• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ภารกิจพาชาติฝ่าโควิด สร้างภูมิคุ้มกัน “ธุรกิจ-สังคม-ชุมชน”

Started by Shopd2, October 04, 2021, 02:18:44 PM

Previous topic - Next topic

Shopd2


ต้องยอมรับว่างานสัมมนาเพื่อสังคมแห่งปีที่จัดโดยหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจครั้งนี้มีความแตกต่างจากครั้งก่อน ๆ เพราะนอกจากจะเป็นการสัมมนาผ่านช่องทางออนไลน์หนึ่งแล้ว หากอีกหนึ่งยังเป็นการยกระดับหัวข้อในการสัมมนาทั่ว ๆ ไปด้วย

โดยไม่ได้มองเรื่องของความยั่งยืนแต่เพียงประการเดียว หากยังมองถึงการสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และชุมชนในระดับประเทศด้วย ฉะนั้น จึงไม่แปลกที่งานสัมมนาครั้งนี้จึงอยู่ภายใต้ธีมหลักคือ "สร้างภูมิคุ้มกัน ฝ่าภัยโควิด" โดยมีหัวข้อย่อย ๆ เพื่อให้วิทยากรบรรยายในประเด็นต่าง ๆ

ยิ่งเฉพาะ "เจมส์ ทีก" ประธานบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด และ "อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่จะมาบรรยายในหัวข้อ "ธุรกิจ-สังคม สร้างภูมิคุ้มกัน ฝ่าภัยโควิด"

เดินหน้าส่งวัคซีนช่วยไทยสู้โควิด
เบื้องต้น "เจมส์ ทีก" กล่าวว่า เป้าหมายของบริษัทคือการทำให้คนทั่วโลกเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 มากที่สุด และการจะทำให้ได้แบบนั้นต้องมีซัพพลายเชนการผลิตกระจายไปทั่วโลก ซึ่งตอนนี้แอสตร้าเซนเนก้ามีโรงงานในความร่วมมือกว่า 25 แห่งทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยที่เลือกร่วมมือกับบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ "SCG" และบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด

"แอสตร้าเซนเนก้ามุ่งมั่นในการผลิตวัคซีนเพื่อช่วยคนทั่วโลก ซึ่งที่ผ่านมากระจายส่งวัคซีนไปแล้วกว่า 1.3 พันล้านโดสใน 170 ประเทศ นับตั้งแต่ปี 2564 โดย 2 ใน 3 ของจำนวนวัคซีนดังกล่าวถูกส่งมอบให้กับกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำ และกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนไปทางต่ำ วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าสร้างประโยชน์ในการป้องกันอาการเจ็บป่วยในระดับที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และลดสัดส่วนการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19"

เจมส์ ทีก
เจมส์ ทีก ประธานบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด
สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย แอสตร้าเซนเนก้ามีความกังวลและเป็นห่วงกับจำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมามีการหารือกับกรมควบคุมโรคมาโดยตลอดเกี่ยวกับผลกระทบจากการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 และแนวทางที่แอสตร้าเซนเนก้าจะสามารถช่วยสนับสนุนโครงการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนได้

ดังนั้น สิ่งที่แอสตร้าเซนเนก้าให้ความสำคัญ เหนือสิ่งอื่นใดในขณะนี้คือการทำให้ทุกคนในประเทศไทยได้รับวัคซีน การเร่งผลิตวัคซีนที่มีคุณภาพให้ได้จำนวนมากที่สุด การสื่อสารเรื่องวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ และการทำให้แน่ใจว่าซัพพลายเชนการผลิตในไทยก่อตั้งอย่างมีคุณภาพในระยะเวลาอันสั้น และสามารถผลิตวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ

"วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นชีววัตถุที่เริ่มต้นด้วยการเพาะเลี้ยงเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบในกระบวนการผลิต จึงมีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน จำนวนเซลล์ที่สามารถนำไปใช้เพื่อการผลิตวัคซีนในแต่ละรอบการผลิต มีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตระยะแรกจากศูนย์การผลิตวัคซีนแห่งใหม่"

"อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีข้อจำกัดมากมาย แต่แอสตร้าเซนเนก้าสามารถทำตามคำมั่นที่ให้ไว้มาตลอดสำหรับการส่งมอบวัคซีนให้ไทยตามที่รัฐบาลตกลงซื้อจำนวน 61 ล้านโดส เพื่อทยอยส่งมอบภายในปี 2564 เราสามารถส่งมอบครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2564 ตามคำมั่นที่ให้ไว้ จากนั้นทยอยส่งเดือนละ 3 ล้านโดส เพิ่มมาเป็น 5-6 ล้านโดส ขณะที่เดือนกันยายนนี้เราส่งมอบวัคซีนให้เพิ่มมากถึง 8 ล้านโดส โดยในปีนี้แอสตร้าเซนเนก้าจะส่งมอบวัคซีนให้ไทยรวมแล้วทั้งสิ้นจำนวน 24.6 ล้านโดส"

ผลิตยารักษาโรคกว่า 20 รายการ
"เจมส์ ทีก" กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นยังมีการตกลงกับรัฐบาลไทยและสยามไบโอไซเอนซ์ว่า แอสตร้าเซนเนก้าจะกระจายวัคซีนไปยังประเทศอื่นในภูมิภาคด้วย โดยในไทยจะได้สัดส่วนวัคซีน 30% ของจำนวนวัคซีนที่ผลิตได้ ที่เหลือจะส่งไปให้ประเทศเพื่อนบ้านเพราะโควิด-19 เป็นวิกฤตระดับโลกที่ไม่สามารถต่อสู้ได้เพียงลำพัง แต่ต้องพาประเทศโดยรอบให้ปลอดภัยด้วยเช่นกัน

ตรงนี้ถือเป็นเรื่องน่าภูมิใจของประเทศไทยในการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยประเทศเพื่อนบ้าน ล่าสุดแอสตร้าเซนเนก้าและรัฐบาลไทยร่วมลงนามในสัญญาการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพิ่มอีก 60 ล้านโดสในวันที่ 29 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา เพื่อทยอยส่งมอบภายในไตรมาส 3 ของปี 2565

"สำหรับประเด็นเรื่องคุณภาพของวัคซีน ต้องบอกว่าวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นคุณภาพเดียวกันทั่วโลก ฐานการผลิตทั้งหมด 25 แห่งอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน และการผลิตวัคซีนออกมาต้องมีการทำตามขั้นตอนเอกสารสำคัญมากมายกว่า 60 ชุด จำนวนกว่า 1,000 หน้าที่ต้องรีวิว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อความล่าช้า แต่ต้องยอมรับว่าขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ไม่สามารถละเลยได้ และบริษัททำตามอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ ตอนนี้วัคซีนของเราที่ผลิตในไทยผ่านการรับรองจากประเทศออสเตรเลียแล้ว และกำลังดำเนินการให้ผ่านการรับรองจาก WHO ด้วย"


"ผมต้องบอกว่าแอสตร้าเซนเนก้าไม่ได้ใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะบริษัทเข้ามาดำเนินงานในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2526 โดยมีฐานอยู่ที่สหราชอาณาจักร ทั้งยังมีสำนักงาน 26 แห่งใน 16 ประเทศ และมีพนักงานกว่า 76,000 คนทั่วโลก รวม 270 คน ในประเทศไทยด้วย"

"และนอกจากการผลิตวัคซีนโควิด-19 เรายังเป็นผู้นำการป้องกันและรักษากลุ่มโรค NCDs (กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) ที่กำลังคุกคามทั่วโลกมายาวนาน และพยายามพัฒนายาที่มีประสิทธิภาพ และราคาจับต้องได้มาโดยตลอด ปัจจุบันแอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทยจำหน่ายยามากกว่า 20 รายการ เพื่อรักษาโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็งทรวงอก, มะเร็งปอด, โรคเบาหวาน และโรคหอบหืด เป็นต้น"

