• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ 'อ่อนค่า' ที่ระดับ  32.76 บาท/ดอลลาร์

Started by dsmol19, November 19, 2021, 01:45:08 PM

Previous topic - Next topic

dsmol19



อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอาจมีแรงกดดันฝั่ง 'อ่อนค่า' จากการ 'แข็งค่า' ของเงินดอลลาร์ เหตุจากปัญหาการระบาดหนักของ COVID ในช่วงฤดุหนาว ที่เริ่มเห็นยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นทั้งในยุโรปและจีน  

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  32.76 บาทต่อดอลลาร์อ่อนค่าลงจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  32.73 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุนธนาคารกรุงไทยระบุว่า แนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทยังคงแกว่งตัวในกรอบกว้างต่อ เพราะแม้เงินบาทอาจมีแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงการรายงานยอดค้าปลีกสหรัฐฯ หากยอดค้าปลีกออกมาดีกว่าคาด แต่ทว่า เงินบาทยังพอได้แรงหนุนจากโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ รวมถึง ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่อาจเข้ามาเก็งกำไรแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย ผ่านการซื้อบอนด์ระยะสั้น และบางส่วนก็อาจรอจังหวะเพื่อเข้าซื้อหุ้นไทยตามธีม Reopening เพิ่มเติม 


อย่างไรก็ดี เราเริ่มเห็นปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมที่อาจยังคงหนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อ หรือ ทรงตัวในระดับ 95 จุดสำหรับ Dollar Index (DXY) ได้ ก็คือ ปัญหาการระบาดหนักของ COVID ในช่วงฤดุหนาว ที่เริ่มเห็นยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นทั้งในยุโรปและจีน  ซึ่งภาพดังกล่าวอาจหนุนให้เงินดอลลาร์โดยรวมแข็งค่าขึ้นหรือทรงตัวในระดับปัจจุบันเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ

นอกจากนี้ หากเงินบาทอ่อนค่าลง ก็อาจเผชิญแรงขายจากบรรดาผู้ส่งออกที่ขยับออเดอร์มาทยอยขายเงินดอลลาร์ในช่วง 32.90-33.00 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับเดียวกันที่เราคาดว่าอาจเริ่มเห็นนักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาเก็งกำไรเงินบาทแข็งค่าที่ระดับดังกล่าวอีกเช่นกัน หลังนักวิเคราะห์ต่างชาติบางส่วนเริ่มปรับมุมมองค่าเงินบาทจากเดิมมองว่า เงินบาทอาจอ่อนค่าแตะระดับ 34-35 บาทต่อดอลลาร์ มาเป็น เงินบาทอาจแข็งค่าในโซน 32.50 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนผู้นำเข้ายังรอทยอยซื้อเงินดอลลาร์ หากเงินบาทแข็งค่าแตะระดับ 32.60 บาทต่อดอลลาร์ 

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.70-32.85 บาท/ดอลลาร์

ผู้เล่นในตลาดการเงินยังอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวและไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น จากความกังวลปัญหาเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นและอยู่ในระดับสูง จนอาจทำให้บรรดาธนาคากลางหลักต้องใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเร็วขึ้น อาทิ เฟดอาจเร่งความเร็วกาลดคิวอี รวมถึงขึ้นดอกเบี้ยได้เร็ว ซึ่งภาพดังกล่าว ทำให้ในฝั่งสหรัฐฯ ทั้งดัชนี S&P500 และดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ต่างทรงตัวใกล้เคียงระดับก่อนหน้า ซึ่งคาดว่า ตลาดจะรอลุ้นการประชุม Biden-Xi virtual meeting รวมถึง ติดตามแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจผ่านการรายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนสถานะถือครองอีกครั้ง


ส่วนในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX50 เดินหน้าปรับตัวขึ้น +0.36% ท่ามกลางแนวโน้มผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาดีกว่าคาด นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าลงของเงินยูโร (EUR) ซึ่งจะส่งผลดีต่อหุ้นของบริษัทที่มียอดขายทั่วโลก อาทิ ASML +1.9%, Airbus +1.7%, Daimler +1.1%  

