึงผลกระทบวิกฤตโควิดในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน แนวทางการดำเนินการต่อไปที่ภาคีเครือข่ายในพื้นที่นำเสนอแนะว่า ควรเน้น "ขยายความร่วมมือ" เพิ่มกับโรงงานอุตสาหกรรมแห่งใหม่ในพื้นที่ มุ่งเน้น "เข้าถึงชุมชน" ในพื้นที่โดยรอบเขตนิคมอุตสาหกรรมให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของครอบครัวผู้ใช้แรงงานโดยดึงผู้นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมสำรวจ ค้นหาและสนับสนุนการพัฒนาทักษะอาชีพและทักษะชีวิตเยาวชนแรงงานนอกระบบการศึกษา พร้อมกับสนับสนุนควรจัดตั้ง "ศูนย์ประสานภาคีความร่วมมือการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยมีชุมชนเป็นฐาน" โดยยึดหลักไม่เน้นจัดตั้งเป็นองค์กร แต่เน้นสร้าง "ภาคีความร่วมมือ" และ "การมีส่วนร่วม" จากทุกภาคส่วนในพื้นที่มาทำงานหรือจัดกิจกรรมร่วมกับ กสศ. เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาอย่างยั่งยืนต่อไป

https:// m.mgronline.com/politics/detail/9640000075266