CSR เพื่อสุขภาพ 6 มิติ
นอกจากการผลิตยาที่มีคุณภาพแอสตร้าเซนเนก้ายังให้ความสำคัญกับการทำโครงการเพื่อสังคมต่อเนื่อง โดยมี 6 โครงการหลัก ๆ ดังนี้

หนึ่ง Healthy Lung สนับสนุนการเข้าถึงการวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด

สอง The Lung Ambition Alliance ยกระดับการรักษาโรคมะเร็งปอด พร้อมส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สาม Young Health Programme โครงการปลูกฝังองค์ความรู้ การดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และปัญหาสุขภาพให้กับเยาวชน

สี่ New Normal Same Cancer สร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบของโควิด-19 ต่อการรักษาโรคมะเร็ง และส่งเสริมให้ผู้ป่วยรับการวินิจฉัยและรักษา

ห้า Early CKD Screening สร้างการตระหนักรู้ถึงอันตรายของโรคไตเรื้อรังที่เกิดจากโรคเบาหวาน และสนับสนุนการตรวจคัดกรอง

หก AZPAP-Patient Affordability Programme ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายและการสนับสนุนการเข้าถึงนวัตกรรมยาให้ผู้ป่วยในไทย

ฝัง DNA ยั่งยืนให้คน ปตท.
ขณะที่ "อรรถพล" มองเรื่องนี้ในประเด็นที่สอดรับกันว่า ปตท.ยึดตามแนวทางการบริหารที่ยั่งยืนเป็นสำคัญด้วยการนำ ESG (environmental, social and governance) หรือดำเนินธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และมีธรรมาภิบาล รวมถึงแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ร.9 มาใช้ควบคู่กัน

สำหรับการจัดการยั่งยืนนั้น ปตท.เรียกว่า PTT SUSTAINERGY DNA ต้องการให้คำว่ายั่งยืนฝังอยู่ใน DNA คนของ ปตท.ทุกคน เราใช้คำว่าเราต้องเลิศ โลกเราต้องรัก สังคมไทยต้องอุ้มชูเพื่อสะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินธุรกิจของ ปตท.ไม่ใช่แค่เรื่องธุรกิจ แต่ยังหมายความรวมถึงสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ต้องสร้างจุดสมดุลให้ทุกส่วนเดินหน้าไปพร้อมกัน


อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ 
อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
จากกรณีการระบาดของโควิด-19 ทำให้ ปตท.นำศักยภาพขององค์กรที่มีอยู่เข้ามาช่วยดูแลสังคมไทย โดยใช้ทั้งทรัพยากรบุคคล องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และงบประมาณมาช่วยสังคมในช่วงโควิด-19 ระบาด ทั้งนั้น เพราะระหว่างปี 2562-2563 ถือว่า ปตท.ได้รับผลกระทบแบบ double effect เพราะเมื่อเศรษฐกิจไม่ดี แน่นอนว่าจะส่งผลต่อราคาน้ำมันที่ลดลงตามไปด้วย ที่สำคัญยังสะท้อนถึงผลประกอบการที่อาจจะไม่ค่อยดีด้วย

ดังนั้น พอเกิดการระบาดของโควิด-19 ตอนนั้น ปตท.ตั้ง "PTT Group Vital Center" เพื่อใช้เป็น war room โดยรวมทุกบริษัทในเครือ ปตท.ไว้ที่นี่ เพื่อเข้ามาเป็นองค์ประกอบและร่วมมือกันแก้ไขสถานการณ์ด้วยการวางกลยุทธ์ที่เรียกว่า 4R อันประกอบด้วย