ในฝั่งตลาดบอนด์ ผู้เล่นในตลาดยังคงกังวลแนวโน้มการเร่งตัวของเงินเฟ้อและกังวลว่าบรรดาธนาคารกลางหลัก โดยเฉพาะเฟดอาจใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดได้เร็วขึ้น ส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี ทั่วโลกต่างปรับตัวขึ้น ราว 3-5bps โดยบอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นต่อ 5bps สู่ระดับ 1.61% ซึ่งเราคงมองว่า บอนด์ยีลด์ระยะยาวยังมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวสูงขึ้นต่อได้ หากตลาดยังกังวลปัญหาเงินเฟ้อและข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่างออกมาแข็งแกร่ง ซึ่งจะยิ่งทำให้ตลาดเชื่อว่า เฟดอาจใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดได้เร็วขึ้น อาทิ เร่งปรับลดคิวอี หรือ สามารถขึ้นดอกเบี้ยได้หลายครั้งในปีหน้า

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ยังคงเดินหน้าแข็งค่าขึ้นหนักเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องสู่ระดับ 95.40 จุด โดยเงินดอลลาร์ยังคงได้แรงหนุนจากความกังวลปัญหาเงินเฟ้อที่ส่งผลให้บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นต่อ รวมถึงแนวโน้มสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในฝั่งยุโรป ที่อาจกดดันให้เศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัวในอัตราที่ชะลอและทำให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ไม่สามารถใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดได้เร็วกว่าเฟด ซึ่งล่าสุดภาพดังกล่าว ส่งผลให้ เงินยูโร (EUR) อ่อนค่าลงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 16 เดือนที่ระดับ 1.137 ดอลลาร์ต่อยูโร 

อย่างไรก็ดี แม้ว่า เงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงบอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ จะปรับตัวสูงขึ้น แต่กลับไม่ได้กดดันราคาทองคำมากนัก โดยราคาทองคำยังคงทรงตัวใกล้ระดับ 1,860 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หนุนโดยความกังวลปัญหาเงินเฟ้อเป็นหลัก ทั้งนี้ เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจทยอยขายทำกำไรราคาทองคำมากขึ้น เนื่องจาก การปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อหลังจากนี้อาจมีไม่มากนัก แต่บอนด์ยีลด์ยังสามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ ตามความคาดหวังของผู้เล่นในตลาดที่เชื่อว่าธนาคารกลางอาจต้องรีบใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด

สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอจับตาแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะส่งสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะในส่วนการบริโภค สะท้อนจากรายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนตุลาคม ที่อาจโตถึง +1.1% จากเดือนก่อนหน้า หนุนโดยความต้องการใช้จ่ายที่ฟื้นตัวต่อเนื่องหลังผู้คนกลับไปทำงานและใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น นอกจากนี้ ยอดค้าปลีกยังได้แรงหนุนจากยอดการใช้จ่ายที่เกี่ยวกับสินค้าพลังงานซึ่งเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน 

ทั้งนี้ตลาดจะรอจับตา มุมมองของบรรดาเจ้าหน้าเฟด ต่อแนวโน้มการทยอยขึ้นดอกเบี้ย หลังอัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาด และที่สำคัญ ตลาดจะรอจับตา การประชุมระหว่างผู้นำสหรัฐฯกับจีน (Biden-Xi Virtual Meeting) ซึ่งหากการประชุมเจรจา มีความราบรื่นอาจส่งผลให้ ทั้งสองประเทศเตรียมลดภาษีการค้าที่เคยได้ปรับขึ้นก่อนหน้าและช่วยลดความขัดแย้งระหว่างทั้งสองประเทศลง ซึ่งภาพดังกล่าวอาจส่งผลดีต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดได้บ้าง ดังจะเห็นได้จากการที่หุ้นที่มีความอ่อนไหวการประเด็นการค้าของจีน (Morgan Stanley's China Trade Sensitive Basket) ปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าดัชนี S&P500 ในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ ภาพดังกล่าวอาจช่วยหนุนให้เงินหยวนของจีน (CNY) สามารถแข็งค่าขึ้นได้บ้าง

 

ทางด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่าเงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 32.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 32.73 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทอาจได้รับอานิสงส์บางส่วนจากสถานการณ์ฟันด์โฟลว์ โดยในวันนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทย 2,400.96 ล้านบาท และ 6,593 ล้านบาทตามลำดับ 

ส่วนค่าเฉลี่ย Indicative forward points ของธุรกรรมระยะ 3 เดือนสำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้ 50-200 ล้านบาทต่อปี รายงานข้อมูล ณ 10.00 น. วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 โดยธปท. อยู่ที่ -0.58 สำหรับผู้ส่งออก (ขายเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า) และที่ 2.33 สำหรับผู้นำเข้า (ซื้อเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า) 

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ คาดไว้ที่ 32.60-32.85 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ และสถานการณ์โควิด-19 ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซน และข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนต.ค. ของสหรัฐฯ