หนึ่ง resilience องค์กรมีความยืดหยุ่น เผชิญปัญหาเฉพาะหน้าได้ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพ, ลดต้นทุน, จัดหาสภาพคล่องเข้ามาให้องค์กร โดยขณะนั้นมีการออกหุ้นกู้ทั้งหมดในเครือ ปตท.รวม 100,000 ล้านบาท เพราะไม่รู้ว่าในอนาคตสถานการณ์จะเป็นอย่างไร เพื่อต้องการเสริมความพร้อมให้กับธุรกิจในทุกวิกฤตให้ได้

สอง restart เตรียมความพร้อมที่จะนำองค์กรกลับมาสู่ภาวะปกติให้ได้ รวมไปจนถึง supply chain ของ ปตท.ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อให้คู่ค้าต่าง ๆ สามารถเดินไปข้างหน้าพร้อมกับ ปตท.ได้ เพราะเมื่อสภาวะปกติกลับมา คู่ค้ากลับมาทำธุรกิจกับ ปตท.ต่อได้ ส่วนการดูแลพนักงานนั้น ปตท.จัดตั้ง "ศูนย์พลังใจ" ที่ใช้เป็นศูนย์กลางดูแลและให้ความรู้กับพนักงาน รับเรื่องความเดือดร้อนของพนักงาน พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือ

สาม reimagination ปตท.ต้องจินตนาการอนาคตใหม่ว่าหลังจากโควิด-19 หรือใด ๆ ก็ตามที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย รวมไปถึงกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในอนาคตข้างหน้าว่า "new normal" จะเป็นอย่างไร และที่สำคัญจะต้องปรับตัวอย่างไร

สี่ reform เมื่อ ปตท.ประเมินสรุปแล้วว่าในอนาคตข้างหน้าจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไรแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการปรับองค์กร ปตท. การปรับโครงสร้างองค์กร เพิ่มทักษะ ความสามารถของพนักงานของ ปตท.

"เมื่อ ปตท.เข้มแข็งแล้วเราจึงออกมาช่วยเหลือสังคมต่อได้ ซึ่งในกลุ่ม ปตท.นำนวัตกรรมของกลุ่มมาช่วยเหลือ อย่างเช่น การผลิตแอลกอฮอล์ และหน้ากาก ด้วยการนำแอลกอฮอล์ที่เดิมเป็นเอทานอลผสมกับน้ำมันเบนซินมาปรับโรงงานคู่ค้าของ ปตท.เพื่อให้สามารถผลิตแอลกอฮอล์อีกเกรดขึ้นมาแจกจ่ายกับประชาชนเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด-19 และบริจาคให้โรงพยาบาลระดับตำบลกว่า 5,000 แห่งทั่วประเทศ"

ระดมสรรพกำลังกู้วิกฤต
"อรรถพล" อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า การช่วยเหลือสังคมในช่วงโควิด-19 ปตท.ยังช่วยออกแบบห้องความดันลบ ผลิตชุดกาวน์ที่มีต้นทางมาจากโรงงานปิโตรเคมีในกลุ่ม ปตท. เช่น บริษัท พีทีที โกล. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ที่ได้มาจากปิโตรเคมีเพื่อแจกให้กับบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งยังช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ เรายังช่วยภาครัฐกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ 25,000 คน ที่ไม่มีตำแหน่งงานรองรับอีกด้วย

"ไม่เพียงเท่านั้นเรายังกระตุ้นให้พนักงานออกไปเที่ยวแบบช่วยค่าใช้จ่ายเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ รวมถึงโครงการลมหายใจเดียวกัน ปตท.ให้การสนับสนุนเครื่องช่วยหัวใจ 300 แห่ง เครื่องให้ออกซิเจนและอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่น ๆ รวมถึงความร่วมมือกับ กทม.เพื่อทำโรงพยาบาลสนาม ตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนเชิงรุก ตั้งโรงพยาบาลสนาม และนำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์ พร้อมทั้งใช้อาคารที่ยังไม่ได้ใช้งาน ซึ่งซื้อจากการบินไทย จนกลายเป็นที่ตั้งโรงพยาบาลสนามแบบครบวงจร ที่มีห้อง ICU รองรับผู้ป่วยอาการหนักมากที่สุดในประเทศถึง 120 ห้อง"

"ตรงนี้ถือเป็นการนำองค์ความรู้ทางธุรกิจมาใช้บริหารจัดการ อยากให้ศูนย์นี้ยังคงอยู่เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเรามีระบบสาธารณูปโภคที่ถูกต้องให้การยอมรับ และเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวไทยโดยไม่ต้องกังวลเรื่องโควิด เพราะเรามีระบบสาธารณสุขรองรับ"

วิสัยทัศน์พา ปตท.รุกธุรกิจใหม่
แม้ว่าธุรกิจจะชะลอตัวจากการระบาดของโควิด-19 แต่ไม่ได้ส่งผลให้ ปตท.หยุดพัฒนา หรือหยุดการลงทุน "อรรถพล" ระบุเพิ่มเติมในเรื่องนี้ว่า เนื่องจากในปัจจุบันธุรกิจพลังงานมีความผันผวนสูง และกำลังจะมีพลังงานใหม่ ๆ ที่เข้ามาในตลาด อย่างเช่น ไฟฟ้า ที่ถือว่าเป็นพลังงานสะอาดเมื่อเทียบกับการใช้น้ำมัน"

"ฉะนั้น เท่ากับว่าธุรกิจพลังงานจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกมาก เหตุผลสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงนี้มาจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่รวดเร็ว เมื่อมองเห็นแนวโน้มธุรกิจพลังงานจะมุ่งไปตามแนวทางนี้ ปตท.จึงต้องปรับตัวพร้อมกับประกาศวิสัยทัศน์ใหม่ที่ว่า "powering life with future energy and beyond"

"อรรถพล" ขยายความเพิ่มถึงวิสัยทัศน์ดังกล่าวว่า "powering life" ถือเป็นวัตถุประสงค์ขององค์กร สะท้อนความเป็น ปตท.ว่าจัดตั้งขึ้นมาด้วยเหตุผลอะไร ? คำตอบคือเพื่อเป็นกำลังขับเคลื่อนที่ครอบคลุมทุกชีวิต ชุมชน สังคม รวมถึงสังคมโลกด้วย

ตามมาด้วยอนาคตพลังงาน จะเริ่มเห็นว่าการใช้น้ำมันและถ่านหินจะลดลงแน่นอน จากความตระหนกด้านปัญหา และคำว่า beyond คือการเริ่มออกไปทำธุรกิจที่นอกเหนือจากพลังงานมากขึ้น อย่างเช่น ธุรกิจยา, อุปกรณ์ทางการแพทย์, อาหารเสริม และรถยนต์ EV เป็นต้น

ในช่วงท้าย "อรรถพล" ในฐานะ CEO ของ ปตท.กล่าวถึงการลงทุนของ ปตท.ต่อจากนี้อีก 5 ปี ตอนนี้มีการคาดการณ์ว่าจะมีการลงทุนด้านพลังงานเกิดขึ้นประมาณ 860,000 ล้านบาท อีกทั้งยังเตรียมเงินเพื่อสำหรับการลงทุนในกิจการอื่น ๆ อีกกว่า 700,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท ที่ไม่ได้มองเพียงแง่ผลประกอบการทางธุรกิจเท่านั้น แต่ ปตท.ต้องการเป็นอีกฟันเฟืองที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

พร้อมกับวางเป้าหมายว่าในปี 2030 ธุรกิจใหม่ ๆ ของ ปตท.จะทำรายได้เพิ่มกว่า 30% โดยการทำธุรกิจจะยึดถือความสำคัญที่ว่าผู้บริโภคทำให้ธุรกิจของ ปตท.เดินหน้าได้ ฉะนั้น การทำธุรกิจจะเดินอย่างคู่ขนานไปพร้อม ๆ กับการช่วยเหลือสังคมต่อไป